วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดื่มกาแฟอย่างไร...ไม่เสียสุขภาพ


น้องนุ่น & น้องเกมส์


คะ ฉบับนี้นะคะ เรามาเอาใจนักดื่มกาแฟกันดีกว่า บ้างคนชอบดื่มกาแฟมากพอรู้ว่ากาแฟมีโทษก็ต้องทำให้เลิกดื่ม แต่วันนี้เรามีเกร็ดความรู้ เรื่อง ดื่มกาแฟอย่างไร...ไม่เสียสุขภาพ มาฝากคะ

เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา กาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนถูกโจมตีว่า ทำให้เกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิต เป็นหมัน ทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์แท้งได้หรือทารกน้ำหนักน้อย เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งรังไข่ ซีสต์ในเต้านม และกระดูกพรุน แต่ข้อมูลการวิจัยในปัจจุบันเปิดเผยว่าการดื่มกาแฟเพียงวันละ 1-2 ถ้วยนั้นปลอดภัย และอาจให้ผลดี ถ้าดื่มให้เป็น

           รายงานผลการวิจัยจากฟินแลนด์และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดระบุว่า คนที่ดื่มกาแฟมีความเสี่ยงการเกิดเบาหวานประเภท 2 น้อยกว่าคนที่ไม่ดื่ม ความเสี่ยงที่ลดลงเป็นสัดส่วนกับปริมาณกาแฟที่ดื่ม และกาแฟไร้คาเฟอีนให้ผลน้อยกว่า ส่วนชาไร้คาเฟอีนและเครื่องดื่มอื่นๆที่มีคาเฟอีนไม่ให้ผลเหมือนกาแฟ แต่นักวิจัยก็เตือนว่าอย่าเพิ่งมั่นใจจนหันไปโหมกาแฟ เพราะนักวิจัยยังต้องติดตามการวิจัยอีกมาก นอกจากนี้กาแฟยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคพาร์คินสัน ลดอันตรายจากตับในผู้ที่มีความเสี่ยงโรคตับ ลดอาการหอบในผู้ที่มีโรคหอบหืด เพิ่มความจำ และสำหรับนักกีฬาเพิ่มความทนและความอึดในกีฬาที่ต้องใช้เวลานาน

           สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟเพราะต้องการแก้ง่วง นักวิจัยแนะนำให้ดื่มปริมาณน้อยๆ แต่กระจายการดื่มออกไปตลอดวัน เช่น แทนที่จะดื่มถ้วยใหญ่ 16 ออนซ์ (500 มล .) ในตอนเช้า ให้ดื่มเพียงครั้งละ 2-3 ออนซ์ (60-90 มล ) แต่บ่อยขึ้น กาแฟจะเริ่มออกฤทธิ์ใน 15 นาทีและจะอยู่ในร่างกายนานหลายชั่วโมง และต้องใช้เวลาถึง 6 ชั่วโมงกว่าที่จะถูกขจัดออกจากร่างกาย

ของดีในกาแฟ


            นักวิจัยของศูนย์วิจัยใหญ่ในสวิสเซอร์แลนด์ซึ่งมีบริษัทขายกาแฟรายใหญ่ของโลกพบว่า เมล็ดกาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาเขียวถึง 4 เท่า และยังมากกว่าโกโก้ ชาสมุนไพรและไวน์แดงอีก ที่มากกว่าเพราะผู้บริโภคดื่มกาแฟมากกว่าเครื่องดื่มอื่นๆ แต่สารต้านอนุมูลอิสระในกาแฟแต่ละถ้วยและแต่ละยี่ห้อนั้นก็ไม่เท่ากันขึ้นกับชนิดของกาแฟ

            กาแฟพันธุ์โรบัสต้า (Robusta) มีสารต้านอนุมูลอิสระและคาเฟอีนมากกว่าพันธ์อราบิก้า (Arabicas) ถึง 2 เท่า ซึ่งเป็นผลมาจากวิธีการคั่วกาแฟ และปริมาณกาแฟที่ละลายแต่ละถ้วย รวมทั้งยังขึ้นอยู่กับวิธีการชงกาแฟ ระยะเวลาและปริมาณกาแฟที่ใช้ด้วย


ข้อควรระวังในกาแฟ

             คอกาแฟอย่าเพิ่งย่ามใจกับข้อมูลด้านดีๆ เพราะองค์ประกอบหลักของกาแฟคือสารคาเฟอีนซึ่งเป็นเป็นสารกระตุ้น จึงมีผลต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจพอสมควร โดยทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เพิ่มความดันโลหิต และทำให้หัวใจเต้นผิดปกติในบางครั้ง งานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยโทรอนโทเปิดเผยว่า การดื่มกาแฟมากอาจเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันในผู้ที่มียีนขจัดคาเฟอีนช้า ทำให้คาเฟอีนอยู่ในกระแสเลือดนานขึ้น แต่สำหรับคนที่มียีนปกติที่ขจัดคาเฟอีนได้เร็วกาแฟก็จะไม่มีผล

             ถึงอย่างไรนักวิจัยก็เชื่อว่าการดื่มเพียง 1-2 ถ้วยจะไม่มีผลต่อการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันไม่ว่ามียีนอย่างไร แต่การดื่มวันละ 4 แก้วขึ้นไปไม่ให้ผลดีขึ้น ดังนั้น ควรดื่มแต่พอควร เพราะปัจจุบันการตรวจยีนยังไม่ได้มีใช้กันเหมือนการตรวจสุขภาพทั่วไป และยีนที่แตกต่างกันทำให้ผลการวิจัยทางโภชนาการที่สัมพันธ์กับโรคต่างๆ ที่ออกมามีข้อมูลขัดแย้งกันจนเกิดความสับสน

             ส่วนผลของกาแฟต่อสุขภาพผู้หญิงก็ยังไม่มีผลวิจัยชัดเจน ว่าจะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ซีสต์ในเต้านมหรือกระดูกพรุนหรือไม่ การเดินสายกลางจึงดีที่สุด ผู้ที่ดื่มกาแฟสกัดคาเฟอีน อาจคิดว่าปลอดภัย แต่นักวิจัยเตือนว่า กาแฟสกัดคาเฟอีนอาจเพิ่มระดับกรดไขมันในเลือดให้สร้างแอลดีแอล ซึ่งเป็นคอเลสเทอรอลตัวร้ายได้ เพราะในกระบวนการสกัดคาเฟอีนจะสกัดเอาสารเฟลโวนอยด์ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารอื่นๆ ที่ให้รสชาติกาแฟแท้ๆ ออกไปด้วย นอกจากจะอร่อยน้อยลงแล้วยังมีผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย

             ข้อควรปฏิบัติ

             เลี่ยงกาแฟที่ใช้หม้อต้มแบบสไตล์สแกนดิเนเวีย เพราะจะมีสารไดเทอร์พีนสูง เพิ่มระดับคอเลสเทอรอลในเลือด ควรเลือกกาแฟสำเร็จรูปที่ละลายน้ำ หรือชนิดกรองหยด และเอสเพรสโซ ซึ่งจะมีผลน้อยกว่า

             ถ้าต้องเลือกกาแฟสกัดคาเฟอีน ควรเลือกชนิดที่ใช้กระบวนการสกัดธรรมชาติ (Swiss Water Process)

             สำหรับผู้ที่เลี่ยงกาแฟอยู่แล้ว ไม่ควรหันมาดื่มเพียงเพื่อต้องการผลดีจากคาเฟอีน โดยเฉพาะคนที่ร่างกายไวต่อกาแฟ การดื่มอาจยิ่งเพิ่มผลเสีย เช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น กระวนกระวาย นอนไม่หลับ กระเพาะหลั่งกรดออกมามากเกินควร ทำให้ปวดท้อง และเป็นสารขับปัสสาวะทำให้ร่างกายเสียน้ำมากขึ้น ดังนั้นทุกครั้งที่ดื่มกาแฟควรดื่มน้ำตามไปชดเชยด้วย

              ระวังสิ่งที่เติมลงในกาแฟ เช่น ครีม นมไขมันเต็ม น้ำตาล น้ำผึ้ง เพราะเท่ากับเติมพลังงานส่วนเกิน

              กาแฟมาตรฐาน 1 ถ้วย มีขนาด 5-6 ออนซ์หรือ 150-180 มล . แต่ที่ขายโดยทั่วไปนั้นมีขนาด 12 ออนซ์หรือ 360 มล . ซึ่งมากกว่าถึง 2 เท่า ดังนั้น ควรจำกัดการดื่มให้ไม่เกิน 5 ถ้วย ซึ่งเป็นปริมาณที่ใช้ในการศึกษาวิจัย

              สารคาเฟอีนเป็นสารธรรมชาติที่พบในอาหารอื่นด้วย เช่นใบชา เมล็ดโคลา โกโก้ ช็อคโกแลต น้ำอัดลมสีดำ และยาบางชนิด ซึ่งอาจทำให้ร่างกายได้รับคาเฟอีนเกินควร จึงต้องตรวจสอบพฤติกรรมของตัวเองเสมอ
            คะ หวังว่านักดื่มกาแฟคงไม่ผิดหวังกันข้อมูลในฉบับนี้ นะคะ

อ่านบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

9 วิธีเจ้านายรัก เจ้านายหลง (9 ways to impress your boss)

By Tee


อยากผ่านโปร เลื่อนขั้น ขึ้นเงินเดือน และโบนัสใจจะขาด ทำไงดีน๊า?
งานนี้ไม่ต้องพึ่งของดีกับรากราคะ!! เรามีคำแนะนำดีๆ จากคนเป็นเจ้านายมาฝาก
1. อย่าถาม ก็แค่ตอบ !

คนเป็นเจ้านายก็จะมีคำถามร้อยแปด ที่พนักงานทุกคนก็รู้คำตอบเหล่านี้ดีกว่าเจ้านายซะอีก มันอาจจะเป็นการง่ายกว่าที่จะเดินเข้าไปถามบอสเมื่อคุณไม่มั่นใจ แต่คราวหน้า ให้คุณถามตัวเองก่อนว่า " พวกเค้าจะมีคำตอบที่ดีกว่านั้นได้มั๊ย ? " แน่นอนว่า " ไม่ ! " ใครจะไปรู้จักงานของคุณดีเท่าคุณกันล่ะ หาความรู้ให้มาก เตรียมตัวให้พร้อมเสมอ และคิดให้กว้าง นั่นแหละคือสิ่งที่เจ้านายคุณต้องการ


2. มาพร้อมทางออก ไม่ใช่ปัญหา

มันเป็นสิ่งกวนใจคนเป็นนายอย่างสูงเมื่อลูกน้องเดินเข้าไปหาพร้อมกับปัญหาและคาดหวังคำตอบจากบอส อย่าเข้าไปปรึกษาปัญหากับนาย ถ้าคุณยังไม่มีทางออกที่เป็นไปได้ หลังจากที่คุณนั่งคิดใคร่ครวญหาทางออกนานถึง 10 นาทีเป็นอย่างต่ำ คิดดูสิ มันจะเท่ขนาดไหน ถ้าคุณเข้าไปปรึกษาปัญหายากๆ พร้อมกับเสนอหนทางแก้ไข เริ่ดซะไม่มีล่ะ
3. อย่ามาขอโทษ

คนทุกคนชอบให้คนอื่นๆ กล้ารับผิดในสิ่งที่ตัวเองทำ คุณต้องเผชิญหน้ากับความจริง การรับผิดชอบแค่เพียงเอ่ย ขอโทษ ตั้งแต่เริ่มแรก ทำให้คุณดูอ่อนแอ ครั้งต่อไปที่คุณทำผิด ให้คุณลองพูดถึงข้อดีหรือบทเรียนจากความผิดพลาดครั้งในนี้ พร้อมกับการแก้ไขปัญหา และแสดงความกระตือรือร้นในการปรับปรุงตัวของคุณ เจ้านายจะประทับใจและหันไปสนใจว่าคุณเรียนรู้อะไรจากความผิดพลาดครั้งนี้


4. เอาอารมณ์เก็บไว้ที่บ้าน

อย่าส่งอีเมล์แสดงความโกรธแค้น หงุดหงิด งุ่นง่านของคุณไปหาเจ้านายเด็ดขาด รวมไปถึงชื่อ MSN ด้วยนะ เมื่อคุณโกรธ หรือโมโห ให้เขียนอีเมล์ทันที แต่อย่าเพิ่งส่งไปนะ รอสัก ชั่วโมงครึ่ง จากนั้นอ่านอีเมล์ฉบับเดิมนั้นซ้ำไปซ้ำมา สัก 9 -10 รอบ สังเกตอารมณ์ของตัวเอง คุณจะค่อยๆ เย็นลง เจ้านายจะชื่นชมวิธีการรับมือกับอารมณ์ของคุณ


5. พร้อมเสิร์ฟเสมอ

หลายๆ คน มันจะบ่นกับเพื่อนๆ หรือกับตัวเองอยู่บ่อยครั้งเมื่อถูกเจ้านายเรียกใช้ให้ทำสิ่งที่นอกเหนือ job description ว่า " ไม่ใช่งานช้านนนน....! หรือว่า ไม่ใช่หน้าที่ช้านนน...!!!!


ให้ถือซะว่ามันคือความท้าทาย บางทีอาจเป็นโอกาสที่ดีที่คุณจะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ และบอส ของคุณจะประทับใจในสปิริต ของคุณ จำไว้เสมอว่า คุณพร้อมที่จะช่วย
6. อย่าคิดตบตาบอส

จากปากของบรรดาเจ้านายบอกกับเราว่า บ่อยครั้งที่ ได้รับ SMS ลาป่วยจากพนักงาน ก็อดคิดไม่ได้ว่าพวกเขาหรือเธอกำลังโกหก หรือแม้กระทั่งการแจ้งลาป่วยกับฝ่าย HR โดยไม่ผ่านบอสของคุณก่อน ก็ยิ่งน่าสงสัย คราวหน้า ช่วยฝืนสังขารแล้วโทรหานายคุณโดยตรงจะดีกว่าค่ะ


7. ตอบสนองเจ้านายคุณบ้างสิ !!

การสื่อสารในทีมแบบมีปฏิกิริยาตอบโต้กันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กร ถ้าคุณรู้สึกดีๆ กับสิ่งที่นายคุณทำ ก็บอกกับเธอหรือเค้าซะเถอะ อย่างเช่น " ดิชั้นชื่นชมความคิดเห็นของคุณในการประชุมครั้งนี้ค่ะ " รับรองว่าเจ้านายคุณจะต้องมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับคุณแน่นอนค่ะ เพราะการตอบสนองในแง่บวกต่อการกระทำของเจ้านายคุณจะส่งแรงกระตุ้นต่อพฤติกรรม ทั้งยังพัฒนาสัมพันธ์ภาพในการทำงานของคุณกับเจ้านายคุณอีกด้วย แต่ขอบอกก่อนว่าต้องชมด้วยความรู้สึกจากใจนะ ไม่อย่างนั้นเค้าเรียกว่าประจบจ้า !


8. เลิกคร่ำครวญซะที

การที่คุณพร่ำบ่นไปกับทุกสิ่ง จะทำให้เจ้านายและเพื่อนร่วมงานเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย รำคาญ ในสายตาพวกเค้าคุณก็เป็นเฉกเช่น เด็กไม่รู้จักโต มีเรื่องอะไรนิด อะไรหน่อยก็โหวกเหวกโวยวายไม่รู้จักจบสิ้น เจ้านายคุณก็จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเรื่องไหนที่เป็นปัญหาที่แท้จริง ? เจ้านายจะให้ความเคารพคุณมากขึ้น ถ้าคุณรู้จักสงบและเลือกประเด็นปัญหาที่ใหญ่พอจริงๆ ขึ้นมาพูดคุยเพื่อถกประเด็นกันในที่ประชุม


9. กระตือรือร้นสม่ำเสมอ

ในที่ประชุมมักจะมีไอเดียและข้อแนะนำอะไรหลายๆ อย่าง แต่มันจะไม่มีประโยชน์อันใดเลยถ้าคุณไม่แสดงความรับผิดชอบต่อไอเดียของคุณอย่างกระตือรือร้น เลือกไอเดียดีๆ มาสักอย่างแล้วพยายามทำให้มันเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา คุณจะไม่ได้รับแค่เพียงคำชมแต่คุณจะได้กระเถิบเข้าไปสนิทชิดเชื้อกับเจ้านายมากขึ้น เพราะผลงานของคุณนี่แหละ

อ่านบทความทั้งหมด

การเตรียมตัวออกทริปท่องเที่ยว ด้วยจักรยาน (bicycletripthai)

By P'Sunant


ใกล้ปีใหม่เข้าไปทุกทีแล้ว ใครมีโปรแกรมไปเที่ยวไหนอะไรยังไงบ้างเอ่ย ยังไงก็ระมัดระวังการเดินทางกันด้วยนะครับ

วันนี้ผมเลยหยิบเรื่องของพี่นันมาลงซึ่งส่งมาแล้วสักพักหนึ่งอยากให้เป็นเรื่องสบายๆหลังจากอัดแน่นด้วยสาระไปหลายต่อหลายตอน ใครสนใจการปั่นจักรยานคลายเครียด ปั่นจักรยานท่องเที่ยว อย่ารีรอรีบกดไปหาความรู้โดนพลัน


การเตรียมตัวออกทริปท่องเที่ยว ด้วยจักรยาน (bicycletripthai)

1. จักรยานไม่ว่าจะใหม่หรือเก่าก่อนออกไปใช้ ควรตรวจตราดูความเรียบร้อยของรถเสมอ เช่น เบรกอยู่ในตำแหน่งของมันหรือเปล่า ยางอ่อนไปไหม อุปกรณ์บนตัวรถยังทำงานได้เป็นปกติไหม พูดง่าย ๆ ก็คือรถต้องพร้อมสมบูรณ์ทุกอย่างนั่นเอง


2. อุปกรณ์ประกอบเมื่อซื้อมาแล้วอย่านำไปวางไว้เฉย ๆควรนำมาใช้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ไฟหน้า-หลัง กระดิ่ง หรือพวกเครื่องป้องกันร่างกายเรา เช่น ถุงมือ ถุงแขน แว่นตา เพราะไม่ว่าทางจะใกล้หรือไกลมักเกิดอันตรายที่ไม่คาดคิดได้เสมอ โดยเฉพาะหมวกกันน๊อคควรสวมใส่ให้เป็นนิสัย


3. ติดตั้งไฟหน้าด้วยสีขาวปรับให้ได้ระดับสายตาของรถคันหน้า แล้วเปิดให้กระพริบตลอดเวลา ส่วนไฟหลังติดตั้งไฟหลังสีแดงเปิดให้กระพริบตลอดเวลาเช่นกัน สำหรับเวลากลางคืน


4. ควรเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและยาสามัญทั่วติดตัวกันไปบ้าง เพราะอุบัติเหตุกับนักจักรยานมักเลี่ยงกันไม่ค่อยพ้น เช่น ยาใส่แผลสด น้ำยาฆ่าเชื้อ ผ้าก๊อต พลาสเตอร์ ครีมหรือยาแก้เคล็ดขัดยอก ยาแก้ไข้ หรือพวกครีมกันแดด เป็นต้น


5. เมื่อรถเราพร้อมสำหรับการที่จะออกทริปแล้วเราก็ควรจะมีการวางแผนในการออกทริป แต่ละทริปด้วยถ้าเรามีการวางแผนที่ดี ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางหรือสภาพทางที่เราจะต้องขี่รถไป หรือสถานที่ที่เราจะไปเที่ยวไปพักให้พอมีข้อมูลอยู่บ้างถึงแม้จะไม่สมบูรณ์ 100 % ก็ตาม ตรงนี้ก็จะช่วยเราได้มาก เพราะการวางแผนการเดินทางสำหรับจักรยานนั้นมีความสำคัญมาก เพราะการเดินทางด้วยจักรยานนั้น หากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งผิดพลาดระหว่างการเดินทางแล้วจะทำให้เสียเวลาเป็น อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการหลงทาง ยางแตก อุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือรถมีปัญหา ดังนั้น ควรมีการวางแผนไว้บ้างน่าจะเป็นผลดีต่อการเดินทาง


6. สิ่งของหรืออุปกรณ์ที่จะนำไประหว่างการออกทริปตรงนี้ต้องบอกว่าแล้วแต่ลักษณะการออกทริปของเราว่าเป็นแบบใด เช่น จะใช้เวลาออกทริปกี่วัน จะพักกันแบบไหน และเมื่อได้รูปแบบการออกทริปแล้ว จึงจะมาจัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ แต่ที่ต้องไม่ลืมเลยก็คือ ชุดเครื่องมือในการซ่อมแซมจักรยาน และอุปกรณ์ปะเปลี่ยนยาง สูบลมแบบติดรถ ยางในสำรอง แต่หากต้องเดินทางไกลกันจริง ๆ ไปกันหลายวัน หรือสภาพเส้นทางทุระกันดารกว่าปกติ เราอาจต้องเพิ่มเครื่องมือบางอย่างติดรถไปด้วย เช่น ตัวตัดต่อโซ่พร้อมสลักหรือข้อต่อสำรอง เครื่องมือถอดและขันชุดกระโหลก เป็นต้น ส่วนข้าวของเครื่องใช้อย่างอื่น ๆ ที่ต้องติดตัวไปด้วยเสมอ เช่น ไฟฉาย ไฟแช็ค มีดพกขนาดเล็ก เชือก ผ้าสักผืนสองผืน น้ำมันหล่อลื่นโซ่


ส่วนใครใคร่จะนำอะไรติดตัวมากไปกว่าที่กล่าวมานี้ก็สุดแล้วแต่ตวามจำเป็น แต่ขอแนะนำสักนิด ว่าเราเดินทางด้วยจักรยานไม่ใช่รถยนต์ น้ำหนักที่เราแบกไปนั้น ควรจะน้อยที่สุดเอาเฉพาะของที่จำเป็นไปเท่านั้น เพื่อที่เราจะได้ไม่อ่อนล้ากับการแบกน้ำหนักเกินความจำเป็น


7. สำหรับการขี่ออกทริปเป็นหมู่คณะนั้นก็มีข้อดีคือเราสามารถแชร์เรื่องสัมภาระกันได้ โดยที่เราไม่ต้องแบกเครื่องไม้เครื่องมืออยู่เพียงคนเดียว หรือเครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างก็สามารถใช้ร่วมกันได้ เช่น พวกเต็นท์ ยางอะไหล่ เครื่องมือซ่อมรถทั่ว ๆ ไป



การเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยานนั้น หากเราเดินทางใกล้ ๆ ประเภทไปเช้าเย็นกลับ หรืออาจต้องมีการค้างแรมแต่มีความสะดวกสบายพอสมควร หาของกินของใช้ได้ง่าย บางครั้งการสะพายเป้หลังเพียงใบเดียว เอาอุปกรณ์ข้าวของเพียงไม่กี่อย่างติดตัวไปก็พอเพียงแล้วสำหรับการ ออกทริปแต่ละทริป แต่สำหรับนักปั่นที่พิศสมัยการเดินทางด้วยจักรยานอย่างจริงจังและยาวนาน ประเภทที่ว่าขี่ในสไตล์ทัวร์ริ่งเป็นอาชีพ การเตรียมตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ และสำหรับนักปั่นประเภทนี้ การเลือกใช้รถจักรยานก็มีความจำเป็นที่ต้องเลือกประเภทที่เอื้ออำนวยต่อการ ทัวร์ริ่งเช่นกัน เช่นตัวรถต้องมีขนาดพอเหมาะ ไม่เล็กหรือบอบบางจนเกินไปเพราะเราคงหลีกเลี่ยงการบรรทุกสัมภาระไม่ได้

สำหรับคนที่หันมาท่องเที่ยวด้วยจักรยาน อาจจะบรรทุกมากบ้าง น้อยบ้าง แล้วแต่ทริป ซึ่งตัวรถเองก็คงต้องมีการดัดแปลง ปรับท่วงท่า หรืออาจติดตะแกรงเข้าไปเพื่อการนี้ จักรยานบางคันจึงมองดูเหมือนรถบรรทุกขนาดย่อม ๆ นี่เอง
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการจัดเตรียมข้าวของเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมถึงจักรยานคู่ใจของเราแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดก็คือตัวนักปั่นนั่นเองคงต้องยอมรับกันก่อนว่า การขี่จักรยานนั้นเป็นอะไรที่ไม่ได้สะดวกสบายอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ ทั้งตากแดด ตากลม บางครั้งตากฝน บางครั้งหนาวเสียจนแทบอยากจะทิ้งจักรยาน มันมีทั้งความเหน็ดเหนื่อย ความอ่อนล้า อันตราย จากรถที่ขับขี่ผ่านเราไปสารพัด แต่ในเมื่อรู้ทั้งรู้และยังมีความต้องการที่จะขี่จักรยานท่องเที่ยว เพื่อที่จะออกทริปได้อย่างสนุก


การเตรียมตัวหรือทำให้ ตัวเองแข็งแรงมีความฟิตอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่นักปั่นทั้งหลายพึงกระทำ เพราะถ้าเราไม่มีแรงปั่นลูกบันไดแล้ว สิ่งที่เราจัดเตรียมมาทั้งหมดก็ถือว่าไม่มีความหมายอันใด พาลทำให้เที่ยวไม่สนุกอีกต่างหาก แต่ถ้าเราแข็งแรงมีแรงปั่นลูกบันไดได้เป็นวัน ๆ สิ่งที่เราได้จากการขี่จักรยานท่องเที่ยวจะเป็นประสบการณ์ที่ดีที่ไม่รู้ ลืมเลยทีเดียว อีกทั้งยังมีความภูมิใจในตัวเองอีกด้วย





อ่านบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หอหล่อเย็น (Cooling Tower)


โดย น้องนุ่นและน้องเกมส์




ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนเลยว่าช่วงนี้มีคนส่ง Blog มาให้ลงเยอะมากๆๆๆ ต้องขอขอบคุณทุกคน และ ต้องขอโทษด้วยที่บางเรื่องที่นานแล้วยังไม่ได้เอามาลงสักที และที่ส่งใหม่ๆอย่าเพิ่งท้อใจไปว่าส่งมาแล้วไม่เห็นลงให้เพราะมาพร้อมกันเยอะดังนั้นต้องขอเลือกนิดนึงก่อนนะครับ
สำหรับบางเรื่องอาจมีเนื้อหา น้อยไปนิด หรือ อาจติดเรตไปบ้าง เรื่องของบางคนจึงอาจไม่ได้ลงก็ไม่ต้องเสียใจไป
ว่าแล้วก็เข้าเรื่องเลยดีกว่า....

ในโรงงานอุตสาหกรรมเคมี เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้น้ำร้อนที่ผ่านการถ่ายเทความร้อนมาจากกระบวนการผลิต (Process) ที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) มาทำให้น้ำนั้นเย็นลง โดยใช้หลักการให้น้ำร้อนนั้นถ่ายเทความร้อนและมวล (Heat and Mass Transfer) กับอากาศ

หลักการถ่ายเทความร้อนของ Cooling Tower



ใช้การระเหยของน้ำในขบวนการ เป็นการแลกเปลี่ยนความร้อนมีการสูญเสียน้ำไปส่วนหนึ่ง แต่น้ำส่วนใหญ่นำกลับมาใช้ได้อีก ขบวนการถ่ายเทความร้อนใน Cooling tower แบ่งเป็น 2 ส่วน

1. การถ่ายเทความร้อนแฝง (Latent Heat) จากการระเหยของน้ำไปสู่อากาศที่ยังไม่อิ่มตัว

2. การถ่ายเทความร้อนสัมผัส (Sensible Heat) จากอุณหภูมิน้ำที่สูงไปสู่อุณหภูมิของอากาศที่ต่ำกว่า


ระบบการระบายความร้อนด้วยน้ำมี 3 ลักษณะ คือ

1. Once Through Cooling System

เป็นระบบสูบน้ำจากแหล่งน้ำ นำไปหล่อเย็นแล้วปล่อยทิ้งเลย โรงงานที่ใช้ระบบนี้จะต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งมีปริมาณน้ำเพียงพอกับการใช้งาน
2. Open Recirculating Cooling System

ระบบนี้เป็นการนำเอาน้ำหมุนเวียนมาใช้อีก ฉะนั้นจึงต้องมีหอระบายความร้อน(Cooling Tower) ระบบนี้จะประหยัดน้ำและสารเคมีมากกว่าการใช้ Once Through Cooling System เป็นระบบที่ใช้ทั่วไปในโรงงาน

3. Closed System

เป็นระบบปิดมีการสูญเสียน้ำน้อยมาก แต่การระบายความร้อนจากน้ำทิ้งต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติม ตัวอย่างของระบบนี้เช่น หม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น



ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงาน

1. การแตกตัวของละอองน้ำ แตกตัวมากถ่ายเทความร้อนได้มาก

2. พื้นที่แผงกระจายละอองน้ำ ถ้ามากจะเพิ่มโอกาสสัมผัสกับอากาศมากขึ้น

3. ปริมาณอากาศ ถ้ามากจะเพิ่มอัตราการถ่ายเทความร้อน

4. อุณหภูมิกระเปาะแห้งของอากาศ ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกปริมาณความชื้นในอากาศ



ประเภทของ Cooling Tower

1. Natural Draft Tower

เป็นแบบง่าย ใช้อากาศหมุนเวียนตามธรรมชาติ ในแนวนอนผ่านแผงกระจายน้ำ และฉีดน้ำจากด้านบน มีขนาดใหญ่ ลงทุนสูงใช้พลังงานน้อย แต่ไม่สามารถควบคุมการทำงานของระบบได้

2. Mechanical Draft Tower

ใช้พัดลมทำให้อากาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มีขนาดเล็ก ถ่ายเทความร้อนได้ดี ควบคุมง่าย แบ่งย่อยออกเป็น 2 แบบคือ

2.1 Force Draft Tower
มีการเป่าอากาศเข้าไปสัมผัสกับน้ำที่ไหลลงจากด้านบน ตามธรรมชาติ มีแบบ

- Cross flow คือ เป่าอากาศทางด้านข้าง



- Counter flow คือ เป่าอากาศเข้าทางด้านล่าง



มีทั้งแบบ Single-cell และ Multi-cell โดยตัว Casing อาจทำจาก Polyester, คอนกรีต หรือแผ่นเหล็ก

การเป่าอากาศแบบ Cross flow
2.2 Induced Draft Tower

2.3 เป็นแบบใช้พัดลมดูดอากาศออก มี 2 แบบ

2.4 1. Cross flow

2.5 2. Counter flow มีการถ่ายเทความร้อนคงที่ เนื่องจากมีอัตราการไหลของอากาศสม่ำเสมอควบคุมง่าย มีข้อเสียคือไม่สมารถใช้ระบายความร้อนให้กับสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนได้


การเป่าอากาศแบบ Counter flow

ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในระบบน้ำหล่อเย็น มีดังนี้

1. Corrosion

เป็นปฏิกิริยาทางไฟฟ้าเคมี มีผลทำให้เกิดการสูญเสียเนื้อโลหะ ทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์สั้นลง สาเหตุการเกิดมีหลายประการดังนี้ - โลหะต่างชนิดกันสัมผัสกัน

- pH ของน้ำไม่ได้เป็นกลาง - -- --

- ความเครียดของโลหะไม่เท่ากัน

- คุณสมบัติของน้ำ

การป้องกันและแก้ไข

- ใช้โลหะที่ทนทานต่อการกัดกร่อน

- ใช้โลหะอื่นที่ผุกร่อนได้ง่ายกว่าผุแทน

- ปรับสภาพของน้ำ

- ใส่สารเคมีลงไปเพื่อทำให้เกิดฟิล์มเคลือบที่ผิวโลหะ

2. Scale(ตะกรัน)

ที่พบเห็นโดยทั่วๆ ไปได้แก่ CaCO3(หินปูน) สาเหตุการเกิดมีหลายประการดังนี้

- ความเข้มข้นของปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำ มีค่าเกินจุดอิ่มตัว

- ผิวของโลหะถ้าหยาบจะเกาะติดได้ง่าย

- ผลึกที่เกิดใหม่จะไม่แข็งแรง ถ้าทิ้งไว้นานจะแข็งแรงขึ้น

การป้องกันและแก้ไข

- ใส่สารเคมีลงไปแทรกแซงการเกิดผลึก

- ใส่สารเคมีลงไปทำให้ตะกอนต่างๆที่อยู่ในน้ำเกิดการละลายน้ำได้มากขึ้น

3. Foulant

ค่าของแข็งต่างๆ ที่แขวนลอยอยู่ในน้ำที่พบมากคือสนิมเหล็ก, ฝุ่นละออง จะต่างจากตะกรันคือ มีลักษณะนิ่ม ล้างออกได้ง่ายเป็นตัวการทำให้เกิดสนิม และยังไปลดประสิทธิภาพของสารเคมีที่เติมเข้าไป สาเหตุการเกิดมีหลายประการดังนี้ - อัตราการไหลและลักษณะการไหลของน้ำ

- ชนิดของโลหะ

การป้องกันและแก้ไข

- กรองเอาสารแขวนลอยในน้ำออก

- ทำให้น้ำมีการไหลแบบปั่นป่วนมากขึ้น

- เปิดให้น้ำไหลย้อนทิศทาง

- เป่าอากาศเข้าไปยังจุดอับ

4. Microbiological Growth

เชื้อจุลินทรีย์ทั้งหลายสามารถเจริญเติบโตได้ดีในระบบน้ำหล่อเย็น เพราะมีอาหารพียงพอ อุณหภูมิพอเหมาะ เชื้อจุลินทรีย์แบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ - ตะไคร่น้ำ การเจริญเติบโตต้องอาศัยออกซิเจนและแสงแดด

- เชื้อรา การเจริญเติบโตต้องอาศัยอาหาร, ออกซิเจน และ ความชื้น - แบคทีเรีย มีทั้งชนิดที่อยู่ได้โดยไม่มีออกซิเจน และต้องใช้ ออกซิเจน

การป้องกันและแก้ไข

- ใส่สารเคมีลงไปฆ่าเชื้อ

- ใส่สารเคมีลงไปเพื่อทำให้เมือกที่เกิดขึ้นหลุดลอยไปกับน้ำได้
อ่านบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับ pH ตอนที่ 2 (Fundamental of pH part 2)

โดย น้องนุ่น และน้องเกมส์




ในครั้งที่แล้วได้แนะนำเกี่ยวกับการตรวจวัดพีเอช ซึ่งบทความของเราได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามจากทีมงานฝ่ายผลิต คราวนี้เราจะขอกล่าวย้อนไปถึงรายละเอียดของพีเอช หรือ potential of hydrogen ion ในเรื่องของความสัมพันธ์ของค่าพีเอชในเชิงปริมาณ

ในปี ค.ศ. 1887 Svante Arrhenius (อาเรเนียส) ได้ค้นพบและตั้งทฤษฎีว่า เกลือละลายน้ำ จะแตกตัวเป็น ไอออนบวก และไอออนลบ เค้าจึงเอาสิ่งที่ค้นพบมาสร้างความสัมพันธ์ และสร้างสถานะของทุกๆ สารละลายกรด ให้กรดแตกตัวออกเป็น H+ จากการค้นพบของ อาเรเนียส เขาจึงค้นพบว่าสภาพความเป็นกรดและด่าง จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ H+

จึงเป็น บทเรียนที่เราเรียนกันจนทุกวันนี้ คุ้นๆหูในนามของ นิยามกรด-เบส ของ อาเรเนียส ที่กล่าวไว้ว่า

กรด คือ สาร เมื่อละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ H+

เบส คือ สาร เมื่อละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ OH-



ค่า pH เป็นค่าที่ใช้บอกความแรงของกรดหรือเบสอย่างง่ายๆ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับผลิตภัณฑ์ทั่วไปไม่เฉพาะพวกสารเคมี คนทั่วไปเข้าใจได้ ค่าpHนี้กำหนดโดยความเข้มข้นของโปรตอน (H+) ในสารละลาย ยิ่งโปรตอนเข้มข้นมากซึ่งก็คือเป็นกรดมาก pHจะต่ำ ในทางกลับกันถ้าสารละลายเป็นเบส คือความเข้มข้นของโปรตอนต่ำ pH จะสูงค่าpH คำนวณได้จากสูตรนี้



pH = -log[H+]





โดย [H+] คือความเข้มข้นของโปรตอนในหน่วย โมล/ลิตร

โมล คือ หน่วยวัดปริมาตรทางเคมี โดยปกติอ้างอิงจากน้ำหนักจริงของสารหารด้วยน้ำหนักโมเลกุลของสารชนิดนั้น ซึ่งเป็นค่าคงที่



ในการวัดความเป็น กรด – เบส ในสารละลายนั้น เราใช้คำว่า “pH” เป็นตัวบ่งชี้ ตัว p ย่อมาจาคำว่า power ซึ่งมีความหมายในเชิงยกกำลัง ส่วน H นั้นหมายถึง ความเข้มของประจุไฮโดรเจน pH มีค่าเป็นตัวเลขตั้งแต่ 0 – 14 สารประกอบที่มีค่า pH 5 มีประจุไฮโดรเจนมากกว่า สารประกอบที่มีค่า pH 6 ถึง 10 เท่า



น้ำบริสุทธิ์มีค่า pH เป็นกลางอยู่ที่ pH 7 นั้นหมายถึง น้ำ 1 ลิตร ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีประจุไฮโดรเจน และประจุไฮดรอกไซด์ อยู่จำนวนเท่ากันคือ 1 x 10 –7 โมล



* เบสแก่ คือ เบสที่แตกตัวได้มากหรือ เบสที่แตกตัวได้ 100 % หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า

อิเล็กโทรไลต์แก่ ได้แก่ เบสหมู่ 1 ทุกตัว และเบสหมู่ 2 ยกเว้น Be(OH)2

* กรดแก่ คือ กรดที่แตกตัวได้มากหรือ เบสที่แตกตัวได้ 100 % หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า

อิเล็กโทรไลต์แก่ แบ่งออกเป็น

กรด Hydro ได้แก่ HCl , HBr , HI

กรด Oxy ได้แก่ H2SO4 , HNO3 , HClO3 , HClO4

ข้อสังเกต กรด Oxy ที่แก่ ให้นำจำนวนออกซิเจนลบกับจำนวน H+ ที่แตกตัวได้

ถ้าผลลัพธ์ตั้งแต่ 2 ขึ้นไปจะเป็นกรดแก่





ค่า pH ปกติมีค่าที่นิยมใช้กันคือ อยู่ระหว่า 0 - 14

โดยการวัดค่า pH นั้นที่ 0 วัดจากค่าความเข้มข้นของกรด HCl ที่ความเข้มข้น ที่ 1 M

pH ที่ 7 วัดจากค่าของน้ำ (Pure Water)

pH ที่ 14 วัดจากค่าความเข้มข้นของเบส NaOH ที่ความเข้มข้นที่ 1 M

ในกรณีที่เราต้องการค่า pH เป็น -1 ก็ทำการเตรียมกรดที่ 10 M แต่ถ้าต้องการวัดค่า pH ที่ 15 ก็ทำการเตรียมเบสที่ 10 M





* กรด คือ สาร เมื่อละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ H+

* เบส คือ สาร เมื่อละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ OH-



ในปกติ เราจะบอกความเป็นกรดเบสโดยอาศัยค่าความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน [H+] แต่มันไม่สะดวกในการอ้างถึงเพราะมันจะอยู่ในรูปของเลข 10 ยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังติดลบนะคะ อย่าง เช่น 10^-7 ประมาณนี้ เขาจึงอาศัยคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยให้ตัวเลขเหลือน้อยลง โดยใช้ลอการิทึม โดยมีสูตรว่า

pH = - log[H+]



จะทำให้ในการกล่าวถึงความเป็นกรดเบสทำได้ง่ายขึ้นนะคะ

อย่างเช่น ถ้า [H+] = 10^-7

pH = - log(10^-7) = - (-7) = 7 คะ



ตัวอย่าง pH ของน้ำ



เมื่อใส่ค่า p หรือ –log ลงทั้งสองข้าง ของสมการ



pH หรือ –log H+ ของน้ำ = -log (1 * 10^-7)



pH = -(log 1 + log 10^-7)



= -{log 1 + (-7 log 10)}



= -(log 1 – 7 log 10)



= -log 1 + 7 log 10



ตามหลักคณิตศาสตร์ log 1 มีค่าเท่ากับ 0 และ log 10 มีค่าเท่ากับ 1 (เครื่องหมายเพราะฉะนั้น) pH ของน้ำ = 0 + 7 = 7







จากการพิสูจน์ข้างต้นเมื่อน้ำมีค่า pH = 7 หรือมีค่า H+ 1 อะตอมจากน้ำทุกๆ 10^7 โมเลกุล ถ้าเราเอาน้ำอัดลมมาวัดค่า pH สมมุติวัดได้ค่า pH = 5 ซึ่งก็หมายความว่ามี H+ 1 อะตอมจากทั้งหมด 10^5 โมเลกุล ความเป็นกรดของน้ำอัดลม จึงมีค่าสูงกว่าน้ำธรรมดาถึง 100 เท่า



ค่า pH ส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในช่วง 1-14 ครับ แต่สามารถน้อยกว่า 1 หรือมากกว่า 14 ก็ได้คะ





ตัวอย่าง 1



ถ้าเราต้องการเปลี่ยน pH 1 ที่มีความเข้มข้น 10-1 mol/L ให้เป็น pH 2 เราควรทำอย่างไร

ตามสูตร C1V1 = C2V2



เมื่อ C เป็นความเข้มข้น มีหน่วยเป็น โมลต่อลิตร

V เป็นปริมาตรหน่วยเป็น ลูกบาศก์เมตร (อาจใช้เป็นลิตร หรือลูกบาศก์เมตรก็ได้)



เช่น เอา pH1 มา 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะได้

10-1*100 = 10-2*V2

0.1*100 = 0.01 * V2

V2 = 1000

คือต้องทำให้สารละลายมีปริมาตร 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตรโดยการเติมน้ำลงไปอีก 900 ลูกบาศก์เซนติเมตรค่ะ นั่นหมายถึงการปรับพีเอชจาก 1 เป็น 2 นั้น ต้องเติมน้ำเข้าไปเพิ่มจากปริมาณเดิมถึง 9 เท่า



ทีนี้อยากถามสมาชิก Blog ว่าแล้วถ้าปรับพีเอชจาก 1 ซึ่งเป็นกรดให้มีค่าเป็นกลางพีเอชประมาณ 6 ต้องเติมน้ำเข้าไปเพิ่มอีกเท่าไรคะ ???



อ่านบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เกร็ดความรู้ เรื่อง ถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon)

โดย น้องนุ่น และน้องเกมส์




คะ ฉบับนี้นะคะ เรามามีความรู้ เรื่อง “ถ่าน” กันดีกว่า แล้วถ่านในที่นี้ก็คือ ถ่านกัมมันต์หรือแอกทิเวตเตทคาร์บอน แต่ทุกคนคงสงสัยกันใช่ไหมว่า ถ่านกัมมันต์แตกต่างกับถ่านธรรมดาอย่างไรกันนะ
ถ่านกัมมันต์หรือ แอกทิเวตเทต คาร์บอน (activated carbon) เป็นถ่านที่มีสมบัติพิเศษที่ได้รับการเพิ่มคุณภาพหรือประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีสมบัติหรืออํานาจในการดูดซับสูง เนื่องจากมีรูพรุน (Pores) ขนาดเล็กเกิดขึ้นจํานวนมาก และขนาดรูพรุนก็แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตและวัตถุประสงค์ในการใช้งาน การที่วัสดุประเภทถ่านกัมมันต์ หรือถ่านหุงข้าวมีรูพรุนนี้เอง เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ทำให้วัสดุมี “พื้นที่” ในการดูดซับสารต่าง ๆ ได้

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตถ่านกัมมันต์มีหลายชนิด ส่วนใหญ่มักเป็นพวกเซลลูโลสที่มาจากพืชและต้นไม้เช่น ไม้ยางพารา ไม้ไผ่ เศษไม้เหลือทิ้ง และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น แกลบ กะลา มะพร้าว ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพวกถ่านหินเช่น ลิกไนต์ แอนทราไซต์ เป็นต้น ส่วนวัตถุดิบที่มาจากสัตว์นั้นมีไม่มาก เช่น กระดูก หรือ เขาสัตว์ เป็นต้น

การผลิตถ่านกัมมันต์โดยทั่วๆไป แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการเผาวัตถุดิบให้เป็นถ่าน โดยทั่วไปมักใช้วิธีเผาที่ไม่มีอากาศเพื่อไม่ให้วัตถุดิบกลายเป็นเถ้า และขั้นตอนการนําถ่านไปเพิ่มคุณภาพด้วยเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่าการกระตุ้น (activation) แบ่งได้เป็น 2 วิธีคือ การกระตุ้นทางเคมี และการกระตุ้นทางกายภาพ

ในปัจจุบันกรรมวิธีผลิตถ่านกัมมันต์มีมากมายหลายวิธี ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ ลักษณะและคุณสมบัติของถ่านกัมมันต์ที่ต้องการ แต่โดยทั่วไปกระบวนการดังกล่าวประกอบด้วยขั้นตอนใหญ่ๆ 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ขั้นเตรียมวัตถุดิบ ขั้นการทำให้เป็นถ่าน หรือ การคาร์บอไนซ์เซชัน และ ขั้นการกระตุ้น
1. วัตถุดิบ
2. บดและคัดขนาด หรือทำเป็นเม็ด
3. ทำให้เป็นถ่าน
4. กระตุ้นทางเคมี หรือฟิสิกส์
5. ล้างและทำให้แห้ง
6. บดและคัดขนาด
7. ผลผลิตถ่านกัมมันต์



ในความหมายง่ายๆของมันก็ คือ การคาร์บอไนซ์เซชัน อาจกล่าวได้ว่า การคาร์บอไนเซชันเป็นการเพิ่มปริมาณคาร์บอนให้สูงขึ้น ทำได้ง่ายโดยการเผาในที่อับอากาศที่อุณหภูมิ 200-500 องศาเซลเซียส คาร์บอไนซ์เซชันเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในกระบวนการผลิตถ่านกัมมันต์เพราะเป็นขั้นตอนเริ่มต้นของการทำโครงสร้างมีรูพรุน ( ถ่านธรรมดาไม่ผ่านกระบวนการนี้ )





การกระตุ้น คือ การทำให้คาร์บอนหรือถ่านมีความสามารถในการดูดซับสูงขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเพิ่มพื้นที่ผิวและการทำให้ผิวมีความว่องไวมากขึ้น การกระตุ้นเกิดขึ้นได้ 2 ประเภท คือ

1. วิธีการกระตุ้นทางเคมี (Chemical activation)

เป็นการผลิตถ่านกัมมันต์โดยใช้สารกระตุ้นทำปฏิกิริยากับผิวคาร์บอน โดยมีความร้อนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และข้อดีของวิธีนี้ คือ ใช้อุณหภูมิไม่สูงมาก แต่มีข้อเสียคือ สารเคมีตกค้างในถ่านกัมมันต์ทำให้ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการล้างสารเคมีดังกล่าวออกเพิ่มขึ้น

2. วิธีการกระตุ้นทางกายภาพ (physical activation)

เป็นการผลิตถ่านกัมมันต์โดยที่ผิวคาร์บอนเกิดดารเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น การจัดเรียงตัวใหม่ ฯลฯ ซึ่งจะเพิ่มความสามารถในการดูดซับของถ่านให้สูงขึ้น นิยมใช้แก๊สออกซิไดซ์ต่างๆ ร่วมการใช้ความร้อน ปฏิกิริยาการกระตุ้นอาจเกิดจากความร้อนเพียงอย่างเดียว

ก็ได้

ปัจจัยที่ผลต่อการกระตุ้นด้วยวิธีนี้ คือ

- ชนิดและปริมาณขององค์ประกอบที่มีอยู่ในวัตถุดิบ

- คุณสมบัติทางเคมีและอัตราส่วนของแก๊สที่ใช้

- อุณหภูมิขณะเกิดปฏิกิริยา

- ระยะเวลาการเกิดปฏิกิริยา

สำหรับข้อดีของการกระตุ้นทายกายภาพคือ ไม่มีสารเคมีตกค้าง แต่มีข้อเสีย ต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่าการกระตุ้นด้วยสารเคมี

คะ ฉบับนี้ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้นะคะ ขอบคุณค้า

อ่านบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำเกี่ยวกับการตรวจวัดพีเอช (Fundamental of pH part 1)

โดย น้องนุ่น และน้องเกมส์



สวัสดีค่ะ ฉบับนี้ก็เป็นฉบับแรกของพวกเรานะค่ะ ในความรู้ฉบับนี้ เราก็จะของนำเสนอ ความรู้เรื่อง pH (พีเอช) ทุกคนคงเคยได้ยินหรือรู้จักกันบ้างแล้ว


pH ( pH ย่อมาจาก Potential of Hydrogen ion) เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรดเป็นเบสของสารเคมีจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจนไอออน (H+) สามารถทดสอบได้หลายวิธี โดยวิธีที่นิยมและง่ายสุดที่พวกเรารู้จักกันดีก็คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสจากการเปลี่ยนสี

สำหรับตัวเลขที่แสดงค่า pH ความเป็นกรด-ด่าง (พีเอช) pH มีค่าตั้งแต่ 0 - 14

สภาพเป็นกรด (Acid) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH ต่ำกว่า 7

สภาพเป็นด่าง/เบส (Base) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH มากกว่า 7

สภาพเป็นกลาง (Neutral) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH เท่ากับ 7






ตัวอย่างค่าพีเอชของสารต่าง ๆ

สาร pH




วิธีวัดค่ากรด-ด่าง พีเอช pH

1.กระดาษวัดความเป็นกรดด่าง (pH paper)

• กระดาษเทียบสี pH Paper



• กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบความเป็นกรด-ด่าง (พีเอช) pH กระดาษลิตมัส มี 2 สี คือ สีแดงและสีน้ำเงิน

สารละลายสามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน สารนั้นมีสมบัติเป็นเบส (ค่า pH มากกว่า 7 )


สารละลายสามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง สารนั้นมีสมบัติ เป็นกรด (ค่า pH น้อยกว่า 7 )

ส่วนสารละลายที่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้งสีน้ำเงินและสีแดง สารนั้นมีสมบัติเป็นกลาง (ค่า pH เท่ากับ 7 )

การเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส


2. ชุดทดสอบกรดด่าง พีเอช pH test Kit

โดยการหยดน้ำยาลงในน้ำตัวอย่าง (5 ml.) แล้วเทียบสีกับแผ่นเทียบสี



3. เครื่องวัดกรดด่าง พีเอชมิเตอร์ pH Meter





pH Meter, PH-110 pH Meter, PH-222 pH Meter, PH-211 pH Meter, PH-230SD

หลักการทำงานพีเอช pH Meter

พีเอชมิเตอร์ (pH meter) เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิก มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ อิเล็กโทรด และ เครื่องวัดศักย์ไฟฟ้า (volt meter) เครื่องวัดศักย์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนค่าศักย์ไฟฟ้าที่วัดได้ให้เป็นค่า pH

การปรับเทียบมาตรฐาน (calibration)

ก่อนการใช้งาน จะต้องปรับเทียบมาตรฐาน(Calibration) โดยการปรับเทียบกับสารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐาน โดยการปรับที่นิยมใช้ คือระบบ two-point calibration ซึ่งจะปรับช่วง pH ที่ต้องการวัดด้วยสารบัฟเฟอร์ 2 ค่า เช่น pH 4 และ 7 หรือ pH 7 และ 10 ที่มีค่าครอบคลุมในช่วงที่ต้องการวัด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้อง

วิธีการวัด

ทำได้โดยล้างอิเล็กโทรดด้วยน้ำปราศจากไอออน (deionized water) หรือน้ำกลั่น (distilled water) และซับด้วยกระดาษทิชชู แล้วรีบจุ่มอิเล็กโทรดลงในสารละลายที่ต้องการวัดอย่างรวดเร็ว

การบำรุงรักษาเครื่องวัดพีเอช

เครื่องวัดพีเอชเป็นเครื่องมือ electronic จึงอาจจะชำรุดเสียหายได้โดยง่าย หัววัดของเครื่องวัดพีเอชอาจขาดความแม่นยำในการวัดได้ง่าย ถ้าบำรุงรักษาไม่ถูกต้องและไม่ดีพอ ดังนั้นจึงมีข้อควรระวังในการบำรุงรักษาดังนี้

1. เมื่อใช้เครื่องวัดพีเอชเสร็จแล้วควรล้างหัววัดด้วยน้ำกลั่น หรือสารละลายอื่นๆ ที่ล้างคราบสกปรกที่จับที่ผิวนอกเมมเบรน (acetone, alcohol, HCl 1 M) ทุกครั้งก่อนเก็บเพื่อป้องกันคราบสกปรกที่จับตัวแน่นจนทำความสะอาดยาก จากนั้นเช็ดให้แห้งแล้วปิด (สวม) ปลายหัววัดด้วย rubber cap ที่บรรจุด้วยสารละลาย KCl 3 mol/L

2. อาจจะมีตะกอนเกาะตามช่องหัววัด ทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนในการวัดได้ วิธีการแก้ไขง่ายๆ เบื้องต้นคือ แช่หัววัดในน้ำอุ่นหรือกรดเกลือเพื่อให้ตะกอนละลายและหลุดออก

3. หัววัดทุกรุ่นมีอายุจะเสื่อมสภาพตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่ถูกนำมาใช้ จึงไม่ควรเก็บ Stock ไว้นานเกินไป

4. ห้ามเก็บหัววัดในน้ำกลั่น หรือในสารละลายบัฟเฟอร์ หรือกรดใดๆ ทั้งสิ้นเนื่องจากจะทำให้หัววัดเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

5. ก่อนใช้งานควรล้างหัววัดให้สะอาด เนื่องจากการแช่ในน้ำยาเก็บหัววัด (สารละลาย KCl 3 mol/L) จะสร้างฟิล์มบาง ๆ ที่เมมเบรน ซึ่งจะทำให้การวัดค่าพีเอชไม่ถูกต้อง และไม่ควรทำการ Calibrate ทันทีหลังจากการเริ่มนำมาใช้ แต่ควรแช่ในสารละลายบัฟเฟอร์จุดแรกก่อนเพื่อให้เกิดการสมดุลย์

6. หัววัดที่มีรู diaphram (รูเล็ก ๆ ที่เป็นทางไหลออกของ electrolyte, gel ในหัววัด) ถ้าเกิดการอุดตันจำเป็นต้องล้างด้วยน้ำยา diaphram cleaning solution โดยแช่ทิ้งไว้ได้นาน 1-24 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับความสกปรก

7. หัววัดชนิด Refill ที่มีรูไหลเป็นรูเปิดแล้วปิดด้วย Teflon Cap ก่อนใช้หรือทุกครั้งที่เลื่อน Cap ลงมาทำความสะอาด เมื่อจะนำไปใช้ต้องเลื่อน Teflon Cap มาปิดให้แน่นแล้ว Fix โดยแช่น้ำอุ่น 60-70 องศาเซลเซียส 5 นาที แล้วแช่ในน้ำ 20-30 องศาเซลเซียสทันที เพื่อทำให้ Teflon Cap ติดแน่นขึ้น (หากไม่ทำเช่นนี้จะทำให้เปลือง electrolyte มากขึ้น)

8. หัววัดชนิดที่ต้องเติม electrolyte จะต้องเปิดจุกยาง หรือเจาะรูปให้อากาศไหลเข้าในขณะที่ทำการวัดเพื่อป้องกันไม่ให้ภายในหลอดเป็นสุญญากาศ

9. การ calibrate ด้วยสารละลายบัฟเฟอร์ที่มีคุณภาพดีทุก 2-4 สัปดาห์ ดีกว่าการใช้สารละลายบัฟเฟอร์เก่า calibrate ทุกวัน

10. หัวใจของพีเอชสุดท้ายอยู่ที่สารละลายบัฟเฟอร์ หากเปิดขวดบ่อยๆ จะทำให้ค่า buffer capacity ลดลง ดังนั้นควรใช้งานให้หมดภายใน 1 เดือน

ค่ะ สำหรับฉบับนี้ก็เป็นฉบับแรกของพวกเรา อาจมีอะไรตกหล่นไปบ้างก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วนนะค่ะ ขอบคุณค้า แล้วเจอกันฉบับหน้านะค้า 



อ่านบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์นั้น สำคัญไฉน




By Surapong

เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงจะเคยได้ยินได้ฟังนิทานเรื่อง “ เด็กเลี้ยงแกะ ” มาแล้วที่ว่าเด็กเลี้ยงแกะคนหนึ่ง ร้องตะโกนให้ชาวบ้านมาช่วย ว่าจะมีหมาป่ามากินแกะ แต่กลายเป็นว่าเด็กโกหก และหัวเราะเยาะที่หลอกคนอื่นได้ ต่อมาเมื่อมีหมาป่ามาจริงๆ ตะโกนเท่าไรก็ไม่มีใครเชื่อ เพราะคิดว่าเป็นการโกหกอีก ในที่สุดเด็กก็ต้องสูญเสียแกะไป นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า การโกหกเป็นสิ่งไม่ดี และคนเราจะต้องมีความซื่อทั้งการกระทำและคำพูด จึงจะเป็นที่เชื่อถือของผู้อื่น และสำนวน “ เด็กเลี้ยงแกะ ” ก็เป็นที่รู้กันต่อมาว่าหมายถึง คนที่ชอบพูดโกหกหลอกลวง หรือพูดจาเหลวไหล เชื่อไม่ได้

ส่วนเรื่อง “ พันท้ายนรสิงห์ ” ก็เป็นเรื่องความซื่อตรงต่อหน้าที่ กล่าวคือในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้เสด็จลงเรือพระที่นั่งเอกชัยเพื่อไปประพาสทรงเบ็ด เมื่อเรือพระที่นั่งมาถึงตำบลโคกขาม เมืองสาครบุรี ซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยว พันท้ายนรสิงห์ นายท้ายเรือ ไม่สามารถคัดท้ายได้ทัน เรือพระที่นั่งจึงชนกิ่งไม้หักตกน้ำ ซึ่งมีโทษประหาร แต่พระเจ้าเสือ เห็นว่าเป็นเรื่องสุดวิสัย จึงพระราชทานอภัยโทษให้ ถึงสองครั้ง แต่พันท้ายนรสิงห์กลับขอให้ประหารตน ยอมตายเพื่อมิให้เสียกฏมณเทียรบาล ด้วยความกล้าหาญ และความซื่อตรงต่อหน้าที่นี้เอง ที่ทำให้ปัจจุบันยังมีศาลพันท้ายนรสิงห์อยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร บริเวณที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้อนุชนรุ่นหลังนึกถึงคุณงามความดีของท่าน ซึ่งแม้จะเป็นเพียงนายท้ายเรือ แต่ก็ประพฤติตนเป็นแบบอย่างแก่ลูกหลาน หากท่านรับการอภัยโทษครั้งนั้น ชื่อเสียงของท่านก็คงไม่เป็นที่กล่าวขวัญกันจนถึงทุกวันนี้

เรื่องแรกแม้จะเป็นนิทานที่แต่งขึ้นและเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก ส่วนอีกเรื่องจะเป็นเรื่องเล่าในพงศาวดารของไทยก็ตาม แต่ทั้งสองเรื่องก็เป็นที่เล่าขานสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นคติสอนใจคน อันแสดงให้เห็นว่าไม่ว่าชาติใด ภาษาไหน ต่างก็เห็นว่า ความซื่อสัตย์ และการไม่โกหกหลอกลวงใครเป็นคุณธรรมที่น่ายกย่องและเป็นเรื่องที่สมควรประพฤติปฏิบัติ


ในพจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำว่า “ ซื่อ ” ว่าหมายถึง ตรง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ไม่คดโกง ส่วนคำว่า “ ซื่อตรง ” หมายถึง ความประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่คดโกง และ “ ซื่อสัตย์ ” หมายถึง ความประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกหลวง หรือเราอาจจะพูดง่ายๆว่าคนที่ซื่อสัตย์ ก็คือ คนที่เป็นคนตรง ประพฤติสิ่งใดก็ด้วยน้ำใสใจจริง



ความซื่อสัตย์นั้นมีหลายอย่าง เช่น ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ความซื่อสัตย์ต่อครอบครัว ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ความซื่อสัตย์ต่อมิตร และความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ เป็นต้น


มีพุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ สจฺเจน กิตฺตี ปปฺโปติ ” แปลว่า “ คนเราจะบรรลุถึงเกียรติได้เพราะความสัตย์ ” นั้นก็หมายความว่า คนที่จะมีเกียรติ ย่อมต้องเป็นคนที่มีความสัตย์ซื่อ จึงจะเป็นที่ยอมรับนับถือของคนในสังคมได้อย่างจริงใจ โดยไม่ต้องไม่เสแสร้งแกล้งทำ


“ ความซื่อสัตย์ ” เป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์ในระดับไหนก็ตาม จะต้องมีการปลูกฝังหรือสอนเยาวชนรุ่นหลังให้ประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะ หากคนในสังคมขาดคุณธรรมข้อนี้เมื่อใด สังคมก็จะวุ่นวาย ไม่สงบ คนจะเอารัดเอาเปรียบกัน และเห็นแก่ตัวมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย


ดังตัวอย่างที่กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอยกมาให้เห็น ดังนี้


- การไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง เช่น เราตั้งใจว่าจะไม่กินของหวาน ของมันเพื่อลดน้ำหนัก แต่เราก็แอบกิน แม้คนอื่นไม่ทราบ แต่เราก็รู้ตัวเราดี ผลเสีย คือ เราก็จะอ้วน และเป็นโรคอื่นตามมา หรือตั้งใจจะอ่านหนังสือ แล้วก็ไม่อ่าน เพราะมัวไปเที่ยวเล่น ดูหนัง หรือเล่นเนท ผลเสียคือ เราอาจจะสอบตก ซึ่งหากเราขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผัดผ่อนไปเรื่อยๆ ในระยาวเราอาจจะกลายเป็นคนขาดระเบียบ ขาดความตั้งใจ กลายเป็นคนทำอะไรไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต


- การไม่ซื่อสัตย์ต่อครอบครัว เช่น ไปมีชู้ มีกิ๊ก ติดพันนักร้องนักแสดง มีความสัมพันธ์กับคนที่มีครอบครัวแล้ว แม้จะไม่ต้องรับผิดชอบเลี้ยงดู แต่ก็จะทำให้ละเลยต่อลูกเมีย หรือสามี สร้างปัญหาในชีวิต ก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นที่ดูถูกเหยียดหยามของผู้อื่น หากเป็นหัวหน้าไปมีสัมพันธ์กับลูกน้อง ก็จะทำให้ลูกน้องคนอื่นๆขาดความเชื่อถือ หรือหัวหน้าระดับสูงขึ้นไปไม่ให้ความไว้วางใจ เป็นต้น


- การไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน เช่น เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจใช้อำนาจในทางมิชอบ กระทำทุจริต หรือแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือครอบครัว ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและบ้านเมืองดังที่เราจะเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน หรือหากเป็นพ่อค้าแม่ขาย ชาวสวนชาวนาไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ขายของโกงเขา หรือใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ฯลฯ ก็จะทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท โรคภัยไข้เจ็บจากสารพิษสะสมในร่างกาย เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้น


- การไม่ซื่อสัตย์ต่อมิตร นอกเหนือจากญาติแล้ว เป็นธรรมดาที่คนเราต้องมีการคบหาสมาคมกับผู้อื่น เป็นมิตรต่อกัน และต้องพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งความเป็นมิตรนั้นจะคงทนถาวรอยู่ได้ตลอดไปก็ต้องมีความซื่อสัตย์ ไม่คิดคดทรยศต่อกัน มิตรภาพจึงจะยาวนาน หากไม่ซื่อตรงต่อกันแล้ว ก็ย่อมจะแตกความสามัคคี ทำให้เราไม่มีเพื่อน หรืออยู่ในสังคมได้ยากเพราะกลัวคนอื่นจะหักหลังเราตลอดเวลา เป็นต้น


- การซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะหากชาติอยู่ไม่ได้ ประชาชนคนในชาติก็อยู่ไม่ได้ และหากชาติล่มสลาย ก็คือพวกเราที่จะกลายเป็นคนไร้แผ่นดิน ซึ่งคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น


ตัวอย่างข้างต้น คงจะทำให้เห็นแล้วว่า “ ความซื่อสัตย์ ” เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากขาด “ ความซื่อสัตย์ ” แล้ว สังคมคงยุ่งเหยิง เกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน เกิดความโกลาหลไปทั่ว ไม่รู้สิ่งไหนจริง สิ่งไหนเท็จ ถ้าขาดในระดับบุคคลก็จะกลายเป็นคนไม่น่าเชื่อถือและมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ส่วนในระดับประเทศ ก็จะไร้ซึ่งเกียรติภูมิ เป็นที่ดูถูกของชาติอื่น ซึ่งความซื่อสัตย์ที่ว่านี้ รวมไปถึงการมี สัจจะ พูดจริงทำจริง ไม่โกหกหรือพูดเหลวไหล พูดคำไหนเป็นคำนั้นด้วย คนเช่นนี้ไปที่ใด ย่อมเป็นที่เคารพนับถือว่าเป็นคนมีเกียรติ ข้อสำคัญ ถ้าทุกคนทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ย่อมจะทำให้สังคม และประเทศชาติมีความมั่นคง สงบสุข อันมีผลดีต่อประชาชนคือ ตัวเราทุกคนนั่นเอง
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
อ่านบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

seX นั้นสำคัญไฉน

By Sontaya

เห็นโพสของสมโจ้เรื่องนี้แล้วผมถึงขั้นต้องเปิดห้องใหม่ให้เลย ให้ชื่อว่า"ห้องลับ" ตอนแรกจะเอาห้องเชือด แต่ชื่อมันโหดไปหน่อย เอาเป็นห้องลับดีกว่า เรื่องเหนือธรรมชาติ เรื่องที่พูดกันโจ่งแจ้งไม่ได้ จะได้มาลงห้องนี้กัน :D

เห็นตามเว็บไซต์ต่างๆ พูดถึง “คุณูปการของเซ็กส์” แถมมีการส่งอีเมลต่อกันเป็นทอดๆ บรรยายสรรพคุณ “เซ็กส์” ทั้งลดความอ้วน บำรุงความงาม แก้ปวดหัว อาการแพ้ ช่วยประหยัด ไม่ต้องซื้อน้ำหอม ทำให้ผมนุ่มเป็น เงางาม ฯลฯ

ดังนั้นเพื่อให้ผู้อ่านหายข้องใจ “X-RAY สุขภาพ” จึงมาพูดคุยกับ ผศ.นพ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ สูตินรีแพทย์

เริ่มจาก “เซ็กส์” ลดความอ้วน ประเด็นนี้ ผศ.นพ.พันธ์ศักดิ์ อธิบายว่า หากจะได้คุณูปการตรงนี้ จะต้องทำกิจกรรมอย่างมีความสุข มีการหลั่ง “สารเอ็นโดรฟิน” ออกมา ร่างกายจะเกิดการผ่อนคลาย หายเครียด กลางคืนนอนหลับสนิท ร่างกายก็จะผลิตฮอร์โมนต่างๆ ออกมาในระดับที่สมดุล ทำให้การกระจายของไขมันในร่างกายไปอยู่ในที่ๆ ควรอยู่ ไม่อยู่ในที่ๆ ไม่ควรอยู่ รูปร่างก็จะสมส่วน เมื่อเกิดความสุขก็จะเกิดความมั่นใจในตัวเอง เกิดความรู้สึกสวยงาม หันมาดูแลตัวเอง ควบคุมอาหารการกิน ถ้าเป็นเซ็กส์ที่ไม่มีความสุข แอบๆ ซ่อนๆ เกิดความเครียด ก็จะไม่ได้ประโยชน์ตรงนี้

- “เซ็กส์” ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ คงเผาผลาญไม่เยอะ ที่บอกว่าเป็นการใช้พลังงาน ลดน้ำหนัก คงไม่จริง เพราะใช้พลังงานนิดเดียว

- “เซ็กส์” นั้นสำคัญไฉน? บำรุงความงาม แน่นอนถ้าฮอร์โมนออกมาดี ผิวพรรณก็จะสวย หน้าตาก็เปล่งปลั่งแจ่มใส เพราะมีความสุข

- “เซ็กส์” นั้นสำคัญไฉน? แก้ปวดหัว และอาการแพ้ เป็นผลมาจากสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งมาจากคำว่า “เอ็นโด” แปลว่า ภายใน และ “มอร์ฟีน” เป็นสารชนิดหนึ่งที่ลดความปวดได้ เวลาทำกิจกรรมมีการหลั่งสารแห่งความสุขออกมาอาการปวดต่างๆ ก็จะดีขึ้น

- “เซ็กส์” ทำให้ผมนุ่มเป็นเงางาม เป็นผลของฮอร์โมนเอสโตรเจน เมื่อฮอร์โมนเพศหญิงออกมาดี อะไรก็ตามที่เป็นผู้หญิงจะดีหมด ตาสวย ผิวดี หน้าตาแจ่มใส ผมดกดำเป็นเงางาม

- “เซ็กส์” ลดการอักเสบทางผิวหนัง เช่น สิว และผื่นต่างๆ ต้องเข้าใจก่อนว่า โครงสร้างของฮอร์โมน คือ สเตรียรอยด์อ่อนๆ จะช่วยลดการอักเสบได้อยู่แล้ว เหงื่อที่ไหลออกมาเป็นตัวชะล้างรูขุมขน ทำให้ผิวหนังผ่องใส ก็ใช่ เวลาทำกิจกรรม กล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย รูขุมขนจะขยาย เลือดจะไหลเวียนดีขึ้น เส้นเลือดขยายตัว ทำให้เหงื่อออกมาก และชำระล้างตามรูขุมขน

- “เซ็กส์” คือการออกกำลังกายที่ปลอดภัยที่สุด อันนี้ขอค้าน ผมมองว่า เซ็กส์เป็นสัมผัสรักที่จับต้องได้ เป็นการบอกรักด้วยภาษากายของคนสองคน สิ่งที่ได้คือการหลั่งสารของความสุข แต่คนชอบเข้าใจว่าเป็นการออกกำลังกาย ซึ่งไม่ใช่ เวลาคุณถ่ายทอดความรักระหว่างกันจะใช้สมอง พลังงานมากกว่าการขยับร่างกายซะอีก

- “เซ็กส์” เป็นยาแอนตี้ฮิสตามีนจากธรรมชาติ แก้อาการแพ้ฝุ่นละอองได้ ก็เป็นไปได้ เวลาหลั่งเอ็นโดรฟิน ออกมาระบบภูมิคุ้มกันจะดีขึ้น ก็เป็นหวัดน้อยลง ภูมิแพ้น้อยลง ตรงไปตรงมา

- “เซ็กส์” เป็นยานอนหลับที่มีประสิทธิภาพ แน่นอนการ หลั่งเอ็นโดรฟิน ร่างกายจะผ่อนคลาย หายเครียด คุณก็หลับสบายอยู่แล้ว

มีเซ็กส์บ่อยๆ ยิ่งได้รับสารเคมีที่ชื่อ “ฟีโรโมนส์” จริงๆ น่าจะเป็นสารเอ็นโดรฟินมากกว่า ฟีโรโมนส์ ใต้วงแขน การใช้คำว่ามีเซ็กส์บ่อยๆ ถ้าเป็นวันละ 5-6 ครั้ง หรือ 10 ครั้ง แทนที่สุขภาพจะดี อาจทรุดโทรมก็ได้

จูบกันทุกวันลดอาการฟันผุ การจูบ กระตุ้นต่อมน้ำลายให้ขับน้ำลายออกมา จึงช่วยชะล้างฟัน คงต้องไปถามหมอฟัน คิดว่าก่อนที่จะทำแบบนั้น ควรแปรงฟัน บ้วนปากให้สะอาดก่อนน่าจะดี

แล้ว “เซ็กส์” มีโทษหรือไม่? ผศ.นพ. พันธ์ศักดิ์ กล่าวว่า ถ้าไม่พร้อม ไม่ถูกคน ไม่ถูกที่ ไม่ถูกเวลา ไม่เหมาะสม ก็มีโทษได้เช่นกัน

ควรจะมีเซ็กส์บ่อยแค่ไหน? ผศ.นพ. พันธ์ศักดิ์ กล่าวว่า มาตรฐาน คือ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพร้อม

อยากให้ฝากถึงวัยรุ่นที่ยังไม่พร้อมในเรื่องนี้? ผศ.นพ.พันธ์ศักดิ์ กล่าวว่า วัยรุ่นไม่มีความจำเป็นจะไปหาประโยชน์จากเซ็กส์ ควรไปออกกำลังกายดีกว่า วันละ 45 นาที ร่างกายก็จะหลั่งสารเอ็นโดรฟิน ทำให้ผ่อนคลาย หายเครียด แถมยังได้ “โกรท ฮอร์ โมน” ด้วย ส่วน “เซ็กส์” มีแค่เอ็นโดรฟินอย่างเดียว

สรุปว่า การออกกำลังกายเป็นยาวิเศษที่สุด ซึ่งจะทำให้ได้รับ “เอ็นโดรฟิน” เช่นกัน และอาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะต้องใช้เวลามากกว่า แถมทำคนเดียวได้ ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องพึ่งพาเพศตรงข้าม Source: Kapook.com
อ่านบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ยันต์วิรุฬจำบัง

By P'Oat


เครื่องรางของขลังมีมานานคู่ชาติไทย บรรพบุรุษเรา ได้ยึดเอาคุณพระศรีรัตนตรัยเป็นที่พึ่งไว้ภายใน แล้วเอาคุณเครื่องรางไว้ภายนอก เครื่องรางของขลัง มีทั้งที่เกิดจากวัตถุอาถรรพ์ที่เป็นธรรมชาติ และมนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้น อย่างหลังนี้จะต้องผ่านการอธิษฐานจิตให้สำเร็จ ให้เกิดฤทธิ์ โดยพระเกจิอาจารย์ ที่ทรงคุณหรืออาจารย์ฆราวาสที่เปี่ยมด้วยวิชาเครื่องรางของขลังจึงจะมีผลสามารถคุ้มครองป้องกันอันตรายได้



เครื่องรางของขลังที่กล่าวถึง เป็นเครื่องรางติดตัวเฉพาะ พระมหากษัตริย์ แม่ทัพ นายกอง นำไปใช้ในยามเกิดศึกสงคราม คือ ตะกรุดวิรุฬจำบัง ยันต์วิรุฬจำบัง เป็นยันต์ที่สร้างตามตำราในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยันต์นี้ได้เขียนไว้จัดว่ามีฤทธานุภาพมาก ๑๐๘ ประการ ครูบาอาจารย์ท่านหวงแหนเป็นย่างยิ่ง
ยันต์วิรุฬจำบังเป็นยันต์ที่มีความวิเศษสุดซึ่ง หลวงพ่อคง วัดบางกระพร้อม ได้จัดสร้างขึ้นเป็นเสื้อจึงได้เรียกกันว่าเสื้อยันต์วิรุฬจำบัง


เสื้อยันต์นี้เดิมเรียกว่า เสื้อแคล้วคลาด แต่นักนิยมเครื่องรางของขลังเรียกว่า"เสื้อยันต์วิรุณจำบัง"เดิมหลวงพ่อคงท่านได้สร้างเสื้อยันต์ชนิดพิเศษให้กับศิษย์ของท่านชื่อว่า แกละเป็นตัวแรก โดยให้นำติดตัวรับใช้ประเทศชาติ ในการเป็นทหารแต่ภายหลังศิษย์ของท่าน ได้กลับกลายเป็นเสือปล้นนามกระฉ่อน แห่งแม่กลอง กล่าวกันว่าเมื่อเข้าปล้นครั้งใดก็ใส่เสื้อยันต์ของหลวงพ่อคงทุกครั้ง ยิงต่อสู้กับเจ้าทรัพย์ลูกปืนแตกราวกับห่าฝน แต่ไม่อาจต้องตัวเขาได้ มีบางครั้งตำรวจรู้แกวยกกำลังมาล้อมตลบหลัง เสือแกละก็กลัดกระดุมเสื้อยันต์เม็ดบนสุด เดินสวนกับตำรวจชนิดจังหน้าผ่าวงล้อมตำรวจ ซึ่งไม่มีสักนายที่จะมองเห็น ต่อมาหลวงพ่อคงรู้สึกเสียใจที่ได้สร้างเสื้อยันต์ให้กับเสือแกละ โดยมิได้ตั้งข้อห้ามหรือให้สัตย์สาบาน จึงเรียกเสือแกละมาพบ และสุดท้ายเสือแกละก็สาบานเลิกปล้นคืนเสื้อยันต์ให้กับหลวงพ่อและกลับตัวเป็นคนดีหายจากแม่กลองไปนับแต่บัดนั้น

          เมื่อข่าวอภินิหารเสื้อยันต์หลวงพ่อกระจายกันออกไปบรรดาศิษย์ของท่านจึงเรียกเสื้อยันต์นี้ว่า วิรุณจำบัง วิรุณจำบัง เป็นชื่อของยักษ์ที่เป็นญาติของทศกรรณฐ์ มารบกับพระรามและไม่อาจทานอำนาจของพระรามได้ จึงแปลงตัวเป็นไรน้ำ  ไปเกาะอยู่ในฟองคลื่นในมหาสมุทร หนุมานต้องเนรมิตกายแล้วเอาหางกวนมหาสมุทรจับตัววิรุณจำบังสำเร็จโทษในที่สุด ชื่อของวิรุณจำบังจึงเหมาะสมกับเสื้อยันต์ของหลวงพ่อคงเป็นอย่างยิ่ง


กรรมวิธีการสร้างเสื้อยันต์
            ครั้นเมื่อหลวงพ่อคงเสร็จเรื่องราวเกี่ยวกับศิษย์ผู้กลายเป็นเสือแล้ว ท่านก็ปรารภกับกรรมการวัดตลอดจนกำนันผู้ใหญ่บ้านว่า จะเลิกสร้างเสื้อยันต์เพราะหากตกอยู่กับมือคนร้ายใจอกุศลแล้วละก็ จะลำบากในการปราบปรามเป็นอันมาก แต่บรรดาคนเหล่านั้นตลอดจนศิษย์รุ่นใหญ่ได้กราบขอร้องว่า หากไม่สร้างแล้วศิษย์รุ่นหลังจะเสียใจ ขอให้ได้เลือกผู้ที่จะประสิทธิ์ให้ก็แล้วกัน หลวงพ่อจึงมีข้อแม้ว่า ใครจะให้ท่านสร้างเสื้อยันต์นี้ให้จะต้องสาบานตนและเข้าพิธีทำสัตย์ปฏิญาณตนกับท่าน ว่าจะไม่เอาไปใช้ในทางที่ไม่ดีหากผิดคำสาบานให้มีอันเป็นไปต่างๆนานา ถึงแก่ความตายด้วยความน่าสะพรึงกลัวเสื้อยันต์วิรุณจำบังจึงได้รับการสร้างสืบต่อมา ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
          1.ผู้ที่ต้องการเสื้อจะต้องเข้าไปกราบขอกับท่านด้วยตัวเองพร้อมทำพิธีสาบานให้เรียบร้อย ท่านอนุญาตให้แล้วจึงให้ไปทำเสื้อมาให้ท่าน
          2.ให้ไปว่าจ้างช่างตัดเสื้อทำเสื้อกั๊กไม่มีแขน เม็ดกระดุม 5 เม็ด ตามขนาดตัวผู้เป็นเจ้าของ ด้านนอกทำด้วยผ้าสีดำ ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นผ้าสักหลาด ส่วนด้านในให้บุซับในด้วยผ้าต่วนสีขาวหรือผ้าขาวให้เรียบร้อย
         3.เมื่อได้เสื้อกั๊กมาแล้วก็ให้นำมามอบให้ท่านเพื่อทำพิธีลงเลขยันต์ ท่านจะหาฤกษ์หายามดีตามกรรมวิธีของท่าน กล่าวกันว่าครั้งหนึ่งๆจะมีเสื้อเป็นจำนวนนับสิบๆตัว รอให้หลวงพ่อลง ท่านจะลงด้วยหมึกจีนสีดำด้านในเสื้อเป็นอักขระว่า
นะโมพุทธายะ             พระเจ้าห้าพระองค์
จะภะกะสะ                  หัวใจกรณี
อะสังวิสุโลปุสะภุพะ      นวหรคุณหรือพระพุทธคุณนามเก้า
กะระมะทะ                  หัวใจสี่เกลอ
อิติอุนินะมามิหัง          หัวใจคุ้มครองป้องกันสารพัด
เสริมด้วยนะปิดล้อม     มหาอุดและกำบังตา
         การวางยันต์ของท่านสวยงามมากและมีตำแหน่งที่ไม่ค่อยจะคงที่นัก คงจะเนื่องด้วยความสะดวกในการลงของท่านนั่นเอง เมื่อเกิดมหาสงครามโลกครั้งที่สอง เสื้อยันต์ของท่านก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ท่านได้ครอบให้ศิษย์ช่วยกันลงเพื่อความรวดเร็ว และได้เพิ่มยันต์เกราะแก้วว่า     พุทธัง เพชรคงคัง  อิมังพันธนังอธิษฐานมิ เข้าไปด้วย ท่านบอกว่าเพื่อกันระเบิด
        
เมื่อท่านลงได้ครบสูตรสำเร็จแล้วจะทำพิธีสอดกระดุมด้วยการกลัดกระดุมจากเม็ดล่างไปหาเม็ดบนภาวนาไปทีละเม็ดๆจนถึงเม็ดบนสุดจึงจะว่า คาถามหากำบังแล้วกลัดกระดุมเข้าที่นำมาปลุกเสกรวมอีกทีหนึ่ง    เพื่อป้องกันการสับสนท่านได้ให้เจ้าของเสื้อใช้ดินสอดำเขียนชื่อของตนเอาไว้ด้วย
วิธีการใช้
         เสื้อยันต์วิรุณจำบังนี้ ให้อาราธนาด้วยการตั้งนะโม 3 จบ แล้วระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ บิดามารดา ครูอุปัชฌาย์ จนถึงคุณพ่อวัดบางกระพ้อมเป็นที่ตั้งขอให้มาช่วยประสิทธิประสาทความเข้มขลังให้กับเสื้อยันต์ การกลัดกระดุมให้กลัดจากเม็ดล่างสุดขึ้นมา อย่ากลัดจากบนไปหาล่าง กลัดกระดุมเม็ดหนึ่งให้ว่าคาถาว่า นะโมพุทธายะ ครั้งหนึ่ง เมื่อจะไปไหนมาไหนให้ติดกระดุมเพียงสี่เม็ด เว้นเม็ดบนสุดเอาไว้  เมื่อจะเข้ารณรงค์สงครามก็ให้ระลึกถึงหลวงพ่อวัดบางกระพ้อมเป็นที่ตั้ง จึงตีฝ่าเข้าไป ปืนผาหน้าไม้ธนูหอกดาบแหลนหลาวเป็นห่าฝน ไม่ตกต้องตนแม้แต่น้อย แม้จะถูกก็คงกระพันชาตรี ตีไม่แตก ท่านว่าให้มั่นใจเท่านั้นเป็นพอ  หากว่าเหลือกำลังจะต่อสู้ต้องถอยหนี ตีจากก็ระลึกถึงหลวงพ่อวัดบางกระพ้อมเป็นที่ตั้ง กลืนลมหายใจแล้วกลัดกระดุมเม็ดบนสุดเข้าที่จรลีไปเถิดคนเป็นร้อยเป็นพันหามองเห็นไม่ จะเห็นก็ต่อเมื่อไปไกลแล้ว ถึงเห็นก็หุบปากสนิทเคลื่อนไหวทายทักมิได้ เป็นมหาจังงังไปทั้งสิ้นอย่าสงสัยเลยเคยผจญเคยพบเห็นมากับตัวเอง เสื้อยันต์วิรุณจำบังนี้แขวนไว้กับบ้านกลัดกระดุมทุกเม็ดเป็นยันต์กันอัคคีภัยได้ เมื่อจะนำทางคนให้พ้นจากอันตรายให้สวมเสื้อแล้วนำอยู่หัวแถวให้ผู้ที่ตามมาเกาะเอวติดกันเป็นพวงหรือเดินตามหลังเป็นแนวเดียว คุ้มได้ถึงเก้าคน
ข้อห้าม
         ห้ามมิให้เอาไปใช้ปล้นสะดมหรือคิดการเป็นภัยต่อบ้านเมือง ไม่ให้เอาไปใช้ข่มเหงผู้อื่น หรือฉุดสตรีมาเพื่อทำอนาจาร ห้ามเป็นชู้ลูกเมียผู้อื่น ห้ามด่าแม่ กระดุมของเดิมจงหมั่นดูแลรักษาอย่าให้หายเพราะเป็นของสำคัญประจำคู่กับเสื้อยันต์
ยักษ์วิรุฬจำบัง ที่นำมาเขียนลงบนผ้า หรือลงบนแผ่นโลหะที่เตรียมไว้ โดยมีคติความเชื่อว่ามี มหาอำนาจ โชคลาภ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด ปลอดภัย กำบังกายได้ สยบสิ่งที่เป็นอัปมงคลทั้งหลาย

อ่านบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความลับของคนรวย

By ตั้มเล็ก



วันนี้ก็ได้มีโอกาสนำเรื่องของตั้มเล็กมาลงสักที เป็นเรื่องความลับที่ตั้มอยากนำมาเผื่อแผ่เพื่อนๆพี่ๆทุกท่าน เพราะตั้มบอกว่า ทำแล้ว รวย!!!

ที่เราจนอยู่ทุกวันนี้ ไม่ใช่เพราะเราขี้เกียจทำงาน แต่ที่จนเพราะเรา เข้าใจผิด อยู่แค่ 2 เรื่องต่างหาก
1. เข้าใจผิดเกี่ยวกับความหมายของ ทรัพย์สิน
2. เข้าใจผิดเกี่ยวกับความหมายของ หนี้สิน

อยากรวย ต้องทำความเข้าใจใหม่
1. ทรัพย์สิน คือ รายรับ คือ การนำเงินเข้ากระเป๋าตังค์ คำถาม ... ใน 1 เดือนคุณมี รายรับ เข้ากระเป๋าคุณกี่ครั้ง คุณตอบได้หรือไม่

2. หนี้สิน คือ รายจ่าย คือ การนำเงินออกจากกระเป๋าตังค์
คำถาม ... ใน 1 เดือนคุณมี รายจ่าย ออกจากกระเป๋าคุณกี่ครั้ง คุณตอบได้หรือไม่

ทำไมเราถึงต้องทำงาน
เหตุที่เราต้องทำงาน มีอยู่ 2 เหตุผล
1. ความกลัว - กลัวจะไม่มีกิน , กลัวจะไม่มีความสุข กลัวจะไม่มีรถ , กลัวจะไม่มีบ้าน , กลัวไปหมด
2. ความโลภ - โลภเพื่อจะมีมากกว่าคนอื่น , เยอะกว่าคนอื่น ใหญ่กว่าคนอื่น , แพงกว่าคนอื่น , หรูกว่า ภูมิฐานกว่า , โลภไปทุกอย่าง

ความกลัวและความโลภเป็นสิ่งที่ดี แต่เราต้องควบคุมให้อยู่ในความพอดี สิ่งที่จะควบคุม ความกลัวกับความโลภได้นั้นคือ ความรู้

การทำงานของคนจนและคนรวย
- คนจนทำงานเพื่อ นำไปสร้างหนี้สิน ยิ่งกลัว ยิ่งโลภ ยิ่งทำงาน ยิ่งสร้างหนี้ ยิ่งจน - คนรวยทำงาน เพื่อไปสร้างทรัพย์สิน ยิ่งกลัว ยิ่งโลภ ยิ่งทำงาน เพื่อไปสร้างทรัพย์สิน เพิ่มมูลค่า ยิ่งรวย
- คนรวย มากๆ ใช้เงินทำงาน เพื่อไปสร้างทรัพย์สิน ยิ่งกลัว ยิ่งโลภ ยิ่งใช้เงินทำงาน เพื่อไปสร้างทรัพย์สินเพิ่มมูลค่า แล้วนำส่วนที่ได้จากทรัพย์สินเพิ่มมูลค่า ไปสร้างทรัพย์สินเพิ่มมูลค่า ยิ่งรวยๆๆๆๆ

ถนนของของคนจน เริ่มต้นสบาย สุดท้ายลำบาก
ถนนของของคนรวย เริ่มต้นลำบาก สุดท้ายสบาย

ขั้นตอนเป็นคนรวย
1. เปลี่ยนความคิด เรื่องทรัพย์สินและหนี้สิน
- รายรับ คือ เอาเงินเข้ากระเป๋าตังค์ เรียกว่า ทรัพย์สิน
- รายจ่าย คือ เอาเงินออกจากกระเป๋าตังค์เรียกว่า หนี้สิน

2. แยกให้ออกว่าอะไรเป็นทรัพย์สินเพิ่มมูลค่า หรือเสื่อมมูลค่า
- ทรัพย์สินเพิ่มมูลค่า คือ ได้มาแล้วเพิ่มมูลค่าให้เรา เช่น ** ซื้อที่ดินมา 5 แสนบาท ทิ้งไว้ 1 ปี ขายได้ 6 แสนบาท ** ซื้อทองมา 1 บาท ราคา 11800 บาท เก็บไว้ 1 ปี ราคา 12500 บาท ** ซื้อบ้านมาให้คนอื่นเช่า เป็นต้น
- ทรัพย์สินเสื่อมมูลค่า คือ ได้มาแล้วมูลค่ามีแต่ลดลง เช่น
** ซื้อรถยนต์มาราคา 6 แสนบาท ขับได้ 3 ปี ขายได้ 3 แสน มูลค่าลดลง 3 แสนบาท แถมต้องเติมน้ำมันอีก
** ซื้อโทรศัพท์มาราคา 12000 บาท เวลาขายคืนได้แค่ 4500 บาท ไหนจะเสียค่าโทรอีก
** ซื้อมอเตอร์ไซด์ 5 หมื่นบาท เวลาขายต่อ 2 หมื่น ยังหาคนซื้อต่อยากเลย
***** ซื้อที่ ซื้อทอง เอาเงินฝากธนาคาร ต้องเสียเงินซื้อถ่าน เติมน้ำมัน ใส่น้ำ หรือเสียบปลั๊กหรือเปล่าครับ ถ้าไม่ต้องก็แสดงว่าเป็นทรัพย์สิน และมันต้องเพิ่มมูลค่าไปเรื่อยๆนะครับ
***** ซื้อถ้วยโถโอชามของ รักของสะสม ไม่ต้องเติมน้ำมัน ไม่ใส่ถ่าน ไม่เสียบปลั๊กให้มันก็จริง วันนึงขายจะได้กำไรมากกว่าฝากธนาคารไหมครับ ถ้าไม่มันก็จะเป็นทรัพย์สินเสื่อมมูลค่า หรือไม่ก็แค่มีค่าทางจิตใจ บางทีก็เป็นแค่ ขยะรกบ้านเราเท่านั้นเองนะครับ ขายใครก็ไม่มีใครเอา เพราะเราสะสมคนละรสนิยมกัน

3. ลดรายจ่าย ตัวเอง และครอบครัวก่อน หลายคนคิดว่า ถ้าจะรวยต้องหารายได้ เพิ่มแต่เพียงอย่างเดียว เป็นความคิดที่ล้าสมัยแล้วครับ สิ่งเดียวที่ทำได้ก่อนหารายได้ คือการลดรายจ่าย เริ่มจากรายจ่ายที่เกิดขึ้นกับ ตัวเราเองก่อน เราใช้เงินวันละเท่าไร และสิ่งที่เราใช้มีประโยชน์ ผลตอบแทน หรือคุ้มค่ากับเรามากแค่ไหน รายจ่ายอะไรที่เราลดได้ลดได้เท่าไร วิธีการลดทำอย่างไรต่างหาก ที่ทำได้ง่ายที่สุด ต่อมาหาทางลดรายจ่ายของครอบครัวครับ แล้วค่อยไปขั้นตอนหารายได้เพิ่ม อย่าลืมนะครับ ลดรายจ่ายก่อนหารายได้ครับ
*** หลักการง่ายๆของการลดรายจ่ายมีหลายแบบครับ
- ลดความสมบูรณ์แบบของชีวิต
 ชีวิตของแต่ละคนจำเป็นต้องสมบูรณ์แบบไปเสียทุกด้านหรือไม่ครับลองนึกดูนะ เราจำเป็นต้องใช้สิ่งของที่สามารถทำทุกอย่างได้ในตัวเดียวกันหรือเปล่าครับ ยกตัวอย่างเช่น คุณจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ที่ต้องถ่ายรูปได้ ฟังเพลงได้ ส่ง MMS ได้ ต่อ INTERNET ได้ สายเข้าเป็นเสียงเพลงได้ หรือเปล่าครับถามตัวเราเองว่าถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้เราจะลำบากไหมครับ ตอบแทนก็ได้นะครับ แทบไม่ลำบากเลย แต่การมีสิ่งเหล่านี้ซิลำบาก ลำบากอย่างไรหรือครับ โทรศัพท์ที่ทำได้ครบทุกอย่างที่ว่ามา ราคาเท่าไรครับ หมื่นกว่าบาท หลายคนต้องผ่อน เดือนละพันกว่าบาท ถามว่าแล้วใช้สิ่งที่ว่ามาวันละกี่ครั้งครับ แล้วใช้เพื่อประโยชน์อะไรครับเพื่อความบันเทิง เพื่อความเท่ หรือเพื่อให้รูว่าฉันก็มีเหมือนกัน หรือฉันมีดีกว่าของเธอ บางคนซื้อมาทำอะไรไม่เป็นครับ โทรเป็นอย่างเดียวแบบนี้เรียกว่าไม่คุ้มค่าเอามากๆ เครื่องละพันกว่าบาทก็ทำได้ครับไม่ต้องเสียตังค์เป็นหมื่นด้วยครับ

- ลดต้นทุนชีวิต ลดต้นทุนชีวิต
จะคล้ายๆกับลดคุณภาพชีวิตนั้นแหละครับข้อนี้ต้องทดลองทดสอบดูนะ ยกตัวอย่างเช่น ข้าวสารที่คุณซื้อมาหุงทานอยู่ทุกวันนี้เป็นข้าวหอมมะลิอย่างดี ราคา 5 กิโล 105 บาท คุณลองหาข้าวสารที่ราคาถูกกว่านี้ แต่ความอร่อยใกล้เคียงเดิมแต่ราคาถูกลง มาทาน หากคุณลองซื้อมาแล้วคุณทานได้ไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก แต่ราคา 85 บาท คุณลดต้นทุนชีวิตคุณได้ ต่อข้าวสาร 5 กิโล 20 บาทแล้วนะครับ แล้วเดือนหนึ่งครอบครัวคุณทานข้าวกี่กิโลครับลองคิดดู

4. หารายได้เพิ่ม
การหารายได้เพิ่มมีหลายช่องทางครับ เช่น ทำ OT. ซื้อของมาขาย เอาเงินฝากธนาคาร เล่นหุ้น ทำกิจการส่วนตัว แล้วแต่จะทำกันนะครับ สิ่งที่สำคัญในการหารายได้เพิ่ม คือความรู้ เราต้องรู้ก่อนว่าช่องทางนั้นๆ เราจะมีผลได้ผลเสียอย่างไร จะไม่สำเร็จได้หากเราไม่มีความรู้เรื่องนั้นๆ มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการหารายได้เพิ่มไว้ดังนี้ครับ
*** ต้องกำไรตั้งแต่ตอนซื้อ ไม่ใช่กำไรตอนขาย
*** ตัวอย่างเช่น เราซื้อทองมาเก็บไว้ 1 ปี เรามีกำไลแน่ๆเพราะทองส่วนมากมีแต่ขึ้นไม่ค่อยจะลดเท่าไร แต่ต้องเป็นทองคำแท่งนะครับไม่ใช่ทองรูปพรรณ เนื่องจากทองคำแท่งไม่ต้องเสียค่ากำเน็จครับ อะไรที่ขาดทุนตั้งแต่ตอนซื้อนะหรือครับ อะไรก็ได้ที่ซื้อด้วยอารมณ์ ไม่ได้ซื้อด้วยเหตุผลครับ เพราะซื้อแล้วใช้ประโยชน์ไม่คุ้มขายต่อราคาตกแน่ๆครับ ขาดทุนตั้งแต่ตอนซื้อ

*** ใช้สมองหารายได้ ***
เงินอยู่ระหว่างทางที่เราผ่านไป ผ่านมาทุกวัน แต่เราไม่สามารถเก็บได้ เพราะเราไม่รู้วิธีเก็บ มาเป็นของเราเท่านั้นเอง เป็นคำกล่าวที่เฉียบคมมากครับ การที่เราจะรายได้เพิ่มนั้นนอกจากเราจะต้องมีความรู้แล้ว เราต้องมีความคิดที่ดีพอที่จะหารายได้ด้วยนะครับ หลายคนอยากเป็นเจ้าของกิจการ รู้อย่างเดียวว่าต้องใช้เงินลงทุน ไม่คิดว่าเงินนั้นจะต้องทำอย่างไรมา บางคนไปกู้เงินมาลงทุน ไหนจะต้องรับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ ไหนจะต้องรับ ภาระปัญหากิจการอีกหลายอย่าง กิจการล้มไม่เป็นท่ามานักต่อนักแล้วครับ ถ้าเป็นเงินเย็นก็ดีไปล้มก็ไม่ต้องเป็นภาระใช้หนี้สินต่อ เริ่มต้นใหม่ได้ไม่ยาก

**** มีข้อแนะนำครับ ****

เราอย่าพึ่งคิดว่าเราจะต้องเป็นเจ้าของกิจการอะไร เพียงแต่เราคิดว่าเราลงทุนอะไร ได้ผลตอบแทนคุ้มกับเงินที่เราลงทุนหรือไม่ ดีกว่า ตัวอย่างเช่น เราซื้อของมาขายชิ้นหนึ่งต้นทุน 20 บาท เราขายในราคา 25 บาทกำไล 5 บาท ได้กำไร 25 % เชียวนะครับ

ค่อยๆ ทำ ค่อยๆฝึก คนรวยเคยกล่าวไว้ว่า ก้าวแรกของการทำธุรกิจคือ ก้าวเล็กๆ ของเด็กน้อยนะครับ เพราะเด็กน้อยจะค่อยๆก้าว ค่อยๆก้าว ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป มั่นใจกว่ากันเยอะครับ ขอเพียงแค่เรามีความรู้ ความพยายาม ก็จะไปได้ดีครับ เมื่อเราชำนาญ มีประสบการณ์แล้วค่อยก้าวแบบผู้ใหญ่ครับ ก็ไม่สายครับ
อ่านบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Control Valve


By Shift A



ในขบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะขบวนการผลิตขนาดใหญ่และซับซ้อนนั้นมักใช้ระบบการควบคุมแบบอัตโนมัติเข้ามาใช้งานเพื่อให้ขบานการผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพดี สิ่งสำคัญประการหนึ่งในระบบที่ขาดไม่ได้ คือ อุปกรณ์ขับเคลื่อน หรือ final drive ที่จะกล่าวในที่นี้คือ control valve ซึ่งเป็นอุปกรณ์หนึ่งในหลายๆอย่างที่อยู่ในกลุ่มของ final drive ทั้งนี้เนื่องจากว่า control valve เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากประการหนึ่งของระบบการผลิต หรือเรียกว่ามี priority อันดับต้นๆนั่นเอง

การศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจจะนำไปสู่การใช้งานที่ปลอดภัยต่อระบบ และผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนทำให้ขบวนการผลิตมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดตามต้องการ รวมทั้งเกิดความประหยัดอันเหมาะกับยุคสมัยที่พลังงานนับวันจะขาดแคลนขึ้นทุกวัน
Basic Introduction


ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาของ Control valve ควรทำความรู้จักและเข้าใจในเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่อง Process Control Terminology ก่อน เพื่อจะทำให้สามารถเข้าใจเนื้อหาในส่วนต่อๆไปได้เป็นอย่างดี โดยจะกล่าวในลักษณะสรุปสั้นๆ และจะเข้าสู่รายละเอียดในส่วนต่อๆไปอีกครั้ง กรณีเช่นนี้ก็เช่นเดียวกับการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ที่ต้องทำความเข้าใจในนิยามให้ถ่องแท้เสียก่อนจึงจะศึกษาในส่วนต่อๆไปได้โดยเกิดการติดขัดน้อยที่สุด

ทั้งนี้ขอแนะนำให้ติดตามอ่านจนจบตอนสุดท้ายจะทำให้ท่านได้ประโยชน์มากที่สุด

Note : final drive = final control element = final element

1. Process Control Terminology

1.1 Capacity คือ Flow Rate ของการไหลของของไหลที่ผ่าน Control Value ภายใต้สภาวะหนึ่ง ๆ

1.2 Controller คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการประมวลผล โดยรับข้อมูลหรือ Input จากตัวแปรที่ต้องการควบคุมหรือตัวแปรที่วัดค่า (Controlled Variable or Measured Variable) จากนั้นจึงทำการประมวลผลตามรูปแบบการควบคุม (Control Regulatory) ที่ต้องการ แล้วส่ง Output Signal (ผลที่ได้จากการประมวลผล) ไปยัง Final Control Element ในที่นี้คือ Control Value

1.3 Closed Loop Control เป็นวงจรควบคุมแบบปิด โดยนำเอาค่าของสถานะจาก Final Control Element กลับเข้ามาเปรียบเทียบกับค่า Set Point เพื่อตรวจสอบว่ายังมีสถานะต่างจากค่าเป้าหมาย (Set Point) หรือไม่ ที่ยังมีค่า Error หรือค่า SP-PV ตัว Controller ก็จะสั่งการต่อไปจนกว่าจะได้ค่าสถานะของ Final Element ที่ต้องการโดยมีค่า Error เป็นศูนย์นั่นเอง Controller ก็จะหยุดสั่งการ Closed Loop ในบางครั้งก็เรียกว่า Control Loop คือ Loop ที่เราสนใจเป็นพิเศษหรือที่เราต้องการควบคุม

1.4 Control Range เป็นย่านการเคลื่อนที่ของ Stem Value หรือระยะทางการเคลื่อนที่ของ stem valve บางทีอาจเรียกว่า valve travel or rated travel

1.5 Dead Band or Dead Zone

ช่วงที่ sensor หรือ control valve ไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง(input ที่เปลียนแปลง) ซึ่งเกิดจากธรรมชาติของตัวอุปกรณ์เอง เกิดขึ้นได้ทั้ง instrument และ control valve แต่ส่วนมากจะใช้กับ instrument and control system มากกว่า

จากรูปด้านล่างอธิบายได้ดังนี้

สมมุตว่าระบบนี้เป็นการทำงานของ air compressor มีค่า set point to start at 7.5 bar , stop at 8.0 bar

ในตอนเริ่มต้น air compressor ก็จะอัดอากาศเพื่อสร้างความดันขึ้นมาจนถึง 8 bar จากนั้น pressure switch ก็สั่งตัดการทำงานของ air comp. แต่เนื่องจากระบบมี time lag จึงพบว่าเกิดการ over shoot ขึ้นเล็กน้อย หลังจากนั้นเมื่อความดันในระบบค่อยๆลดลงจนกระทั่งถึง 7.5 bar ซึ่งเป็นจุดที่ compressor ต้องstart ขึ้นมา แต่เนื่องจากว่า pressure switch ที่ใช้งานนี้มี dead band ค่อนข้างมาก(อุปกรณ์คุณภาพต่ำ) ทำให้ไม่สามารถตอบสนองต่อ input ที่เปลี่ยนแปลงได้ และair compressor ก็ไม่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ เนื่องจาก switch ไม่เปลี่ยนสถานะ จนกระทั่งความดันลดลงเรื่อยๆ ไปจนถึง 7.0bar จากนั้น air compressor จึงstart ขึ้นมา จะเห็นได้ว่า dead band ที่เกิดขึ้นนี้นั้นทำให้เราไม่สามารถควบคุมระบบได้ตามต้องการ

วิธีการแก้ไขคือ เปลี่ยน pressure switch ที่มีค่า dead band ต่ำๆมาใช้งาน หรือ ติดตั้ง pressure switch 2 ตัว คือ ทำหน้าที่สั่ง start , stop แยกอิสระต่อกัน



dead band of instrument

ที่มา เอกสารประกอบการอบรม หลักสูตร introduction to process control กองศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

1.6 Gain คือ ค่า Output Change/Input Change มี 2 แบบ คือ Static Gain คือค่า OP Change/ IP Change ในสภาวะ Steady State บางครั้งเรียกว่าค่า Sensitivity ส่วน Dynamic Gain เป็นค่า OP Change/IP Change ในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ เป็น Function ของความถี่หรืออัตราการเปลี่ยนแปลงของ Input อุปกรณ์ที่มีค่านี้มากๆก็หมายถึงว่าสามารถขยายสัญญาณ input ได้มากๆนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น power amplifier

1.7 Hysteresis เป็นตัวการทำให้เกิด dead band เป็นลักษณะของการย้อนกลับไม่ได้ ซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะของตัวอุปกรณ์(instrument) ส่วนมากเกิดจากเรื่องของ material และเป็นคุณลักษณะประจำตัวของอุปกรณ์ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้นจึงต้องทำการบันทึกค่าไว้ขณะ calibrate เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะนำไปใช้งานในภายหลังรวมทั้งยังสามารถเป็นเครื่องตัดสินได้ว่าสมควรจะนำไปใช้งานหรือไม่หากมีค่านี้สูงมากๆ ลองนึกถึงการลากเส้นลงบนกระดาษจากซ้ายไปขวา แล้วลากกลับโดยพยายามให้ทับเส้นเดิมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ หมายความว่าขบวนการใดๆในโลกที่เกิดขึ้นมานั้นไม่สามารถทำให้ย้อนกลับได้โดยสมบูรณ์แบบ เป็นไปตามกฏข้อที่ 2 ของ thermodynamics



ที่มา Control valve handbook , third edition , FISHER Controls international LLC,USA

1.8 Open Loop Control เป็นวงจรควบคุมแบบเปิด โดยไม่มีการนำเอาค่าของสถานะจาก Final Control Element กลับเข้ามาเปรียบเทียบกับค่า Set Point เพื่อตรวจสอบว่ายังมีค่า Error หรือค่า SP-PV เกิดขึ้นหรือไม่ เช่น การเปิดประตูระบายน้ำคือเมื่อสั่งให้เปิดประตู motor ก็ทำงานจนกระทั่งเปิดจนสุด โดยไม่มีการตรวจสอบตำแหน่งของบานประตูว่าอยู่ตำแหน่งใด คือไม่มี sensor ตรวจจับการเคลื่อนที่ในตำแหน่งต่างๆนั่นเอง

การทำงานในลักษณะนี้ไม่นิยมใช้งานแบบ automatic และส่วนมากไม่ค่อยพบในระบบ automatic process control

1.9 Process Variable ได้แก่ pressure , temperature , flow rate , level , conductivity , p H , vibration เป็นต้น

1.10 Process หรือขบวนการ ได้แก่ขบวนการกลั่นน้ำมัน ขบวนการผลิตไฟฟ้า ขบวนการระบายความร้อน เป็นต้น

1.11 Relay เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายกับ Power Amplifier คือการขยายสัญญาณลม(pneumatic signal)ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อไปขับ Value Actuator คำในความหมายนี้จะใช้กับ control valve โดยเฉพาะ









ที่มา Control valve handbook , third edition , FISHER Controls international LLC,USA

1.12 Resolution คือ ค่าความละเอียดของ Display device หรือส่วนแสดงผล ที่สามารถแสดงค่าในลักษณะค่าน้อยๆได้ หมายความว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าเพียงเล็กน้อย ก็สามารถแสดงค่านั้นๆได้ เช่น pressure gauge ที่ใช้วัดค่าความดันที่มี scale แบบเข็ม สมมุตว่า 1 ช่องของ scale มีค่าเท่ากับ 0.5 psi ก็หมายความว่าหากการเปลี่ยนแปลงความดันมีค่าน้อยกว่า 0.5 psi ก็ไม่สามารถอ่านค่าได้อย่างถูกต้อง แต่สามารถจะประมาณค่าได้ แต่ถ้าแสดงผลเป็นแบบ digital ที่มีการกำหนดหลักของตัวเลขไว้เช่น 2 หลัก คือ x.xx หากค่าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 0.00x ก็ไม่สามารถแสดงค่าให้ปรากฏ คือเครื่องวัดจะไม่รับรู้ค่าที่เปลี่ยนแปลงได้เลย ซึ่งต่างกับแบบเข็มหรือ analog ที่สามารถประมาณค่าที่เปลี่ยนแปลงนั้นได้เพียงแต่ไม่ถูกต้องเท่านั้นเอง



1.13 Response Time หรือที่มักเรียกว่า Time Constant

เป็นเวลาในการตอบสนองของ process ของตัว Sensor เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าของ input. โดยปกติ Response Time มักถูกใช้วัดในรูปของ Time Constant ค่าหนึ่งๆ

Time Constant หมายถึง การเปลี่ยนแปลงค่าของ Output ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาขึ้นกับค่า input โดยคิดเมื่อ Output เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจนถึง 63.2% ของ Output ที่เปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตามรูป



จากกราฟเป็น Response ของเครื่องมือวัดอุณหภูมิ ปกติวัดอุณหภูมิอยู่ที่ 100 oF ถ้าอุณหภูมิเกิดเปลี่ยนเพิ่มขึ้นกระทันหันเป็น Step Change ถึง 700 oF แต่ผลตอบสนองของเครื่องวัดจะมีค่าค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามจนถึง 63.2% ของการเปลี่ยนแปลง 600 oF (700-100)

จากกราฟ จะเห็นว่าผลการตอบสนองการวัดของตัว Sensor จนชี้ถึงค่า 63.2% หรือที่ 479.2 oF (600*63.2%) นั้นใช้เวลา 3 วินาที ซึ่งก็คือ 1 Time Constant ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า 1 time constant มีค่าเท่ากับ 3 วินาที

การคำณวน Time Constant อื่นๆเป็นดังนี้

2 Time Constant (6 วินาที)

700 o F - 479.2 o F = 220.8 o F

(220.8oF x 0.632) + 479.2 oF = 618.7 oF

3 Time Constant (9 วินาที)

700 oF – 618.7 oF =81.3 oF

(81.3 oF *0.632) + 618.7 oF = 670.5 oF

1.14 Shaft Wind-Up คือ ลักษณะของการเคลื่อนที่ (หมุน) ของ Shaft ที่ส่วแรงมาจาก Actuator โดยตรงเกิดการหมุนไปแล้ว แต่ส่วนปลายที่ต่อกับ Value Plug ยังไม่เคลื่อนที่เนื่องจากมีแรงเสียดทานบริเวณ Seal or packing สูงมาก เมื่อ Actuator เพิ่มแรงบิดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งชนะแรงเสียดทาน Value Plug จึงเคลื่อนที่ได้ ลักษณะนี้เกิดขึ้นกับ Rotary Value เท่านั้น



Rotary valve

ที่มา Control valve handbook , third edition , FISHER Controls international LLC,USA

1.15 Sensor and Transmitter

Sensor คือ อุปกรณ์วัดค่าตัวแปร (Measured Variable) ได้แก่ temperature sensor , pressure sensor, level sensor เป็นต้น

Transmitter เป็นอุปกรณ์ซึ่งใช้เปลี่ยนค่าของตัวแปรที่วัด (Measured Variable)คือการรับค่าจาก sensor นั่นเอง จากนั้นจึงแปลงไปเป็นสัญญาณมาตรฐาน (standard signal) ทำให้สะดวกต่อการนำไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ผลิตภายใต้ standard เดียวกัน ได้แก่ temperature transmitter, level transmitter เป็นต้น ใช้สัญญลักษณ์ Tx แทน transmitter

หน้าที่ของ Transmitter โดยทั่วไปมีดังนี้

 Converse เปลี่ยนค่าตัวแปรที่วัดไปเป็นสัญญาณที่ต้องการ เช่น เปลี่ยนแปลงค่า differential pressure เป็นค่า flow rate เป็นต้น

 Amplifier ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่เปลี่ยนแล้วให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการ รับ ส่ง และลดปัญหาเรื่อง signal loss หรือ noise มารบกวน

 Standard signal ในการขยายสัญญาณต้องขยายให้อยู่ในค่ามาตรฐาน คือ

4-20 mA , 1-5 V , 3-15 psi

 Transmit ทำการส่งสัญญาณมาตรฐานออกไป โดยค่าสัญญาณที่วัดได้สามารถส่งออกไปในรูปแบบต่างๆได้ดังนี้

- Electrical Signals เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าในรูปของกระแสไฟฟ้า หรือแรงดันไฟฟ้า ( 4-20 mA , 1-5 V)

- Pneumatic Signals เป็นสัญญาณของความดันลม (3-15 psi )

- Hydraulic Signals เป็นสัญญาณของความดันของของเหลว(3-15 psi )

- Telemetered Signals ส่งสัญญาณในรูปของคลื่นความถี่วิทยุ

1.16 Transducer เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่รับค่าการวัดจาก Sensor จากนั้นจึงส่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าออกไปยังห้องควบคุม โดยสัญญาณที่ส่งไปจะไม่อยู่ในรูปของ Standard Signal เหมือน Transmitter เช่น Vibration Transducer ซึ่งอาจเป็น -5 to +5 V หรือ 1 to 10 V ก็ได้



1.17 Value Sizing คือ การเลือกขนาด ชนิด ประเภท ส่วนประกอบอื่น ๆ ของ Value ให้มีความสัมพันธ์กับระบบที่ต้องการใช้งานอย่างเหมาะสม

1.18 Set Point เป็นค่าเป้าหมายในการควบคุม เช่น Steam Temp. Set Point = 560oC เป็นต้น ในการควบคุมตัวแปรที่เราวัดซึ่งก็คือ Measured Variable และ Controlled Variable โดยทั่วไปจะเป็นตัวเดียวกัน เช่นการควบคุมอุณหภูมิของน้ำ Measure Variable และ Controlled Variable คืออุณหภูมิ

ในบางกรณี เช่นการควบคุมระดับน้ำในถัง Controlled Variable ก็คือระดับน้ำ แต่ Measured Variable สามารถวัดในรูปของความดันหรือวัดความดันแตกต่างจากนั้นจึงแปลงค่าความดันไปเป็นระดับของน้ำได้ หรือการวัด Flow Rate ค่า Measured Variable คือ Differential Pressure

1.19 Bench Set คือ การทดสอบการเคลื่อนตัวของ Actuator Spring Range โดยการป้อนลมเข้าที่ Diaphragm Chamber เพื่อให้ Actuator เกิดการขยับตัวโดยที่ยังไม่ได้ต่อเข้ากับ Value Plug เป็นการทดสอบการทำงานของ diaphragm ว่าทำงานตามย่านความดันที่กำหนดหรือไม่ ทั้งนี้สามารถบ่งชี้ในเบื้องต้นได้ว่า diaphragm มีปัญหาหรือไม่ เช่น การรั่ว หรือฉีกขาด หรือ defect อื่นๆ เพื่อที่จะแก้ไขก่อนที่จะมีปัญหาในขณะใช้งานจริง

1.20 Diaphragm Pressure Span เป็นค่าความแตกต่างระหว่างค่าสูงสุดและต่ำสุดของ Diaphragm Pressure Range เช่น กำหนดค่าไว้ที่ 40 to 400 kPa ค่า Span คือ 400 – 40 = 360 kPa

1.21 Single Acting Actuator คือ Actuator ที่มีการป้อนพลังงาน (Pneumatic , Hydraulic) เข้าไปใน 1 ทิศทาง แบบนี้จะมีสปริงเพื่อทำให้เกิดการเคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงของ pneumatic or hydraulic



single acting actuator

ที่มา Control valve handbook , third edition , FISHER Controls international LLC,USA

1.22 Double Acting Actuator คือ Actuator ที่ต้องมีการป้อนพลังงาน (Pneumatic , Hydraulic) เข้าไปใน 2 ทิศทาง แบบนี้จะไม่มีสปริง การเคลื่อนที่ทั้งสองทิศทางต้องใช้แรงจาก Pneumatic or Hydraulic) หรือต้องใช้พลังงานภายนอกทั้งสองทิศทาง

1.23 Dynamic Unbalance คือ สภาวะที่มีค่าของแรง ค่าหนึ่งที่เกิดขึ้นจากแรงกระทำของของไหลที่กระทำต่อ Value Plug ในขณะที่มีการเปิด Value



ที่มา เอกสารทางวิชาการประกอบการฝึกอบรม เรื่อง Control Valve , พิษณุวัฒน์ ศิริจารุทรรศน์ :แปล , กองฝึกอบรมอุปกรณ์ ,ฝ่ายฝึกอบรม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

1.24 Fail Closed เป็นเงื่อนไขที่ใช้กับระบบบางระบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยเมื่อไม่มีแหล่งพลังงาน (Pneumatic, Hydraulic) ก็จะทำให้ Value อยู่ในตำแหน่งปิด โดยมากมักจะปิดด้วยแรงสปริง

1.25 Fail Open เช่นเดียวกับ Fail Closed แต่ Value จะเปิดเมื่อ Power Source Fail

1.26 Fail Safe คือ การกำหนดตำแหน่งของ Value ว่าจะให้อยู่ในตำแหน่งใดเมื่อเกิด Power Source Fail คือ อาจจะให้เปิดสุด(fully open) ปิดสุด(fully closed) หรือค้างตำแหน่งเดิมไว้ (lock up) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการควบคุมหรือ Control Regulatory โดยคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของระบบเป็นหลัก เช่น safety valve ก็ควรจะมี fail safe เป็นแบบ fully open

1.27 Flow Characteristic คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง Flow Rate ที่ผ่าน Value กับ Percent การปิดเปิดของ Value โดยคิดที่ 0-100% โดยทั่วไปมี 2 ลักษณะ คือ

- Inherent Flow Characteristic

- Installed Flow Characteristic



- Inherent Flow Characteristic เป็นค่าความสัมพันธ์ของ Flow Rate ที่ผ่าน Value กับการเคลื่อนที่ของ Stem Travel หรือ %การปิดเปิดของ Value เริ่มจากปิดสุดไปจนถึง Rated Flow โดยมีค่า Pressure Drop ที่ตกคล่อม valve คงที่ค่าหนึ่ง (Constant DP Across Value)

- Installed Flow Characteristic เป็นค่าความสัมพันธ์ของ Value Flow Rate กับ Stem Travel หรือ % ปิดเปิดของ Value เริ่มจากปิดสุดไปจนถึง Rated Flow โดยมีค่า Pressure Drop ที่ตกคล่อม valve มีค่าเปลี่ยนแปลงไปตามค่าการไหลและสภาวะต่าง ๆ ของ Process ค่านี้เป็นค่าที่เกิดขึ้นจริงในขณะใช้งาน

1.28 Flow coefficient (Cv) เป็นค่าคงที่ขึ้นอยู่กับรูปทรงทางเรขาคณิตของวัตถุที่ของไหลไหลผ่าน โดยเป็นตัวกำหนดค่า Flow Capacity ต่อไป ค่า Cv จะวัดที่ 60oF, Pressure Drop 1 psi โดยการวัด Flow Rate ของน้ำเป็น US Gallon/Minute ที่ไหลผ่าน Value ค่า Cv จะเป็นค่าเฉพาะตัวของ Value หรือของอุปกรณ์ เช่น ค่า Cv ของแผ่น Orifice หรือค่า Cv ของ Control Value ดังตาราง ค่า Cv จะนำไปคำณวณ flow rate ได้



ที่มา Control valve handbook , third edition , FISHER Controls international LLC,USA

1.29 Normally Closed Value มีความหมายเช่นเดียวกับ Fail Closed

1.30 Normally Open Value มีความหมายเช่นเดียวกับ Fail Open

1.31 Push Down to Close Construction ลักษณะ Value Actuator เป็นแบบ Direct Actuator (direct acting) คือ เมื่อมีแรงดันลมเข้าที่ด้านบน Diaphragm Chamber ก็จะทำให้ Value Stem เคลื่อนที่ลง ทำให้ Value ปิด ลักษณะเช่นนี้เหมือนกับ Value ทั่ว ๆ เช่น Value ก๊อกน้ำ คือ หมุนมือหมุน แล้วก้าน valve เคลื่อนที่ลง ทำให้ valve ปิด




ที่มา Control valve handbook , third edition , FISHER Controls international LLC,USA

Push Down to Open Construction ลักษณะของ Value Actuator จะเป็นแบบ Direct Actuator ส่วน Value Plug จะเป็นแบบ Reverse ดังรูป เมื่อมีแรงดันลมเข้าด้านบน Diaphragm Chamber ตัว Value Stem จะเคลื่อนที่ลง ทำให้ Value เปิดให้ Fluid ไหลผ่านไปได้






reverse plug direct actuator

ที่มา Control valve handbook , third edition , FISHER Controls international LLC,USA

1.32 Rangeability คือ ค่า Maximum Range/Minimum Range เช่น 100/1 หมายความว่า Control Value ยังคงความสามารถในการควบคุมการไหลได้ดีแม้กระทั่ง Flow Rate เพิ่มขึ้นเป็น 100 เท่าของค่า Minimum Controllable Flow Rate คือ ปกติควบคุม Flow Rate ที่ 1 m3/hr แต่อาจใช้งานได้ที่ 100 m3/hr ได้โดยค่า Capacity, Pressure Drop หรือ Performance ยังคงเดิม ส่วนมากค่า Rangeability มักจะใช้กับ Instrument หรืออุปกรณ์การวัดคุมมากกว่า ซึ่งเรียกว่า การบีบ-ขยาย span เช่น pressure transmitter ที่มีค่า rangeability 50/1 หมายความว่า สามารถ calibrate ให้มีย่านการวัดที่ 0 -1 bar หรือ 0- 50 bar ก็ได้ ในกรณีที่มีการบีบ span มากๆก็เกิดค่า error หรือ accuracy ได้เช่นกันทั้งนี้ต้องพิจารณาด้วยว่าอยู่ในย่านที่ยอมรับได้หรือไม่

1.33 Rated Flow Coefficient เป็นค่า Cv ที่ Value อยู่ในตำแหน่ง Rated Flow Rate

1.34 Rated Travel คือ ระยะการเคลื่อนที่ของ Travel จากตำแหน่งปิดสุดไปยังตำแหน่ง Rated Full Open หรือตำแหน่งเปิดสูงสุดที่ Flow Rate ที่ต้องการ

1.35 Seat Leakage ปริมาณการรั่วของ Fluid ผ่าน Value เมื่ออยู่ในตำแหน่งปิดสุด ในสภาวะ Temperature and Differential Pressure ที่กำหนด ในทางปฏิบัติคือไม่สามารถทำให้ valve ปิดกั้นการไหลได้ 100% จะต้องมีการรั่วค่าหนึ่งที่อยู่ในค่าที่สามารถยอมรับได้ ดังตาราง



ที่มา Control valve handbook , third edition , FISHER Controls international LLC,USA

1.36 Vena Contracta เป็นตำแหน่งของ Maximum Fluid Velocity และ Minimum Pressure ดังรูป



ที่มา Control valve handbook , third edition , FISHER Controls international LLC,USA

1.37 Calibration Curve ค่าความสัมพันธ์ของ Input กับ Output ดังกราฟ



ที่มา Control valve handbook , third edition , FISHER Controls international LLC,USA

1.38 Calibration Cycle

คือ การบันทึกค่าความสัมพันธ์ของ Input กับ Output จาก 0 ไป 100% และจาก 100 กลับไป 0% เพื่อเก็บเป็นข้อมูลเบื้องต้นไว้สำหรับการวิเคราะห์ปัญหาในอนาคต เช่นการตรวจสอบ drift ที่เกิดขึ้น

1.39 Hunting คือสภาวะของการเกิด Oscillation ของสัญญาณควบคุม ทำให้ตัว Final Element ไม่สามารถเข้าสู่ค่า Set Point ได้ใน Control Value ส่วนมากเกิดจาก Control Signal จาก Positioner ที่มีปัญหาไม่คงตัว (unstable signal) ทำให้ไม่สามารถควบคุม PV ได้ตามที่ต้องการ ลักษณะอาการนี้อาจเกิดจากการรบกวนของ วิทยุรับส่งก็ได้ หรือจากอุปกรณ์ที่กำเนิดคลื่นวิทยุกำลังสูงต่างๆ อาการเช่นนี้จะทำให้ stem valve เกิดการขยับตัวตลอดเวลา เพื่อที่วิ่งเข้าหา set point แต่ก็ไม่สามารถเข้าหาได้ จึงเกิดการขยับไปมาตลอดเวลา ในลักษณะนี้ส่งผลเสียโดยตรงต่อ mechanical equipment ได้แก่ packing , positioner mechanism , actuator เป็นต้น ที่จะเกิดการสึกหรอเร็วกว่าปกติ รวมทั้ง เกิด process deviation คือเกิดการเบี่ยงเบนของการผลิตหรือคุณภาพผลิตผล เช่น กรณีที่เกิดขึ้นกับ fuel oil flow control valve หรือวาล์วควบคุม flow rate ของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเผาไหม้ ก็จะทำให้ค่าอุณภูมิเผาไหม้ไม่คงที่ หากเป็นระบบการผลิตไอน้ำก็จะทำให้ได้ค่า pressure and temperature ของไอน้ำมีค่า ไม่คงที่ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆอีกมากทำให้ระบบเกิดการปั่นป่วนได้ ดังรูป



1.40 Instrument Pressure คือ Output Pressure จากController (I/P) เพื่อใช้สั่งการ Control Value ให้ Action ตามต้องการ



แสดงตำแหน่งของ instrument pressure

ที่มา Control valve handbook ,3rd edition , FISHER Controls international LLC,USA

1.41 Loading Pressure คือ ความดันที่ทำให้ Pneumatic Actuator ทำงานหากไม่มี I/P converter ค่า Loading Pressure จะใช้ Instrument Pressure แทน

1.42 Operating Media คือ Fluid ที่ต้องการควบคุม Flow Rate ด้วย Control Value มีค่า Max. Flow Rate 100 m3/hr ที่ 100

1.43 Range คือ ย่านของการใช้งานหรือย่านของการวัด เช่น 3 to 15 psi, -40 oC to 100 oC เป็นต้น

1.44 Span คือ ช่วงของ Range เช่น 3 to 15 psi ค่า Span คือ 15-3 = 12 psi เป็นต้น

1.45 Repeatibility เป็นความสามารถของ Instrument ที่สามารถวัดค่าได้ค่าเดิมหรือใกล้เคียงกับค่าเดิมภายใต้สภาวะหรือเงื่อนไขเดิมโดยขึ้นอยู่กับ วิธีการวัด , ผู้ทำการวัด, ตัวอุปกรณ์ที่ใช้วัด (คุณภาพ), ตำแหน่งที่ทำการวัด, Condition (เช่น อุณหภูมิ , ความดัน ฯลฯ) โดยวัดเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ปกติการบอกค่าจะบอกเป็น Standard Deviation เช่น การวัดความดันของน้ำที่อุณหภูมิ 80 oC, Flow Rate 50 m3/hr สมมุติว่าวัดค่า P ได้เท่ากับ 10.0 bar ในเวลาต่อมาค่า T และ Flow Rate เปลี่ยนไปจนกระทั่งกลับมาที่ 80 oC และ 50 m3/hr ค่า P ควรจะวัดได้ 10.0 bar เท่าเดิม หมายความว่าทุก ๆ ครั้งที่ Process เดินทางผ่านเส้นทางเดิมค่าที่วัดได้ในช่วงเวลานั้น ๆ ควรจะเท่าเดิมด้วย ดังรูป



ที่มา Control valve handbook ,3rd edition , FISHER Controls international LLC,USA

มิใช่ครั้งที่ 1 วัดได้ P = 10.0 bar

ครั้งที่ 2 วัดได้ P = 11.5 bar

ครั้งที่ 3 วัดได้ P = 9.0 bar

โดยสภาวะต่าง ๆ ณ เวลานั้น ๆ (ที่ทำการวัดค่า) ยังเหมือนเดิม คือ ที่อุณหภูมิ 80 oC, Flow Rate 50 m3/hr อย่างนี้เรียกว่ามี Repeatibility ไม่ดี

ค่าRepeatibility ในอีกความหมายหนึ่งคือ ความสามารถของ Instrument ที่วัดค่าและได้ Output ออกมา โดยค่า Input ที่ป้อนยังคงเดิมภายใต้สภาวะ Operating Condition เดิมในช่วงเวลาสั้น ๆ ช่วงหนึ่ง เช่น ใช้ Multimeter วัดค่า Voltage ของแหล่งจ่ายแรงดัน (Ideal Power Supply) ต้องวัดค่าได้ค่าเดิมทุกครั้งภายใต้เงื่อนไขเดิม เช่น วัดได้ 10.0 VDC จำนวน 10 ครั้ง เป็นต้น ในช่วงเวลาสั้น ๆ

1.46 Reproducibility เป็นค่าความสามารถของ Instrument ในการวัดค่าและให้ Output ออกมาค่าเดิมตามค่า Input ที่ป้อนเข้าไป ภายใต้เงื่อนไข Operating Condition เดิม แต่ช่วงเวลาเป็นการวัดค่าในช่วง 1 เดือน 3 เดือน หรือ 1 ปี เช่น วันนี้วัดค่าได้ 100 bar อีก 3 เดือน ก็ควรจะวัดค่าได้ 100 bar ด้วย ภายใต้ Operating Condition เดียวกัน Instrument ที่ดี ควรมีค่า Reproducibility ที่ดีด้วย

1.47 Drift มีความหมายใกล้เคียงกับ Reproducibility มากหรืออาจเรียกว่าเป็นคำ ๆ เดียวกันก็ได้ Instrument ที่ดี ไม่ควรเกิดค่า Drift ในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือใช้งานไปไม่กี่เดือน ค่า Drift มี 2 ลักษณะ คือ

- Point Drift โดยการกำหนด Operating Condition เดิมแล้วดูค่า Output ที่วัดได้ว่าเปลี่ยนแปลงไปจากค่าเดิมเท่าไร โดยให้ค่า Input Signal คงที่

- Calibration Drift เป็นการนำตัว Instrument มาทำการ Calibrate ใหม่ โดยการเปรียบเทียบผลที่ได้กับ Calibration Report หรือ Calibration Curve เดิม ว่ามีความแตกต่างกันเท่าไรในทุก ๆ ค่าที่ทำการ Calibrate เช่น

ค่าเดิมที่ calibrate ครั้งแรก

Input (%)

Output ( volt ) 0.0

5.0 25.0

10.0 50.0

15.0 75.0

20.0 100.0

25.0



ค่าใหม่ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วระยะหนึ่ง 1 ปี

Input (%)

Output ( volt ) 0.0

4.5 25.0

10.4 50.0

14.5 75.0

19.5 100.0

24.3

จากตัวอย่าง จะเห็นว่ามีค่า Drift เกิดขึ้นประมาณ 0.5 ในทุก ๆ ค่า เป็นต้น โดยปกติค่า Drift ของอุปกรณ์จะบอกเป็น % Output Span จากตัวเลข จะได้ค่า drift =0.5x100 / 20 =2.5% of output span

1.48 Static Error เป็นค่า Error จากการวัดที่เงื่อนไขเดิม แต่เกิดความแตกต่างขึ้นเล็กน้อย

1.49 True Value (ค่าที่แท้จริง , ค่าจริง)

True Value = Instrument Readout (ค่าที่อ่านได้จากเครื่องมือวัด) – Static Error

1.50 Sensitivity เป็นค่าอัตราส่วนระหว่าง Change of Output/Change of Input ในสภาวะ Steady State Condition

1.51 Dynamic Characteristic เกิดขึ้นจาก 3 ลักษณะ คือ

- Step Change การเปลี่ยนแปลง Input แบบทันทีทันใด

- Linear Change การเปลี่ยนแปลงค่า Input ในลักษณะค่อย ๆ เพิ่มหรือลด หรือเรียกว่า ramp signal

- Sinusoidal การเปลี่ยนแปลงค่า Input ในลักษณะเป็น Sine Wave

ลักษณะของ Change เหล่านี้ทำให้เกิด Dynamic Error, Lag, Speed of Response, Fidelity, Etc.

1.52 Dynamic Error เป็นค่า Error ที่เกิดจากสภาวะของ Dynamic Characteristic ทั้ง 3 แบบ

1.53 Lag or time lag เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง input ขึ้น โดยธรรมชาติของอุปกรณ์ จะไม่สามารถตอบสนองได้ในทันทีทันใด จึงเกิด Time Lag ขึ้นเสมอ

1.54 Speed of Response คือ ความสามารถของ Instrument ในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงค่า Input ยิ่งมี Speed สูงยิ่งดี แสดงว่าสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของ Input ได้เร็วมาก

1.55 Precision Error เป็นค่า Error จากสภาพ Conformity ของตัวอุปกรณ์วัด เช่น ตัว Resistor มีค่า R = 1.592 Mega Ohm มี Error 154 Ohm ตัว Multimeter ที่นำมาวัดค่าและอ่านโดยคน (สมมติว่าไม่มี Error ที่คนอ่านค่า) ค่าที่แสดงจากเข็มวัด อ่านได้ที่ประมาณ 1.5 Mega Ohm ทั้ง ๆ ที่ค่าจริงนั้นอยู่ที่ 1.592 +154 Mega Ohm ค่าที่อ่านได้จาก Scale นี้เรียกว่า Precision Error คือ เป็นค่า Error ที่เกิดจากขีดจำกัดของ Scale Reading ของเครื่องมือวัด

1.56 Zero Error เป็นค่า Error ของเครื่องมือวัดในช่วงค่า Input ต่ำ ๆ มักกำหนดค่าเป็น % Of Ideal Span

1.57 Zero Offset หมายถึง ในสภาวะปกติที่ยังไม่มี Input ให้กับ Instrument ตัว Indicator ควรแสดงค่าที่ศูนย์ แต่หากค่าที่อ่านได้ไม่เป็นศูนย์นั่นคือ การเกิด Zero Offset ต้องทำการปรับแต่งหรือ Calibrate ให้ Indicator แสดงค่าที่ศูนย์ให้ได้และต้องบันทึกค่าไว้ หากปรับ Zero ไม่ได้จริง ๆ ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนคือ กรณีของ Pressure Gauge หากนำมาวางไว้ในบรรยากาศปกติ เข็มชี้ค่าหรือ Pointer Indicator ควรชี้ค่าที่ “0”



1.58 Backlash เป็นค่า Mechanical Hystersis ส่วนมากเกิดขึ้นกับระบบ Gear, Linkage, Mechanical Transmission Device เป็นต้น เช่น การขบกันของเฟืองเกียร์ เมื่อหมุนตามเข็มนาฬิกา ตำแหน่งของเกียร์ก็จะอยู่ตำแหน่งหนึ่ง แต่เมื่อหมุนทวนเข็มนาฬิกา ตำแหน่งของฟันเฟืองเกียร์มิใช่อยู่ในตำแหน่งเดิม แต่เปลี่ยนตำแหน่งเล็กน้อย ค่า Backlash ควรมีค่าน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามค่านี้ไม่สามารถทำให้หมดไปได้ เนื่องจากเป็นข้อจำกัดของชิ้นส่วนทางกลที่ต้องมี Clearance เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่เป็นกลไกหรือแบบ Non-Rigid Mechanism

 

2ที่มา Control valve handbook , third edition , FISHER Controls international LLC,USA

อ่านบทความทั้งหมด