โดย น้องนุ่น และน้องเกมส์
สวัสดีค่ะ ฉบับนี้ก็เป็นฉบับแรกของพวกเรานะค่ะ ในความรู้ฉบับนี้ เราก็จะของนำเสนอ ความรู้เรื่อง pH (พีเอช) ทุกคนคงเคยได้ยินหรือรู้จักกันบ้างแล้ว
pH ( pH ย่อมาจาก Potential of Hydrogen ion) เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรดเป็นเบสของสารเคมีจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจนไอออน (H+) สามารถทดสอบได้หลายวิธี โดยวิธีที่นิยมและง่ายสุดที่พวกเรารู้จักกันดีก็คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสจากการเปลี่ยนสี
สำหรับตัวเลขที่แสดงค่า pH ความเป็นกรด-ด่าง (พีเอช) pH มีค่าตั้งแต่ 0 - 14
สภาพเป็นกรด (Acid) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH ต่ำกว่า 7
สภาพเป็นด่าง/เบส (Base) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH มากกว่า 7
สภาพเป็นกลาง (Neutral) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH เท่ากับ 7
ตัวอย่างค่าพีเอชของสารต่าง ๆ
สาร pH
วิธีวัดค่ากรด-ด่าง พีเอช pH
1.กระดาษวัดความเป็นกรดด่าง (pH paper)
• กระดาษเทียบสี pH Paper
• กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบความเป็นกรด-ด่าง (พีเอช) pH กระดาษลิตมัส มี 2 สี คือ สีแดงและสีน้ำเงิน
สารละลายสามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน สารนั้นมีสมบัติเป็นเบส (ค่า pH มากกว่า 7 )
2. ชุดทดสอบกรดด่าง พีเอช pH test Kit
โดยการหยดน้ำยาลงในน้ำตัวอย่าง (5 ml.) แล้วเทียบสีกับแผ่นเทียบสี
3. เครื่องวัดกรดด่าง พีเอชมิเตอร์ pH Meter
pH Meter, PH-110 pH Meter, PH-222 pH Meter, PH-211 pH Meter, PH-230SD
หลักการทำงานพีเอช pH Meter
พีเอชมิเตอร์ (pH meter) เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิก มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ อิเล็กโทรด และ เครื่องวัดศักย์ไฟฟ้า (volt meter) เครื่องวัดศักย์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนค่าศักย์ไฟฟ้าที่วัดได้ให้เป็นค่า pH
การปรับเทียบมาตรฐาน (calibration)
ก่อนการใช้งาน จะต้องปรับเทียบมาตรฐาน(Calibration) โดยการปรับเทียบกับสารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐาน โดยการปรับที่นิยมใช้ คือระบบ two-point calibration ซึ่งจะปรับช่วง pH ที่ต้องการวัดด้วยสารบัฟเฟอร์ 2 ค่า เช่น pH 4 และ 7 หรือ pH 7 และ 10 ที่มีค่าครอบคลุมในช่วงที่ต้องการวัด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้อง
วิธีการวัด
ทำได้โดยล้างอิเล็กโทรดด้วยน้ำปราศจากไอออน (deionized water) หรือน้ำกลั่น (distilled water) และซับด้วยกระดาษทิชชู แล้วรีบจุ่มอิเล็กโทรดลงในสารละลายที่ต้องการวัดอย่างรวดเร็ว
การบำรุงรักษาเครื่องวัดพีเอช
เครื่องวัดพีเอชเป็นเครื่องมือ electronic จึงอาจจะชำรุดเสียหายได้โดยง่าย หัววัดของเครื่องวัดพีเอชอาจขาดความแม่นยำในการวัดได้ง่าย ถ้าบำรุงรักษาไม่ถูกต้องและไม่ดีพอ ดังนั้นจึงมีข้อควรระวังในการบำรุงรักษาดังนี้
1. เมื่อใช้เครื่องวัดพีเอชเสร็จแล้วควรล้างหัววัดด้วยน้ำกลั่น หรือสารละลายอื่นๆ ที่ล้างคราบสกปรกที่จับที่ผิวนอกเมมเบรน (acetone, alcohol, HCl 1 M) ทุกครั้งก่อนเก็บเพื่อป้องกันคราบสกปรกที่จับตัวแน่นจนทำความสะอาดยาก จากนั้นเช็ดให้แห้งแล้วปิด (สวม) ปลายหัววัดด้วย rubber cap ที่บรรจุด้วยสารละลาย KCl 3 mol/L
2. อาจจะมีตะกอนเกาะตามช่องหัววัด ทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนในการวัดได้ วิธีการแก้ไขง่ายๆ เบื้องต้นคือ แช่หัววัดในน้ำอุ่นหรือกรดเกลือเพื่อให้ตะกอนละลายและหลุดออก
3. หัววัดทุกรุ่นมีอายุจะเสื่อมสภาพตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่ถูกนำมาใช้ จึงไม่ควรเก็บ Stock ไว้นานเกินไป
4. ห้ามเก็บหัววัดในน้ำกลั่น หรือในสารละลายบัฟเฟอร์ หรือกรดใดๆ ทั้งสิ้นเนื่องจากจะทำให้หัววัดเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
5. ก่อนใช้งานควรล้างหัววัดให้สะอาด เนื่องจากการแช่ในน้ำยาเก็บหัววัด (สารละลาย KCl 3 mol/L) จะสร้างฟิล์มบาง ๆ ที่เมมเบรน ซึ่งจะทำให้การวัดค่าพีเอชไม่ถูกต้อง และไม่ควรทำการ Calibrate ทันทีหลังจากการเริ่มนำมาใช้ แต่ควรแช่ในสารละลายบัฟเฟอร์จุดแรกก่อนเพื่อให้เกิดการสมดุลย์
6. หัววัดที่มีรู diaphram (รูเล็ก ๆ ที่เป็นทางไหลออกของ electrolyte, gel ในหัววัด) ถ้าเกิดการอุดตันจำเป็นต้องล้างด้วยน้ำยา diaphram cleaning solution โดยแช่ทิ้งไว้ได้นาน 1-24 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับความสกปรก
7. หัววัดชนิด Refill ที่มีรูไหลเป็นรูเปิดแล้วปิดด้วย Teflon Cap ก่อนใช้หรือทุกครั้งที่เลื่อน Cap ลงมาทำความสะอาด เมื่อจะนำไปใช้ต้องเลื่อน Teflon Cap มาปิดให้แน่นแล้ว Fix โดยแช่น้ำอุ่น 60-70 องศาเซลเซียส 5 นาที แล้วแช่ในน้ำ 20-30 องศาเซลเซียสทันที เพื่อทำให้ Teflon Cap ติดแน่นขึ้น (หากไม่ทำเช่นนี้จะทำให้เปลือง electrolyte มากขึ้น)
8. หัววัดชนิดที่ต้องเติม electrolyte จะต้องเปิดจุกยาง หรือเจาะรูปให้อากาศไหลเข้าในขณะที่ทำการวัดเพื่อป้องกันไม่ให้ภายในหลอดเป็นสุญญากาศ
9. การ calibrate ด้วยสารละลายบัฟเฟอร์ที่มีคุณภาพดีทุก 2-4 สัปดาห์ ดีกว่าการใช้สารละลายบัฟเฟอร์เก่า calibrate ทุกวัน
10. หัวใจของพีเอชสุดท้ายอยู่ที่สารละลายบัฟเฟอร์ หากเปิดขวดบ่อยๆ จะทำให้ค่า buffer capacity ลดลง ดังนั้นควรใช้งานให้หมดภายใน 1 เดือน
ค่ะ สำหรับฉบับนี้ก็เป็นฉบับแรกของพวกเรา อาจมีอะไรตกหล่นไปบ้างก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วนนะค่ะ ขอบคุณค้า แล้วเจอกันฉบับหน้านะค้า
สำหรับตัวเลขที่แสดงค่า pH ความเป็นกรด-ด่าง (พีเอช) pH มีค่าตั้งแต่ 0 - 14
สภาพเป็นกรด (Acid) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH ต่ำกว่า 7
สภาพเป็นด่าง/เบส (Base) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH มากกว่า 7
สภาพเป็นกลาง (Neutral) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH เท่ากับ 7
ตัวอย่างค่าพีเอชของสารต่าง ๆ
สาร pH
วิธีวัดค่ากรด-ด่าง พีเอช pH
1.กระดาษวัดความเป็นกรดด่าง (pH paper)
• กระดาษเทียบสี pH Paper
• กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบความเป็นกรด-ด่าง (พีเอช) pH กระดาษลิตมัส มี 2 สี คือ สีแดงและสีน้ำเงิน
สารละลายสามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน สารนั้นมีสมบัติเป็นเบส (ค่า pH มากกว่า 7 )
สารละลายสามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง สารนั้นมีสมบัติ เป็นกรด (ค่า pH น้อยกว่า 7 )
ส่วนสารละลายที่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้งสีน้ำเงินและสีแดง สารนั้นมีสมบัติเป็นกลาง (ค่า pH เท่ากับ 7 )
การเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส
โดยการหยดน้ำยาลงในน้ำตัวอย่าง (5 ml.) แล้วเทียบสีกับแผ่นเทียบสี
3. เครื่องวัดกรดด่าง พีเอชมิเตอร์ pH Meter
pH Meter, PH-110 pH Meter, PH-222 pH Meter, PH-211 pH Meter, PH-230SD
หลักการทำงานพีเอช pH Meter
พีเอชมิเตอร์ (pH meter) เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิก มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ อิเล็กโทรด และ เครื่องวัดศักย์ไฟฟ้า (volt meter) เครื่องวัดศักย์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนค่าศักย์ไฟฟ้าที่วัดได้ให้เป็นค่า pH
การปรับเทียบมาตรฐาน (calibration)
ก่อนการใช้งาน จะต้องปรับเทียบมาตรฐาน(Calibration) โดยการปรับเทียบกับสารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐาน โดยการปรับที่นิยมใช้ คือระบบ two-point calibration ซึ่งจะปรับช่วง pH ที่ต้องการวัดด้วยสารบัฟเฟอร์ 2 ค่า เช่น pH 4 และ 7 หรือ pH 7 และ 10 ที่มีค่าครอบคลุมในช่วงที่ต้องการวัด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้อง
วิธีการวัด
ทำได้โดยล้างอิเล็กโทรดด้วยน้ำปราศจากไอออน (deionized water) หรือน้ำกลั่น (distilled water) และซับด้วยกระดาษทิชชู แล้วรีบจุ่มอิเล็กโทรดลงในสารละลายที่ต้องการวัดอย่างรวดเร็ว
การบำรุงรักษาเครื่องวัดพีเอช
เครื่องวัดพีเอชเป็นเครื่องมือ electronic จึงอาจจะชำรุดเสียหายได้โดยง่าย หัววัดของเครื่องวัดพีเอชอาจขาดความแม่นยำในการวัดได้ง่าย ถ้าบำรุงรักษาไม่ถูกต้องและไม่ดีพอ ดังนั้นจึงมีข้อควรระวังในการบำรุงรักษาดังนี้
1. เมื่อใช้เครื่องวัดพีเอชเสร็จแล้วควรล้างหัววัดด้วยน้ำกลั่น หรือสารละลายอื่นๆ ที่ล้างคราบสกปรกที่จับที่ผิวนอกเมมเบรน (acetone, alcohol, HCl 1 M) ทุกครั้งก่อนเก็บเพื่อป้องกันคราบสกปรกที่จับตัวแน่นจนทำความสะอาดยาก จากนั้นเช็ดให้แห้งแล้วปิด (สวม) ปลายหัววัดด้วย rubber cap ที่บรรจุด้วยสารละลาย KCl 3 mol/L
2. อาจจะมีตะกอนเกาะตามช่องหัววัด ทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนในการวัดได้ วิธีการแก้ไขง่ายๆ เบื้องต้นคือ แช่หัววัดในน้ำอุ่นหรือกรดเกลือเพื่อให้ตะกอนละลายและหลุดออก
3. หัววัดทุกรุ่นมีอายุจะเสื่อมสภาพตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่ถูกนำมาใช้ จึงไม่ควรเก็บ Stock ไว้นานเกินไป
4. ห้ามเก็บหัววัดในน้ำกลั่น หรือในสารละลายบัฟเฟอร์ หรือกรดใดๆ ทั้งสิ้นเนื่องจากจะทำให้หัววัดเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
5. ก่อนใช้งานควรล้างหัววัดให้สะอาด เนื่องจากการแช่ในน้ำยาเก็บหัววัด (สารละลาย KCl 3 mol/L) จะสร้างฟิล์มบาง ๆ ที่เมมเบรน ซึ่งจะทำให้การวัดค่าพีเอชไม่ถูกต้อง และไม่ควรทำการ Calibrate ทันทีหลังจากการเริ่มนำมาใช้ แต่ควรแช่ในสารละลายบัฟเฟอร์จุดแรกก่อนเพื่อให้เกิดการสมดุลย์
6. หัววัดที่มีรู diaphram (รูเล็ก ๆ ที่เป็นทางไหลออกของ electrolyte, gel ในหัววัด) ถ้าเกิดการอุดตันจำเป็นต้องล้างด้วยน้ำยา diaphram cleaning solution โดยแช่ทิ้งไว้ได้นาน 1-24 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับความสกปรก
7. หัววัดชนิด Refill ที่มีรูไหลเป็นรูเปิดแล้วปิดด้วย Teflon Cap ก่อนใช้หรือทุกครั้งที่เลื่อน Cap ลงมาทำความสะอาด เมื่อจะนำไปใช้ต้องเลื่อน Teflon Cap มาปิดให้แน่นแล้ว Fix โดยแช่น้ำอุ่น 60-70 องศาเซลเซียส 5 นาที แล้วแช่ในน้ำ 20-30 องศาเซลเซียสทันที เพื่อทำให้ Teflon Cap ติดแน่นขึ้น (หากไม่ทำเช่นนี้จะทำให้เปลือง electrolyte มากขึ้น)
8. หัววัดชนิดที่ต้องเติม electrolyte จะต้องเปิดจุกยาง หรือเจาะรูปให้อากาศไหลเข้าในขณะที่ทำการวัดเพื่อป้องกันไม่ให้ภายในหลอดเป็นสุญญากาศ
9. การ calibrate ด้วยสารละลายบัฟเฟอร์ที่มีคุณภาพดีทุก 2-4 สัปดาห์ ดีกว่าการใช้สารละลายบัฟเฟอร์เก่า calibrate ทุกวัน
10. หัวใจของพีเอชสุดท้ายอยู่ที่สารละลายบัฟเฟอร์ หากเปิดขวดบ่อยๆ จะทำให้ค่า buffer capacity ลดลง ดังนั้นควรใช้งานให้หมดภายใน 1 เดือน
ค่ะ สำหรับฉบับนี้ก็เป็นฉบับแรกของพวกเรา อาจมีอะไรตกหล่นไปบ้างก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วนนะค่ะ ขอบคุณค้า แล้วเจอกันฉบับหน้านะค้า
สารละลายบัฟเฟอร์ที่ใช้ในการ calibrate ต้องมีการเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอนะครับ....
ตอบลบมาตรฐานที่เราปฏิบัติกันคือ เปลี่ยนสารละลายบัฟเฟอร์ ทุก ๆ สัปดาห์ครับ
แสดงว่าในกระเพาะคนสามารถย่อยใบมีดโกนได้เลยนะเคยดูช่อง 9 เขาทดลองแต่ใช้เวลานาน
ตอบลบกระเพาะก็น่ากลัวเหมือนกัน
ก็ดีนะครับ เบียร์ 4.5 กระเพาะ 1.5 กินเบียร์เข้าไปจะได้เพื่มความเป็นกลางให้กระเพาะอาหาร
ตอบลบไม่ทราบว่าค่าความเป็นกรดในผลไม้หรือในกระเพาะอาหารของคน กับกรดของสารเคมีแตกต่างกันหรือไม่อย่างไรใครทราบช่วยตอบที่
ตอบลบค่าความเป็นกรด หรือ ด่าง เป็นชื่อที่เรา สมมติขึ้นเพื่อให้เรียกและเข้าใจได้ง่ายครับ
ลบกรด คือ สารที่มีแนวโน้ม (Potential) จะให้หรือทำให้เกิด H+ หรือไฮโดรเจนไอออน
ด่าง คือ สารที่มีแนวโน้ม ที่จะให้หรือทำให้เกิด OH- หรือ ไฮดรอกไซด์ไออน
ส่วนค่าความเป็นกรดมากหรือน้อยนั้น คือ การที่สารนั้นๆให้ H+ ออกมาที่ความเข้มข้นเท่าไหร่ ยิ่งเข้มข้นมากยิ่งเป็นกรดมาก
ตอบพี่ปัญญาว่า มีค่าความเป็นกรดเหมือนกันมั้ย = ใช่ครับ แต่กรดมากกรดน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นนั่นเอง (pH ตอนสองจะมีเรื่องนี้แบบละเอียดๆให้ดูด้วยครับ)
กรดในผลไม้ หรือกรดน้ำสมสายชู (กรดอะซีติก) จัดเป็นกรดอ่อนครับ ส่วนกรดในแบตเตอรี่ ที่ใช้กันทั่วไปจัดเป็นกลุ่มกรดกำมะถัน ซึ่งมีประโยชน์ในการประกอบเซลล์ไฟฟ้าในแบตเตอรี่ให้ทำงานสมบูรณ์ ความแรงของกรดจะแตกต่างกัน หากตรวจวัดจาก pH จะทราบถึงความแตกต่างได้ครับ
ลบในตอนที่ 2 จะพูดเรื่องการแปรความหมายของ pH ที่ตรวจวัดได้เป็นปริมาณของไฮโดรเจนไอออน ซึ่งบ่งบอกถึงแนวโน้มหรือศักย์ของความเป็นกรดในรายละเอียดครับ
คุยไปคุยมาก็ถามหาแต่เบียร์นะเนินกระปอกซิตี้ แต่ก็ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับสิ่งไหนที่ทำแบบผิดๆก็จะได้ปรับปรุงครับ
ตอบลบคุณ Tee ต้องปรับปรุงการกินหน่อยนะ กินอาหารเสริมเยอะๆ (เสริมดวง)จะได้เฮ็งๆ
ลบการเปลี่ยนสารละลายบัฟเฟอร์ ที่เราต้องเปลี่ยนใหม่กันตามPM LAB ทุกอาทิตย์
ตอบลบก็คงพอจะเข้าใจกันเนอะ ว่าทำไมเขาถึงให้เปลี่ยน555555
ส่วนการเก๊บหัววัดหลังการใช้งาน--ก็ควรเก็บไว้ใน cap ที่บรรจุด้วยสารละลาย KCl 3 mol/L
ไม่ควรให้หัววัดมันวัดอากาศอยู่นะ เพราะว่ามันเป็นหัววัดpH ไม่ใช่ห้ววัด Conductivity ดังนั้นพวกเราอย่าสับสนนะครับบบบบ
ขอบคุณทุกความคิดเห็นนะค้า ทางเราจะรีบตอบคำถามให้นะค้า
ตอบลบอั้นแน่ผมก็พึ่งรู้ชื่อเต็มของ pH ก็เพราะบทความนี้แหละครับ (Potential of Hydrogen ion)เรียกสั้นๆว่า pH (มันเป็นอย่างนี้นี้เอง...)
ตอบลบ5.ก่อนใช้งานควรล้างหัววัดให้สะอาด เนื่องจากการแช่ในน้ำยาเก็บหัววัด (สารละลาย KCl 3 mol/L) จะสร้างฟิล์มบาง ๆ ที่เมมเบรน ซึ่งจะทำให้การวัดค่าพีเอชไม่ถูกต้อง และไม่ควรทำการ Calibrate ทันทีหลังจากการเริ่มนำมาใช้ แต่ควรแช่ในสารละลายบัฟเฟอร์จุดแรกก่อนเพื่อให้เกิดการสมดุลย์
ตอบลบ....เอ!! บัฟเฟอร์จุดแรกเป็นยังงัยครับ...คือ บัฟเฟอร์ที่ใช้ Calibrate ตัวแรกรึป่าว
9. การ calibrate ด้วยสารละลายบัฟเฟอร์ที่มีคุณภาพดีทุก 2-4 สัปดาห์ ดีกว่าการใช้สารละลายบัฟเฟอร์เก่า calibrate ทุกวัน
ตอบลบ..อันนี้เรา calibrate ทุกวันทุกกะ หรือทุก 12 ช.ม จะมีผลอะไรหรือป่าวครับ
เราเปลี่ยน Buffer ทุกๆกี่วันเอ่ย?
ลบเราน่าจะต้อง Calibrate และ เปลี่ยน buffer ตามที่ คนขายเครื่องแนะนำนะ เพราะเครื่องแต่ละรุ่นมีคุณสมบัติเฉพาะแตกต่างกันออกไปครับ
เราเปลี่ยนทุกวันพุธ และ Calibrate ทุกกะ ก่อนวัดค่าตัวอย่าง
ลบไม่รู้ว่าคนขายเครื่องเขาให้ทำยังงัยเหมือนกัน ต้องถามพี่แมวแล้วละครับ
ลบเราเปลี่ยนทุกวันพุธ และ Calibrate ทุกกะ ก่อนวัดค่าตัวอย่าง
ลบขอตอบตามนี้นะ
1. เราเปลี่ยนทุกวันพุธ หมายถึง เราเปลี่ยนทุกอาทิตย์ เพื่อลดการปนเปื้อนเพราะว่า Buffer ที่เราใช้นั้นอาจมีการปนเปื้อนจากการตรวจวัด แต่ที่ไม่เปลี่ยนบ่อยกว่านี้ เพราะว่า Buffer ราคาแพง
2. Calibrate ทุกกะ เพื่อความมั่นใจว่าเครื่องยังคงมีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานและอ่านค่าได้ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งเราดูได้จากค่า mv, Slop ที่ได้จากขั้นตอนการ Calibrate ได้ว่ายังอยู่ในช่วงที่กำหนดไว้หรือเปล่า
*ถ้าค่า mv, Slop ไม่ผ่าน ก็จะได้รู้ได้ทันที่ว่าเครื่องไม่เหมาะที่จะทำตรวจวัด
โอ..มั๊ยครับบบ
OK ค้าบบบบ
ลบPH เป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องวัดทุกวันใน LAB เราจึงต้องใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของมัน บทความนี้บงบอกถึงการใส่ใจใน PH ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากในงานของเรา ขอบคุณนะครับที่ให้ความรู้มาครับ
ตอบลบถ้าน้องเกมส์ น้องนุ่น ทำตอน 2 เสร็จ ทุกคนจะพบว่า pH 2 กับ 3 นั้น แตกต่างกันมากเพียงใด
ตอบลบการที่น้ำเสีย pH 2 จะกลับมาเป็น pH 7 นั้นมันยากเย็นเพียงใด เชื่อว่าทุกคนได้เลยลิ้มลองมาแล้ว ตอน 2 จะแสดงให้เห็นว่าทำไมมันถึงยากเย็นนัก และค่าใช่จ่ายในการบำบัดนั้น อาจมากกว่าเงินเดือนพวกเราทุกคนรวมกันในหนึ่งเดือนก็เป็นไปได้ ;D
ทำไม pH มีแค่14ครับมากกว่านี้ไม่ไดเหรอค่ะน้อง
ตอบลบเป็นไปได้ครับ จะพูดถึงในเรื่องแนะนำเกี่ยวกับ pH ตอนที่ 2 ครับ
ลบโก๋อยากรู้หรอ นี่ไงพี่นูนจัดให้แน่ รอก่อนน่ะ
ลบ"เสี่ยเป้าได้ใจอีกแว้ว"
ลบเวลามีกรดเกินในกระเพาะอาหาร เห็นโฆษณาว่าต้องทานยาธาตุน้ำขาว แสดงว่ายาธาตุน้ำขาวต้องเป็นด่างอ่อน เพื่อไปลดกรดในกระเพาะอาหารใช่ไหมครับ
ตอบลบพี่อันนี้ก็ต้องวิจัยกันดูนะครับ ว่ามันจะหักลบกันได้อ่ะเปล่า
ลบHp plant เรามีปัญหาเรื่อง การ calibrate ระหว่าง LAB กับ Instrument เพราะ ใช้ buffer ที่ ค่าเเตกต่างกัน
ตอบลบลองสังเกตุดู ว่า ค่า ที่อ่านได้ จาก DCS/LAB จะไม่ไกล้เคียงกัน เท่าที่รู้ตอนนี้ Instrument กำลังทำการเเก้ไขอยู่
เห็น Calibrate ไปหลายรอบแล้วเหมือนกันครับ แต่ก็ยังอ่านค่าได้ไม่ตรง...
ลบอ่านได้ใกล้เคียงมีแต่ E9 ตัวเดียว...
จะลองคุยกับทางฝ่ายซ่อมบำรุงครับ ว่าควรต้องเปลี่ยน probe วัดหรือไม่ครับ
ผมว่าPH METERในPLANTเราน่าจะลองเปลี่ยน TYPE ดูน่าจะดีขึ้นนะฮิฮิ
ตอบลบดีเลยความรู้เกี่ยวกับ ph เพราะ lab และ plant ก็มีตัววัด ph
ตอบลบปัญหาที่เกิดตอนนี้น่าจะมาจากตัววัดค่า pH เป็นหลักต้องหาทางคุยกับฝ่ายซ่อม
ตอบลบในส่วนตัวคิดว่าวัสดุของตัววัดไม่ทนต่อการกัดกร่อน ไม่ทนต่อสาร organics
หรือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างกระทันหันและมีรูพรุนที่ข่อนข้างเล็กทำให้
เกิดการอุดตัน จึงทำให้การวัดค่าpHไม่ตรง procees ตอนนี้พึ่งค่าตัววัดไม่ได้เลย
ถ้าไม่มีแลปฝีมือดีๆคงจะแย่...อิอิ
ph ดีนะมีเครื่องมาวัด ถ้าไม่มี ใช้อะไรดีน้า......
ตอบลบไม่ปรอดภัยแน่ๆถ้าไม่มี ขอบคุณน้อง นะ..
PH กับ HP นี่สำคัญจริงๆครับ
ตอบลบขอบคุณความรู้เพิ่มเติม ที่น้องๆ จัดมาให้อ่านครับแต่ที่ เห็นกันอยู่ PH PROCRESS ยังไม่นิ่งเท่าไรครับ
ตอบลบกระดาษลิตมัส ใช้วัดแล้วใช้ซ้ำได้ไหมครับ อยากรู้เพื่อจะได้ประหยัด ถ้าใช้ได้ค่ามันจะตรงไหม แต่ถ้าใช้ไม่ได้ก็ตัดแบ่งครึ่งใช้นะ
ตอบลบตัดสามเลยตามิตรช่วยกันประหยัดนะ
ลบมีอุปกรณ์อะไรที่สามารถใช้ตรวจวัดได้ง่ายๆแบบกระดาษลิตมัสอีมั๊ยครับ สมมุติ ถ้าเราไม่มีกระดาษลิตมัส
ตอบลบเก็บตัวอย่างมาเขย่ากับ เวิกกิ้งเราน่าจะได้นะพี่ KIKI
ลบถ้ามันไม่แยกชั้นมันเป็นด่าง