วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มาเพาะเห็ดฟางกันเต๊อะ

By อ๋อง


….ปกติเห็ดฟางเป็นเห็ดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้ง่ายเป็นเห็ดที่เพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี มีอายุการเพาะสั้นประมาณ 10-15 วัน วัสดุที่นำมาเพาะเห็ดฟางมีหลากหลาย เช่น เปลือกถั่วเขียว, ทะลายปาล์มน้ำมัน. มันเส้น, ผักตบชวา, ต้นกล้วยสับแห้ง, ขี้เลื่อย, ฟางข้าว และ ตอซังข้าว

การเพาะเห็ดฟางมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเหมือนกับการเพาะเห็ดอื่นๆ ไม่ต้องมีการนึ่งฆ่าเชื้อในวัสดุเพาะ ซึ่งตัวกระผมเองได้ลองเพาะมาแล้วเผื่อพี่ๆน้องท่านไดที่พอจะมีที่ว่างแถวๆข้างบ้านอยากใช้เวลาว่างในวันหยุดอยู่กับครอบครัวลองทำกินกันเล่นๆลองทำได้นะครับไม่ยากทำง่ายมาก องค์ประกอบในการเพาะง่ายๆ ได้แก่ อุปกรณ์
1. วัสดุที่ใช้ในการเพาะ (ฟางข้าว หรือ ตอซังข้าว, หญ้าแฝก, ก้อนขี้เลื่อยเก่า )
2. อาหารเสริม ( ผักตบชวาสดหั่นเป็นท่อน, ต้นกล้วยหั่นตากแห้ง, มูลวัว , แป้งข้าวจ้าว หรือ ข้าวเหนียว ) 3. เชื้อเห็ดฟางแบบก้อน ( ราคาก้อนละ 8-12 บาท ) 4. บัวรดน้ำ 5 พลาสติกใส (ไว้สำหรับคลุม ) 6. ตะกร้า ( จะเป็นตะกร้าพลาสติก หรือไม้ไผ่สานก็ได้ครับ แต่ขอให้มีรูพอให้เห็ดทะลุออกได้ )


......ของผมใช้ตะกร้าไม้ไผ่สานครับ ( เหลือใช้ จากใส่ผัก เอาไปขายในเมือง )







อ่านบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปั่นให้ไกล ไปให้ถึง 100 กม.

โดย. พี่โหน่ง.....สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน



หากคุณใช้เวลาหลังพวงมาลัยรถสัก 100 กม. คงเป็นเรื่องเล็กน้อย แสนง่ายดาย แต่เมื่อคุณอยู่บนอานจักรยานนั้น ทุกอย่างต้องผ่านการเตรียมตัว เตรียมใจ และหัวใจที่หาญกล้าพอจะไปท่องเที่ยวกับจักรยานคุณ ท่ามกลางสายลม แสงแดด ตลอดระยะทาง 100 กม. นี้ แต่ไม่ใช่เรื่องยากเย็นแสนเข็ญแต่ใดเลย สำหรับนักปั่นน่องเหล็กผู้โชกโชนประสบการณ์หรือคนที่เริ่มจริงจังกับการปั่นจักรยานมาสักระยะหนึ่งจะรู้ได้ทันทีเลยว่า มันสามารถเป็นไปได้ แต่ถ้ามือใหม่หัดปั่นแล้วอยากจะลองดู วันนี้เรามีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาบอกเพื่อที่คุณจะได้ปั่นทะลุ 100 กม. ใน 1 วันอย่างง่ายดาย

เตรียมตัวให้ฟิต วางแผนให้ดี ก่อนออกไปปั่นจักรยาน
        การเตรียมและวางแผนสำคัญมากในทุกๆ เรื่อง การปั่นจักรยานก็เช่นกัน คุณจะต้องคำนวณเวลาดูว่าวันนี้จะปั่นโดยใช้เวลาประมานกี่ชั่วโมง ศึกษาเส้นทาง ใช้ความเร็วเท่าไรในการปั่นเท่าใด ตัวอย่างเช่น วันนี้คุณจะปั่นสัก 100-120 กม. คุณใช้ความเร็วประมาณ 20-25 กม./ชม. คุณก็ต้องใช้เวลาประมาณ 6 ชม.ขึ้นไปอยู่แล้ว จึงต้องเผื่อจุดพัก จุดกินข้าว เข้าห้องน้ำ ไว้ให้ดี ที่สำคัญควรเลือกเวลาในการเริ่มต้นปั่นด้วยว่าเราจะออกไปปั่นเวลากี่โมง และจะกลับถึงที่พักหรือบ้านเวลากี่โมง ไม่ต้องซีเรียสว่าทุกอย่างต้องเป๊ะไปตามแผนนะครับ เพราะทุกอย่างมันไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดเสมอไปหรอก เอาแค่พอยืดหยุ่นได้ มีกำหนดการคร่าวๆ ก็พอ





 ดื่มน้ำเยอะๆ
        อันนี้น่าจะไม่ต้องบอกอะไรกันมากมาย เพราะเราทุกคนน่าจะรู้กันดีอยู่แล้วว่าน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อร่างกาย ยิ่งเวลาเราออกกำลังกายที่ร่างกายสูญเสียเหงื่อด้วยแล้วยิ่งจำเป็น ดังนั้น เวลาปั่นจักรยาน ร่างกายของเราจะสูญเสียน้ำมากๆ ควรจิบน้ำบ่อยๆ เวลาปั่นให้ติดเป็นนิสัย หนึ่งในวิธีทดสอบง่ายๆ ว่าร่างกายของเราได้รับน้ำเพียงพอหรือไม่ คือระหว่างทางเวลาเราแวะปัสสาวะ ให้สังเกตสีของมัน หากเป็นสีเหลืองเข้ม แสดงว่าร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ ควรชดเชยน้ำให้ร่างกายอย่างเพียงพอ โดยเวลาปั่นควรจิบน้ำให้ถี่ขึ้นอีก



กินให้เยอะๆ (ระหว่างปั่น)
        ขณะที่ร่างกายของคุณกำลังเผาผลาญพลังงานด้วยการปั่นนั้น อย่าคิดว่าเอ้ย !! ไม่กินดีกว่า จะได้ลดความอ้วนได้เร็วๆ ด้วย คิดผิดแล้วครับ คุณต้องพยายามกินให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาจจะเป็นพวกของว่างอย่าง ขนม นมเนย น้ำอัดลม หรืออะไรหวานๆ ก็ได้ ที่ให้พลังงานสูง ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป เพราะรถยังต้องใช้น้ำมัน เราเองก็ต้องการเชื้อเพลิงให้ร่างกายเช่นกัน เพราะถ้าร่างกายคุณขาดพลังงานมากเกินไปแล้ว คุณอาจจะน็อกหรือเกิดอาการแบบหมดแรงเอาดื้อๆ ทั้งๆ ที่ตัวคุณคิดว่ามันยังไหว จะเหมือนหลับกลางอากาศเอาได้


อาหารกลางวัน (ทุกมื้อที่กินระหว่างปั่นสำคัญมาก)
        หากคุณออกเดินทางตั้งแต่เช้า แน่นอนว่า พอตกเที่ยงจะต้องรีบหาข้าวเที่ยงกิน บางคนอาจจะบ่นเอ้ย!! ยังไม่หิวเลย เพิ่งจะกินมาเมื่อเช้านี้เอง อย่าครับอย่า เพราะนั่นอาจทำให้คุณไม่ได้ไปต่อกับเพื่อนร่วมทาง การแวะรับประทานอาหารเที่ยง ควรทานให้มากๆ และควรเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ไม่ต้องกลัวอ้วนครับ แล้วนาทีนี้ ทานให้มากเท่าที่คุณจะทำได้ ผลดีของมันนั้นไม่ได้มีเฉพาะระหว่างปั่นจักรยานที่ทำให้คุณมีแรงเท่านั้น แต่มันจะส่งผลดีหลังจบการปั่นไปแล้วด้วย เพราะมันจะทำให้เราไม่รู้สึกอ่อนเพลียมากเกินไปจากการปั่นจักรยานทางไกลนานๆ แต่นิดนึงครับ ควรนั่งพักสัก 30 นาที ให้ร่างกายได้ย่อยและดูดซึมไปบ้างก่อนออกไปปั่น ไม่งั้นคุณอาจนั่งจุกบนหลังอานได้



 สุดท้าย...ใจเท่านั้นครับ!!
        เมื่อคุณเริ่มปั่นมาได้สักครึ่งทางหรือปกติคุณเคยปั่นซ้อมที่ 40-50 กม.ทุกวัน แต่นี่คุณต้องปั่นถึง 100 กม. แน่นอนว่า ความเมื่อยล้าย่อมเพิ่มเป็นสองเท่า เมื่อคุณพักแวะทานอาหารกลางวันเสร็จเรียบร้อย ความเหนื่อยล้าอาจเริ่มถามหา ความเมื่อยจะทำให้คุณเบื่อ ลมที่พัดตีหน้าสร้างความรู้สึกอยากนอน แท็กซี่ที่อาจจะวิ่งผ่านในเส้นทางนั้น สองแถวที่ดูว่างเปล่าช่างชี้ชวนให้ยกจักรยานขึ้นไปเหลือเกิน หรือจะมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย สุดท้าย ใจคุณต้องนิ่ง เด็ดขาดกับการตัดสินใจว่าจะอยู่บนอานจักรยานนี้จนครบ 100 กม. เมื่อคุณชนะใจตัวเองได้คุณจะสามารถชนะทุกสิ่งอย่างได้ สู้ๆๆ ครับ

 สำคัญที่สุด ….
        อย่ายึดติดว่าจะต้องปั่นให้เร็วเท่าคนนั้น เท่าคนนี้ ต้องทำเวลาให้เร็วกว่าคนอื่น รถจักรยานเราทำมาแพง จะมาปั่นแบบให้รถถูกๆ แซงได้ยังไง?? ถ้าคิดแบบนี้เมื่อไหร่ นั่นคือคุณกำลังลืมไปว่า จักรยานคือหนึ่งในพาหนะที่ช่วยให้เราได้ใช้ชีวิตช้าลง ซึมซับกับสิ่งรอบข้างระหว่างทางให้มากขึ้น จักรยานจะช่วยสร้างโลกใบใหม่ที่เราไม่ต้องไปเร็วเหมือนใคร แต่เราก็มีความสุขได้ อย่าลืมแวะถ่ายรูปอัปอินสตาแกรมระหว่างทางที่คุณผ่านไปด้วยนะ …. 
อ่านบทความทั้งหมด