วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สติ กับ การทำงาน

By Nick



วันนี้มีโอกาสดีที่จะได้มาเขียน Blog เองบ้าง เพราะช่วงนี้ฝ่ายผลิตของเรากำลังเจอกับปัญหาหนักและใหญ่อยู่ข้อหนึ่งคือ เกิดความผิดพลาดในการทำงานจาก คน หรือ Human Error

ซึ่งเราต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งว่า ความผิดพลาดที่เกิดจากคนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา แต่อะไรหล่ะที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดความผิดพลาดเหล่านั้นขึ้น?

เท่าที่ผ่านการหาสาเหตุของเหตการณ์ต่างที่เกิดจากคนนั้นพบว่า มีข้อหนึ่งที่ตรงกันคือ

สติในการทำงาน ณ ตอนนั้น หายไป

สติ แปลว่าความระลึกได้ เอาง่ายๆคือ รู้ตัวอยู่เสมอ



การมีสติในการทำงานนั้น ไม่ยากนัก แค่ก่อนทำให้คิดถึงว่าเรากำลังจะทำอะไร จะเกิดสิ่งใด เพียงเท่านี้ ก็จะเกิดสติก่อนการทำงาน

การทบทวน WI ก่อนการทำงานเป็นการฝึกสติอย่างหนึ่ง เพราะ เราจะรู้ว่าทำอะไรก่อน อะไรหลัง รวมถึงการทำงานโดยใช้ WI จะเป็นการให้สติอย่างดีว่าเราต้องทำอะไรบ้าง เพราะงานที่เราทำนั้นมีหลากหลายมาก ขั้นตอนปลีกย่อยทั้งหลาย เชื่อว่า ไม่มีใครสามารถจำมันได้ทั้งหมด หลายคนอาศัยความชำนาญว่า ต้องทำอะไรก่อน อะไรหลัง ยิ่งกว่านั้น คือ อาศัยความเคยชินในการทำงาน
อย่างหลังนี่อันตรายมากที่สุด เพราะความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากความเคยชินแทบทั้งสิ้น

อะไรหล่ะ คือ สิ่งที่ทำให้เราขาดสติในการทำงาน

สิ่งที่ทำให้เราขาดสติในการทำงานนั้นมีมากมาย แค่คิดว่าสิ่งที่ต้องทำต่อไปคืออะไร แค่นี้ก็สามารถทำให้ใจเราหลุดลอยไปถึงงานต่อไปได้แล้ว เมื่อใจเราลอยไปหางานถัดไปสติกับงานปัจจุบันก็จะขาด และร่างกายจะทำไปด้วยความเคยชิน และนี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของความผิดพลาด

อีกอย่างหนึ่ง คือ สิ่งเร้าภายนอก เช่น ความหิว/มีการเรียกมาจากเพื่อนร่วมงาน/ใกล้ถึงเวลาเลิกงาน สิ่งที่กล่าวมาสามารถทำให้ใจเราหลุดลอยออกจากงานที่ทำปัจจุบันและทำให้ไม่มีสติกับการทำงานที่ทำอยู่ตรงหน้าได้ จะเห็นได้ว่าสตินั้นมีปัจจัยให้หลุดออกจากงานที่ทำตรงหน้าได้หลายอย่างมาก

แล้วอะไรจะมาช่วยให้เรามีสติกับการทำงานได้???

1. การวางแแผนการทำงานก่อนเริ่มงาน

หลายครั้งที่มีโอกาสร่วมการส่งกะหรือประชุมกะ พวกเราแทบทั้งหมดจะทราบถึงงานใหม่ๆที่มีการอัพเดท หรือ งานต่างๆส่งต่อกันมาจากกะก่อนหน้า สิ่งเหล่านี้จะถูกพูดถึงในการส่งกะ และเราทีมงานทุกคนจะทำการจดหรือบางคนจำ เพื่อให้ทราบว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่มีหลายคนที่สามารถทำอย่างหนึ่งได้ นั่นคือ Checklist ว่างานวันนี้เราต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งมีทั้งงานรูทีนและงานใหม่ สิ่งนี้เองเป็นสิ่งที่คอยเคือนสติเราว่าต้องทำอะไรบ้าง

2. เรียงลำดับความเร่งด่วนและสำคัญ

การทำงานที่เรียงลำดับความสำคัญและเร่งด่วนจะทำให้ทำงานได้อย่างมั่นใจและไม่เกิดความกังวลเพราะบางครั้งหากเราเกิดอาการ หลุด ลืมงานสำคัญที่ต้องทำให้เสร็จภายในกะเราไปเมื่อเวลาใกล้หมดจะทำให้เราเกิดการรีบเร่งในการทำงาน ซึ่งเพิ่มโอกาสในการผิดพลาดได้ ดังนั้นอย่าลืมเรียงลำดับความสำคัญในการทำงานด้วย

หัวหน้างานต้องมีส่วนช่วยเหลือและสอนทีมงานในการเรียงลำดับความสำคัญ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณงานของทีมงาน และจะได้วางแผนกระจายงานที่ สำคัญ ออกไปให้ไม่กระจุกอยู่ที่คนใดคนหนึ่ง เพื่อที่จะได้ลดความเร่งร้อนในการทำงาน อันเนื่องมาจากความไม่รู้ว่างานไหนสำคัญกว่ากัน เร่งร้อนเพื่อที่จะทำทุกอย่างให้เสร็จ

3. ทบทวน WI ก่อนทำ และ ใช้ WI ในการทำงาน

การทบทวน WI เป็นการเตือนสติเราว่าเราต้องทำอะไรบ้างซึ่งเป็นเหมือนการบอกตัวเองครั้งหนึ่งก่อน และเมื่อถึงเวลาทำงานโดยใช้ WI/Checklist จะทำให้เราทำงานอย่างมีสติถูกต้อง และลดโอกาสความผิดพลาด

จากการสังเกต มีหลายคนที่ใช้ WI ในการทำงานได้ดีคือ ทำไปเชคไป กับอีกส่วนหนึ่งที่เรียกได้ว่าใช้ WI แค่เพื่อให้ได้ชื่อว่าใช้ คือทำไปจนจบแล้วมาเชค แบบนี้เราจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจากการใช้ WI

ซึ่งอยากฝากทุกคนเรื่องทัศนคติในการทำงานข้อหนึ่งไว้ว่า

ทีมงานมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ทีมงานการทำงานได้รวดเร็วหรือเก่งกาจ แต่คือ ทีมงานที่สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามวิธีการและปลอดภัย ;)

4. จำกัดปัจจัยภายนอก และ หลีกเลี่ยงความเสี่ยง

ข้อสี่นี้อยากให้ทุกคนฝึกปฏิบัติกันให้ดี เพราะ สาเหตุของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในปีนี้ มีข้อนี้เป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น

การจำกัดปัจจัยภายนอก แปลง่ายๆคือ ให้ความสำคัญกับงานที่กำลังทำอยู่ตรงหน้าที่สุดเสมอ นั่นคือ การมีสติในการทำงานตรงหน้านั่นเอง รู้ว่ากำลังเปิดวาล์ว รู้ว่าจะต้องปิดวาล์ว รู้ว่าการกระทำในแต่ละขั้นตอนจะเกิดอะไรขึ้นกับสิ่งที่เราทำ

- สิ่งที่เข้ามาภายนอก เช่น เพื่อนหรือหัวหน้าเรียก เราต้องบอกให้รอก่อนสักครู่หนึ่ง ให้สิ่งที่ต้องทำตรงหน้าลุล่วงไปก่อน หรือ หากเป็นสิ่งเร่งด่วน เราต้องรู้ว่างานที่ทำนั้น หยุดตรงไหนถึงจะปลอดภัย

- ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น ความหิว เวลาเลิกงาน หรือ ตารางงานอักแน่นให้ เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการวางแผนการทำงาน. หากงานมีปริมาณมากเราต้องแจ้งให้หัวหน้าทราบ ขอความช่วยเหลือ หรือหาทางแก้ไข อย่าพยายามทำงานเกินกำลัง หรือ รีบร้อนทำงาน ด้วยเหตุผลที่ว่า เพราะงานเยอะจึงต้องรีบเคลียงาน นี่เป็นทัศนคติในการทำงานที่ผิด

หลีกเลี่ยงความเสี่ยง

เป็นทัศนคติในการทำงานอีกข้อหนึ่งที่สามารถทำให้เราทำงานอย่างมีสติได้ เช่น บริเวณที่จะเข้าไปทำงานไปลอดภัย หรือ ไม่สะดวก ให้เราทำการแก้ไขให้ดีก่อนที่จะเข้าไปทำงาน อย่าฝืน เพราะใจเรานั้นจะไปพะวงกับความปลอดภัยในการทำงานของตัวเองจนสติของเราไม่อยู่กับงานที่ทำได้

หากมีความจำเป็นต้องทำงานในที่ๆมีความเสี่ยง ต้องหันมาปรึกษากับหัวหน้างาน เพื่อให้ทราบถึง อันตรายและโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เพื่อหาทางเพื่อลดความเสี่ยงนั้นและในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินว่าใครจะต้องทำอะไร

แต่ดีที่สุด คือ ไม่ทำงานแบบมีความเสี่ยง เพราะ ผลกระทบนั้น ไม่มีใครในทีมงานเราสามารถรับได้คนเดียว ผลกระทบที่เกิดขึ้น ส่งผลถึงทั้งบริษัท


เชื่อว่าหากทีมงานของเราทุกคนสามารถทำได้อย่างข้างบนแล้ว โอกาสความผิดพลาดในการทำงานของพวกเราจะลดลง และเป็นการฝึกให้เรามีสติอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

อะไรที่พลาดไปแล้วเราไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ แต่เราเรียนรู้จากมันได้

อ่านบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปวดหลัง ปัญหาใหญ่ของวัยทำงาน

By โก๋



อาการปวดหลังเคยมาเยื่อนคุณบ้างไหม ถ้าไม่เคย คุณเป็นคนหนึ่งที่โชคดีมากๆ เพราะจากตัวเลขผู้เข้าใช้บริการโรงพยาบาลจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนพบว่ากลุ่มคนทำงานเป็นกลุ่มที่ปวดหลังบ่อยจำนวนพอๆ กับผุ้สูงอายุเลยทีเดียว

อาการปวดหลังนั้นมีหลายสาเหตุ แต่หากสงสัยว่า อาการปวดหลังที่ประสบอยู่นั้นเกี่ยวข้องกับการทำงานแล้วล่ะก็ ลองพิจารณาดูปัจจัยต่อไปนี้

• ปวดหลัง หลังจากการทำงานที่ต้องนั่งนาน หรือมีท่าการทำงานท่าเดียวนานๆ มีการเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้อง เช่น บิดเอี้ยวตัวอย่างแรง และเร็ว จนอาจทำให้กระดุกสันหลัง แอ่น โค้งหรือบิดงอได้ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดหลัง

• มีอารมณ์เครียดจากการทำงาน เป็นระยะเวลานาๆ เรื่องของอารมณ์นี้ คุณคิดว่าไม่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลัง แต่กายและจิตใจเชื่มต่อกัน ความเครียดของคุณส่งผลต่อการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และทำให้เกิดอาการปวดหลังได้เช่นกัน

• อาการปวดหลัง เกิดหลังจากยกของหนัก หรือขนย้ายสิ่งของด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น ก้มตัวลงมาหยิบของ แล้วยืดขึ้นทันที หรือเอี้ยวตัวรับของ รวมทั้งกรณีที่ต้องแบกรับน้ำหนักที่มากเกินไปเป็นเวลานานๆ

• ลักษณะการทำงาน ต้องคุกเข่า คลาน ปีน หรือขึ้นลงบันไดเป็นเวลานานๆ หรือเป็นประจำ เอื้อต่อการปวดหลังมากขึ้น

• ปวดหลังเพราะร่างกายขากความยืทดหยุ่น ขาดการออกกำลังกายนานๆ จนกล้ามเนื้อแข็งแกร่ง ส่งผลไม้เมื่ออยู่ในท่าใดนานๆ จะเกิดอาการปวดหลังได้ง่าย

เมื่อสงสัยว่าอาการปวดหลังที่พบเห็นนั้น อาจจะมาจากการทำงาน เพราะลักษระงานเอื้อต่อการปวดหลังอย่างมาก บางคนต้องนั้งหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานกว่าวันละ 8 ชั่วโมง อยุ่ทำโอทีอีก 3 -4 ชั่วโมงหลังเลิอกงาน หรือเข้าสู้ช่วงงานเร่ง ต้องทำงานล่วงเวลา และการทำงานสมัยนี้หลายคนก้ต้องอาสัยอินเตอร์เน็ตเพื่อการติดต่อสื่อสาร หรือหาข้อมูล ทำให้เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องนั่งเป็นเวลานานๆ

อาการปวดหลังที่เกิดจากการนั่งทำงานนานๆ นั้น ส่วนมากมักมาจากการปวดกล้ามเนื้อ เนื่องจากล้ามเนื้อต้องเกร็งตัว โดยฌฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณหลังต้องใช้พลังงานที่สพสมเอาไว้ไปกับการเคลื่อนไหวเมื่อพลังงานสะสม ก้เริ่มออกอาการ คือ เมื่อยล้า ถ้าเริ่มรู้สึกปวแหมื่อย ลองเปลี่ยนท่า แปลี่ยนอิริยาบถพักผ่อนบ้าง เอนหลังพิงพนักแล้วหลับตา หรือลุกขึ้นเดินยืดเส้นยืดสาย ออกกำลังเล็กๆ น้อยๆ พอให้เปลี่ยนท่าทางบ้าง กล้ามเนื้อก็จะสดชื่นขึ้นมา

แต่ส่วนใหญ่แล้ว ปัยหาคือทำงานเพลิน ทำงานไปเรื่อยจนลืมอาการปวดหลัง จึงไม่ได้ลุกออกมาเปลี่ยนท่าทาง นั่นหมายความว่ากล้ามเนื้อเราก็ต้องทำงานต่อเนื่องยาวนานเช่นกัน ความผิดปกติ จึงเพิ่มจากเมื่อยล้าล้าเป็นปวดหลัง อาจมีอาการแข็งร่วมด้วย เพราะกล้ามเนื้อเกร็งตัว จนขาดเลือดไปเลี้ยงมีกรดแลคติดสะสมในกล้ามเนื้ออันเกิดจากความเนื่อยล้า อาการนี้สะสมยาวนาน จะกลายเป้นปัยหาต่อการทำงานได้ เพราะกล้ามเนื้อจะเริ่มเสื่อมประสิทธิภาพเรื่อยๆ

ดังนั้น เมื่อเริ่มมีอาการปวดหลัง อย่านิ่งนอนใจ แล้วปล่อยให้ร่างกายต้องทนรับสภาพกล้ามเนื้ออ่อนล้า เพราะเพียงแค่คุณสละเวลาแก้ปัยหาปวดหลังตั้งแต่ยังไม่เริ่มอาการหนักก้จะช่วยได้เยอะโดย

1. เปลี่ยนท่าทาง : กฏเหล็กของการทำงานคือ ไม่ควรทำงานด้วยท่าหนึ่งท่าใดนานๆ ต้องเปลี่ยนท่าอยู่เรื่อยๆ หรือปล่อยเอนหลังให้กล้ามเนื้อได้พักผ่อนบ้าง

2. ออกกำลังกายท่าง่ายๆ : ถ้าเมื่อย เหนื่อยล้า ลองลุกมายกแขน ขา เหมือนท่ากายบริหารสมัยเด็กๆ เช่น ท่าหมุนคอ ท่าก้มแตะ หรือท่าเขย่งปลายเท้า สามารถช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ทั้งนั้น โดยแต่ละท่าควรทำค้างไว้สัก 5 วินาที

3. คลายปวดด้วยการประคบรอ้น : หากอาการปวดหลังเพิ่มมากขึ้นสามารถใช้การประคบร้นช่วยได้โดยหาซื้อ Cold/Hot pack ติดไว้ที่ทำงาน เมื่อเริ่มอาการปวดหลัง ให้นำแผ่นเจลแช่น้ำร้อนแล้วนำมาประคบบริเวณที่ปวด สัก 10 – 20 นาที วิธีนี้ใช้ได้ดีทั้งปวดหลัง ปวดไหล่ และถ้าวันไหนปวดหัว มีไข้ก็ยังนำไปแช่ตู้เย็น ทำเป้นแผ่นประคบเย็นได้

4. หมอนสารพัดประโยชน์ : ในที่ทำงานถ้าสามารถหาหมอนอิงสักใบ มาไว้แก้เมื่อยจะช่วยได้มากหวกปวดหลังให้นำหมอนมารองบริเวณที่มีอาการปวด รองแถวๆ บั้นเอว จะช่วยได้ หรือหากเก้าอี้เตี้ยเกินไป ทำให้ต้องโน้มตัวไปทำงาน ก็ให้เปลี่ยนหมอนมารองนั่ง เพิ่มความสูงขึ้นมาให้พอดี

นอกจากวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น ป้องกันกันอาการปวดหลังแล้ว ต้องลองพิจารณาอุปกรณ์ที่เราทำงานด้วย เช่น ขนาดของโต๊ะ และเก้าอี้เหมาะกับสรีระของเราหรือไม่ ความสูงของเก้าอี้และโต๊ะ ควรได้ระดับที่แขนวางเป็นมุมฉากกับลำตัวพอดี ปรับคอมพิวเตอร์ให้จออยู่ในระดับสายตัว ส่วนแป้นคีย์บอรืดควรอยู่ในระดับข้อศอกจะได้ไม่ต้องยกแขนขึ้นมาพิมพ์ ส่วนเมาส์ ถ้าใช้แบบไร้สายได้ ก้จะเคลื่อนไหวได้อิสระขึ้น เมื่อปรับท่าทางอย่างดีแล้ว ก็ทำงานได้เต็มที่แต่ไม่ควรเกิน 1 ซม. ต้องลุกไปเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง

ชีวิตทำงาน กินเวลาไปกว่าครึ่งของชีวิตเรา ถ้าหากทำงานแล้วส่งผลให้เจ็บป่วย เมื่อยเนื้อ เมื่อยตัว นอกจากงานไม่ดีแล้ว รายได้จากการทำงาน ยังต้องเตรียมไว้ให้กับค่ารักษาพยาบาลอีกด้วย

รักจะเป็นคนทำงานที่ฉลาด อนาคตไกล ต้องใส่ใจสุขภาพตัวเองเท่าๆ กับงาน

ที่มา : นิตสาร ใกล้หมอ

ตอนนี้มีเรื่องที่รอลงอยู่เยอะพอสมควรเลยครับผม มีหลายๆคนมาถามว่าเมื่อไหร่จะลงต้องขอบอกว่าอดใจรอกันนิดนึงนะครับ

นิคพยายามเกลี่ยๆเรื่องไม่ให้อารมณ์มันซ้ำๆ เปลี่ยน แนวทุกๆอาทิตย์ จะได้หลากหลายครับ สำหรับเรื่องที่รอลงอยู่ดูจากรูปด้านล่างได้เลยที่สีเขียวๆคือรอลงครับ


อ่านบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาตนเองสู่ความเป็นผู้นำ

By Anusorn


วันนี้พี่เกียรติชายมีเรื่องของการพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้นำมานำเสนอ ใครอยากพัฒนาตัวเองเป็น Sup ในอนาคตเข้าไปอ่านกันเล๊ยยย

1.ต้องรู้จักตนเองเป็นอย่างดี ผู้นำที่ดีจำเป็นต้องรู้จักตนเอง รู้ว่าผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชามีความคาดหวังอะไร และคิดอย่างไรกับตนเอง ผู้นำที่พยายามสอบถามข้อมูลป้อนกลับในการทำงานตนจากแหล่งต่างๆจะเป็นผู้ที่เข้าใจและสามารถปรับปรุงพฤติกรรมต่างๆ ของตนเองและจะกลายเป็นผู้นำที่ดีในที่สุด

2.พัฒนาจิตใจให้เข้มแข็ง ผู้นำที่ดีต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง เมื่อทำผิดหรือเกิดความผิดพลาดขึ้นก็ต้องยอมรับในความเป็นจริง เพราะแม้แต่ผู้นำที่ดีที่สุดก็เคยทำผิดพลาด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้นำที่ดีจะเผชิญหน้ากับความผิดพลาดในครั้งนั้น และแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นโดยเร็วที่สุดพร้อมกับหาหนทางป้องกันไม่ไห้เกิดการผิดพลาดซ้ำขึ้นอีก

3.ต้องใจกว้างและไม่เห็นแก่ตัว การที่จะเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องรู้จักใช้อำนาจอย่างถูกวิธี รู้วิธีในการกระจายอำนาจของตนให้แก่ผู้อื่นรวมถึงให้เวลาในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเองด้วย
4.ฟังให้เป็น...เป็นผู้ฟังที่ดี โดยปกติแล้วผู้นำส่วนใหญ่มักจะคิดว่า “ตนจะพูดอะไรต่อไป” มากกว่า “ตั้งใจฟังอย่างจดจ่อ (Deep Lisining)” ซึ่งนั้นจะทำให้ผู้นำไม่สามารถเป็นผู้นำที่ดีและมีศักยภาพได้ เพราะ “การฟัง” แตกต่างจาก “การได้ยิน” ดังนั้น ทักษะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งของผู้นำคือ ฟังอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้นำจะต้องพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่ฟังจับประเด็นในสิ่งที่ฟังให้ดีและให้ถูกจุดนอกจากนั้นต้องไม่ขัดจังหวะในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูดอยู่

5.เชื่อในสัญชาตญาณของตน เมื่อผู้นำรู้สึกถึงความไม่ชอบมาพากลหรือมีอะไรทำให้รู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ ผู้นำต้องเชื่อในสัญชาตญาณของตนเอง หยุดแล้วลองย้อนกลับมาดูในเรื่องที่กังวลนั้นอย่างใส่ใจเพื่อความสมบูรณ์ถูกต้อง สัญชาตญาณของผู้นำนับเป็นสิ่งพิเศษที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างประสบการณ์และทักษะความรู้ของตัวผู้นำ ซึ่งหลายต่อหลายครั้งที่สัญชาตญาณของผู้นำช่วยให้องค์กรผ่านพ้นวิกฤตไปได้

6.เรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด ผู้นำที่ดีต้องเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดมากกว่ายึดติดกับความสำเร็จของตนในอดีต เพราะนี่คือสิ่งที่ผู้นำควรต้องเรียนรู้เพื่อไม่ก่อให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำ

7.รู้จักเปิดรับแนวคิดใหม่ ๆ ผู้นำจะต้องเปิดรับผู้ที่เสนอแนวคิดใหม่ๆ ให้แก่องค์กร เพราะแนวคิดของคนเหล่านี้จะนำความก้าวหน้ามาสู่องค์กรหรือหน่วยงานได้อย่างแท้จริง ในปัจจุบันสิ่งที่องค์กรต้องการคือความคิดดีๆจากพนักงาน มีคนเคยกล่าวไว้ว่าใน 50 ความคิด ถ้ามีเพียง 1 ความคิดที่สามารถนำมาต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ให้กับองค์กรหรือหน่วยงานได้ก็นับได้ว่าคุ้มค่าที่สุดแล้ว

8.ต้องมีความเด็ดขาดและเด็ดเดี่ยว โดยปกติผู้นำในระดับสูงที่มีศักยภาพที่ดีต้องการข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญเพียงแค่ 60% เท่านั้น ก็เพียงพอต่อการตัดสินใจอย่างรอบคอบของเขา ดังนั้นการตัดสินใจโดยที่ต้องใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจมากเกินไปไม่ได้หมายความว่าเป็นการตัดสินในที่ดีและถูกต้องเสมอไป ซึ่งในทางกลับกันนั่นอาจจะทำให้การตัดสินใจล่าช้าและไม่ทันการณ์ก็เป็นได้

9.กล้าหาญ มีผู้นำมากมายที่ไม่กล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องหรือควรทำ ไม่กล้าแม้แต่จะคัดค้านผู้อื่นในสิ่งที่รู้ว่าผิด ผู้นำที่มีศักยภาพต้องมีความกล้า กล้าพูด กล้าตัดสินใจ ต้องเป็นคนนำเสนอแนวคิด และกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิด รวมทั้งกล้าจะรับผิด และกล้าที่จะลงโทษผู้กระทำผิด

10.ยืนหยัดรับคำวิจารณ์ ต้องยอมรับคำวิจารณ์ ผู้นำต้องเข้าใจว่า คำวิจารณ์เป็นเรื่องธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้นในองค์กร เงยหน้ารับคำวิจารณ์และหลีกเลี่ยงการต่อต้านหรือปกป้องตนเองจากคำวิจารณ์เหล่านั้น ต้องไม่คิดเครียดแค้นหรือแก้แค้นเพื่อตอบโต้กับผู้ที่มาวิจารณ์ เพราะจะส่งผลเสียต่อผลการปฏิบัติงานทางที่ดีควรปรับทัศนคติโดยคิดว่าคำวิจารณ์เหล่านั้นเป็นการติเพื่อก่อแล้วนำปรับปรุงพัฒนาการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

11.ปฏิบัติงานโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน ผู้นำไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ต้องตั้งเป้าหมายในระยะยาว เพื่อสร้างแนวทางการดำเนินงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและหน่วยงานหรือองค์กรของตน เพราะไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนทำงานในระดับใดย่อมต้องการที่จะทราบว่าพวกเขากำลังทำอะไร กำลังเดินไปในทิศทางใด และทำไปเพื่อเป้าหมายหรือผลลัพธ์ใด

12.อย่าทำให้ผู้อื่นเสียเวลาโดยไร้ประโยชน์ โดยปกติแล้วสิ่งที่ผู้นำควรใส่ใจเป็นอันดับต้นๆ คือ ต้องคำนึงว่านโยบายที่ออกมาจากผู้นำนั้นต้องไม่เป็นสิ่งที่ทำให้ขั้นตอนการทำงานเพิ่มขึ้นหรือไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่คุ้มค่ากับสิ่งที่ลงมือไป ดังนั้นในระหว่างการทำงานผู้นำควรใส่ใจที่จะถามคำถามกับผู้ใต้บังคับบัญชาของตนว่า “มีนโยบายหรือขั้นตอนที่ผม/ดิฉันกำหนดมาและทำให้พวกคุณเสียเวลาหรือทำงานล่าช้าลงไปหรือไม่” ซึ่งแน่นอนว่าผู้ใต้บังคับบัญชาส่วนใหญ่คงไม่กล้าที่จะตอบคำถามนี้ แต่หากมีเพียงสักคนที่ตอบคำถามด้วยความจริงใจนั่นจะเป็นเสมือนแนวทางที่ช่วยให้ผู้นำสามารถเรียนรู้และเติบโตเพื่อก้าวไปสู่การเป็นผู้นำที่ดีได้ต่อไป

13.ให้ความสำคัญกับทุกคนที่ทำงานเพื่อเรา ผู้นำจำเป็นต้องให้ความใส่ใจกับทีมงานทุกคน ต้องรู้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาคนใดบ้างที่เป็นผู้สร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้น และเลือกที่จะยกย่องชื่นชมพวกเขาอย่างจริงใจ อย่าละเลยคนที่ทำงานปิดทองหลังพระ

14.อย่าส่งสัญญาณว่า “กำลังไม่ไว้ใจ” ผู้นำที่ชอบพูดว่า “ผม/ดิฉันไม่ต้องการเรื่องเซอร์ไพรส์” หรือ “แจ้งให้ผม/ดิฉันทราบก่อนที่คุณจะลงมือทำอะไร” หรือ “ในช่วงที่ผม/ดิฉันไปพักร้อน ผม/ดิฉันจะโทรหาคุณทุกเช้าเพื่อจะได้ทราบความเคลื่อนไหวของงานที่คุณทำ” คำพูดต่างๆเหล่านี้กำลังทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของคุณรู้สึกว่า “ผู้นำกำลังไม่ไว้ใจในศักยภาพของผู้ใต้บังคับบัญชาของตนอยู่” ข้อความเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกับความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งทำให้พวกเขากังวล ขาดความมั่นใจในความสามารถของตนเอง และอาจส่งผลให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

15.ใส่ใจกับความล้มเหลว ผู้นำส่วนใหญ่จะพยายามพูดถึงแต่ผลงานที่ประสบผลสำเร็จเพื่อทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกดีใจและชื่นชม ในขณะที่พยายามซ่อนหรือปกปิดปัญหาหรือข้อขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นการกระทำเหล่านี้ไม่ใช่พฤติกรรมที่ถูกต้องในการเป็นผู้นำที่ดี เพราะการซ่อนหรือปกปิดปัญหาอาจทำให้เกิดข้อขัดแย้งที่รุนแรงและนำมาซึ่งความล้มเหลวในการบริหารงานในอนาคตได้

16.พัฒนาทักษะการเป็นผู้นำให้แข็งแกร่ง คุณไม่ควรหยุดการพัฒนาแม้แต่วินาทีเดียว การหยุดพัฒนาเปรียบเสมือนการก้าวถอยหลัง ดังนั้น ผู้นำที่ดีจึงควรที่จะพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ รวมถึงทักษะการจัดการและการบริหารงานใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ การที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้นั้น คุณต้องเป็นผู้ที่สามารถบริหารเวลาได้ดี ต้องมีความรอบคอบ ตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาดแม่ยำ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุด
1
7.ทำความเข้าใจกันระหว่างผู้นำและผู้ใต้บังคับบัญชา การเป็นผู้นำที่ดีคุณต้องเข้าใจสไตล์ที่แตกต่างกันของผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน พร้อมทั้งปรับสไตล์ของตนเองให้เข้ากับผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละสไตล์ ในทางกลับกัน คุณต้องเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้เรียนรู้และเข้าใจในตัวตนของคุณด้วยเช่นกัน คุณต้องบอกพวกเข้าในสิ่งสำคัญที่คุณเป็น รวมทั้งชี้แจงในสิ่งต่างๆ ที่จะทำให้คุณชอบหรือไม่ชอบผู้ใต้บังคับบัญชาจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและรู้จักตัวตนของผู้นำตั้งแต่เริ่มต้น

18.ต้องไม่มุ่งเน้นแต่เรื่องของผลลัพธ์เพียงอย่างเดียว ผลลัพธ์ที่ดีถือเป็นเรื่องสำคัญก็จริง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้นำที่ไม่ใส่ใจกับระบบขั้นตอนต่างๆ หรือแนวทางการปฏิบัติงานระหว่างทางเลยอาจจะนำมาซึ่งความผิดพลาดอันใหญ่หลวงได้ ดังนั้นผู้นำที่ดีควรจะให้ความสำคัญกับขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินการในระหว่างทางอย่างสม่ำเสมอ หากเกิดปัญหาขึ้นจะได้สามารถแก้ไขได้ทันการณ์ ซึ่งแนวทางและขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์ที่ดีให้อนาคตแล้วทีมงานของคุณจะรักในความจริงใจ และความตรงไปตรงมาของคุณ

19.รู้จักปล่อยวาง มีผู้นำมากมายที่กังวลมากจนเกินไปและเคร่งเครียดตลอดเวลาเพื่อที่จะทำให้ได้ผลงานที่ดีและเป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา พวกเขาไม่เคยคิดที่จะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งนี้มักจะทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงานที่ตึงเครียดซึ่งจะส่งผลโดยตรงไปยังบุคคลรอบข้างและผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นำที่ดีสามารถแสดงความโกรธและความเครียดได้บ้างเป็นครั้งคราว แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ต้องสามารถควบคุมอารมณ์ของตนและปล่อยวางบ้างในเรื่องที่อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่และความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้

20.ระวังเรื่องของ “การขู่” ผู้นำที่กระตุ้นผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยการขู่จะไม่สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ ไม่ว่าผู้นำจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตามการเป็นผู้นำที่ดีย่อมต้องสัมพันธ์กับการเป็นนักวางแผน นักการบริหาร นักจิตวิทยา และในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นผู้สนับสนุนและเป็นที่ปรึกษาที่ดีด้วย ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ผู้นำต้องหมั่นฝึกฝนและรู้จักพัฒนาตนให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน เพื่อให้พร้อมสำหรับอนาคตของคุณ
อ่านบทความทั้งหมด