วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ฟิสิกส์101:งานและพลังงาน (Physics101:Work and Energy)

By Nick




ห่างหายไปสักพักหนึ่งจากการเขียนบล๊อก เพราะมีเพื่อนๆพี่ๆส่ง Blogกันเข้ามาเยอะแยะลงไม่ทัน ต้องใจเย็นๆกันหน่อยนะครับคนลงมีคนเดียว เรื่องไหนไม่ได้ลงอย่าท้อใจ ส่งมาใหม่ได้เรื่อยๆ เรื่องได้อ่านแล้วโดนนี่ได้ลงแน่นอน บางเรื่องอ่านแล้วยังไม่ใช่อาจไม่ได้ลงไม่ต้องแปลกใจ แต่มาถามได้ว่าทำไมไม่ได้ลงเน้อ

ปี 2013 นี้ก็เพิ่งจะเริ่มไปได้เดือนนึง จะพยายามให้ในทุกๆเดือนมีเนื้อหาเกี่ยวกับทางด้านเทคนิคมาลงให้ได้อย่างน้อยเดือนละหนึ่งเรื่อง ต้องขอความอนุเคราะห์จากทางพี่ๆ SUP และ Senior หาเรื่องราวเกี่ยวกับทางด้านเทคนิคมาให้น้องๆทุกคนได้ศึกษากัน

วันนี้ผมก็มีเรื่องหนึ่งที่อยากนำมาแบ่งปันมากๆเพราะรู้เรื่องนี้เรื่องเดียวนี่อธิบายได้ร้อยแปดอย่าง นั่นคือเรื่องของ งานและพลังงานนั่นเอง

เชื่อว่าหลายคนคงได้ดูหนังเรื่อง Transformer แล้ว ที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ พลังงานก็เช่นเดียวกันสามารถเปลี่ยนรูปไปมาได้ ตอนแรกนี้ผมจะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักว่า งานพลังงานในความหมายของ ฟิสิก นั้นเป็นเช่นไร และมันมีประโยชน์อย่างไรกับงานและชีวิตประจำวันของเรา

งาน (work)
งาน (work) คือ ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวราบ งานเป็นปริมาณที่สามารถคำนวณได้จากความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้

งาน = แรง (นิวตัน) x ระยะทาง (เมตร)
เมื่อ W คือ งาน มีหน่วยเป็นจูล ( J ) หรือนิวตันเมตร (N-m)
F คือ แรงที่กระทำ มีนหน่วยเป็นนิวตัน ( N )
s คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวราบ มีหน่วยเป็นเมตร ( m )

จะได้สูตรคำนวณหางาน คือ F = W x s

ตัวอย่าง วินัยออกแรงยกกล่องด้วยแรง 30 นิวตัน แล้วเดินขึ้นบันได 5 ขั้น แต่ละขั้นสูง 20 เซนติเมตรงานที่วินัยทำจากการยกกล่องขึ้นบันไดมีค่าเท่าใด

วิธีทำ จากโจทย์ความสูงของขั้นบันใด = 5 x 20
= 100 cm
= 1 m

จากสูตร W = F x s
= 30 x 1
= 30 J
ตอบ วินัยทำงานจากการลากกล่องได้ 30 จูล



พลังงาน ( energy )
พลังงาน (energy) คือ ความสามารถในการทำงานได้ของวัตถุหรือสสารต่าง ๆ พลังงานสามารถทำให้สสารเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ทำให้สสารร้อนขึ้น เกิดการเคลื่อนที่ เปลี่ยนสถานะเป็นต้น

พลังงานที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันมีหลายรูปแบบ เช่น พลังงานกล พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า พลังงานแสง พลังงานเคมี พลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น
หน่วยของพลังงาน พลังงานมีหน่วยเป็นจูล (J)
ประเภทของพลังงาน
พลังงานแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งได้แก่
1. พลังงานเคมี (Chemical Encrgy)
2. พลังงานความร้อน (Thermal Energy)
3. พลังงานกล (Mechanical Energy)
4. พลังงานจากการแผ่รังสี (Radiant Energy)
5. พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy)
6. พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy)


1.พลังงานเคมี

พลังงานเคมีเป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในสารต่างๆ โดยอยู่ในพันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุล เมื่อพันธะแตกสลาย พลังงานสะสมจะถูกปล่อยออกมาในรูปของความร้อนและแสงสว่าง ตัวอย่างเช่น พลังงานที่ถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่, พลังงานในกองฟืน, พลังงานในขนมชอกโกแลต, พลังงานในถังน้ำมัน เมื่อไม้ลุกไหม้แล้วจะให้คาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ รวมถึงผลิตของเสียอื่นๆ เช่น ขี้เถ้า เนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้แต่ละชนิด มีโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกัน เมื่อใช้ในปริมาณเชื้อเพลิงที่เท่ากัน จึงให้ความร้อนไม่เท่ากัน ซึ่งก๊าซธรรมชาตินั้นให้ความร้อนมากกว่าน้ำมัน และน้ำมันนั้นก็ให้ความร้อนมากกว่าถ่านหิน



2.พลังงานความร้อน

แหล่งกำเนิดพลังงานความร้อน มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์, พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ , การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง, พลังงานไฟฟ้า, พลังงานนิวเคลียร์, พลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำ, พลังงานเปลวไฟ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป และนอกจากนี้แล้ว พลังงานความร้อน ยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน คือ แคลอรี่ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แคลอรี่มิเตอร์

3. พลังงานกล

พลังงานกลเป็นพลังงานที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่โดยตรง เช่น ก้อนหินที่อยู่บนยอดเนินจะมีพลังงานศักย์กล (Potential mechanical energy) อยู่จำนวนหนึ่ง ขณะที่ก้อนหินกลิ้งลงมาตามทางลาดของเนิน พลังงานศักย์จะลดลง และเกิดพลังงานจลน์กลของการเคลื่อนที่ (Kinetic mechanical energy) ขึ้นแทน สิ่งมีชีวิตอาศัยพลังงานรูปนี้ในการทำงานที่ต้องมีการ เคลื่อนไหวเป็นประจำ เช่น การเดิน การขยับแขนขา การหยิบวัตถุ เป็นต้น



4. พลังงานจากการแผ่รังสี

พลังงานที่มาในรูปของคลื่น เช่น แสง ความร้อน คลื่นวิทยุ อินฟาเรด อัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ รังสีคอสมิก สิ่งมีชีวิตต้องอาศัยพลังงานรูปนี้ ในกระบวนการที่สำคัญต่างๆ เช่น การมองเห็นภาพ การสังเคราะห์ด้วยแสง การขยายพันธุ์ชนิดที่ขึ้นอยู่กับช่วงแสง อาจสรุปได้ว่าเป็นพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นเอง ซึ่งพลังงานรูปนี้มีบทบาทต่อความเป็นอยู่ปกติของสิ่งมีชีวิต และอาจจะได้พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์, พลังงานจากเสาส่งสัญญาณทีวี, พลังงานจากหลอดไฟ, พลังงานจากเตาไมโครเวฟ, พลังงานจากเลเซอร์ที่ใช้อ่านแผ่นซีดี ฯลฯ



5. พลังงานไฟฟ้า

พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาเคมีแบบหนึ่งอันมีผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นได้ และกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะไหลผ่านความต้านทานไฟฟ้าได้ถ้าต่อให้เป็นวงจร ผลจากกระแสไฟฟ้าดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลต่าง ๆ เช่นก่อให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก เกิดความร้อนหรือแสงสว่าง พลังงานที่เกิดจากการผ่านขดลวดไปในสนามแม่เหล็ก, พลังงานที่ใช้ขับเครื่องคอมพิวเตอร์, พลังงานที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นต้น



6. พลังงานนิวเคลียร์

พลังงานที่ถูกปล่อยออกจากสารกัมมันตภาพรังสี ที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือที่เกิดในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูหรือระเบิดปรมาณู การเกิด fusion ของนิวเคลียร์เล็ก มีหลักอยู่ว่า ถ้านำเอาธาตุเบาๆ ตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป มารวมกันโดยมีพลังงานความร้อนอย่างสูงเข้าช่วย จะทำให้ธาตุเบาๆ นี้รวมกัน กลายเป็นธาตุใหม่ ซึ่งหนักกว่าเดิม ส่วน fission เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างการยิงอนุภาคบางชนิดกับนิวเคลียสของธาตุหนักๆ ทำให้นิวเคลียสของธาตุหนักแตกแยกออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนเป็นธาตุที่เบากว่าเดิม และขนาดเกือบเท่าๆ กัน พลังงานรูปนี้มีบทบาทต่อความเป็นอยู่ปกติของสิ่งมีชีวิตน้อย

พลังงานกล

พลังงานกลเป็นพลังงานที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่หรือพร้อมที่จะเคลื่อนที่ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ พลังงานศักย์และพลังงานจลน์

1. พลังงานศักย์ (potential energy : Ep ) คือ พลังงานที่สะสมอยู่ในตัววัตถุหรือสสารที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ยังไม่เกิดการเคลื่อนที่ ถ้าวัตถุอยู่บนพื้นที่สูงจากระดับพื้นดินขึ้นไป พลังงานที่สะสมอยู่ในตัวของวัตถุนี้จะเกิดจากแรงดึงดูดของโลกจึงเรียกว่า "พลังงานศักย์โน้มถ่วง"
การคำนวณพลังงานศักย์โน้มถ่วงใช้สูตรดังนี้

Ep = mgh

2. พลังงานจลน์ ( kinetic energy : Ek ) คือ พลังงานที่มีอยู่ในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
การคำนวณพลังงานจลน์ใช้สูตรดัง

Ek = 1/2mv2

กฎการอนุรักษ์พลังงาน

กฎการอนุรักษ์พลังงาน (Law of conservation of energy) กล่าวไว้ว่า "พลังงานรวมของวัตถุจะไม่สูญหายไปไหน แต่สามารถเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้"

พลังงานความร้อน

พลังงานความร้อนเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถทำงานได้และเปลี่ยนรูปมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง จากดวงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ หรือเกิดจากปฏิกิริยาเคมี พลังงานเหล่านี้ล้วนแต่มีความสำคัญในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต

อุณหภูมิ

การบอกค่าพลังงานความร้อนของสารต่าง ๆ ว่าร้อนมาหรือน้อยเพียงใดนั้น นักวิทยาศาสตร์เรียกนะดับความร้อนของสารเหล่านั้นว่า อุณหภูมิ (temperature) เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิเรียกว่า เทอร์มอมิเตอร์ (thermometer) เทอร์โมมิเตอร์ มักผลิตมาจากปรอทหรือแอลกอฮอล์ เมื่อของเหลวได้รับความร้อนจะมีการขยายตัวไปตามช่องเล็กๆ ซึ่งมีสเกลบอกอุณหภูมิเป็นตัวเลข มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส หรือองศาฟาเรนไฮต์

หน่วยที่ใช้วัดอุณหภูมิ
1. องศาเซลเซียส ( oC )
2. องศาฟาเรนไฮต์ ( oF)
3. เคลวิน ( K )

ในการเปลี่ยนแปลงหน่วยวัดอุณหภูมิจากหน่วยหนึ่งไปยังอีกหน่วยหนึ่งใช้สูตรความสัมพันธ์ดังนี้

oC/5 = oF -32/9 = K - 273/5

ตัวอย่าง อุณหภูมิร่างกายของคนเราปกติคือ 37 องศาเซลเซียส จะมีค่าเท่าใดในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์
วิธีทำ จากสูตร oC/5 = oF-32/9
37/5 = oF-32/9
7.4 x 9 = oF - 32
66.6 = oF - 32
oF = 66.6 + 32
= 98.6 oF

ดังนั้นอุณหภูมิร่างกายของคนปกติจะเท่ากับ 98.6 ฟาเรนไฮต์


การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
การถ่ายเทหรือถ่ายโอนพลังงานความร้อนมีหลายแบบดังนี้

1. การนำความร้อน

การนำความร้อนเป็นการส่งผ่านความร้อนที่ต้องมีตัวกลาง ตัวกลางจะไม่เคลื่อนที่ แต่ความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของตัวกลาง เช่นการเผาด้านหนึ่งของแท่งเหล็ก ความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของแท่งเหล็กจนทำให้ปลายอีกข้างร้อนตามไปด้วย การนำความร้อนของวัตถุแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เช่น เหล็กจะนำความร้อนได้ดีกว่า แท่งแก้ว วัตถุที่นำความร้อนได้เร็วเรียกว่า ตัวนำความร้อน วัตถุที่นำความร้อนได้ไม่ดีหรือช้า เรียกว่า ฉนวนความร้อน


2. การพาความร้อน

การพาความร้อนเป็นการส่งผ่านความร้อนที่มีการเคลื่อนที่ของตัวกลาง เช่น การที่เรานั่งรอบกองไฟแล้วรู้สึกร้อน ก็เพราะอากาศได้พาเอาความร้อนเคลื่อนที่มีถูกตัวเรา



3. การแผ่รังสีความร้อน

การแผ่รังสีความร้อน เป็นการถ่ายโอนพลังงานความร้อนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ซึ่งความร้อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดจะอยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถเคลื่อนที่ไปยังอีกจุดหนึ่งโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางและมีอัตราเร็วในการเคลื่อนที่สูงมาก

จะเห็นได้ว่าพลังงานของเรามีหลากหลายรูปแบบ และเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ตลอด

ไหนทุกคนลองยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เกิดขึ้นในแพลนท์เราไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ได้ ลองตอบกันมาดูหน่อยนะครับ
ใครที่คอมเมนต์แล้วไม่มีคำตอบแสดงว่ายังไม่ได้อ่านเรื่องนี้นะ อิอิ
อ่านบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

การใช้คำพูดด้านบวกกับตัวเอง (Auto-Suggestion)

 
 
   เรามักจะไม่ค่อยรู้ตัวว่าในแต่ละขณะ แม้เราจะไม่ได้กำลังพูดออกมาดังๆ
แต่เราพูดกับตัวเองอยู่ในใจเสมอๆ เกือบตลอดเวลา
การสนทนากับตัวเองในสมองของเราจะเกิดขึ้นไปเรื่อยๆ
เหมือนกับเทปที่เปิดซ้ำแล้วซ้ำอีก
และบ่อยครั้งที่การสนทนาในสมองของเรานั้นเป็นไปในทางลบ
ซึ่งเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยที่เราไม่ทราบว่าการสนทนานั้นส่งผลลบอย่างไรไปสู่ร่างกาย
จิตใจ และการกระทำต่างๆ ของคนเราบ้าง
เราควรระลึกอยู่เสมอว่าจิตใต้สำนึก
ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของคนเรา
โดยที่ไม่สามารถแยกแยะ ได้ว่าข้อมูลนั้นดีหรือไม่ดี,
เที่ยงตรงหรือไม่เที่ยงตรง, สร้างสรรค์หรือทำลายอย่างไร และข้อมูลต่างๆ
เหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมต่างๆ ของคนเรา
เมื่อเราทราบเช่นนี้เราสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราได้โดย
การเปลี่ยนข้อมูลในจิตใต้สำนึกของเราเองด้วยคำพูดของตัวเราเอง
แนวคิดต่อไปนี้จะช่วยให้การใช้คำพูดด้านบวกกับตัวเอง (Auto-Suggestion) ได้ผลดียิ่งขึ้น
- เราจะต้องเชื่อมั่นว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของตัวเองได้
และเราสามารถสร้างความสำเร็จ, สุขภาพที่ดี, ความสุข
และความสงบของจิตใจได้จากการเปลี่ยนข้อมูลในจิตใต้สำนึกของตัวเราเอง
- เราจะฝึกนิสัยฟังคำสนทนาในสมองของตัวเราเองให้มากขึ้น
- เมื่อเราได้ยินคำสนทนาด้านลบในสมองของเรา
เช่น สอบตกแน่ๆ ไม่มีทักษะทางกีฬา, ความจำแย่, ฯลฯ
เราจะรีบขจัดคำสนทนาเหล่านี้ด้วยคำพูดในใจว่า "เลิกคิด"
- เราจะแทนที่คำสนทนาด้านลบด้วยคำสนทนาด้านบวก เช่น
ลบ : ผมทำไม่ได้แน่นอน
บวก : ผมจะต้องทำให้ได้
ลบ : ผมไม่มีความสามารถในเรื่องนี้เลย
บวก : ผมฝึกบ่อยๆ ผมจะต้องทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ
ลบ : ความจำผมแย่มาก
บวก : ผมจะฝึกความจำทุกวัน และความจำผมจะต้องดีขึ้นแน่นอน
ลบ : ทักษะทางภาษาของผมไม่มีเลย
บวก : ทุกคนสามารถเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้
ลบ : ทำไมผมจึงจะต้องเปลี่ยนวิธีใหม่
บวก : ผมจะเริ่มทดลองทำในวันพรุ่งนี้เลย
- ช่วงเวลาที่จิตใต้สำนึกรับข้อมูลใหม่ๆ ได้ดีที่สุด
คือ ช่วงเวลาที่เรามีคลื่นสมองต่ำมีความถี่ระหว่าง 9-13 รอบต่อวินาที
หรือที่เรียกว่า สภาวะอัลฟา
- เพื่อที่จิตใต้สำนึกจะบันทึกข้อมูลใหม่ได้ง่ายขึ้น
ควรเลือกประโยคคำพูดด้านบวกเพียงประโยคเดียวแล้วพูดซ้ำๆ 5-10 รอบ
ในการพูดด้านบวกกับตัวเองแต่ละครั้ง วันหนึ่งควรทำ 2 ครั้ง
ในสภาวะที่คลื่นสมองต่ำๆ อาจจะเป็นช่วงก่อนนอนหรือเพิ่งตื่นนอน
ระยะแรกๆ เราอาจจะไม่เห็นผลดีชัดเจน
แต่ถ้าเราทำต่อเนื่องกันไปอย่างสม่ำเสมอประมาณ 21 วัน
ผลดีต่างๆ จะเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น เช่น
มีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น, รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่ามากขึ้น,
มีความรู้สึกดีๆ ให้กับคนรอบข้างมากขึ้น, เรียนหนังสือดีขึ้น ฯลฯ
หลัง 21 วันแล้ว อาจจะพูดกับตัวเองด้วยประโยคเดิม
หรือ เลือกประโยคใหม่ที่จะใช้พูดกับตัวเอง
  ตัวอย่างประโยคคำพดด้านบวกกับตัวเองต่างๆ สำหรับเด็กๆ
.... เป็นคนที่รูปร่างดี
.... เป็นคนที่เล่นกีฬาเก่ง
.... เป็นคนที่ชอบช่วยเหลือคนอื่น
.... เป็นคนที่เพื่อนๆ รัก
 ตัวอย่างคำพูดด้านบวกต่างๆ สำหรับผู้ใหญ่
"ยิ่งฉันมีอายุมากขึ้น ฉันยิ่งแข็งแรงขึ้น มีเสน่ห์มากขึ้น เก่งขึ้นในทุกๆ ด้าน"
.... เป็นคนที่ยอดเยี่ยม
.... เป็นคนที่มีความสามารถ
.... เป็นคนที่มีเสน่ห์และน่ารัก
.... เป็นคนที่ชอบทำให้ตัวเอง และผู้อื่นมีความสุข
.... เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง
.... เป็นคนที่แข็งแรง
.... เป็นคนที่อารมณ์ดี ใจเย็น
.... เป็นคนที่กล้าหาญและเข้มแข็ง
.... เป็นคนที่มีความรัก ให้กับตัวเอง และผู้อื่น
หลายๆ คนจะรู้สึกอึดอัด ขัดใจ รู้สึกว่ากำลังหลอกตัวเอง หรือโกหกตัวเอง
เมื่อจะต้องพูดด้านบวกกับตัวเอง(Auto-Suggestion)
หลายคนคิดว่าจะพูดสิ่งที่ดีๆ เหล่านี้กับตัวเองได้อย่างไร
ในเมื่อเรื่องที่จะพูดไม่ได้เป็นความจริง
เช่น ตัวเราเองคิดว่าตัวเราเป็นคนโง่
จะให้พูดว่าตัวเองเป็นคนฉลาดได้อย่างไร?
ถ้าเราพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว
เราคงต้องยอมรับคำสอนเกี่ยวกับความดีงามที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดของมนุษย์ว่า
"จิตเดิมแท้ของคนเรานั้นเป็นประภัสสรหรือดีงาม"
ซึ่งก็หมายความว่าคนเราไม่ได้เกิดขึ้นมาพร้อมกับข้อมูลด้านลบในจิตใต้สำนึก
ส่วนข้อมูลด้านลบต่างๆ นั้น เราเพิ่งได้รับการบันทึกขึ้นมาในภายหลัง
(
ไม่เก่ง โง่ เลว แย่ น่าเกลียด)
และจากการบันทึกข้อมูลด้านลบครั้งแล้วครั้งเล่าตั้งแต่ในวัยเด็กจนโต
ทำให้เราเริ่มเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับตัวเองจริงๆ
เราลองมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้กันดูดีกว่า
ลองถามกลุ่มผู้ใหญ่ ด้วยคำถามด้านบวกต่างๆ
เช่น ใครคิดว่าตัวเองเป็นคนเก่งบ้างครับ,
ใครคิดว่าตัวเองเป็นคนที่ยอดเยี่ยมบ้างครับ,
ใครคิดว่าตัวเองเป็นคนที่มีเสน่ห์และน่ารักบ้างครับ?
คำตอบที่ได้ก็คือ ส่วนใหญ่จะไม่มีใครยกมือตอบว่าใช่
ในทางกลับกันถ้าถามเด็กๆ ที่เพิ่งรู้ความด้วยคำถามทำนองเดียวกัน
จะชูมือสลอนและแทบทุกคนจะตอบว่าใช่
เราเริ่มเห็นแล้วใช่ไหมครับว่า การพูดด้านบวกกับตัวเอง (Auto-Suggestion)
ไม่ได้เป็นการหลอกตัวเองหรือโกหกตัวเองเลยแม้แต่น้อย
แต่เป็นการพูดความจริงที่เราอาจจะรู้สึกอึดอัดใจ ในระยะแรกๆ
เนื่องจากข้อมูลในจิตใต้สำนึกต่างๆ ที่เราได้รับมาแต่เล็กแต่น้อยนั้น
ส่วนใหญ่เป็นไปในทางลบ
(ยิ่งเรามีข้อมูลด้านลบในจิตใต้สำนึกมากเท่าใด
เราก็จะรู้สึกอึดอัดที่จะพูดดีๆ กับตัวเองมากเท่านั้น
บางคนมีข้อมูลด้านลบเกี่ยวกับตนเองในจิตใต้สำนึกมาก
จนไม่สามารถพูดดีๆ กับตัวเองได้ หรือทนรับฟังคำพูดดีๆ จากคนรอบข้างได้เลย)
ซึ่งตรงกันข้ามกับคำพูดดีๆ ที่เรากำลังพูดอยู่กับตัวเอง
เราควรพึงระลึกถึงสัจจะหรือความจริงของชีวิต
ที่นักปราชญ์ตะวันออกพร่ำสอนมาเป็นเวลาหลายๆ พันปี อยู่เสมอว่า
คนเราทุกคนมีจิตเดิมแท้ที่เป็นประภัสสรหรือดีงาม
ไม่มีใครแม้แต่คนเดียวที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับความรู้สึกด้านลบต่างๆ
เช่น โง่ เลว แย่ น่าเกลียด ซื่อบื้อ ไม่เก่ง ฯลฯ
แต่ความรู้สึกด้านลบต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นมาในภายหลัง
หลังจากที่ได้รับข้อมูลด้านลบต่างๆ จากคนรอบข้าง
และข้อมูลด้านลบต่างๆ นี้ก็จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นความรู้สึกด้านลบต่างๆ
ที่บันทึกอยู่ในจิตใต้สำนึกของคนเราโดยที่เราเองอาจจะไม่รู้สึกตัว
(
บางคนได้รับข้อมูลด้านลบต่างๆ ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งห้า ตั้งแต่ในวัยแบเบาะ)
ถ้าเราพูดดีๆ กับตัวเองเสมอๆ ทุกวัน แม้จะต้องฝืนหรืออึดอัดใจบ้างในระยะแรกๆ
ความรู้สึกฝืนใจหรืออึดอัดใจที่มักจะเกิดขึ้นในระยะแรกๆ ของการพูดดีๆ กับตัวเองนี้
จะค่อยๆ เปลี่ยนไป ความสบายใจ สุขใจ จะค่อยๆ เข้ามาแทนที่
ในไม่ช้าข้อมูลใหม่ๆ ด้านบวกนี้จะเข้าไปแทนที่ข้อมูลด้านลบในจิตใต้สำนึกของเรา
ซึ่งจะทำให้เรามีความคิด ทัศนคติและพฤติกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนไปในทางบวกมากขึ้น
อ่านบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

โรคเก๊าท์เกิดได้ยังไง (Gout)


โรคเก๊าท์เกิดได้ยังไง, ยูริค คืออะไร
โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่เป็นกันมากขึ้นในคนไทย โดยเฉพาะผู้ชาย และค่อนข้างมีอายุหน่อย ทางการแพทย์รู้จักเก๊าท์มานานแล้ว แต่จนปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อโรคนี้อยู่มาก ทั้งตัวแพทย์ผู้รักษาเอง และผู้ป่วย นำมาซึ่งควาเชื่อผิด ๆ
อยู่ให้เห็นในปัจจุบันเก๊าท์ (
Gout) เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมียูริคสูงอยู่ในเลือดเป็นเวลานาน และด้วยคุณสมบัติของยูริคเอง ที่มีการละลายได้จำกัด (ประมาณ 7 มก./ดล.) ทำให้ยูริคส่วนเกินนี้ เกิดการตกตะกอนในร่างกาย ที่พบมากและทำให้เกิดอาการคือ ในข้อต่าง ๆ, ในไต และเมื่อเป็นเรื้อรัง จะเห็นการตกตะกอนตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เห็นเป็นปุ่มก้อนตามแขนขาได้กรดยูริค (Uric acid) เป็นผลผลิตจากการสลายสารพิวรีน (purine) ซึ่งเป็นสารสำคัญในการสร้างสาย DNA ในเซลล์ต่าง ๆ ดังนั้นการสลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มี DNA จะได้กรดยูริค เสมอ
ทำไมเก๊าท์มีแต่ผู้ชาย อายุมาก, ผู้หญิงไม่เป็นโรคนี้หรือ ? เนื่องจากภาวะกรดยูริคในเลือดที่สูงนั้น จะยังไม่เกิดการตกตะกอนและเกิดข้ออักเสบทันที แต่ต้องใช้ระยะเวลา ที่กรดยูริคในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายสิบปี พบว่าในผู้ชายที่มีกรดยูริคสูงนั้น ระดับของยูริคในเลือด จะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น และสูงไปนาน จนกว่าจะเริ่มมีอาการ คืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงระดับยูริค จะเริ่มสูงขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิง มีผลทำให้ยูริคในเลือดไม่สูงพบว่ายูริคในเลือดที่สูงนั้น กว่าร้อยละ 90 เกิดจากการสร้างขึ้นในร่างกายเอง อาหารเป็นแหล่งกำเนิดของยูริคในเลือดน้อยกว่าร้อยละ 10 เสียอีก ดังนั้นผู้ที่ไม่มียูริคสูงมาก่อน การกินอาหารที่มีพิวรีนสูง จึงไม่มีทางทำให้ระดับยูริคสูงได้ครับ
ปวดข้อแล้วไปเจาะเลือดพบว่ายูริคสูง แสดงว่าเป็นเก๊าท์, ถ้ายูริคไม่สูง ไม่ใช่เก๊าท์ ? เป็นความเข้าใจที่ผิดครับ การวินิจฉัยโรคเก๊าท์ อาศัยประวัติและการตรวจร่างกายง่าย ๆ ครับ ข้ออักเสบจากเก๊าท์วินิจฉัยได้ง่าย เพราะผู้ป่วยจะมีอาการ "ปวด บวม แดง ร้อน" ที่ข้อชัดเจน เป็นเร็ว และมักเป็นข้อเดียว ข้อที่เป็นบ่อยได้แก่ ข้อนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า, ข้อเข่า ถ้าผู้ป่วยปวดข้อ แต่สงสัยว่ามีปวด บวม แดง ร้อนหรือไม่ หรือตรวจไม่พบ ไม่ชัดเจน ให้สงสัยว่าไม่ใช่เก๊าท์ ครับ   รายที่เป็นเรื้อรังอาจมีปวดหลายข้อและพบมีปุ่มก้อนที่รอบ ๆ ข้อ เช่น ข้อเท้า, ส้นเท้า, ข้อมือ, นิ้วมือ ได้ ถ้าก้อนเหล่านี้แตกออกจะพบตะกอนยูริคคล้ายผงชอล์กไหลออกมา
การเจาะเลือดตรวจระดับกรดยูริคในเลือด ในช่วงที่มีข้ออักเสบอาจพบว่า สูง ต่ำ หรือเป็นปกติได้ครับ ดังนั้นผู้ที่มีข้ออักเสบเก๊าท์ ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดในขณะนั้นและไม่ช่วยในการวินิจฉัยครับ ดังนั้น..
  • ถ้าอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่ข้อไม่ชัดเจน ถ้าเป็นที่ข้อบริเวณเท้า แล้วผู้ป่วยเดินได้สบาย แม้ว่าเจาะเลือดแล้วยูริคสูง ก็ให้สงสัยว่าไม่ใช่ เก๊าท์
  • ถ้ามีอาการปวด บวม แดง ร้อนที่ข้อชัดเจน เป็นในตำแหน่งข้อเท้า ข้อนิ้วหัวแม่เท้า เป็นเร็ว แม้ว่าจะเจาะยูริคแล้วไม่สูง ก็น่าจะเป็นเก๊าท์ ครับ
เก๊าท์ รักษาได้หายขาด จริงหรือ ? ต้องทำยังไง ?จริงครับ ถ้าเรายอมรับว่า ผู้ป่วยที่รักษาแล้ว ไม่มีอาการปวดข้ออีกเลยตลอดชีวิต เรียกว่าหายผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จำเป็นต้องได้รับการรักษาเป็น 2 ระยะ ในความดูแลของแพทย์ ได้แก่
  • การรักษาในระยะเฉียบพลัน คือ ข้ออักเสบ โดยใช้ยาลดการอักเสบที่นิยมได้แก่ ยา โคลชิซิน (Colchicine) กินวันละไม่เกิน 3 เม็ด (เช่น 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ) จะทำให้ผู้ป่วยหายจากข้ออักเสบในเวลา 1-2 วัน อาจทำให้ข้ออักเสบหายเร็วขึ้น ถ้าใช้ร่วมกับยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์   บางครั้งอาจมีผู้แนะนำให้กินยาโคลชิซิน 1 เม็ด ทุกชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด หรือจนกว่าจะท้องเสีย ซึ่งไม่แนะนำ เพราะผู้ที่กินยานี้ จะท้องเสียก่อนหายปวดเสมอ
  • การรักษาระยะยาว โดยใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด โดยถือหลักการว่า ถ้าเราลดระดับยูริคในเลือดได้ ต่ำกว่า 7 มก./ดล. จะทำให้ยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกมา และขับถ่ายออกจนหมดได้ ยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยา อัลโลพูรินอล (Allopurinol) ขนาด 100-300 มก. กินวันละครั้ง   ซึ่งยานี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง กินยาสม่ำเสมอ และกินไปนานอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อกำจัดกรดยูริคให้หมดไปจากร่างกาย การกิน ๆ หยุด ๆ จะทำให้แพ้ยาได้ง่าย ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังชนิดรุนแรง
ข้อคำนึงในการรักษาได้แก่
  • ยาลดกรดยูริคมีผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ จึงสงวนไว้ใช้ในผู้ป่วยเก๊าท์เท่านั้น ผู้ที่ตรวจเลือดแล้วพบว่า ยูริคสูง โดยไม่มีอาการปวดข้อแบบเก๊าท์มาก่อน ไม่มีความจำเป็นต้องกินยานี้ เพราะผู้ที่ยูริคสูงไม่ได้เป็นเก๊าท์ทุกคน การกินยาทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงโดยไม่จำเป็น
  • เมื่อมีอาการปวดข้อเกิดขึ้น อย่านวด เพราะการนวด หรือใช้ยาทาถู ทำให้อาการข้ออักเสบ เป็นนานขึ้น หายช้า
  • ในผู้ที่มีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์ เป็นครั้งแรก ไม่จำเป็นต้องเริ่มยาลดยูริคตั้งแต่แรก เพราะผู้ป่วยส่วนหนึ่ง มีอาการข้ออักเสบ เพียงครั้งเดียวในชีวิต และไม่เป็นอีก และพบว่าการเริ่มกินยาลดกรดยูริคในขณะที่ข้ออักเสบ จะทำให้ข้ออักเสบหายช้าลง
  • ในผู้ป่วยที่กินยาลดกรดยูริคอยู่ อาจพบว่ามีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์ได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องหยุดยา เพียงแต่รักษาข้ออักเสบตามข้างต้น และเมื่อกินยาต่อไปเรื่อย ๆ จะพบว่า ข้ออักเสบจะเป็นห่างขึ้น เป็นน้อยลง หายเร็วขึ้น จนกระทั่งไม่มีอาการข้ออักเสบอีกเลย
  • หลังจากกินยาไปแล้ว 3-5 ปี อาจลองพิจารณาหยุดยาได้ ในผู้ป่วยที่อายุมาก เนื่องจากยูริคที่เริ่มสูงขึ้นหลังจากหยุดยา กว่าจะเริ่มสะสมจนเกิดข้ออักเสบนั้น กินเวลา หลายสิบปี จนอาจไม่เกิดอาการอีกเลยตลอดชีวิต
อาหารกับโรคเก๊าท์ ? / เป็นเก๊าท์ ห้ามกินสัตว์ปีก ?ไม่ห้ามครับ เพราะเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ข้างต้น ยูริคที่สูงกว่าร้อยละ 90 เกิดจากร่างกายสร้างขึ้นเอง อาหารเป็นส่วนประกอบน้อยมาก ต่อระดับยูริคในเลือด มีการทดลองให้อาสาสมัคร กินอาหารที่มีพิวรีนสูง ทั้ง 3 มื้อ เช่น สัตว์ปีก, เครื่องในสัตว์, ยอดผัก, ไข่ปลา เป็นต้น เป็นเวลาหลายสัปดาห์ พบว่าระดับยูริคในเลือดสูงขึ้นเพียง 1 มก./ดล. ดังนั้นคนธรรมดาที่ไม่ได้กินแต่อาหารที่มีพิวรีนสูงอย่างเดียว จึงแทบไม่มีผลต่อระดับยูริคในเลือดเลย นอกจากนี้ ผู้ป่วยเก๊าท์มักเป็นชายวัยกลางคนหรือสูงอายุ ซึ่งอาจมีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบาหวาน, ความดันเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องจำกัดหรืองดอาหารบางประเภทอยู่แล้ว การบอกให้ผู้ป่วยเก๊าท์งดอาหารพิวรีนสูงเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยลำบากในการเลือกกินอาหารยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วยเก๊าท์ที่กินยาลดยูริคอยู่แล้ว ยิ่งไม่มีความจำเป็นต้องเลี่ยงอาหารใด ๆ อีกจะเห็นได้ว่า โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่มีหลายคน ยังเข้าใจผิดถึงโรคและการปฏิบัติตัว ทำให้เกิดความลำบากในการรักษา และสร้างความทุกข์กับผู้ป่วยด้วย บทความนี้คงทำให้ผู้อ่านได้ประโยชน์ และยิ่งถ้าผู้ป่วยได้อ่านจะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อตนเองยิ่งขึ้น
อ่านบทความทั้งหมด