วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

เรารู้รึยัง ว่าเราไม่รู้อะไร??

ผ่านไปแล้ว 2 เดือนนับจากวันที่พวกเราเข้ามา ผ่านไปไวเหลือเกินนะครับ หลายคนได้เรียนรู้มากขึ้นถึงในชีวิตการทำงานซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการใช้ชีวิตอยู่ในรั้วโรงเรียน สำหรับคนที่เคยทำงานมาแล้ว (แม้กระทั่งตัวพี่เอง) ก็รู้สึกได้ว่าชีวิตการทำงานที่นี่ก็แตกต่างกับที่อื่น ไม่เพียงแต่ในเรื่องของความรู้และนวัตกรรมที่เราต้องเรียนรู้ แต่ในเชิงวัฒนธรรมการทำงานก็เช่นกัน

จากการพูดคุยกับน้อง ๆ หลายคนทั้งในแบบเป็นทางการบ้าง ไม่เป็นทางการบ้าง ทำให้รู้ถึงปัญหาของ หลายคนที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน ว่าตัวเองควรจะไปอ่านไปดูตรงไหน และตอบอะไรผิดอะไรพลาดไปจนทำให้ต้องมานั่ง (ซ่อม) อยู่ตรงนี้ อยากถือโอกาสนี้มาเล่าให้ฟังครับ อย่างน้อยก็ให้เราเช็คตัวเอง แล้วก็แก้ไขไม่ต้องให้มานั่งซ่อมอีกครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ละกัน เพราะพี่เองก็ไม่รู้ว่าถึงตอนนั้นเราจะมีเวลามานั่งซ่อมกันอีกรึเปล่า......

ว่ากันแล้วเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ มันก็อิงกับเรื่องแผนภูมิการเรียนรู้ ของมาสโลว์ ในความหมายที่อยากจะสื่อออกมา อาจจะไม่เหมือนกับทฤษฏีเป๊ะ ๆ แต่อยากให้เข้าใจในเชิงกว้าง ๆ ถึงพัฒนาการในการเรียนรู้ ของมนุษย์ธรรมดา ๆ คนหนึ่ง ในการพัฒนาศักยภาพของคน คนหนึ่งอาจแบ่งได้เป็น 4 ระดับ

ระดับ 4 ประเภทไม่ตระหนัก ว่าไม่รู้ เป็นประเภทที่ว่าไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร หรือไม่รู้ว่าต้องมีทักษะอะไร หรือขาดตกในเรื่องใดจึงจะเป็นคนมีศักยภาพ
ระดับ 3 ประเภท ตระหนักว่าไม่รู้ เป็นประเภทที่รู้แล้วว่าตัวเองกำลังจะไปทำอะไร แล้วตัวเองยังขาดทักษะอะไร หรือทำอะไรไม่ได้
ระดับ 2 ประเภทไม่ตระหนักว่ารู้ เป็นประเภทที่จริง ๆ แล้วมีทักษะหรือความเชี่ยวชาญอยู่โดยไม่รู้ตัว อาจเป็นพรสวรรค์ หรือจริง ๆ ก็ได้รับการอบรมบ่มนิสัยมาจากพ่อแม่ครูอาจารย์ในวัยเยาว์นั่นแหละ แต่ไม่รู้ว่าทักษะที่ตัวเองมีอยู่จากวัยเยาว์มันนำมาใช้ในสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ เช่น เรามักมองว่าคนจีนรุ่นพ่อแม่เราเป็นพวกหัวการค้า ค้าขายอะไรก็ร่ำรวย เด็ก ๆ ที่เกิดมาในครอบครัวคนจีนไปทำมาค้าขายอะไร หยิบจับอะไร ก็เป็นเงินทองไปหมด ทั้ง ๆ ที่พวกเค้าก็ไม่ได้เรียนสูงจบเศรษฐศาสตร์ การเงิน เอ็มบีเอ หรืออะไร ๆ ที่คนสมัยใหม่ชอบเรียนกันหรอก บางคนเรียนจบประถมด้วยซ้ำ แต่ด้วยความที่พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่จำกัดกรอบความเป็นอยู่ให้เป็นเด็กรักดี ช่างจดจำ เรียนรู้นอกห้องเรียน ประหยัด มัธยัสถ์ อดทนและคิดการไกล ซึ่งท้ายที่สุดเป็นคุณสมบัติที่บ่มเพาะให้การเป็นพ่อค้า เจ้าสัวที่ประสบความสำเร็จโดยไม่ได้มีดีกรีอะไร
ระดับ 1 ตระหนักว่ารู้ รู้แล้วว่าเรารู้และเข้าใจในเรื่องนั้น คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่พัฒนาจากคนในระดับที่ 3 สำหรับกลุ่มที่ 2 เอง การเปิดโลกทรรศน์ หรือการทดสอบเปรียบเทียบตัวเองกับโลกภายนอกก็สามารถส่งผลให้ปรับระดับกลายเป็นระดับที่ 1 ได้เช่นกัน

สาระอันหนึ่งที่มาสโลว์พูดเอาไว้ด้วยคือ คนที่ตระหนักว่ารู้แล้วในท้ายที่สุดเมื่อไปทำงานใด ๆ ก็จะทำไปโดยอัตโนมัติโดยไม่ได้มานั่งนึกถึงลำดับขั้น เหมือนกับทำไปโดยสัญชาตญาณ ซึ่งจะกลับไปคล้ายกับระดับที่ 2 คือไม่ตระหนักว่ารู้ (แต่ช้านนนนทำได้เอง......)

ทีนี้ถ้าเรามาจัดอยู่ในระดับ 1 กับ 2 มันก็คงไม่ต้องมากลุ้มมากหรอก เพราะว่าเรามันเป็นผู้รู้ไปแล้ว (ช่วยไม่ได้จริง ๆ คนมันเก่ง...) สำหรับระดับที่ 3 นี่ก็ยังโอเค เพราะว่ามันรู้แล้วว่าเราไม่รู้อะไร ก็ไปหาไปขวนขวายให้ตัวเองรู้มากขึ้นซะ แต่ถ้าตกอยู่ในระดับ 4 แบบที่หลาย ๆ คนถามนี่สิน่าหนักอก..

ถ้าอยากหลุดจากระดับจิตแบบที่ 4 แล้วจะทำไง จะมานั่งคิดว่าเราแย่กว่าคนอื่น สู้เพื่อนไม่ได้คงไม่สร้างสรรค์เป็นแน่ รังแต่จะสร้างพลังในเชิงลบแก่ตัวเอง และคนรอบข้างไปเรื่อย ๆ ถ้าใครคิดแบบนี้ให้ลองกลับไปนั่ง ‘ส่องกระจกทางความคิด’ ดูก่อน...จนเริ่มจะมีความคิดให้ตัวเองว่าจะทำยังไงได้ให้มันดีขึ้น....นั่นแหละแปลว่าเราเริ่มมาอยู่ในเส้นทางที่มันถูกมันควรแล้ว ทีนี้มาดูกันว่าเราจะมาแก้ไขยังไงให้หลุดออกจากระดับจิตแบบที่ 4

เปิดโลกทรรศน์ พูดง่าย ๆ คือเปิดใจนั่นแหละ ลองหาเพื่อนที่ดี พี่ที่ดี น้องที่ดี ที่ใกล้ชิดและรู้จักเรามาพอสมควร เล่าให้เค้าฟังว่าที่เราคิดเราเป็นเราเข้าใจน่ะมันถูกรึยัง....เปิดใจแล้วก็ต้องรับฟังด้วยนะ....แบบนี้แหละที่เราพูดกันบ่อย ๆ ว่า “เปิดใจรับฟัง และพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่า”

ศึกษาดูงานประเทศเพื่อนบ้าน การหมกตัวอยู่ในข้าวสีเหลือง ๆ เป็นข้าวหมกไก่ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นหรอก ลองลุกขึ้นมามองเพื่อนทำ ฟังเพื่อนคุย ร่วมคิดตามเพื่อน ๆ พี่ ๆ การออกไปพบไปคุยกับคนข้างนอกในเชิงสร้างสรรค์บ้างน่ะ มันก็ทำให้เราเรียนรู้ในสิ่งที่ขาดหายไปได้ แล้วก็จะได้เทียบกันไปด้วยว่าเราน่ะรู้ในแบบที่คนทั่วไปเค้ารู้ด้วยรึเปล่า

คำถามง่าย ที่บางครั้งตอบยาก ๆ แต่ควรถามตัวเองบ่อย ๆ อันนี้สำคัญครับ ลองถามตัวเองในเรื่องที่เราเรียนรู้เสมอ ๆ ว่า อะไร-What (ไอ้ที่เราเรียนเนี่ยมันคืออะไร) ยังไง-How (มันทำงานยังไง เราจะใช้มันยังไงดี) ที่ไหน-Where (ไอ้เนี่ยมันอยู่ที่ไหน) เมื่อไหร่-When (แล้วเมื่อไหร่ เราถึงต้องไปยุ่งกับมัน) ใคร-Who (ใครบ้างต้องไปข้องแวะกับมัน) ทำไม-Why (ทำไมต้องไปยุ่งไปแคร์กับมันด้วย...จำเป็นแค่ไหน)

หาคำตอบ..ถามคำถามข้างบนกับตัวเองแล้วถ้าตอบไม่ได้อย่านั่งเฉย ๆ หรือรอเพื่อนมาเข้าฝันบอก...จริง ๆ แล้วเราจะรู้หรือไม่ มากน้อยแค่ไหน ต้องเริ่มจากตัวเราหาคำตอบเป็นอันดับแรก

เช็ค...หรือตรวจสอบว่าสิ่งที่เรารู้น่ะมันถูกมั้ย การสอบการเป็นเครื่องมือนึงของเรื่องนี้ พี่พยายามจะบอกกลาย ๆ น่ะครับว่าที่สอบ ๆ กันน่ะ อย่ากลัวกันนักเลย อันที่จริงการที่เรามานั่งทำงานกันอยู่ทุกวันนี้ มันก็มาจากที่เราอุตส่าห์ทนเรียน ทนสอบกันมาในโรงเรียนไม่ใช่หรือ แล้วยังมานั่งให้พี่สอบ (สัมภาษณ์) กันตั้งหลายรอบ....จนผ่านแล้วได้มาทำงานที่นี่ เพราะฉะนั้นจะว่ากันจริง ๆ การสอบก็เป็นการตรวจเช็คที่ดีนะครับ

ก่อนที่จะสอบ ก่อนที่จะทำงานกันแบบจริงจังมากขึ้นในอนาคต ลองคิดและถามตัวเองดูกันดีกว่าครับ ว่าเรารู้รึยังว่าเราไม่รู้อะไร..........................

26 ความคิดเห็น:

  1. ตัวเราเองเท่านั้นที่จะเป็นคนตอบโจทย์นี้ จะให้เพื่อนมาตอบแทนเราก็คงไม่ได้เพราะ การที่เราจะรับรู้ เรียนรู้ สิ่งใหม่ๆ นั้นก็ต้องเริ่มจากการเปิดใจรับฟัง แล้วผ่านกระบวนการคิด ช่วงนี้จะเกิดคำถามขึ้นในใจ ถ้าถามก็อาจจะรู้ ถ้าไม่กล้าถามอาจจะพลาดองค์ความรู้ไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งสะสมเข้ากลายเป็นดินพอกหางหมู ซึ่งเราคงได้ยินพวกพี่ๆพูดบ่อยๆ ว่า "ใครมีคำถาม" และพวกเราก็นั่งเงียบ รวมถึงตัวผมเองด้วย การที่พวกเรานั่งเงียบมี2สาเหตุ 1.คือไม่รู้ว่าจะถามอะไร เพราะที่ฟังมาตั้งนานมันไม่รู้ทั้งหมดเลย 2. คือไม่กล้าถาม ถ้าเพื่อนคนใดเป็นแบบข้อ1ก็คงจะต้องทบทวนใช้เวลากับมันให้มากๆค่อยๆทำความเข้าใจอย่างช้าๆอย่างใจเย็นไม่ต้องรีบร้อน การที่เราจดบันทึกก็จะช่วยให้เราได้ทบทวนตอนนี้เริ่มจะเห็นประโยชน์ของการจด แต่ถ้าใครเป็นแบบข้อ2คือไม่กล้าถามนี่ต้องบอกว่า ผมเองก็เป็น แต่ถ้าปล่อยไว้หนักเข้าจะยิ่งไม่รู้ต่อเนื่อง จนกลายเป็นดินพอกหางหมู เลยให้คิดซะว่าการถามเป็นสิ่งที่ดีก็ควรจะต้องกล้า ให้คิดซะว่าไอ้เรื่องที่ไม่น่าถามยังกล้า แต่พอเรื่องเรียนจะถามกลับไม่กล้า ฝากด้วยครับ

    ตอบลบ
  2. พรมมา แก้วเกษ2 กันยายน 2553 เวลา 10:29

    เมื่อผมได้อ่านแล้ว ผมรู้สึกว่าผมเป็นบุคคลที่อยู่ในประเภทที่3ตระหนักว่าไม่รู้ เป็นประเภทที่รู้แล้วว่าตัวเองกำลังจะไปทำอะไร แล้วตัวเองยังขาดทักษะอะไร หรือทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นผมต้องรีบปรับปรุงตัวเองให้มากขึ้นไปอีกหลายๆเท่า

    ตอบลบ
  3. ถ้าอ่านหนังสือหรืออ่านบทความต่างๆที่เป็นความรู้สามารถมาแชร์ความรู้ที่นี้ได้หรือป่าว

    ตอบลบ
  4. หรือต้องสร้างกระดานสำหรับแชร์โดยเฉพาะครับ

    ตอบลบ
  5. ผมไม่รู้เหมือนกันว่าผมรู้หรือเปล่าคับ หรือรู้แบบผิดๆๆๆๆๆๆแต่ตอนนี้ผมพยายามที่จะรู้อยู่คับแล้วก็หาความถุกต้องที่สุ้ดๆๆๆๆๆๆๆ

    ตอบลบ
  6. หากเราตระหนักแล้วว่าไม่รู้อะไร และก็รู้แล้วด้วยว่าเรากำลังจะต้องใช้ทักษะนั้น อย่าได้นิ่งเฉยกับมันนะครับ...เราต้องทำอะไรซักอย่างเพื่อที่จะได้รู้มากขึ้นในสิ่งนั้น จริง ๆ โลกเราหมุนเวียน เปลี่ยนไปทุกวัน มีสิ่งเก่า ๆ ที่อาจจะล้าสมัย สิ่งใหม่ ๆ เข้ามาทดแทน เราต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวและอยู่กับโลกที่หมุนเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาด้วยครับ

    สำหรับคนที่อยากแชร์ความคิดเห็นจากหนังสือหรือบทความที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ พี่ ๆ สามารถทำได้นะครับ...โดยอาจทำเป็น Word document มาให้พี่ ๆ blogger ดูและ post ลงไปได้ครับ

    ตอบลบ
  7. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  8. คนส่วนใหญ่ "ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร" เพราะเราขาดพลังในการขับเคลื่อนตัวเอง(Self Motivation) ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะอะไร? ก็เพราะว่าเมื่อเราไม่มีการขวนขวายหาสิ่งใหม่ๆมาเสริมความรู้ ประสบการณ์ด้วยตัวเอง เราก็จะไม่สามารถขยายวิสัยทัศน์มองหาจุดบกพร่องหรือทำสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นได้...
    ดังนั้น ถ้าไม่เริ่มจาก Self Motivation แล้ว แล้วคำว่า Innovation จะเกิดขึ้นได้อย่างไร.

    ตอบลบ
  9. กล้าที่จะคิค กล้าที่จะพูด กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ซึ่งใน 3 กล้าที่กล่าวมานั้นจะเป็นตัวที่จะตอบปัญหาที่ว่า " ตัวเรานี้ไม่รู้ว่าเราไม่รู้อะไร " ฉะนั้นเราจะต้องเริ่มจากถามตัวเราก่อนแล้วตัวเรานี้จะเป็นคนตอบปํญหาว่าเราไม่รู้อะไรแล้วความคิดหรือ Innovation ก็จะพัฒนาตามไปกับเราด้วย ส่วนในการที่จะเราพัฒนาต่อไปได้หรือไม่ เราก็ต้องเป็นคนที่จะเข้าไปถามคนอื่นเพื่อพัฒนาก้าวต่อไป

    ท้อได้แต่อย่าถอยนะแล้วฟ้าใสๆก็จะส่องสว่างให้เราเอง

    ตอบลบ
  10. ประกาศวันเสาร์ติวบ้านพี่สิทธิ์
    วันอาทิตย์ติวที่โรงงานตั้งแต่เวลา10.00นเป็นต้นไป

    ตอบลบ
  11. ผมเข้าใจแล้วว่าพวกพี่ต้องการจะสอนอะไรพวกผม ผมจะพยายามให้มากกว่าเดิม ผมดีใจที่สุดที่ได้พวกพี่เป็นลูกพี่ผมผมทำงานมาก็หลายที่แต่ผมไม่เคยเจอพี่ๆที่ให้โอกาสพวกผมขนาดนี้ ผมจะทำให้เติมที่และเพือนๆก็คิดเหมือนกันทุกคน ผมขอให้พี่ๆนำพวกผมทั้งหมดไปสู่ความสำเร็จด้วยกันทุกคนนะครับพี่ TON never diy06

    ตอบลบ
  12. ผมรู้ว่าผมไม่รู้ แต่ผมต้องการมี่จะเรียนรู้ แล้วพวกพี่จะได้รู้ว่าพวกผม26คนไม่ธรรมดาจริงๆนะ

    ตอบลบ
  13. เหมือนแสงสว่างกลางใจจริงๆครับ

    พอนึกๆดูแล้ว มันก็จริงครับ บางครั้งเรารู้ ว่าเราไม่รู้อะไรแต่ก็ดันปล่อย..หรือมองข้ามไป แต่กับสิ่งที่เรารู้แล้วแท้ๆ แต่กลับขุดขึ้นมาไม่ได้ หรือ หลงลืมไป .....สุดท้ายต้อง พยายามขุดสิ่งที่รู้ให้ได้ และ เพิ่มสิ่งที่ไม่รู้ให้เรารู้จงได้เลย ...เออ เด๋วรู้เด๋วไม่รู้ .....ยิ่งเขียน ยิ่ง งง พอดีก่า

    ตอบลบ
  14. ถ้าเราคิดว่าเราไม่รู้สิ่งไหน..เราก็ควรหาในสิ่งที่เราไม่รู้..เเต่เราก็ต้องหาในสิ่งที่ถูกต้องด้วยนะครับ..เหมือนเราหัดขับรถเราก็ต้องเรียนรู้อุปกรณ์ภายในรถว่าตัวนี้คืออะไร.ทำหน้าที่อะไร.แล้วต้องขับแบบไหนถึงจะไม่เกิดอุบัติเหตุ
    ก็คือเราต้องเรียนรู้ในสิ่งที่เราไม่รู้.............

    ตอบลบ
  15. ขอให้ทุกคนค้นหาตัวเองให้เจอ ว่าตัวเราอยู่ระดับไหน
    แต่ถ้าหาไม่เจอ..ขอให้ประเมินตัวเองว่าเราไม่รู้เอาไว้ก่อน..แล้วเราก็หาความรู้ใส่ตัวเราเอาไว้ก่อนเป็นดี...นะครับ....ว่าไหมเพื่อน...มันไม่เกินกว่าความสามารถ
    ของเพื่อนๆทุกคนแน่นอน......Good luck for Big test *-*

    ตอบลบ
  16. อันดับแรกเราต้องรู้ว่าตัวเราอยู่ระดับในหัวข้อข้างต้น
    สำหรับบุคคลที่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้นั้น ต้องทำให้ตัวเองนั้นรู้ก่อนว่าตัวเองนั้นไม่รู้
    พอรู้แล้ว ความรู้ก็จะเกิด(แต่ขึ้นอยู่กับตัวเองว่าพยายามมากพอหรือยัง)

    ตอบลบ
  17. ที่สำคัญของทุกๆอย่างก็คือ..ตัวเราเองว่าเราเป็นอย่างไหนแบบใดแล้วทำอะไรอยู่รู้หรือไม่รู้แล้วต้องทำอย่างไร... การสอบครั้งนี้เป็นเส้นทางที่จะเชื่อมความเจริญก้าวหน้าในชีวิตว่าจไปถึงหรือไม่ขอให้ทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้น.ขอให้เราเป็นผู้กำหนดว่าดีหรือร้าย....

    ตอบลบ
  18. พันธมิตรทางความคิด8 กันยายน 2553 เวลา 14:08

    คุณๆ...ทั้งหลายลองกลับไปถามตัวเองก่อนนะครับว่าที่เปิดใจน่ะที่พี่ๆๆเขาสอนทุกวัน กล้าที่จะเปิดมันออกมาหรือเปล่าไม่ใช่มีแต่พูดว่าเปิดใจๆๆๆๆ แล้วต้องทำให้ได้นะครับผมเชื่อว่าทุกคนทำได้หากคุณกล้าเปิดประตูออกมา

    ตอบลบ
  19. ไม่ระบุชื่อ8 กันยายน 2553 เวลา 20:29

    พยายามหาว่าตัวเราอยู่ระดับไหน

    ตอบลบ
  20. ถ้า....ยังไม่รู้ละครับว่าตนเองอยู่ในระดับไหนแล้วจะทำยังไงดีครับ
    ถ้ายังสับสน(ทางเพศ..อุยไม่ใช่) ในชีวิต
    "แค่ความคิดเปลี่ยน...โลกก็เปลี่ยน"
    คิดดี
    ทำดี
    พูดดี
    เท่านี้ได้ดีแน่นอน
    ชีวิตพวกเราก็เหมือน "จอมยุทธ" ที่ออกตามหาเคล็ดวิชา
    ต้องมีอุปสรรคเป็นธรรมดา อย่าท้อนะชาวยุทธทั้งหลายสู้ต่อไป

    ตอบลบ
  21. ช้านเองงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง9 กันยายน 2553 เวลา 11:59

    ในขณะนี้ผมคิดว่าผมรู้แต่พอได้ยินคนอื่นพูดทำให้ผมคิดว่าตัวเองไม่รู้
    มันเป็นสิ่งที่สับสนและน่ากลัวจริงงง!!!! ตอนนี้ผมคิดว่าสิ่งเนี้ยมาจากที่นี้และต้องไปที่นั้นทำกันอย่างไรแต่มันก็ยังไม่มั่นใจอยู่ดีนั้นแหละ
    สุดท้ายนี้......
    ผมคิดว่าการที่จะเข้าสอบครั้งนี้คงจะเป็นการตอบคำถามที่ยังค้างคาใจของผมได้มากที่เดียว.....
    ครั้งนี้ผมจะพยายามทำให้ดีที่สุดคร๊าบ To be continus........
    ............................................

    ตอบลบ
  22. ผม คิด ว่า ตัว เอง ขาด ทัก ษะ ใน การ ทำ งาน และ ตัว ผม เอง จะ ต้อง พัฒนา ปรับ ปรุง อีก เยอะ พอ สม ควร การ ที่ มี การ ปรึก ษา กัน ใน ห้อง มัน ก็ เป็น วิ ธี 1 ที่ ทำ ให้ ตัว ผม รู้ ได้ ว่า เรา อยู่ ระ ดับ ไหน
    ไง ก็ จะ สู้ๆ ครับบบบ ขอบ คุณ สำ หรับ โอ กาส ดีๆ

    ตอบลบ
  23. ตา ต่า ต้า ต๊า ต๋า12 กันยายน 2553 เวลา 13:17

    ผมรู้คับ ว่า ผมไม่รู้ เลยต้องพยายาม เพื่อที่ซักวันจะได้รู้ว่าตัวเองรู้

    ตอบลบ
  24. ผมรู้ตัวเองว่าสอบไม่ได้แน่แต่พี่ๆก็พยายามช่วยให้ถึงที่สุด
    ตอนนี้ผมกลับไปทบทวนจนเข้าใจแล้ว 70%การกดดันไม่มีแล้ว
    ขอบคุณพี่ๆทุกคนที่ให้โอกาส ผมจะเปลี่ยนตัวเองใหม่ ครับบบบ

    ตอบลบ
  25. ^_^รู้ว่าตัวเองไม่รู้ (ตระหนักว่าไม่รู้) ประเภทนี้เลยเรา...อิอิ
    คงต้องพยายาม ขยัน ให้มากขึ้นครับ คงต้องขอรบกวนถาม พวกพี่ๆ ในสิ่งที่ผมยังไม่รู้ ไม่เข้าใจ อีกยกใหญ่เลยครับ...
    (บนโลกใบนี้คงไม่มี คนฉลาด กับ คนโง่ คงมีแต่ คนที่รู้แล้ว กับ คนที่ยังไม่รู้เท่านั้น สิ่งใดที่รู้แล้วก็ว่า สิ่งนั้นมันง่าย ส่วนสิ่งใดที่ยังไม่รู้ก็ว่ามันยาก "รู้" รู้ด้วยความจำ สักวันอาจจะลืม "รู้" รู้ด้วยความเข้าใจ คงยากที่จะลบเลือน ให้มีสติกับสิ่งที่กำลังเรียนรู้ ให้มีความเพียรกับสิ่งที่ต้องการอยากจะรู้ ทดลองกระทำในสิ่งที่ได้รู้มา สอบถามเมื่อพบปัญหายามไม่เข้าใจ...ทุกอย่างเรียนรู้กันได้เสมอ...ใคร ทำอะไร ที่ไหน ทำกับใคร ยังไง เมื่อไร)^0^

    ตอบลบ
  26. ลูกศิษย์ท่านหนึ่งเรียนถามพระอาจารย์ด้วยความนบนอบว่า
    ลูกศิษย์ : ผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อรู้แจ้งแล้ว สภาพจิตและความรู้สึกสามารถ
    บรรยายออกมาได้หรือไม่?
    อาจารย์ : หากรู้แจ้งแล้ว ไม่สามารถบรรยายออกมาได้
    ลูกศิษย์ : เมื่อพูดออกมาไม่ได้ เปรียบเหมือนกับอะไร?
    อาจารย์ : เหมือนคนใบ้กินน้ำผึ้ง
    ลูกศิษย์ : เมื่อผู้ปฏิบัติที่ยังไม่รู้แจ้ง ถ้าบรรยายธรรมและเขียนคัมภีร์
    นับว่าเป็นผู้เข้าใจ “เซน” หรือเปล่า?
    อาจารย์ : เมื่อยังไม่รู้แจ้ง สิ่งที่พูด จะนับว่าเป็นการเข้าใจ”เซน”ได้อย่างไร?
    ลูกศิษย์ : เพราะเขาสามารถบรรยายธรรมได้อย่างลึกซึ้ง และแจ่มแจ้ง
    ถ้าหากไม่นับว่าเขาเข้าใจ”เซน”แล้วจะเหมือนอะไร?
    อาจารย์ : เหมือนนกแก้วหัดพูดภาษาคน
    ลูกศิษย์ : คนใบ้กินน้ำผึ้งกับนกแก้วหัดพูด แตกต่างกันอย่างไร?
    อาจารย์ : คนใบ้กินน้ำผึ้ง คือ “รู้”อุปมาดั่งคนดื่มน้ำ น้ำจะเย็นหรือร้อน
    ผู้ดื่มย่อมจะรู้อยู่แก่ใจดี นกแก้วหัดพูดเป็นการไม่ “รู้”
    เหมือนเด็กหัดพูด ย่อมจะไม่เข้าใจความหมายของสิ่งที่พูด
    ลูกศิษย์ : เมื่อเป็นอย่างนี้ เมื่อยังไม่รู้แจ้ง จะบรรยายธรรมฉุดช่วย
    ผู้คนได้อย่างไร?
    อาจารย์ : พูดในสิ่งที่ตัวเองรู้ ไม่พูดในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้
    ลูกศิษย์ : ตอนนี้พระอาจารย์รู้แล้วหรือยัง?
    อาจารย์ : อาจารย์เหมือนคนใบ้กินยาขม รู้รสขมแต่พูดออกมาไม่ได้
    แล้วก็เหมือนนกแก้วหัดพูด พูดได้เหมือนมาก

    ตอบลบ