วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

Pressure Safety Valve

By Shift A (Oat)






Pressure Safety Value (วาล์วนิรภัย) หรือ Pressure Relief Valve (วาล์วระบายแรงดัน) เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยของระบบ มีหน้าที่หลักคือระบายแรงดันภายในระบบออก ซึ่งจะทำงานเองโดยอัตโนมัติเมื่อมีแรงดันเกินกว่าค่าที่ตั้งไว้ วาล์วทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันด้านการใช้งาน

กล่าวคือ Pressure Safety Value จะใช้กับของเหลวที่บีบอัดได้ (Compressible Fluid) เช่น ไอน้ำ หรือก๊าซ ซึ่งต้องการระบายความดันอย่างรวดเร็ว สำหรับ Pressure Relief Valve จะใช้กับของเหลาวที่บีบอัดไม่ได้ (Non Compressible Fluid) เช่น น้ำ หรือน้ำมัน ซึ่งจะระบายความดันอย่างช้าๆ โดยวาล์วทั้งสองชนิดมีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกันได้แก่

1. Valve Body ส่วนใหญ่ผลิตจากเหล็กหล่อ หรือวัสดุอื่นตามการใช้งาน โดยเป็นโครงสร้างที่ใช้ติดตั้งกับท่อหรือถังความดันที่จะทำการปกป้อง
2. Disc ลักษณะเป็นแผ่นกลมที่ใช้กดปิดกั้นของเหลวไว้ โดยอาศัยแรงกดจากสปริง โดย Disc นี้จะทำหน้าที่รับแรงดันไว้ทั้งหมด
3. Stem เป็นส่วนที่รับแรงกดจากสปริงและส่งแรงกดไปยัง Disc โดยมีหน้าที่เป็นแกนบังคับให้ส่วนที่เคลื่อนไหวเคลื่อนที่ตามแนวแกน Stem
4. สปริง เป็นส่วนที่ก่อให้เกิดแรงดันต้านทานความดันที่ Disc การปรับ Adjust Screw ให้สปริงยืดหดตัวแตกต่างกันส่งผลให้แรงกดที่ Disc มีค่าแตกต่างกัน จึงเป็นหลักการสำคัญที่ใช้กำหนดค่าความดันที่จะให้วาล์วทำการระบาย (Set Pressure)
5. Adjust Screw ใช้ปรับระยะยืดหดของสปริง จุดนี้เองที่ใช้ทำการปรับตั้งค่าความดัน


นอกจากนี้ เรายังสามารถแบ่งประเภทของวาล์วได้ตามลักษณะการทำงานได้แก่


1. Conventional Safety Relief Valve ซึ่งเป็น Safety Valve แบบที่พบเห็นได้ทั่วไป ความดันที่จะทำให้เกิดการระบาย (Pop Action) ผ่านวาล์ว ประเภทนี้จะมีค่าสูงกว่าความดันที่ทำให้วาล์วกลับมาสู่ตำแหน่งเดิม




Conventional Safety Relief Valve

2. Balance Safety Relief Valve วาล์วลักษณะนี้ถูกออกแบบเพื่อขจัดปัญหาในกรณีที่ Back Pressure ในจุดที่ระบายออกมีค่าไม่คงที่แน่นอน

3. Pilot-Operated Relief Valve โครง สร้างภายในจะเป็นลักษณะลูกสูบ และจะมีชุด Pilot ที่ใช้ควบคุมการทำงาน วาล์วลักษณะนี้จะใช้ในกรณีที่ความดันในระบบมีค่าใกล้เคียงกับ Set Pressure มากๆ



Pilot-Operated Safety Relief Valve

4. Rupture Disc มีลักษณะแตกต่างจากวาล์วทั้ง 3ประเภทที่กล่าวมาข้างต้นอย่างสิ้นเชิง ลักษณะจะเป็นแผ่นคล้ายกระทะ เมื่อความดันภายในมีค่ามากกว่าความดันที่กำหนดบน Rupture Disc นี้ จะทำให้ Disc แตกออกและระบายความดันออกมาอย่างรวดเร็ว เมื่อแตกออกแล้วทำให้ Disc ไม่สามารถปกป้องความดันอีกต่อไปได้ พบเห็นได้บ่อยในกรณีถังเก็บของเหลวที่มีความดันไอ เช่น ถังน้ำมัน

การทำงานของ Pressure Safety Valve โดยทั่วไปเพียงแค่เมื่อความดันภายในท่อหรือถังมีค่ามากกว่า Set Pressure แรงจากความดันที่กระทำต่อ Disc จะมีค่ามากกว่าแรงที่กดจากสปริง ทำให้ Disc เกิดการยกตัวขึ้น และระบายความดันส่วนเกินออกมา เมื่อความดันภายในระบบลดลงแล้ว Disc ก็จะเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งแลรับความดันภายในเช่นเดิม


Pressure Safety Valve ยังมีรายละเอียดด้านการออกแบบ การติดตั้ง การตั้งค่า Set Pressure และการ Calibration ที่ต้องทำให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้ระบบและผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัย







อ่านบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

VOCs คืออะไร ????

น้องแจ๊สกับน้องบิว -

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยบูรพา





VOCs (Volatile Organic Compounds) หมายถึงสารอินทรีย์ระเหยง่าย ที่แปลตรงๆ ตัวคำต่อคำมาจากภาษาอังกฤษที่ว่า

Volatile คือ ระเหยได้ง่าย

Organic คือ สารอินทรีย์ (ที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนกับไฮโดรเจนเป็นหลัก)

Compounds คือ สารประกอบ

VOCs เป็นสารที่สามารถระเหยกลายเป็นไอได้ในอุณหภูมิห้องและความดันปกติทำให้เกิดอากาศเป็นพิษ (Toxic Air) โมเลกุลส่วนใหญ่ประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นหลักซึ่งอาจมีอะตอมของออกซิเจน หรือคลอรีนร่วมด้วย ซึ่งสามารถมีอยู่ได้รอบๆตัวเราไม่ใช่เฉพาะในสถานที่ทำงาน ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันในครัวเรือน ก็เป็นแหล่งระเหยของสาร VOCs ด้วยเช่นกัน อาทิ น้ำยาทำความสะอาด สีทาบ้าน ควันบุหรี่ น้ำยาฟอกสี สารตัวทำละลายในการพิมพ์ อู่พ่นสีรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม น้ำยาซักแห้ง สารฆ่าแมลง สารที่เกิดจากการเผาไหม้จากกองขยะ พลาสติก เป็นต้น

สาร VOCs แบ่งตามลักษณะโมเลกุลได้ 2 กลุ่ม

1. กลุ่ม Non-chlorinated VOCs คือ กลุ่มไฮโดรคาร์บอนระเหยที่ไม่มีโมเลกุลคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซโซลีน สารกลุ่มนี้มาจาก การเผาไหม้ กองขยะ พลาสติก วัสดุ มีผลเสียต่อสุขภาพทำให้ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ

2. กลุ่ม Chlorinated VOCs คือ กลุ่มไฮโดรคาร์บอนระเหยที่มีโมเลกุลคลอรีนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ สารเคมีสังเคราะห์ในอุตสาหกรรม เช่น ไวนิลคลอไรด์ คลอโรฟอร์ม คาร์บอนเตรตระคลอไรด์ ไดโบรโมมีเทน เฮกซาคลอโรอีเทน เป็นต้น สารเหล่านี้สามารถคงอยู่ในอากาศได้นาน ก่อให้เกิดพิษสูงกว่ากลุ่มแรก เพราะมีพันธะระหว่างคาร์บอนและธาตุกลุ่มฮาโลเจน ซึ่งทนทานและยากต่อการสลายตัวในธรรมชาติ อันตรายของสารกลุ่มนี้ ทำให้มีผลทางพันธุกรรมก่อให้เกิดมะเร็งหรือกระตุ้นให้เกิดมะเร็ง

VOCsสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทางทั้งทางผิวหนัง ทางปาก และจากการสูดดม ซึ่งก็จะมีอาการแตกต่างกันไปตามปริมาณมากน้อยและระยะเวลาสั้นยาวที่ได้รับ อาจจะเกิดผื่นคัน แสบตาน้ำตาไหล หายใจมาสะดวก มึนงง ปวดศีรษะ แสบร้อนในปากในท้อง ซึ่งถ้าได้รับนิดหน่อยร่างกายจะสามารถขับทิ้งไปเองได้ ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด อาจจะแค่พอรำคาญ ก็รักษาอาการตามปกติโดยทั่วไป คือถ้ามีผื่นก็ล้างน้ำสะอาด แสบตาก็ล้างตา คันคอก็ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ (แต่ถ้ามีอาการมากๆ ก็ควรจะไปพบแพทย์โดยเร็ว) นอกจากนี้ถึงแม้จะได้รับสารในปริมาณน้อยแต่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดมะเร็ง หรืออวัยวะภายในถูกทำลายได้

ผลกระทบของสาร VOCs ต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์

- ไม่สบายหายใจไม่สะดวก เคืองตา ระคายคอ จมูก ปวดศีรษะ เป็นไข้

- ผลกระทบต่อภูมคุ้มกัน ระบบภูมิคุ้มกันลดลง ติดเชื้อได้ง่าย

- ผลต่อระบบประสาท ทำลายประสาทส่วนกลาง ทำให้ง่วงนอน วิงเวียนศีรษะ ซึมเศร้า หมดสติ

- มีผลกระทบต่อตับและไต

- ผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่น ระบบพันธุกรรม ระบบฮอร์โมน ระบบสืบพันธุ์ ก่อให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สาร VOCs เป็นสารตั้งต้นของปฏิกิริยา photochemical smog และทำปฏิกิริยากับ NOx ทำให้เกิดก๊าซโอโซนและสารอื่นซึ่งเป็นสารมลพิษทางอากาศทุติยภูมิ

สาร VOCs ในรูปของเหลว หรือสารละลาย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ น้ำใต้ดิน และดิน



การป้องกันอันตรายจาก VOCs

เนื่องจากไอระเหยของ VOCs เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ดังนั้นวิธีการปฏิบัติงานขั้นตอนแรกที่จะลดความเข้มข้นของไอระเหย ได้แก่

1. เพิ่มการระบายอากาศในบริเวณนั้น หรือปฏิบัติงานในที่โล่ง ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี

2. ภาชนะที่บรรจุสาร VOCs ต้องตรวจตราให้ปิดสนิท

3. อย่าเก็บภาชนะที่บรรจุสารที่ใช้หมดแล้วไว้รวมกันจำนวนมากเพราะภาชนะเหล่านั้นยังมีสารตกค้างที่สามารถระเหยออกมาได้

4. อย่านำสารหรือผลิตภัณฑ์มาผสมกันโดยมิได้ เป็นข้อแนะนำของบริษัทผู้ผลิต

5. จัดซื้อสารในปริมาณที่พอเพียงกับการใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงการจัดเก็บสารจำนวนมาก

6. การใช้งานหรือการจัดเก็บสาร VOCs ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต

7. อย่าทิ้งภาชนะบรรจุที่ใช้สารหมดแล้วลงในที่ทิ้งขยะทั่วไป ให้แยกทิ้งในที่ทิ้งขยะสารพิษ



นโยบายและแนวทางในการควบคุมปัญหามลพิษจากสาร VOCs

การกำหนดมาตรฐานและมาตรการในการควบคุมการระบายสาร VOCs เช่น มาตรฐานสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไป

มาตรฐาน VOCs ในบรรยากาศโดยทั่วไป (ค่าเฉลี่ย 1 ปี)



Benzene 1.7 µg/m3

Vinyl Chloride 10 µg/m3

1,2 Dichloroethane 0.4 µg/m3

Trichloroethylene 23 µg/m3

Dichoromethane 22 µg/m3
1,2 Dichloropropane 4 µg/m3

Tetrachloroethylene 200 µg/m3

Chloroform 0.43 µg/m3

1, 3 Butadiene 0.33 µg/m3

อ่านบทความทั้งหมด