วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คุณสมบัติผู้นำ 10 ประการ

By Prasit

วันนี้พี่สิทธิ์มาแบ่งปันบทความเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้นำ 10  ประการ ใครมีข้อไหนแล้วบ้างไปดูกันเลย




คุณสมบัติผู้นำ  10 ประการ
1.  กล้าเปลี่ยนแปลง
2.  มีจิตวิทยา   มีมนุษยสัมพันธ์
3. จูงใจคนได้ดี
4.  มีความรับผิดชอบสูง
5.  มีทั้งความยืดหยุ่นและเด็ดขาด
6.  มีทั้งความรอบรู้   มีสังคม
7.  เป็นนักประสานงานที่ดี
8.  มีความกระตือรือร้น
9.  ทำงานเคียงข้างลูกน้อง
10.มีความน่านับถือ

ต้องสังเกตการณ์ทำงานของลูกน้องแต่ละคนในทีมงานด้วยว่ามีใครกำลังเอาเปรียบเพื่อนอยู่หรือไม่   เพราะบางคนอาจชอบอู้   ทำงานน้อยปล่อยให้เพื่อนคนอื่นเหนื่อยมากกว่า   ซึ่งกรณีอย่างนี้หัวหน้างานต้องสังเกตด้วยตนเองด้วย   คนทำงานหนักบางคนอาจจะไม่ใช่คนที่ชอบฟ้องแม้เมื่อถูกเอาเปรียบ
                

 ­อย่าใส่ใจความผิดเล็กๆ  น้อย  ที่เรารู้ดีว่าเป็นเรื่องการเมือง  เช่น  ลูกน้องลาป่วยทั้งๆ   ที่ไม่ได้ป่วยจริง   เราก็ไม่จำเป็นต้องไปสืบค้นว่าทำไมเขาต้องโกหกตราบใดที่เขายังคงตั้งใจทำงาน   เว้นแต่ว่าบุคคลนั้นมีท่าจะขายไอเดียภายในองค์กรให้บริษัทอื่นๆ   หรือมีพฤติกรรมส่อให้เห็นมาก่อนว่าไม่เอาใจใส่ในงาน   กรณีเช่นนั้นจึงค่อยตรวจสอบเขาอย่างจริงจัง              

พยายามวางแผนงานล่วงหน้า   เพื่อจะได้มองเห็นแนวโน้มของการตัดสินใจได้   เลี่ยงการตัดสินใจอย่างเร่งด่วนสำหรับอุปสรรคที่เกิดขึ้นเพราะวางแผนงานผิดพลาด

อย่ามุ่งเน้นแต่การสร้างงาน   ต้องเรียนรู้เรื่องของกระแสความต้องการของหน่วยงานอื่นและบรรดาคู่แข่งอื่นๆ  ด้วย   โดยไม่นึกถึงผลกระทบที่จะตามมาว่าจะเกิดผลอย่างไร

หัวหน้า คือ  ผู้จับผิดแทนองค์กรว่าบุคลากรคนใดทำงานด้วยความรักองค์กร   คนใดทำงานด้วยเพราะมีไฟแห่งการสร้างสรรค์    คนใดมุ่งมั่นเพื่อผลประโยชน์ขององค์กร   และคนใดทำงานเพียงเพื่อให้มีงานทำ

พิจารณาส่งเสริมลูกน้องที่มีความขยัน  และมีอุปนิสัยใจคอดี   แม้ว่าฝีมือการทำงานอาจจะไม่โดดเด่นนัก  ควรหาทางส่งเขาไปฝึกอบรมการสนับสนุน   คนนิสัยดีย่อมเป็นประโยชน์แก่องค์กรมากกว่าสนับสนุนคนที่ทำงานได้ดีแต่มิได้เป็นที่ชื่นชมของของทุกคนนัก

ความโกรธ   ความเสียใจ  คนเป็นหัวหน้าทีมต้องแสดงออกแต่น้อยหากอยู่ในที่ทำงาน   ไม่มีลูกน้องคนใดจะนับถือศรัทธาผู้จัดการที่อ่อนแอและอ่อนไหวจนเกินไป

อย่าปกปิดความผิดของลูกน้อง  เมื่องานผิดพลาดก็ต้องช่วยกันรับผิดชอบและแก้ไข   แต่ไม่ใช่ช่วยกันปิดไว้ไม่ให้ผู้บริหารระดับสูงรับรู้ว่าเกิดการผิดพลาดในผลงาน   ต้องกล้าจะรับผิด   ขณะเดียวกันก็ต้องแจ้งให้ผู้บริหาร   ทราบถึงแนวทางการป้องกันการเกิดปัญหาเช่นนี้ที่ได้วางแผนไว้แล้ว

ป็นหัวหน้างานที่เที่ยงธรรมอย่ามีอคติกับลูกน้องเพราะมันจะนำไปสู่การตัดสินใจด้วยอคติเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นอย่าลุ่มหลงในการการยกยอปอปั้น   หัวหน้าที่หูเบาย่อมกำกับควบคุมทีมให้สร้างผลงานที่ดีได้ยาก

แนะนำลูกน้องคนใหม่ให้ทุกคนในทีมงานได้รู้จัก   แล้วให้คนพาเขาไปดูส่วนต่างๆ    ของบริษัทให้ทั่วถึง   มิว่าจะเป็นห้องน้ำ   มุมกาแฟ   หรือที่จอดรถ   ควรต้อนรับและดูแลคนใหม่อย่างดี  แม้ว่าเขาจะอยู่ในฐานะลูกจ้างชั่วคราวหรือเด็กฝึกงานก็ตาม

พาทีมงานไปเลี้ยงอาหารกลางวันหรืออาหารเย็น เลี้ยงส่ง  หรือ  เลี้ยงอำลา  ในยามที่คนในทีมงานลาออก   อย่าลืมร่วมกันเขียนอวยพร  ในการ์ดใบเดียวกัน   หรือาจรวมกันซื้อของขวัญพิเศษสักชิ้นให้เขา  เพื่อทุกคนจะได้สนิทสนมรักใคร่กันดี 

ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีกับลูกน้องในทุกๆ   ด้าน   ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัว   การวางตัว   ความเอาใจใส่ในการทำงาน    ความมีอารมณ์ขัน   การสร้างสรรค์บรรยากาศการทำงานให้มีสีสัน   และการทำงานโดยมุ่งหวัง   ความเป็นเลิศในผลของงาน

คนทำงานย่อมรู้ถึงขั้นตอนการทำงานและปัญหาต่างๆ   ได้เป็นอย่างดีผู้เป็นหัวหน้า      ควรหาโอกาสลงไปร่วมช่วยงานของลูกน้อง   แต่ละคนบ้างหากมีโอกาส   เพื่อจะได้มองเห็นปัญหาว่าควรจะบริหารงานนั้นอย่างไรให้ถูกทาง   และควรเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ร่วมเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำงานบางประการที่พวกเขาย่อมเขาใจในสภาวะต่าง ๆ ได้ดีกว่าเรา

หัวหน้างานมีหน้าที่โดยตรงที่จะคอยไกล่เกลี่ย   ประนีประนอม  คนในทีมงานที่มีความขัดแย้งกัน  อย่าปล่อยให้เขาไม่พอใจกันในขณะที่ต้องทำงานร่วมกัน  ถ้ามีปัญหาของความขัดแย้งคอนข้างจะรุนแรงเกินความสามรถของคุณก็ให้นำความไปปรึกษาผู้บริหารระดับสูงเพื่อให้เกิดการพิจารณานาหนทางแก้ไขอย่างยุติธรรม   ต่อคู่กรณีทั้งสอง

เข้าร่วมรับการอบรมทักษะผู้นำและศิลปะของการบริหารงาน   เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง   อย่าคิดว่าเวลามีน้อยถ้าคุณไม่สามรถบริหารเวลาของตนเองได้และไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาตนเอง   ก็แสดงว่าคุณยังไม่ใช่ผู้นำที่ดีนัก


สรุปได้ว่า  การที่จะเป็นผู้นำที่ดี  จะต้องยึดในหลัก  10  ประการนี้  เพื่อการบริหารในแต่ละหน่วยงาน  แต่ละองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ  พร้อมทั้งการได้รับความรัก  และความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้ร่วมงาน  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นแนวทางดีที่สำหรับผู้ที่จะก้าวเป็นผู้บริหาร  หรือผู้ที่เป็นอยู่แล้ว  นำไปปฏิบัติหรือนำไปปรับใช้  เพื่อการบริหารงานในหน่วยงานให้ประสบความสำเร็จในอนาคต
อ่านบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Proximity sensor)

By K.Chamnong


พร๊อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Proximity Sensor) หรือ พร็อกซิมิตี้สวิตซ์ (Proximity Switch) คือ เซนเซอร์ชนิดหนึ่งที่สามารถทำงานโดยไม่ต้องสัมผัสกับชิ้นงานหรือวัตถุภายนอก โดยลักษณะของการทำงานอาจจะส่งหรือรับพลังงานรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ สนามแม่เหล็กสนามไฟฟ้า แสง เสียง และ สัญญาณลม ส่วนการนำเซนเซอร์ประเภทนี้ไปใช้งานนั้น ส่วนใหญ่จะใช้กับงานตรวจจับ ตำแหน่ง ระดับ ขนาด และรูปร่าง ซึ่งโดยปกติแล้วจะนำมาใช้แทนลิมิตสวิตซ์ (Limit Switch) เนื่องด้วยสาเหตุของอายุการใช้งานและความเร็วในการตรวจจับวัตถุเป้าหมาย ทำได้ดีกว่าอุปกรณ์ประเภทสวิตซ์ซึ่งอาศัยหน้าสัมผัสทางกล

คุณสมบัติเด่น

- สามารถตรวจจับได้โดยไม่มีการสัมผัส

- สามารถใช้งานได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย

- ตรวจจับด้วยความแม่นยำ

- ตอบสนองต่อการทำงานได้รวดเร็วกว่า

- สามารถแยกการตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะ อโลหะและแม่เหล็กได้

- อายุการใช้งานยาวนาน

- จะมีระยะการตรวจจับวัตถุ โดยทั่วๆไป อยู่ระหว่าง 4-40 mm ขึ้นอยู่กับขนาด และ ชนิดของ Sensors 




 ประเภทของ proximity switch type

1.เซนเซอร์แบบเหนี่ยวนำ (Inductive Sensor) เป็นเซนเซอร์ที่ทำงานโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงค่าความเหนี่ยวนำของขดลวด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลต่อชิ้นงานหรือวัตถุที่เป็นโลหะเท่านั้น หรือเรียกกันทางภาษาเทคนิคว่า อินดั๊กตีฟเซนเซอร์ ”  ข้อเด่นของเซนเซอร์ชนิดนี้ คือ ทนทานสามารถทำงานได้ในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง (wide temperature ranges) สามารถทำงานในสภาวะที่มีการรบกวนทางแสง (Optical) และเสียง (Acoustic) ซึ่งเทียบเท่ากับชนิดเก็บประจุ



พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำ (inductive proximity sensor) เป็นเซนเซอร์ (sensor) ที่ใช้ตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะเท่านั้น เช่น เหล็ก สแตนเลส โครงสร้างประกอบด้วย สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ขดลวดออสซิลเลเตอร์ ตัวเรือน และแกนเฟอร์ไรท์ ทำงานโดยอาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่กำเนิดขึ้นจากวงจรออสซิลเลเตอร์ โดยกำเนิดสัญญาณส่งให้ขดลวดซึ่งพันอยู่บนแกนเฟอร์ไรท์ ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณด้านหน้าของอุปกรณ์ เรียกบริเวณนี้ว่า "ส่วนตรวจจับ" เมื่อมีวัตถุเป้าหมายซึ่งต้องเป็นโลหะเท่านั้นเคลื่อนที่เข้ามาบริเวณส่วนตรวจจับ สนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะเหนี่ยวนำในวัตถุที่ต้องการตรวจจับ ทำให้เกิดมีกระแสไหลวน (eddy current) ขึ้นภายในวัตถุ หรือวัตถุเป้าหมายทำการดูดซับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จนเมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งที่วัตถุเป้าหมายได้ดูดซับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจนหมด หรือเกิดการเหนี่ยวนำมากที่สุด วงจรออสซิลเลเตอร์จะหยุดทำงาน จากนั้นวงจรทริกเกอร์จะทำงานและให้สัญญาณทางด้านเอาต์พุตออกมา ส่วนประกอบของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำแสดงดังรูป 

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำ ได้แก่

การบอกตำแหน่งการเคลื่อนที่ของลิฟท์ โดยติดตั้งแผ่นโลหะที่บริเวณส่วนบนเหนือเพดานลิฟท์ให้ตรงกับตำแหน่งที่ติดตั้งตัวพร็อกซิมิตี้ไว้ในแต่ละชั้น เมื่อลิฟท์เคลื่อนที่มายังตำแหน่งที่แผ่นโลหะตรงกับตัวพร็อกซิมิตี้ จะมีสัญญาณเอาต์พุตออกมา เพื่อแจ้งระบบให้ทราบว่ามีการเคลื่อนที่มายังจุดที่กำหนดไว้แล้ว จากนั้นระบบควบคุมจะสั่งให้ลิฟท์หยุดและเปิดประตูออกมา หลักการดังกล่าวนี้ ยังนำไปใช้สำหรับการแจ้งตำแหน่งที่ลิฟท์หยุดได้อีกด้วย อีกตัวอย่างคือ การใช้พร็อกซิมิตี้สำหรับตรวจสอบการลำเลียงชิ้นโลหะบนสายพาน (conveyor) เพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นงานเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งที่กำหนดไว้ เป็นต้น
การตรวจสอบการปิดฝาขวดที่เป็นโลหะด้วยพร๊อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำ โดยติดตั้งตัวพร็อกซิมิตี้ไว้ที่บริเวณเหนือปากขวด เมื่อขวดพร้อมฝาปิดลำเลียงมาบนสายพานผ่านมาบริเวณส่วนตรวจจับของตัวพร็อกซิมิตี้ ฝาปิดจะดูดซับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไว้ จากนั้นวงจรจะทำงานและให้สัญญาณเอาต์พุตแจ้งว่าขวดนั้นมีฝาปิด และหากขวดที่เคลื่อนที่ผ่านพร็อกซิมิตี้ไม่มีฝาปิด สัญญาณทางด้านเอาต์พุตจะแสดงในรูปแบบตรงกันข้ามกับกรณีแรก และแจ้งไปยังส่วนควบคุมให้คัดขวดใบนั้นออกจากสายพานลำเลียง ในกรณีที่ตรวจพบขวดไม่มีฝาปิดจำนวนมากถึงระดับหนึ่ง ระบบควบคุมจะสั่งการให้หยุดการทำงานของสายพานลำเลียง (conveyor) ทันที เพื่อทำการตรวจสอบกระบวนการผลิตก่อนหน้านั้น
การตรวจสอบการเปิดปิดฝาหม้อฆ่าเชื้อ (retort) และหม้อนึ่ง (cooker) ด้วยพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำ เนื่องจากหม้อฆ่าเชื้อและหม้อนึ่งทำงานภายใต้สภาวะความดัน (pressure) สูงกว่าบรรยากาศ จึงควรมีระบบนิรภัยที่ดีเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน โดยติดตั้งพร็อกซิมิตี้ที่บริเวณฝาเพื่อตรวจสอบความพร้อมในการปฏิบัติงานของหม้อฆ่าเชื้อและหม้อนึ่งว่าฝาอยู่ในสถานะพร้อมทำงานหรือไม่ 



2. เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุ (Capacitive Sensor) โครงสร้างพื้นฐาน ของ Capacitive Proximity Switch จะมีลักษณะคล้ายกับแบบ Inductive Proximity Switch จะมีส่วนต่างกันที่หัวตรวจจับ (Active Electrode) ซึ่งจะใช้ หลักการเปลี่ยนแปลงของค่าคาปาซิแตนซ์ (Capacitance) capacitive proximity sensor จะสร้าง สนามไฟฟ้าสถิตย์ (electrostatic) มาแทนที่จะเป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจึงทำให้ capacitive proximity sensor นี้สามารถที่จะตรวจจับวัตถุที่เป็นทั้งโลหะและอโลหะได้ ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบของเซนเซอร์ประเภทนี้

 



พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุ (capacitive proximity sensor) เป็นเซนเซอร์ (sensor) อีกชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับตรวจจับวัตถุโดยไม่ต้องสัมผัส ใช้ตรวจจับวัตถุได้ทุกชนิดทั้งที่เป็นโลหะและอโลหะ เช่น แก้ว น้ำ ไม้ พลาสติก กระดาษ และอื่น ๆ โดยความสามารถในการตรวจจับขึ้นอยู่กับค่าคงที่ไดอิเล็กตริก (dielectric constant, k) ของวัตถุ พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุมีลักษณะรูปร่าง และโครงสร้างคล้ายกับพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำ (inductive proximity sensor) แต่ใช้หลักการทำงานที่แตกต่างกัน

พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุ ทำงานโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงค่าความจุ เมื่อวัตถุเป้าหมายเคลื่อนที่เข้ามาใกล้สนามไฟฟ้าที่กำเนิดโดยแอกทีฟอิเล็กโทรดและเอิทธ์อิเล็กโทรด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างหน้าพร็อกซิมิตี้และวัตถุเป้าหมาย ขนาดและรูปร่างของวัตถุ และชนิดของวัตถุเป้าหมาย (ค่าคงที่ไดอิเล็กตริก) เมื่อค่าความจุเปลี่ยนแปลงจนถึงค่า ๆ หนึ่ง ซึ่งเท่ากับค่าความต้านทานที่ปรับไว้ในตอนเริ่มต้น จะส่งผลให้เกิดการออสซิลเลทสัญญาณขึ้นและส่งต่อให้เอาต์พุตทำงาน เรียกสภาวะที่เกิดขึ้นนี้ว่า อาร์-ซี รีโซแนนซ์ (R - C Resonance) ส่วนประกอบและการทำงานของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุ




 

 




ขอขอบคุณบทความดีๆจาก 

www.inno-ins.com
การวัดและเครื่องมือวัด ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (นวภัทรา และ ทวีพล , 2555)
​www.foodnetworksolution.com (ศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, ผศ.ดร.นวภัทรา หนูนาค
อ่านบทความทั้งหมด