วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

จุดเริ่มต้นของการออมเงิน

By Anusorn


 การออมเงินเริ่มแรกต้องเริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อนเลย ฝันว่ามีเงินเก็บเยอะๆ แต่ผลัดวันประกันพรุ่งที่จะลงมือทำอย่างนี้เราก็ไม่มีเงินเก็บซักบาท เปลี่ยนจากฝันมาเป็นลงมือทำเดียวนี้เลยเพียงเก็บเงินเล็กๆ น้อยๆ สะสมกันวันละ 5 บาท 10 บาทต่อเดือนทำให้เราสามารถมีเงินเก็บเพื่อใช้จ่ายค่าน้ำค่าไฟได้แล้ว การเก็บเงินหรือการออมเงินเราต้องรู้ และมีเป้าหมายด้วยว่าเราต้องการออมเงินไปเพื่ออะไร สามารถแบ่งประเภทของการออมเงินได้ดังนี้


1.ออมเงินเพื่ออนาคตอันไกล้

  • ออมเพื่อใช้จ่ายหนี้สินที่มีของแต่ละเดือน
  • เพื่อนำเงินที่ออมไปใช่จ่ายในครอบครัว
  • ออมเงินเพื่อต้องการซื้อสิ่งของ
  • ออมเงินสำรองเพื่อจ่ายค่ารักษาตัวยามป่วยไข้
2.ออมเงินเพื่ออนาคตระยะยาว
  • ใช้จ่ายในยามเกษียณอายุ
  • เพื่อความมั่นคงของครอบครัว
  • เป็นมรดกให้ลูกหลาน
  • ใช้ในการลงทุนต่อยอดเงินออมให้เพิ่มขึ้น
วิธีออมเงินด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอเพียง มีความหมายว่า ไม่ฟุ่มเฟือย ประหยัด  รู้จักคิด รู้จักใช้จ่ายอย่างมีสติ ถ้าหากเราไม่มีความพอเพียงอาจก่อเกิดผลเสียตามมาด้วย ตัวอย่างเช่น อยากได้มือถือรุ่นใหม่ๆ ตามเพื่อนๆ แต่ตนเองนั้นทำงานเงินเดือนทั้งเดือนยังซื้อไม่ได้ ก็เลยหันไปกู้ยืมเงินมาซื้อ
สุดท้ายตัวเองเป็นหนี้ต้องนำเงินส่วนหนึ่งจากเงินเดือนมาใช้หนี้ตามระยะเวลาที่กำหนด แทนที่จะแบ่งเงินส่วนที่จ่ายไปนั้นเป็นเงินเก็บกลับใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย
หากมีความจำเป็นเกิดขึ้น มีความต้องการใช้เงินด่วน พอไม่มีเงินเก็บก็หันไปกู้หนี้มาอีก ชีวิตทั้งชีวิตคงต้องใช้หนี้อย่างเดียว เอาหละเดี๋ยวเรามาเข้าเรื่องการออมเงินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกันดีกว่าค่ะ
ไม่ฟุ่มเฟือย สิ่งไหนที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันก็ควรลดไปบ้าง ส่วนหนึ่งจะได้มีเงินเหลือเก็บออม ผู้หญิงอย่างเราๆ ดิฉันเข้าใจดีค่ะว่าเรื่องการแต่ตัว รองเท้า ทรงผม กระเป๋า มันเป็นอะไรที่ขาดไม่ได้จริงๆ
เพราะเราอยู่ในสังคม มีเพื่อนที่ทำงานเห็นเพื่อนมีอะไรก็อยากมีตามเพื่อนไปด้วย แต่ส่วนไหนที่ไม่จำเป็นจริงๆ ถ้าอยากมีเงินเก็บเยอะๆ ให้ ข่มใจเอาไว้บ้าง
ประหยัด รู้จักคิดรู้จักใช้จ่ายอย่างมีสติ อย่างเช่น เลือกซื้อสินค้าลดราคาตามโปรโมชั่นจากทางร้าน ที่เห็นบ่อยๆ ที่สุดเลยตามศูนย์การค้าต่างๆ มักจัดโปรโมชั่นลด 5 – 70 % กันทุกๆ เดือนอยู่แล้ว ดิฉันคนหนึ่งที่ชอบซื้อสินค้าลดราคาทุกครั้งที่มีโอกาสและจำเป็นต้องใช้
สร้างวินัยรักการออม การสร้างวินัยในการออมควรเริ่มต้นที่ตัวเรา และคนในครอบครัวเราด้วย สำหรับท่านใดมีลูกหลานควรสร้างวินัยรักการออมให้ลูกหลานท่านมากๆ ก่อนอื่นผู้เป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครองควรทำตัวอย่างให้เห็นเสียก่อน โดยอาจจะเริ่มต้นที่ไปซื้อกระปุกออมสินมา พ่อแม่ 1 กระปุก ลูกๆ อีกคนละ 1 กระปุก แล้วชักชวนให้หยอดเงินใส่กระปุกทุกๆ วัน
แต่ที่สำคัญผู้ปกครองควรสร้างแรงบันดาลใจในการออม โดยพาลูกนำเงินไปฝากกับธนาคารทุกครั้งที่มีการนำเงินไปฝากให้ผู้ปกครองเพิ่มเงินฝากจากเงินออมนั้นๆ เป็นสองเท่าเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้ในการเก็บเงินต่อไป
สมการออมเงิน
หากต้องการเพื่มจำนวนเงินออม ทำอย่างไรให้เป็นคนเก็บเงินได้ มีสมการง่ายๆ มาบอก ใครๆ ก็สามารถทำได้ ดังนี้
รายรับ – รายจ่าย = เงินออม
ตัวอย่าง คุณมีรายได้จากเงินเดือนเป็นเงิน 15,000 บาท/เดือน แต่คุณมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนทั้งหมดรวมทุกสิ่งอย่าง อาทิเช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ เป็นเงินจำนวน 1,3000 บาท/เดือน
สมการ = รายรับ รายจ่าย = เงินออม
ดั้งนั้น
1,5000 – 1,3000 = เงินออม
1,5000 – 1,3000 = 2,000 บาท
หากคุณต้องการเพิ่มจำนวนเงินออมให้มากขึ้นมีอยู่สองวิธีด้วยกันคือ
  1. หารายได้มาเพิ่ม 
  2. ลดค่าใช้จ่าย 
สมการที่ได้ดังนี้
รายรับ  - รายจ่าย = เงินออม 
รายรับ – รายจ่าย  = เงินออม 
อ่านบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ดูแลเบาหวานยังไงไม่ให้มีโรคแทรกซ้อน

By Wasanporn



คนเป็นโรคเบาหวาน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบาหวานชนิดที่ 1 ที่เป็นเบาหวานตั้งแต่อายุยังน้อย) จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเป็นโรคแทรกซ้อน? ไม่จำเป็นเลยค่ะ มีคนจำนวนน้อย(!?) ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วสามารถดูแลตัวเองเป็นอย่างดีจนไม่มีโรคแทรกซ้อนใดๆ และมีคนจำนวนมากมายมหาศาลที่เป็นโรคเบาหวานแล้วมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นตามมา สาเหตุที่คนเป็นโรคเบาหวานจำนวนมากมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น เพราะไม่สามารถรักษาระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ได้ การที่ปล่อยให้ระดับน้ำตาลสูง หรือต่ำกว่าเกณฑ์จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเป็นเบาหวานส่วนใหญ่ได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคแทรกซ้อนที่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน

จากภาพที่ลักข์ทำขึ้นมา ลักข์แบ่งระดับน้ำตาลเป็นโซนต่างๆ

โซนสีเขียว คือ ระดับน้ำตาลที่ปลอดภัย หากเราสามารถรักษาระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์นี้ไว้ตลอด ชีวิตย่อมปลอดภัยจากโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดจากโรคเบาหวานอย่างแน่นอน

โซนสีเหลือ คือ ระดับน้ำตาลที่เริ่มไม่ปลอดภัย หากทิ้งไว้นานก็จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้

โซนสีแดง คือ ระดับน้ำตาลที่เป็นอันตรายต่ออวัยวะภายในร่างกาย หรืออาจจะทำให้ถึงแก่่ชีวิตได้ การที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์โดยปล่อยให้ระดับน้ำตาลสูงเกินกว่าเกณฑ์เป็นระยะเวลานานหลายปี จะส่งผลต่อระบบหลอดเลือดภายในร่างกายอย่างแน่นอน ซึ่งผลสุดท้ายจะส่งผลต่ออวัยวะสำคัญ ทำให้ตาบอดได้ ทำให้หัวใจมีปัญหาได้ ทำให้ไตวายได้ ทำให้ระบบปลายประสาทไม่มีความรู้สึกได้ (ระดับน้ำตาลสูงอย่างรุนแรงจะทำให้เลือดเป็นกรด เหนื่อยหอบ หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ระดับความผิดปกติของเกลือแร่ในเลือดที่ชื่อว่าโปแตสเซียม สามารถจะทำให้หัวใจหยุดเต้นจนเสียชีวิตได้)

ส่วนการที่ปล่อยให้ระดับน้ำตาลต่ำกว่าเกณฑ์อยู่เสมอ นอกจากจะทำให้เรามึนงง หมดสติ หรืออาจจะทำให้เสียชีวิตได้ (ระดับน้ำตาลต่ำแบบรุนแรงสามารถส่งผลให้หมดสติ และหากไม่ได้รับการช่วงเหลือได้ทันท่วงทีระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำจนถึงขั้นเสียชีวิตได้)

แล้วเราคนที่เป็นโรคเบาหวานจะดูแลตัวเองยังไงดี ที่จะทำให้ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ได้ มีชีวิตอยู่กับเบาหวานอย่างมีความสุขได้ โดยไม่มีโรคแทรกซ้อน?

การจะมีชีวิตอยู่กับโรคเบาหวานให้ได้อย่างมีความสุขและปลอดภัยจากโรคแทรกซ้อนจำเป็นที่ต้องศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ต้องรู้ระดับน้ำตาลของตัวเองให้ได้อย่างจริงจัง จนสามารถที่จะยอมรับว่าเบาหวานคือส่วนหนึ่งของชีวิตที่เราจะต้องดูแลตลอดไป

 ถ้าเรามีวิธีคิดและความรู้ความเชื่อเช่นนี้ เราก็จะเป็นเบาหวานได้อย่างปลอดภับโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนอย่างแน่นอน สิ่งที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน คือ

1. โรคเบาหวานเป็นโรคที่รักษาได้ ควบคุมได้ แต่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ ไม่ว่าจะไปหาหมอผี กินยาผีบอก จ่ายเงินให้กับคนที่มาหลอกสักแค่ไหนก็ตาม โรคเบาหวานก็จะอยู่กับเราเสมอ เพราะฉะนั้นแม้ว่าเราจะควบคุมได้ แต่ถ้าเราเผลอไม่ดูแล ระดับน้ำตาลก็พร้อมที่จะสูงขึ้นมาทุกเมือ นอกจากไม่ควรเชื่อหมอเถื่อนหมอผีแล้ว การรักษากับบุคคลากรทางการแพทย์ การไปพบแพทย์ตามนัดหมาย จึงเป็นเรื่องสำคัญ (สถานที่ไหนสามารถรักษาเบาหวานโดยไม่มีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เชื่อถือไม่ได้นะคะ) การไปพบแพทย์นั้นอาจจะกลายเป็นเรื่องประจำทุกๆ 2 เดือน(อย่างมากแล้ว) แต่ถ้าเราดูแลตัวเองได้ดี เราก็จะได้ใบนัดแบบทุกๆ 3 หรือ 4 เดือน ซึ่งเท่ากับปีละ 3-6 วันจาก 365 วันเป็นอย่างมาก การไปพบแพทย์ก็เพื่อตัวเราเองนะคะ อย่าถือว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อเลยนะคะ

2. ยาที่คุณหมอให้นั้น ไม่ส่งผลทำลายหรือทำร้ายตับไตหรอกค่ะ ยารักษาที่นำมาใช้นั้นผ่านการค้นคว้าวิจัยมาอย่างดีแล้ว หากมีการค้นพบว่าตัวยามีปัญหายาก็จะถูกถอนออกจากทะเบียนทันที ปัญหาเรื่องยาที่จะไปทำลายตับ ทำลายไต เท่าที่พบเกิดจาก 2 สาเหตุคือ

การปล่อยให้ระดับน้ำตาลควบคุมไม่ได้ จนหลอดเลือดของเราถูกทำลาย และ

2 คือการกินยาผีบอก หรือยาที่คนเขาเอามาหลอกขายต่างหากที่จะทำให้อวัยวะเราถูกทำลาย(จนหลายคนต้องกลายไปเป็นผี ที่กลับมาบอกความจริงไม่ได้เสียชีวิตเพราะคนด้วยกันนี่แหละหลอก) เพราะฉะนั้นยาที่คุณหมอในรพ.จ่ายให้เป็นยาที่มีความปลอดภัยมากพอ และมีผลในการรักษาควบคุมระดับน้ำตาลเพื่อให้ชีวิตการเป็นเบาหวานของเรานั้นมีความปลอดภัยมากพอ ดังนั้นจึงต้องกินยา/ฉีดอินสุลินตามที่คุณหมอแนะนำนะคะ ระดับน้ำตาลจึงจะสามารถควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ได้

3. สิ่งที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด คือ อาหาร ถ้าเราเรียนรู้ว่าอาหารชนิดไหนส่งผลต่อระดับน้ำตาลในร่างกายเรายังไง จะทำให้เราเลือกกินอาหารได้เหมาะสมมากขึ้น ความจริงที่คนเป็นเบาหวานหลายคนไม่รู้คือ คนที่เป็นโรคเบาหวานทานอาหารได้ทุกอย่างที่อยากกิน เรื่องปริมาณต่างหากเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง อย่างเช่น ข้าว 1 ทัพพี เท่ากับ การกินขนมปัง 1 แผ่น หรือเท่ากับการกินเค้ก 1/3 ชิ่น หรือเท่ากับการกินมะม่วงสุกหรือดิบก็ตาม 1/2 ลูก เพราะฉะนั้นยิ่งเราเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้เรามีความสุขกับการกินอาหารทุกชนิดโดยที่เรายังสามารถควบคุมระดับน้ำตาลของเราได้ด้วย

4. เครื่องเจาะเลือด เป็นตัวช่วยที่จำเป็นสำหรับชีวิตคนเป็นเบาหวาน แต่ก็ต้องใช้ประโยชน์จากเครื่องเป็นด้วยจึงจะมีประโยชน์ ระดับน้ำตาลบอกอะไรเราได้บ้าง? ระดับน้ำตาลสามารถบอกเราได้ว่า ช่วงเวลาก่อนหน้าที่เราจะเจาะเลือด ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการกินอาหาร หรือการออกกำลังกาย หรือยาส่งผลต่อเราอย่างไร รวมที้งเป็นตัวกำหนดให้เราตัดสินใจที่จะกินอาหาร ทำกิจกรรม อย่างไรต่อไปในอนาคต

5. การออกกำลังกายส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง การออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน

Credit: luckareerut.wordpress.com
อ่านบทความทั้งหมด