วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

นอนดึก-ตื่นเช้า กินอะไรให้สดชื่น

By Pathai



ใครที่ชอบนอนดึกตื่นเช้า จะด้วยภาระหน้าที่การงาน ติดหนังติดละคร นอนดูบอลยามดึก กว่าจะได้ล้มตัวลงนอนก็ปาเข้าไปค่อนคืน แถมยังต้องตื่นแต่เช้ามาผจญกับวันใหม่ ยังไงๆ ก็ต้องง่วงหงาวหาวนอนกันเป็นธรรมดา แถมยังทำให้ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่าเหมือนกับวันที่พักผ่อนเต็มที่อีกด้วย
     

และอาหารที่กินเข้าไปก็เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ความสดชื่นกลับมาเยือนอีกครั้ง “108 เคล็ดกิน” ก็มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่อยากสดชื่นในยามเช้า เริ่มต้นจากสิ่งที่ไม่ควรกินกันก่อน นั่นคือ อาหารทอด หรืออาหารมัน อาหารเค็มจัด และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะอาหารเหล่านี้จะยิ่งทำให้อาการนอนน้อยแย่ลงไปอีก              

ส่วนอาหารที่ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกายก็คือ อาหารพวกผัก ผลไม้ อาหารจำพวกนี้จะมีโครเมียม ที่ช่วยให้รักษาระดับน้ำตาลในเลือด และเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย โดยเฉพาะในแอปเปิ้ล กล้วย และมันฝรั่ง              

อาหารที่มีวิตามินบี และซี วิตามินบีจะช่วยลดอาการนอนไม่หลับ ช่วยให้สมองผ่อนคลาย และทำให้ประสาทตื่นตัว พบมากในข้าวกล้อง ธัญพืชต่างๆ ไข่ เนื้อสัตว์ เป็นต้น ส่วนวิตามินซี จะช่วยต้านความเหนื่อยล้าของร่างกาย สร้างภูมิต้านทาน พบมากในผักและผลไม้สด และผลไม้รสเปรี้ยวต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่าจากความเปรี้ยวจี๊ดจ๊าดด้วย              

ควรกินอาหารเบาๆ ย่อยง่ายๆ กระเพาะจะได้ไม่ต้องทำงานหนักมากเกินไป อย่างเช่น กินเนื้อปลา จะได้โปรตีนที่ย่อยง่าย ได้รับไขมันชนิดดี เช่นโอเมก้า 3 ที่จะช่วยบำรุงสมอง สร้างสมาธิและความจำให้ดีขึ้นเวลาอดนอน กินถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวซ้อมมือ จมูกข้าวสาลี และธัญพืชต่างๆ นอกจากจะย่อยง่ายแล้ว ก็ยังมีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมที่ช่วยบำรุงประสาท และช่วยให้จิตใจแจ่มใสสดชื่น              

สุดท้าย ต้องดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อเรียกความสดชื่นให้กลับคืนมา การที่พักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ และอาจเกิดอาการร้อนใน การดื่มน้ำเข้าไปชดเชยให้เพียงพอนั้นจะช่วยให้ร่างกายปรับสมดุลเข้าสู่ภาวะปกติได้ และกลับมาสดชื่นเหมือนเดิม              

แต่ข้อสำคัญ ก็ไม่ควรนอนน้อยเกินไป หรืออดนอนบ่อยๆ เพราะจะทำให้ร่างกายทรุดโทรม หน้าตาไม่ผ่องใส ไม่สดชื่น

ที่มา: http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9550000040100
อ่านบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

คุณรู้หรือยังว่าคุณมีรูปร่าง ลักษณะ (Type) แบบไหน ?

By Rawit


อ่ะ วันนี้ผมมีสาระมาให้อ่านกันครับ สำหรับคนที่ยังไม่รู้ตัวเองว่า รูปร่าง ลักษณะของตัวเองเป็นแบบไหน อยู่ในกรุ๊ปไหน แล้วควรทาน,ออกกำลังกันยังไงให้ได้ผลกับตัวเราเองมากที่สุด มาหาตัวตนของเรากัน

-----------------------------------------------------------------------------------------------

คุณรู้หรือยังว่าคุณมีรูปร่าง ลักษณะ (Type) แบบไหน ?
โดยทั่วไปแล้ว รูปร่าง ลักษณะ ตามหลักวิทยาศาสตร์ ได้แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
---1.ผอม
---2.สมส่วน
---3.อ้วน

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงล่ะว่าอยู่ในลักษณะแบบไหน บางคนตอนเด็กผอมแห้ง โตมาอ้วนอย่างกับหมี บางคนตอนเด็กอ้วนน่ารัก โตมาผอมซะ เรามาเรียนรู้กันเลยครับ

**********1.Ectomorph********** 

 ในกรุ๊ปแรกที่กล่าวถึงนี้เป็นคนที่มีรูปร่างลักษณะที่มีช่วงไหล่ และช่วงน่องที่แคบ ข้อต่อ ข้อมือ ข้อเท้าเล็ก ผอมบาง มีปริมาณกล้ามเนื้อในร่างกายน้อยที่สุดในบรรดา 3 ลักษณะ มีแขนและขาที่ยาว ลักษณะกล้ามเนื้อหน้าท้องจะเป็นเส้นตรง ๆหรือแทบจะไม่เป็นปล้อง ๆ

******เรื่องอาหาร (Nutritions)*****
 ของคนลักษณะนี้ ควรทานในปริมาณที่เยอะ เพราะว่าเนื่องจาก ระบบการเผาผลาญหรือ Metabolism ในร่างกายมีสูงมาก ซึ่งไม่แปลกที่เราจะเห็นว่าบางคนกินเยอะ เหมือนไม่ได้กินอะไรมาเป็นเดือน เป็นปี แล้วมากินทีนึงนี่ ร้านแทบจะเจ๊ง แต่พอกินเสร็จ 2-3 วันให้หลัง สภาพไม่อ้วนหรือ ไม่บวมมาก หรือบางคนแทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย เพราะฉะนั้นสำหรับคนที่เป็น Ectomorph type ควรให้ความสำคัญกับการกินมาก ๆ เน้นย้ำเลยนะครับว่า สำคัญมาก ๆ เน้นโปรตีนและคาร์บในปริมาณที่มหาศาล

*****การฝึกหรือการออกกำลังกาย*****
เป็นที่เรารู้กันแน่นอนว่าเราทานไปเยอะ ก็จะต้องฝึกให้หนัก สำหรับคนกรุ๊ปนี้ จำนวนครั้งของการฝึกจะไม่มาก แต่น้ำหนักที่ใช้ในการฝึกจะอยู่ที่ 80-90% เพื่อที่จะให้เห็นผลได้ดีที่สุด โดยจำนวนครั้งตามเบสิคของคนเราทั่วไปอยู่ที่ 4x8-10 หรือ 5x3-6

"ทำไมจำนวนครั้งมันน้อยจังว่ะ?"
เพราะคนกรุ๊ปนี้มีระบบการเผาผลาญที่ดีเยี่ยมเกินไป ถ้าเพิ่มจำนวนครั้งเยอะขึ้น การสร้างกล้ามเนื้อจะไม่ได้ผลเต็มที่ แทนที่เราจะดูหนาแน่น เราจะกลายมาเป็น แห้งชัดแทนครับ การคาร์ดิโอจะไม่นานมาก อยู่ในช่วง 20-45 นาที พอเหมาะ
นักกีฬาเพาะกายระดับโลกที่อยู่ในกรุ๊ปนี้ ผมยกตัวอย่างคนนึง ก็คือ Frank Zane

**********2.Mesomorph********* 

 สำหรับคนกรุ๊ปนี้จะได้เปรียบกว่าคนกรุ๊ป Ectomorph และ Endomorph หน่อยเพราะทรงรูปร่างของคนกรุ๊ปนี้เป็นทรงนักกีฬา มีช่วงไหล่ที่กว้าง ข้อต่อกลม เอวบาง กล้ามเนื้อสมส่วน และกล้ามเนื้อท้องเป็นปล้อง ๆ เรียงกันดี เหมือนกับร่างกายที่พระเจ้าสร้างมาให้จริง ๆ มีกล้ามเนื้อที่สมส่วน ปริมาณไขมันไม่มากเกินไปอาจจะพอดีหรือมีน้อยกว่ากล้ามเนื้อ เป็นกรุ๊ปที่เผาผลาญไขมันได้ดี แต่ไม่เท่ากับ Ectomorph และเก็บรักษากล้ามเนื้อได้ดี

 ******อาหาร*****
สำหรับคนกรุ๊ปนี้ ลักษณะอาหารจะเน้นไปในทางโปรตีนมาเป็นอันดับ 1 ส่วนปริมาณคาร์บจะไม่มากเท่ากับโปรตีน หรือเกินกว่าโปรตีน ถ้านึกไม่ออกก็อาหารสำหรับนักกีฬาทุกชนิด ที่จะเน้นโปรตีนมาก่อน เพิ่มเสริมสร้างกล้ามเนื้อ จะลำบากตรงที่ว่าต้องคอยคุมอาหารเพราะถึงแม้ว่าจะมีระบบการเผาผลาญที่ดี แต่ก็ไม่ดีเท่า Ectomorph ที่สูบเข้าไปแล้วหายหมด

*****การฝึกหรือการออกกำลังกาย*****
 คนกรุ๊ปนี้สามารถฝึกแบบ จำนวนครั้งเยอะ ๆ (High reps) หรือ จำนวนครั้งน้อย ๆ (Low reps) ได้ แต่ถ้าจะให้ดี ควรจะฝึกไปในทาง Strength training จะดีกว่า เพราะมีมสลกล้ามเนื้อในร่างกายที่พอเหมาะแล้ว ยิ่งฝึก แบบ Strength training เข้าไปแบบเข้มข้นอีกแล้วล่ะก็.........หล่อเลย

 รูปแบบการฝึกของคนกรุ๊ปนี้สามารถฝึกได้หลายรูปแบบ หรือเรียกว่า สายผสมก็ได้เนื่องจากร่างกายให้มาดี การคาร์ดิโอสำหรับคนกรุ๊ปนี้ ช่วงระยะเวลาอยู่ที่ 45 นาทีขึ้นไป ยิ่งถ้าช่วงใกล้การแข่งขัน อาจจะเพิ่มเป็น 1 ชม ถึง 1.30 ชม.

นักกีฬาเพาะกายระดับโลกที่อยู่ในกรุ๊ปนี้ Arnold Schwazenegger

**********3.Endomorph********** 

สำหรับคนกรุ๊ปสุดท้าย ลักษณะที่โดดเด่นออกมาคือรูปร่างใหญ่ ตัวหนาเป็นบล็อคเป็นตู้เย็น มีซี่โครงหนา ข้อต่อหนา ไหล่กว้างมาก สะโพกกว้าง ขาแขนสั้น ช่วงกล้ามเนื้อลำตัวสั้น กล้ามเนื้อท้องล้นออกมา ระบบการเผาผลาญของคนกรุ๊ปนี้ต่ำซึ่งทำให้สะสมไขมันได้ง่าย มีมวลกล้ามเนื้อที่สะสมอยู่เยอะกว่า Ectomorph และ Mesomorph แต่ด้วยปริมาณไขมันที่มีมากกว่ากล้ามเนื้อ ทำให้ดูอ้วนตุ๊ต๊ะ

*****อาหาร*****
 สำหรับคนกรุ๊ปนี้จะลำบากกว่า 2 กรุ๊ปแรกหน่อยเพราะต้องคอยควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแคลลอรี่เยอะ ๆ ไขมันเยอะ ๆ พวกของหวาน อาหารฟาสท์ฟู๊ด จังก์ฟู๊ด อย่าได้แต่ เน้นโปรตีนเป็นหลักเช่นกัน ปริมาณคาร์บน้อยกว่าโปรตีนอยู่ที่ 40-50% ของอาหารต่อมื้อ สามารถนำมื้อหลักมาแบ่งกินยิบย่อยได้ แต่ไม่กินจุบจิบ

*****การฝึกหรือการออกกำลังกาย*****
 กรุ๊ปนี้ควรฝึกแบบจำนวนครั้งเยอะ ๆ (High reps) เพราะที่ผมยกโปรแกรมการฝึกแบบนี้มาให้คนกรุ๊ปนี้ เพื่อเร่งการเผาผลาญในร่างกายให้สูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อที่จะได้เผาผลาญปริมาณไขมันสะสมที่มีมาแต่ก่อนออกให้หมด คนกรุ๊ปนี้อาจจะวิ่งเข้ายิมบ่อยกว่า 2 กรุ๊ปแรก ถ้าต้องการรูปร่างที่สวยงาม สำหรับการคาร์ดิโอของคนกรุ๊ปนี้ ระยะเวลาในการคาร์ดิโอต่อวันคือ 1-1.30 ชม

นักกีฬาเพาะกายระดับโลกที่อยู่ในกรุ๊ปนี้ Jay Cutler

 จัดทำและเรียบเรียงโดย Admin - Peter เอกสารอ้างอิง http://www.bodybuilding.com/fun/becker3.htm
อ่านบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

มารู้จัก AEC กันเถอะ

BY Art


อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ ในทวีปเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม


แต่ ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมือง ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูต ระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย ควรทำความ เข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน


ความเป็นมาของอาเซียน 

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) หรือ ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุส-ซาลาม เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา ตามลำดับ จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน มีสมาชิก 10 ประเทศ

“อาเซียน” สู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 

 ปัจจุบัน บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้อาเซียนต้องเผชิญ สิ่งท้าทายใหม่ๆ อาทิ โรคระบาด การก่อการร้าย ยาเสพติด การค้ามนุษย์ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ อีกทั้ง ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง และในเวทีระหว่างประเทศ ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น เข้มแข็ง และมั่นคงยิ่งขึ้น จึงได้ประกาศ “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2” (Declaration of ASEAN Concord II) ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่

 - ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community - APSC) มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้าน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน

 - ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย

- ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาร โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นมาเป็นภายในปี 2558 ประชาคมอาเซียน คือ

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

คือ การรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง สามารถสร้างโอกาสและรับมือส่งท้าท้าย ทั้งด้านการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น และสมาชิก ในชุมชนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

จุดประสงค์หลักของอาเซียน

ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
 7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

คำขวัญของอาเซียน 

 "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม” (One Vision, One Identity, One Community)

 
อ่านบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

น้ำปราศจากแร่ธาตุมากจากไหน? (Demineralized Water)

By P'Jeerawat



น้ำ DMW คือ น้ำที่ผ่านขบวนการขจัดอิออนของสารละลายทั้งหมด ทำให้ได้น้ำบริสุทธิ์ที่ปราศจากเกลือแร่ ไม่มีสารใดๆหลงเหลืออยู่ในน้ำอีก มีเพียงแต่โมเลกุลของน้ำบริสุทฺธิ์ล้วนๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า น้ำ ดีมีน (Demineral  Water) ไม่เหมาะสำหรับการดื่ม แต่มีประโยชน์อย่างมากในการทำยา เภสัชกรรม เครื่องสำอาง อุตสาหกรรมเครื่องมืออิเล็กโทรนิกส์ กระบวนการผลิตอาหาร กิจการเสริมความงาม ฯลฯ
x
การผลิตน้ำ DMW คือการกรองอิออนออกจากน้ำ โดยใช้เรซิน (Resin) เป็นตัวกรอง จึงต้องทำความเข้าใจกับเรซิ่น ที่ใช้ในขบวนการกรองแบบนี้ เรซิ่นที่ใช้กันอยู่มี 3 ชนิดได้แก่

แคทอิออนเรซิ่น (Cation Resin) เป็นเรซิ่นที่มีอิออนบวก (ประจุ+) เกาะอยู่บนพื้นผิวของเม็ด เรซิ่น เช่น H+ ใช้ดักจับ อิออน + ของสารละลายที่อยู่ในน้ำ

แอนอิออนเรซิ่น (Anion Resin) เป็นเรซิ่นที่มีอิออนลบ (ประจุ-) เกาะอยู่บนพื้นผิวของเม็ดเรซิ่น เช่น OH- ใช้ดักจับ อิออน – ของสารละลายที่อยู่ในน้ำ

มิกซ์เบดเรซิ่น (Mixed Bed Resin) เป็น แคทอิออนเรซิ่น ผสมกับ แอนอิออนเรซิ่น ใช้ดักจับทั้ง อิออน + และ – ที่หลงเหลือจากการกรองผ่านขบวนการกรองประจุ+ และ – ในขั้นต้น


การทำงานของเรซิ่น

  รูปที่1 เป็นรูปตัวอย่าแสดง แคทอิออนเรซิ่น และ แอนอิออนเรซิ่น ที่มีประจุ หรือ อิออน เกาะติดอยู่ที่เม็ดของเรซิ่น แคทอิออนเรซิ่นจะมีประจุ + ,แอนอิออนเรซิ่นจะมีประจุ – ประจุที่เกาะติดอยู่นี้จะเกาะติดอยู่แบบหลวมๆ พร้อมที่จะถูกแทนที่ด้วยประจุที่แข็งแรงกว่า



 รูปที่ 2 ปล่อยน้ำให้เข้าในระบบการกรอง ในน้ำประกอบด้วยสารละลายหลายชนิด ในที่นี้ยกตัวอย่าง เพียง 6 ตัวตามรูป สารละลายในน้ำจะแตกตัวเป็น อิออน ที่มีประจุ – และ + รวมกันอยู่



 รูปที่ 3 เมื่อน้ำเข้ากระทบเม็ดแคทอิออนเรซิ่น ซึ่งมีประจุ H+ เกาะอยู่ จะถูกอิออนของสารละลายในน้ำที่มีประจุเดียวกัน(+)ออกแรงผลักอิออน H+



 รูปที่ 4 อิออน + ของสารละลายในน้ำที่มีความแข็งแรงกว่าจะเข้าแทนที่ อิออน H+ ผลัก H+ ให้ตกหล่นอยู่ในน้ำ ดังนั้นน้ำที่ผ่านการกรองด้วย แคทอิออนเรซิ่น จะเหลือเพียงอิออน – ของสารละลายในน้ำ กับอิออน H+



รูปที่ 5 น้ำจะไหลผ่านขั้นตอนการกรองด้วยแอนอิออนเรซิ่น เมื่อน้ำเข้ากระทบเม็ดแอนอิออนเรซิ่น ซึ่งมีประจุ OH-เกาะอยู่ จะถูกอิออนของสารละลายในน้ำที่มีประจุเดียวกัน(-)ออกแรงผลักอิออน OH-



รูปที่ 6 อิออน - ของสารละลายในน้ำที่มีความแข็งแรงกว่าจะเข้าแทนที่ อิออน OH- ผลัก OH- ให้ตกหล่นอยู่ในน้ำ ดังนั้นน้ำที่ผ่านการกรองด้วย แอนอิออนเรซิ่น จะไม่เหลืออิออนใดๆของสารละลายในน้ำ จะเหลือเพียง H+ และ OH- ในน้ำเท่านั้น ต่อไปต้องทำความเข้าใจว่าน้ำบริสุทธิ์ที่เขียนเป็นสูตรทางเคมีว่า H2O คือน้ำประกอบด้วย H (Hydrogen) 2 ตัว และ O (Oxygen) 1 ตัว



จากรูปที่ 7 เมื่อน้ำผ่านการกรองด้วย Cation Resin และ Anion Resin แล้วจะเหลือแต่น้ำบริสุทธิ์รวมกับอิออน H+ และ OH- ที่มีประจุแตกต่างกันในน้ำ ประจุที่แตกต่างกันจะออกแรงดูดกันเพื่อทำให้เกิดความสมดุล ดังนั้น H+ กับ OH- จึงเข้ารวมกัน เกิดเป็นโมเลกุลนองน้ำบริสุทธิ์ น้ำที่ได้จากการผ่านการกรองนี้ จึงเป็นน้ำบริสุทธิ์แท้จริง ไม่มีเกลือแร่หรืออิออนใดๆหลงเหลืออยู่เลย

การทดสอบคุณภาพของน้ำปราศจากไอออนสามารถทำได้โดยการวัดค่าความต้านทานหรือค่าความจุไฟฟ้าเพราะน้ำปราศจากไอออนที่บริสุทธิ์จะมีค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity) ประมาณ 0.056 microseimens และค่าความต้านทานไฟฟ้า ประมาณ 18.2 megohm/cm


รูปแบบต่างๆของการผลิตน้ำ DMW



 รูปที่ 8 เป็นรูปพื้นฐานการกรอง อิออน เพื้อผลิตน้ำ DMW



รูปที่ 9 การกรองอิออน จากขั้นตอนที่ 1 ผ่านขั้นตอนที่ 2 อาจมีอิออน ประจุ - + หลงเหลืออยู่ อาจเพิ่มเติมขั้นตอนที่ 3 คือใช้ Mixed Bed Resin ซึ่งเป็นเรซิ่นที่มีส่วนผสมของ Cation Resin และ Anion Resin อยู่ด้วยกัน เพื่อดักจับ อิออน + และ – ที่หลุดรอดมาจากขั้นตอนก่อนหน้า



 รูปที่ 9-1 ในบางกรณีจะพบการกรอง อิออน โดยผ่านขั้นตอนเดียวคือใช้ Mixed Bed Resin ก็ได้ แต่ต้องเลือกประเภท Resin ที่มีประสิทธิภาพดี และราคาค่อนข้างแพง



รูปที่ 10 อย่างไรก็ตามการกรองทั้งหมดที่ผ่านมา แม้นจะกรองอิออนได้หมดสิ้นแต่ไม่อาจกรองจุลินทรีย์ แบคทีเรียต่างๆที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำได้ และจุลินทรีย์เหล่านี้มีความสามารถในการเกาะยึดติดอยู่บนเม็ดเรซิ่น ทำให้เกิดการสะสมทำลายเรซิ่นให้เสื่อมคุณภาพได้อย่างรวดเร็ว จึงนำมาใช้ร่วมกับการกรองในแบบอื่นๆ เช่นตัวอย่าง รูปที่ 10 ให้ผ่านระบบการเตรียมน้ำ (Water Pretreatment) โดยใช้กรอง PP 5 ไมครอนกรองตะกอนในชั้นแรก แล้วจึงผ่านกรองเซรามิดเพื่อสกัดกั้นจุลินทรีย์แบคทีเรีย แล้วกรองผ่านคาร์บอน เพื่อดูดซับสารพิษ คลอรีน กลิ่น สี ออกจากน้ำ ก่อนผ่านเข้าสู่ขบวนการ DMW



รูปที่ 11 เป็นระบบกรองที่เรียกกันทั่วไปว่า RO/DMW เป็นขบวนการผลิตที่ให้คุณภาพน้ำ DMW ที่ดีมากระบบหนึ่ง จากการเตรียมน้ำด้วยระบบ RO จึงได้น้ำที่เกือบจะบริสุทธิ์ 100% มีสารละลายหลงเหลืออยู่น้อยมาก และไม่มีจุลินทรีย์ใดๆหลงเหลืออยู่ เมื่อผ่านเข้าระบบกรอง DMW ทำให้เรซิ่นดักจับ อิออนประจุต่างๆได้ง่าย เรซิ่นมีอายุการใช้งานได้ยาวนาน
อ่านบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คุณสมบัติผู้นำ 10 ประการ

By Prasit

วันนี้พี่สิทธิ์มาแบ่งปันบทความเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้นำ 10  ประการ ใครมีข้อไหนแล้วบ้างไปดูกันเลย




คุณสมบัติผู้นำ  10 ประการ
1.  กล้าเปลี่ยนแปลง
2.  มีจิตวิทยา   มีมนุษยสัมพันธ์
3. จูงใจคนได้ดี
4.  มีความรับผิดชอบสูง
5.  มีทั้งความยืดหยุ่นและเด็ดขาด
6.  มีทั้งความรอบรู้   มีสังคม
7.  เป็นนักประสานงานที่ดี
8.  มีความกระตือรือร้น
9.  ทำงานเคียงข้างลูกน้อง
10.มีความน่านับถือ

ต้องสังเกตการณ์ทำงานของลูกน้องแต่ละคนในทีมงานด้วยว่ามีใครกำลังเอาเปรียบเพื่อนอยู่หรือไม่   เพราะบางคนอาจชอบอู้   ทำงานน้อยปล่อยให้เพื่อนคนอื่นเหนื่อยมากกว่า   ซึ่งกรณีอย่างนี้หัวหน้างานต้องสังเกตด้วยตนเองด้วย   คนทำงานหนักบางคนอาจจะไม่ใช่คนที่ชอบฟ้องแม้เมื่อถูกเอาเปรียบ
                

 ­อย่าใส่ใจความผิดเล็กๆ  น้อย  ที่เรารู้ดีว่าเป็นเรื่องการเมือง  เช่น  ลูกน้องลาป่วยทั้งๆ   ที่ไม่ได้ป่วยจริง   เราก็ไม่จำเป็นต้องไปสืบค้นว่าทำไมเขาต้องโกหกตราบใดที่เขายังคงตั้งใจทำงาน   เว้นแต่ว่าบุคคลนั้นมีท่าจะขายไอเดียภายในองค์กรให้บริษัทอื่นๆ   หรือมีพฤติกรรมส่อให้เห็นมาก่อนว่าไม่เอาใจใส่ในงาน   กรณีเช่นนั้นจึงค่อยตรวจสอบเขาอย่างจริงจัง              

พยายามวางแผนงานล่วงหน้า   เพื่อจะได้มองเห็นแนวโน้มของการตัดสินใจได้   เลี่ยงการตัดสินใจอย่างเร่งด่วนสำหรับอุปสรรคที่เกิดขึ้นเพราะวางแผนงานผิดพลาด

อย่ามุ่งเน้นแต่การสร้างงาน   ต้องเรียนรู้เรื่องของกระแสความต้องการของหน่วยงานอื่นและบรรดาคู่แข่งอื่นๆ  ด้วย   โดยไม่นึกถึงผลกระทบที่จะตามมาว่าจะเกิดผลอย่างไร

หัวหน้า คือ  ผู้จับผิดแทนองค์กรว่าบุคลากรคนใดทำงานด้วยความรักองค์กร   คนใดทำงานด้วยเพราะมีไฟแห่งการสร้างสรรค์    คนใดมุ่งมั่นเพื่อผลประโยชน์ขององค์กร   และคนใดทำงานเพียงเพื่อให้มีงานทำ

พิจารณาส่งเสริมลูกน้องที่มีความขยัน  และมีอุปนิสัยใจคอดี   แม้ว่าฝีมือการทำงานอาจจะไม่โดดเด่นนัก  ควรหาทางส่งเขาไปฝึกอบรมการสนับสนุน   คนนิสัยดีย่อมเป็นประโยชน์แก่องค์กรมากกว่าสนับสนุนคนที่ทำงานได้ดีแต่มิได้เป็นที่ชื่นชมของของทุกคนนัก

ความโกรธ   ความเสียใจ  คนเป็นหัวหน้าทีมต้องแสดงออกแต่น้อยหากอยู่ในที่ทำงาน   ไม่มีลูกน้องคนใดจะนับถือศรัทธาผู้จัดการที่อ่อนแอและอ่อนไหวจนเกินไป

อย่าปกปิดความผิดของลูกน้อง  เมื่องานผิดพลาดก็ต้องช่วยกันรับผิดชอบและแก้ไข   แต่ไม่ใช่ช่วยกันปิดไว้ไม่ให้ผู้บริหารระดับสูงรับรู้ว่าเกิดการผิดพลาดในผลงาน   ต้องกล้าจะรับผิด   ขณะเดียวกันก็ต้องแจ้งให้ผู้บริหาร   ทราบถึงแนวทางการป้องกันการเกิดปัญหาเช่นนี้ที่ได้วางแผนไว้แล้ว

ป็นหัวหน้างานที่เที่ยงธรรมอย่ามีอคติกับลูกน้องเพราะมันจะนำไปสู่การตัดสินใจด้วยอคติเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นอย่าลุ่มหลงในการการยกยอปอปั้น   หัวหน้าที่หูเบาย่อมกำกับควบคุมทีมให้สร้างผลงานที่ดีได้ยาก

แนะนำลูกน้องคนใหม่ให้ทุกคนในทีมงานได้รู้จัก   แล้วให้คนพาเขาไปดูส่วนต่างๆ    ของบริษัทให้ทั่วถึง   มิว่าจะเป็นห้องน้ำ   มุมกาแฟ   หรือที่จอดรถ   ควรต้อนรับและดูแลคนใหม่อย่างดี  แม้ว่าเขาจะอยู่ในฐานะลูกจ้างชั่วคราวหรือเด็กฝึกงานก็ตาม

พาทีมงานไปเลี้ยงอาหารกลางวันหรืออาหารเย็น เลี้ยงส่ง  หรือ  เลี้ยงอำลา  ในยามที่คนในทีมงานลาออก   อย่าลืมร่วมกันเขียนอวยพร  ในการ์ดใบเดียวกัน   หรือาจรวมกันซื้อของขวัญพิเศษสักชิ้นให้เขา  เพื่อทุกคนจะได้สนิทสนมรักใคร่กันดี 

ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีกับลูกน้องในทุกๆ   ด้าน   ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัว   การวางตัว   ความเอาใจใส่ในการทำงาน    ความมีอารมณ์ขัน   การสร้างสรรค์บรรยากาศการทำงานให้มีสีสัน   และการทำงานโดยมุ่งหวัง   ความเป็นเลิศในผลของงาน

คนทำงานย่อมรู้ถึงขั้นตอนการทำงานและปัญหาต่างๆ   ได้เป็นอย่างดีผู้เป็นหัวหน้า      ควรหาโอกาสลงไปร่วมช่วยงานของลูกน้อง   แต่ละคนบ้างหากมีโอกาส   เพื่อจะได้มองเห็นปัญหาว่าควรจะบริหารงานนั้นอย่างไรให้ถูกทาง   และควรเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ร่วมเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำงานบางประการที่พวกเขาย่อมเขาใจในสภาวะต่าง ๆ ได้ดีกว่าเรา

หัวหน้างานมีหน้าที่โดยตรงที่จะคอยไกล่เกลี่ย   ประนีประนอม  คนในทีมงานที่มีความขัดแย้งกัน  อย่าปล่อยให้เขาไม่พอใจกันในขณะที่ต้องทำงานร่วมกัน  ถ้ามีปัญหาของความขัดแย้งคอนข้างจะรุนแรงเกินความสามรถของคุณก็ให้นำความไปปรึกษาผู้บริหารระดับสูงเพื่อให้เกิดการพิจารณานาหนทางแก้ไขอย่างยุติธรรม   ต่อคู่กรณีทั้งสอง

เข้าร่วมรับการอบรมทักษะผู้นำและศิลปะของการบริหารงาน   เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง   อย่าคิดว่าเวลามีน้อยถ้าคุณไม่สามรถบริหารเวลาของตนเองได้และไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาตนเอง   ก็แสดงว่าคุณยังไม่ใช่ผู้นำที่ดีนัก


สรุปได้ว่า  การที่จะเป็นผู้นำที่ดี  จะต้องยึดในหลัก  10  ประการนี้  เพื่อการบริหารในแต่ละหน่วยงาน  แต่ละองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ  พร้อมทั้งการได้รับความรัก  และความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้ร่วมงาน  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นแนวทางดีที่สำหรับผู้ที่จะก้าวเป็นผู้บริหาร  หรือผู้ที่เป็นอยู่แล้ว  นำไปปฏิบัติหรือนำไปปรับใช้  เพื่อการบริหารงานในหน่วยงานให้ประสบความสำเร็จในอนาคต
อ่านบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Proximity sensor)

By K.Chamnong


พร๊อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Proximity Sensor) หรือ พร็อกซิมิตี้สวิตซ์ (Proximity Switch) คือ เซนเซอร์ชนิดหนึ่งที่สามารถทำงานโดยไม่ต้องสัมผัสกับชิ้นงานหรือวัตถุภายนอก โดยลักษณะของการทำงานอาจจะส่งหรือรับพลังงานรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ สนามแม่เหล็กสนามไฟฟ้า แสง เสียง และ สัญญาณลม ส่วนการนำเซนเซอร์ประเภทนี้ไปใช้งานนั้น ส่วนใหญ่จะใช้กับงานตรวจจับ ตำแหน่ง ระดับ ขนาด และรูปร่าง ซึ่งโดยปกติแล้วจะนำมาใช้แทนลิมิตสวิตซ์ (Limit Switch) เนื่องด้วยสาเหตุของอายุการใช้งานและความเร็วในการตรวจจับวัตถุเป้าหมาย ทำได้ดีกว่าอุปกรณ์ประเภทสวิตซ์ซึ่งอาศัยหน้าสัมผัสทางกล

คุณสมบัติเด่น

- สามารถตรวจจับได้โดยไม่มีการสัมผัส

- สามารถใช้งานได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย

- ตรวจจับด้วยความแม่นยำ

- ตอบสนองต่อการทำงานได้รวดเร็วกว่า

- สามารถแยกการตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะ อโลหะและแม่เหล็กได้

- อายุการใช้งานยาวนาน

- จะมีระยะการตรวจจับวัตถุ โดยทั่วๆไป อยู่ระหว่าง 4-40 mm ขึ้นอยู่กับขนาด และ ชนิดของ Sensors 




 ประเภทของ proximity switch type

1.เซนเซอร์แบบเหนี่ยวนำ (Inductive Sensor) เป็นเซนเซอร์ที่ทำงานโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงค่าความเหนี่ยวนำของขดลวด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลต่อชิ้นงานหรือวัตถุที่เป็นโลหะเท่านั้น หรือเรียกกันทางภาษาเทคนิคว่า อินดั๊กตีฟเซนเซอร์ ”  ข้อเด่นของเซนเซอร์ชนิดนี้ คือ ทนทานสามารถทำงานได้ในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง (wide temperature ranges) สามารถทำงานในสภาวะที่มีการรบกวนทางแสง (Optical) และเสียง (Acoustic) ซึ่งเทียบเท่ากับชนิดเก็บประจุ



พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำ (inductive proximity sensor) เป็นเซนเซอร์ (sensor) ที่ใช้ตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะเท่านั้น เช่น เหล็ก สแตนเลส โครงสร้างประกอบด้วย สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ขดลวดออสซิลเลเตอร์ ตัวเรือน และแกนเฟอร์ไรท์ ทำงานโดยอาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่กำเนิดขึ้นจากวงจรออสซิลเลเตอร์ โดยกำเนิดสัญญาณส่งให้ขดลวดซึ่งพันอยู่บนแกนเฟอร์ไรท์ ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณด้านหน้าของอุปกรณ์ เรียกบริเวณนี้ว่า "ส่วนตรวจจับ" เมื่อมีวัตถุเป้าหมายซึ่งต้องเป็นโลหะเท่านั้นเคลื่อนที่เข้ามาบริเวณส่วนตรวจจับ สนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะเหนี่ยวนำในวัตถุที่ต้องการตรวจจับ ทำให้เกิดมีกระแสไหลวน (eddy current) ขึ้นภายในวัตถุ หรือวัตถุเป้าหมายทำการดูดซับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จนเมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งที่วัตถุเป้าหมายได้ดูดซับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจนหมด หรือเกิดการเหนี่ยวนำมากที่สุด วงจรออสซิลเลเตอร์จะหยุดทำงาน จากนั้นวงจรทริกเกอร์จะทำงานและให้สัญญาณทางด้านเอาต์พุตออกมา ส่วนประกอบของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำแสดงดังรูป 

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำ ได้แก่

การบอกตำแหน่งการเคลื่อนที่ของลิฟท์ โดยติดตั้งแผ่นโลหะที่บริเวณส่วนบนเหนือเพดานลิฟท์ให้ตรงกับตำแหน่งที่ติดตั้งตัวพร็อกซิมิตี้ไว้ในแต่ละชั้น เมื่อลิฟท์เคลื่อนที่มายังตำแหน่งที่แผ่นโลหะตรงกับตัวพร็อกซิมิตี้ จะมีสัญญาณเอาต์พุตออกมา เพื่อแจ้งระบบให้ทราบว่ามีการเคลื่อนที่มายังจุดที่กำหนดไว้แล้ว จากนั้นระบบควบคุมจะสั่งให้ลิฟท์หยุดและเปิดประตูออกมา หลักการดังกล่าวนี้ ยังนำไปใช้สำหรับการแจ้งตำแหน่งที่ลิฟท์หยุดได้อีกด้วย อีกตัวอย่างคือ การใช้พร็อกซิมิตี้สำหรับตรวจสอบการลำเลียงชิ้นโลหะบนสายพาน (conveyor) เพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นงานเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งที่กำหนดไว้ เป็นต้น
การตรวจสอบการปิดฝาขวดที่เป็นโลหะด้วยพร๊อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำ โดยติดตั้งตัวพร็อกซิมิตี้ไว้ที่บริเวณเหนือปากขวด เมื่อขวดพร้อมฝาปิดลำเลียงมาบนสายพานผ่านมาบริเวณส่วนตรวจจับของตัวพร็อกซิมิตี้ ฝาปิดจะดูดซับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไว้ จากนั้นวงจรจะทำงานและให้สัญญาณเอาต์พุตแจ้งว่าขวดนั้นมีฝาปิด และหากขวดที่เคลื่อนที่ผ่านพร็อกซิมิตี้ไม่มีฝาปิด สัญญาณทางด้านเอาต์พุตจะแสดงในรูปแบบตรงกันข้ามกับกรณีแรก และแจ้งไปยังส่วนควบคุมให้คัดขวดใบนั้นออกจากสายพานลำเลียง ในกรณีที่ตรวจพบขวดไม่มีฝาปิดจำนวนมากถึงระดับหนึ่ง ระบบควบคุมจะสั่งการให้หยุดการทำงานของสายพานลำเลียง (conveyor) ทันที เพื่อทำการตรวจสอบกระบวนการผลิตก่อนหน้านั้น
การตรวจสอบการเปิดปิดฝาหม้อฆ่าเชื้อ (retort) และหม้อนึ่ง (cooker) ด้วยพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำ เนื่องจากหม้อฆ่าเชื้อและหม้อนึ่งทำงานภายใต้สภาวะความดัน (pressure) สูงกว่าบรรยากาศ จึงควรมีระบบนิรภัยที่ดีเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน โดยติดตั้งพร็อกซิมิตี้ที่บริเวณฝาเพื่อตรวจสอบความพร้อมในการปฏิบัติงานของหม้อฆ่าเชื้อและหม้อนึ่งว่าฝาอยู่ในสถานะพร้อมทำงานหรือไม่ 



2. เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุ (Capacitive Sensor) โครงสร้างพื้นฐาน ของ Capacitive Proximity Switch จะมีลักษณะคล้ายกับแบบ Inductive Proximity Switch จะมีส่วนต่างกันที่หัวตรวจจับ (Active Electrode) ซึ่งจะใช้ หลักการเปลี่ยนแปลงของค่าคาปาซิแตนซ์ (Capacitance) capacitive proximity sensor จะสร้าง สนามไฟฟ้าสถิตย์ (electrostatic) มาแทนที่จะเป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจึงทำให้ capacitive proximity sensor นี้สามารถที่จะตรวจจับวัตถุที่เป็นทั้งโลหะและอโลหะได้ ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบของเซนเซอร์ประเภทนี้

 



พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุ (capacitive proximity sensor) เป็นเซนเซอร์ (sensor) อีกชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับตรวจจับวัตถุโดยไม่ต้องสัมผัส ใช้ตรวจจับวัตถุได้ทุกชนิดทั้งที่เป็นโลหะและอโลหะ เช่น แก้ว น้ำ ไม้ พลาสติก กระดาษ และอื่น ๆ โดยความสามารถในการตรวจจับขึ้นอยู่กับค่าคงที่ไดอิเล็กตริก (dielectric constant, k) ของวัตถุ พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุมีลักษณะรูปร่าง และโครงสร้างคล้ายกับพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเหนี่ยวนำ (inductive proximity sensor) แต่ใช้หลักการทำงานที่แตกต่างกัน

พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุ ทำงานโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงค่าความจุ เมื่อวัตถุเป้าหมายเคลื่อนที่เข้ามาใกล้สนามไฟฟ้าที่กำเนิดโดยแอกทีฟอิเล็กโทรดและเอิทธ์อิเล็กโทรด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างหน้าพร็อกซิมิตี้และวัตถุเป้าหมาย ขนาดและรูปร่างของวัตถุ และชนิดของวัตถุเป้าหมาย (ค่าคงที่ไดอิเล็กตริก) เมื่อค่าความจุเปลี่ยนแปลงจนถึงค่า ๆ หนึ่ง ซึ่งเท่ากับค่าความต้านทานที่ปรับไว้ในตอนเริ่มต้น จะส่งผลให้เกิดการออสซิลเลทสัญญาณขึ้นและส่งต่อให้เอาต์พุตทำงาน เรียกสภาวะที่เกิดขึ้นนี้ว่า อาร์-ซี รีโซแนนซ์ (R - C Resonance) ส่วนประกอบและการทำงานของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุ




 

 




ขอขอบคุณบทความดีๆจาก 

www.inno-ins.com
การวัดและเครื่องมือวัด ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (นวภัทรา และ ทวีพล , 2555)
​www.foodnetworksolution.com (ศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, ผศ.ดร.นวภัทรา หนูนาค
อ่านบทความทั้งหมด