วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเตรียมตัวออกทริปท่องเที่ยว ด้วยจักรยาน (bicycletripthai)

By P'Sunant


ใกล้ปีใหม่เข้าไปทุกทีแล้ว ใครมีโปรแกรมไปเที่ยวไหนอะไรยังไงบ้างเอ่ย ยังไงก็ระมัดระวังการเดินทางกันด้วยนะครับ

วันนี้ผมเลยหยิบเรื่องของพี่นันมาลงซึ่งส่งมาแล้วสักพักหนึ่งอยากให้เป็นเรื่องสบายๆหลังจากอัดแน่นด้วยสาระไปหลายต่อหลายตอน ใครสนใจการปั่นจักรยานคลายเครียด ปั่นจักรยานท่องเที่ยว อย่ารีรอรีบกดไปหาความรู้โดนพลัน


การเตรียมตัวออกทริปท่องเที่ยว ด้วยจักรยาน (bicycletripthai)

1. จักรยานไม่ว่าจะใหม่หรือเก่าก่อนออกไปใช้ ควรตรวจตราดูความเรียบร้อยของรถเสมอ เช่น เบรกอยู่ในตำแหน่งของมันหรือเปล่า ยางอ่อนไปไหม อุปกรณ์บนตัวรถยังทำงานได้เป็นปกติไหม พูดง่าย ๆ ก็คือรถต้องพร้อมสมบูรณ์ทุกอย่างนั่นเอง


2. อุปกรณ์ประกอบเมื่อซื้อมาแล้วอย่านำไปวางไว้เฉย ๆควรนำมาใช้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ไฟหน้า-หลัง กระดิ่ง หรือพวกเครื่องป้องกันร่างกายเรา เช่น ถุงมือ ถุงแขน แว่นตา เพราะไม่ว่าทางจะใกล้หรือไกลมักเกิดอันตรายที่ไม่คาดคิดได้เสมอ โดยเฉพาะหมวกกันน๊อคควรสวมใส่ให้เป็นนิสัย


3. ติดตั้งไฟหน้าด้วยสีขาวปรับให้ได้ระดับสายตาของรถคันหน้า แล้วเปิดให้กระพริบตลอดเวลา ส่วนไฟหลังติดตั้งไฟหลังสีแดงเปิดให้กระพริบตลอดเวลาเช่นกัน สำหรับเวลากลางคืน


4. ควรเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและยาสามัญทั่วติดตัวกันไปบ้าง เพราะอุบัติเหตุกับนักจักรยานมักเลี่ยงกันไม่ค่อยพ้น เช่น ยาใส่แผลสด น้ำยาฆ่าเชื้อ ผ้าก๊อต พลาสเตอร์ ครีมหรือยาแก้เคล็ดขัดยอก ยาแก้ไข้ หรือพวกครีมกันแดด เป็นต้น


5. เมื่อรถเราพร้อมสำหรับการที่จะออกทริปแล้วเราก็ควรจะมีการวางแผนในการออกทริป แต่ละทริปด้วยถ้าเรามีการวางแผนที่ดี ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางหรือสภาพทางที่เราจะต้องขี่รถไป หรือสถานที่ที่เราจะไปเที่ยวไปพักให้พอมีข้อมูลอยู่บ้างถึงแม้จะไม่สมบูรณ์ 100 % ก็ตาม ตรงนี้ก็จะช่วยเราได้มาก เพราะการวางแผนการเดินทางสำหรับจักรยานนั้นมีความสำคัญมาก เพราะการเดินทางด้วยจักรยานนั้น หากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งผิดพลาดระหว่างการเดินทางแล้วจะทำให้เสียเวลาเป็น อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการหลงทาง ยางแตก อุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือรถมีปัญหา ดังนั้น ควรมีการวางแผนไว้บ้างน่าจะเป็นผลดีต่อการเดินทาง


6. สิ่งของหรืออุปกรณ์ที่จะนำไประหว่างการออกทริปตรงนี้ต้องบอกว่าแล้วแต่ลักษณะการออกทริปของเราว่าเป็นแบบใด เช่น จะใช้เวลาออกทริปกี่วัน จะพักกันแบบไหน และเมื่อได้รูปแบบการออกทริปแล้ว จึงจะมาจัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ แต่ที่ต้องไม่ลืมเลยก็คือ ชุดเครื่องมือในการซ่อมแซมจักรยาน และอุปกรณ์ปะเปลี่ยนยาง สูบลมแบบติดรถ ยางในสำรอง แต่หากต้องเดินทางไกลกันจริง ๆ ไปกันหลายวัน หรือสภาพเส้นทางทุระกันดารกว่าปกติ เราอาจต้องเพิ่มเครื่องมือบางอย่างติดรถไปด้วย เช่น ตัวตัดต่อโซ่พร้อมสลักหรือข้อต่อสำรอง เครื่องมือถอดและขันชุดกระโหลก เป็นต้น ส่วนข้าวของเครื่องใช้อย่างอื่น ๆ ที่ต้องติดตัวไปด้วยเสมอ เช่น ไฟฉาย ไฟแช็ค มีดพกขนาดเล็ก เชือก ผ้าสักผืนสองผืน น้ำมันหล่อลื่นโซ่


ส่วนใครใคร่จะนำอะไรติดตัวมากไปกว่าที่กล่าวมานี้ก็สุดแล้วแต่ตวามจำเป็น แต่ขอแนะนำสักนิด ว่าเราเดินทางด้วยจักรยานไม่ใช่รถยนต์ น้ำหนักที่เราแบกไปนั้น ควรจะน้อยที่สุดเอาเฉพาะของที่จำเป็นไปเท่านั้น เพื่อที่เราจะได้ไม่อ่อนล้ากับการแบกน้ำหนักเกินความจำเป็น


7. สำหรับการขี่ออกทริปเป็นหมู่คณะนั้นก็มีข้อดีคือเราสามารถแชร์เรื่องสัมภาระกันได้ โดยที่เราไม่ต้องแบกเครื่องไม้เครื่องมืออยู่เพียงคนเดียว หรือเครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างก็สามารถใช้ร่วมกันได้ เช่น พวกเต็นท์ ยางอะไหล่ เครื่องมือซ่อมรถทั่ว ๆ ไป



การเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยานนั้น หากเราเดินทางใกล้ ๆ ประเภทไปเช้าเย็นกลับ หรืออาจต้องมีการค้างแรมแต่มีความสะดวกสบายพอสมควร หาของกินของใช้ได้ง่าย บางครั้งการสะพายเป้หลังเพียงใบเดียว เอาอุปกรณ์ข้าวของเพียงไม่กี่อย่างติดตัวไปก็พอเพียงแล้วสำหรับการ ออกทริปแต่ละทริป แต่สำหรับนักปั่นที่พิศสมัยการเดินทางด้วยจักรยานอย่างจริงจังและยาวนาน ประเภทที่ว่าขี่ในสไตล์ทัวร์ริ่งเป็นอาชีพ การเตรียมตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ และสำหรับนักปั่นประเภทนี้ การเลือกใช้รถจักรยานก็มีความจำเป็นที่ต้องเลือกประเภทที่เอื้ออำนวยต่อการ ทัวร์ริ่งเช่นกัน เช่นตัวรถต้องมีขนาดพอเหมาะ ไม่เล็กหรือบอบบางจนเกินไปเพราะเราคงหลีกเลี่ยงการบรรทุกสัมภาระไม่ได้

สำหรับคนที่หันมาท่องเที่ยวด้วยจักรยาน อาจจะบรรทุกมากบ้าง น้อยบ้าง แล้วแต่ทริป ซึ่งตัวรถเองก็คงต้องมีการดัดแปลง ปรับท่วงท่า หรืออาจติดตะแกรงเข้าไปเพื่อการนี้ จักรยานบางคันจึงมองดูเหมือนรถบรรทุกขนาดย่อม ๆ นี่เอง
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการจัดเตรียมข้าวของเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมถึงจักรยานคู่ใจของเราแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดก็คือตัวนักปั่นนั่นเองคงต้องยอมรับกันก่อนว่า การขี่จักรยานนั้นเป็นอะไรที่ไม่ได้สะดวกสบายอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ ทั้งตากแดด ตากลม บางครั้งตากฝน บางครั้งหนาวเสียจนแทบอยากจะทิ้งจักรยาน มันมีทั้งความเหน็ดเหนื่อย ความอ่อนล้า อันตราย จากรถที่ขับขี่ผ่านเราไปสารพัด แต่ในเมื่อรู้ทั้งรู้และยังมีความต้องการที่จะขี่จักรยานท่องเที่ยว เพื่อที่จะออกทริปได้อย่างสนุก


การเตรียมตัวหรือทำให้ ตัวเองแข็งแรงมีความฟิตอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่นักปั่นทั้งหลายพึงกระทำ เพราะถ้าเราไม่มีแรงปั่นลูกบันไดแล้ว สิ่งที่เราจัดเตรียมมาทั้งหมดก็ถือว่าไม่มีความหมายอันใด พาลทำให้เที่ยวไม่สนุกอีกต่างหาก แต่ถ้าเราแข็งแรงมีแรงปั่นลูกบันไดได้เป็นวัน ๆ สิ่งที่เราได้จากการขี่จักรยานท่องเที่ยวจะเป็นประสบการณ์ที่ดีที่ไม่รู้ ลืมเลยทีเดียว อีกทั้งยังมีความภูมิใจในตัวเองอีกด้วย





29 ความคิดเห็น:

  1. ...พี่นันครับ ถ้าเราเริ่มปั่นใหม่ๆ ต้องกะเอาระยะทางประมาณเท่าไหร่ครับ( สำหรับคนที่ไม่เคยปั่น และอยากลองปั่นระยะไกล)

    ตอบลบ
  2. ...ผมเคยลองกับเครื่องออกกำลังกายนะพี่ ปั่นแบบ ประมาณครึ่งชั่วโมง ติดต่อกันปรับหน่วงให้มันหนักๆเท้า โห..สุดยอดมากเลยพี่ อีกวันมาขาเดี้ยง ปวดขามาก

    ตอบลบ
  3. ดีแล้วครับท่านอ๋องที่คิดออกกำลังกายแต่ขอแนะนำในการปั่นจักรยานจะให้เพลินต้องหาคู่หูสักคนไปด้วยนะปั่นไปคุยกันไปจะลืมเรื่องระยะทางไปเลย ส่วนจักรยานขอเป็นแบบชนิดมีเกียร์หน่อยมันจะช่วยผ่อนแรงเราได้

    ตอบลบ
  4. ดีนะครับสำหรับการปั่นจักรยานครั้งที่แล้วกะ เอ จัดงานนี้ขึ้นมารู้สึกว่าดีมากๆเลยทั้งได้เพื่อน ได้ออกกำลังกาย และได้อีกหลายๆอย่างมากกว่าที่คิดและอาจจะได้เจอกันใหม่ในทรืปหน้าเร็วๆนี้

    ตอบลบ
  5. ถ้ามีทริปปั่นอีกผมขอแบบเราพร้อมนะพี่ครั้งที่แล้วตั้งใจไปปั้นเต็มที่ ไปได้ครึ่งทางต้องมาทำงานซะงั้น ผมมีที่แนะนำปั่นแถวเขาชีจรรย์ แวะบางเสร่ ออกแยกเจ แล้วแอบอยู่ร้านหนุ่มผมยาว โอว์ววววสุโค้ย

    ตอบลบ
  6. การปั่นครั้งแรกเรามาเริ่มกันที่20Kmเลยนะคับขึ้นเขาด้วยสำหรับคนที่ยังไม่เคยปั่นสุดมันไปลองถึงจะรู้

    ตอบลบ
  7. เนินกระปอกซิตี้27 ธันวาคม 2555 เวลา 03:24

    ปั่นจักรยานนี่ดีนะครับผมปั่น เข้า plant อยู่บ่อยๆมันมากๆๆๆ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ปั่นมันมากเลยครับ ZUSUKI!

      ลบ
  8. การปั่นจัรกยานใครๆก็ปั่นได้ทั้งนั้นไม่ว่าเด็กผู้ใหญ่....แต่ที่ยากนั้นก็คือการใช้เกียร์ให้เหมาสมกับสภาพถนนสิครับยากกว่าเราอาจเจอทางขึ้นเขา...ลงเขา...รูกรัง....ทางเรียบฯ
    จะใช้เกียร์ใหนให้ผ่อนแรงเรามากที่สุดครับ P'Sunant บอกผมที่เดี๋ยวผมไปปั๋นด้วย

    ตอบลบ
  9. ถามมาเราตอบไป...ก่อนอื่นมือใหม่บางคนอาจจะสับสน กับคำว่า “เกียร์หนัก” กับ “เกียร์เบา” ผมขออธิบายแบบนี้ครับ
    เกียร์หนักคือ เมื่อเราเข้าเกียร์แล้ว เราจะต้องออกแรงปั่นมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งจะเป็นเกียร์สูงๆครับ
    เกียร์เบาคือ เมื่อเปลี่ยนเกียร์แล้ว ปั่นสบายขึ้น (ต้องเทียบกับความรู้สึกเอานะครับว่า หนัก กลาง เบา ของเราเป็นอย่างไร ลองฝึกไปเรื่อยๆจะรู้เอง)
    การใช้เกียร์ด้านซ้ายมือ หรือ จานหน้า จะมี 3 เฟืองเท่านั้นครับ ไม่สับสน มีเล็ก กลาง ใหญ่
    ใช้เฟืองใหญ่ ตอนลงเขา หรือทางลาดลง อันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการต้องการความเร็วนะครับ แต่ถ้าเราใช้จานหน้าเป็นเฟืองใหญ่ตอนลงเขา มันจะเซฟขาของคุณจากความคมของยอดฟันใบจาน ซึ่งคมพอที่บาดขาคุณลงไปถึงกล้ามเนื้อได้
    ตอนขึ้นเขา ใช้เฟืองกลางครับ แต่ดูแรงของเราก่อนนะครับว่า ไหวไหม ถ้าไม่ไหวจริง เปลี่ยนมาเป็นเฟืองเล็กครับ
    ถ้าเป็นทางเรียบ ใช้เฟืองกลางหรือใหญ่ก็ได้ครับ ตามกำลังของเรา แต่จริงๆแล้ว เฟืองกลางเหมาะสุดแล้วครับ
    ตัวเลขของเกียร์ของเสือภูเขา (สำหรับด้านขวามือ หรือจานหลัง)
    เฟืองเล็ก คือเกียร์สูง จะเป็นเกียร์ที่เราใช้ความเร็วครับ เช่น ทางเรียบ เปรียบกับรถยนต์เอาก็แล้วกันนะครับถ้าต้องการความเร็วก็ใช้เกียร์สูง สำหรับจักรยาน เกียร์สูง = เกียร์หนัก ต้องออกแรงปั่นมากขึ้นด้วยครับ
    เฟืองใหญ่ คือ เกียร์ต่ำ จะใช้ตอนเราออกตัว หรือ ตอนปั่นขึ้นทางที่ลาดชัน หรือขึ้นเขา แล้วก็ตอนที่จอดรถไว้เฉยๆ จะต้องเข้าเกียร์ไว้ครับ ดังนั้นสรุปว่า เกียร์ต่ำ = เกียร์เบา จะใช้แรงน้อย
    มือใหม่ควรใช้เกียร์อะไร? ในตอนฝึกครั้งแรก
    ผมขอแนะนำว่า ให้คุณปรับเกียร์ข้างซ้ายไปที่เกียร์ 2 หรือ ที่เราๆเรียกกันว่า จานหน้า (เพราะ เกียร์ 1 เราไม่ค่อยจะรู้สึกมาก มันเบาไปครับ เริ่มที่2 จะรู้สึกดีกว่า) หรือให้ปรับใช้จานกลาง เป็นหลักเมื่อปั่นจักรยาน แล้วไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับมันอีกแล้วครับ (ในระยะที่ฝึกปั่นใหม่ๆนะครับ)
    ส่วนการเปลี่ยนปรับเกียร์ ให้เราใช้เกียร์ขวามือในการปรับครับ ฝึกใหม่ๆผมแนะนำให้ปรับไปที่ เกียร์ 3 ครับ พอหลังจากนั้นลองปรับไปที่เกียร์ 4 ฝึกไปอย่างนี้ก่อนสักระยะ ข้อควรระวังในการเปลี่ยนเกียร์เสือภูเขาสำหรับมือใหม่
    มือซ้ายนะครับ เราจะไม่ปรับจานหน้าไปเป็นจานเล็ก (เกียร์1) แล้วปรับจานหลัง ขวามือเราไปเป็น จานเล็ก (เกียร์9)
    และเราจะไม่ปรับจานหน้า ไปเป็นจานใหญ่ (เกียร์ 3) พร้อมกับเปลี่ยนจานหลัง ไปเป็นเฟืองใหญ่ (เกียร์ 1)
    เพราะการกระทำแบบนี้จะทำให้แนวโซ่เบนมากที่สุด จะส่งผลเสียต่อระบบเกียร์ ส่งผลให้โซ่ขาดได้ นอกจากนี้ตัวตีนผีเองจะถูกโซ่ดึงจนกาง ออกเกือบจะเป็นเส้นตรง ซึ่งถ้าความยาวของโซ่สั้นเกินไปกว่าที่ควรขาตีนผีอาจจะถูกบิดจนโก่งงอ
    เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจัดทริปครั้งไม่ควรพลาดนะ....

    ตอบลบ
  10. พี่นันผมอยากทราบวีธีปรับเกียร์ของจักรยานแบบถูกวีธีครับ

    ตอบลบ
  11. เห็นคนรู้จักก็ชอบปั่นเขาชวนเรา เราก็อยากปั่น แต่จะเอาจักรยานที่ไหนปั่น เพราะที่เขาปั่นๆกันนั้น คันคันนึง ราคาเป็นแสน...เราไม่มีทุนซื้อ เฮ้อ !!! ถ้ากู้ธนาคารซื้อ รับลอง ฉันแสนนนนนนน สาหัส แน่

    ตอบลบ
  12. การขี่จักรยานมันเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่ง ผมเห็นด้วยกับคุณสุนันต์ที่ว่าควรที่จะหาเพื่อนปั่นไปด้วย จะได้ไม่เซ็งถึงไหนถึงกัน
    การปรับเกียร์ ต้องปั่นจักรยานบ่อยๆ เเล้วจะรู้เอง ลองไปปั่นขึ้นที่ บุ๊คไซ้ด์ resort
    บ่อยๆจะเก่งเองโดยอัตโนมัต

    ตอบลบ
  13. ว่างๆเราลองปั่น(เหมือนรูป รถจักรยานพ่วง 4 คน ) ขึ้น บุ๊คไซ้ด์ กันมั๊ย
    ***เรื่องการปั่นจักยาน ควรปรึกษานักปั่นอาชีพ(มาก่อน) คุณพี่อุ๊ด ไง***

    ตอบลบ
  14. เรื่องปั่นจักรยานเสือภูเขาอย่าหาว่าคุยมีปัญหาปรึกษาได้ มีถ้วยรางวัลที่1ถึงที่5เป็นการันตีในรุ่นอายุไม่เกิน40ปีแต่มันเป็นอดีตเสียแล้ว(แต่ก็ยังมีไฟอยู่หริบหรี่)พอให้คำปรึกษาได้อยู่ฮิฮิ

    ตอบลบ
  15. เอาไว้ว่างจะไปปรึกษาหาข้อมูล น๊ะคุณสุนันท์ แล้วจะต้องเตรียมอะไรไปบ้าง ฮิฮิฮิฯ

    ตอบลบ
  16. การออกกำลังกายมีหลายวิธีการปั่นจักรยานก็เป็นการออกกำลังกายอีกหนึ่งวิธีที่ดีและสนุกเพลิดเพลิน...แต่ต้องระมัดระวังการปั่นจักรยานในเวลากลางคืนเพราะระยองบ้านเราไม่มีช่องทางของจักรยานให้ขี่เป็นกิจจะลักษะณะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. START ฟิตเนสก็เป็นทางเลือกนึ่งนะครับ สุขภาพจะได้แข็งแรง

      ลบ
  17. เคยลงไปแล้วเกี่ยวกับการใช้เกียร์แต่ข้อมูลหายเฉยเลย....มือใหม่จะลองใช้เกียร์อย่างไรในการปั่นเสือภูเขาครั้งแรก
    ก่อนอื่นมือใหม่บางคนอาจจะสับสน กับคำว่า “เกียร์หนัก” กับ “เกียร์เบา” ผมขออธิบายแบบนี้ครับ
    เกียร์หนักคือ เมื่อเราเข้าเกียร์แล้ว เราจะต้องออกแรงปั่นมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งจะเป็นเกียร์สูงๆครับ
    เกียร์เบาคือ เมื่อเปลี่ยนเกียร์แล้ว ปั่นสบายขึ้น (ต้องเทียบกับความรู้สึกเอานะครับว่า หนัก กลาง เบา ของเราเป็นอย่างไร ลองฝึกไปเรื่อยๆจะรู้เอง)
    การใช้เกียร์ด้านซ้ายมือ หรือ จานหน้า จะมี 3 เฟืองเท่านั้นครับ ไม่สับสน มีเล็ก กลาง ใหญ่
    ใช้เฟืองใหญ่ ตอนลงเขา หรือทางลาดลง อันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการต้องการความเร็วนะครับ แต่ถ้าเราใช้จานหน้าเป็นเฟืองใหญ่ตอนลงเขา มันจะเซฟขาของคุณจากความคมของยอดฟันใบจาน ซึ่งคมพอที่บาดขาคุณลงไปถึงกล้ามเนื้อได้
    ตอนขึ้นเขา ใช้เฟืองกลางครับ แต่ดูแรงของเราก่อนนะครับว่า ไหวไหม ถ้าไม่ไหวจริง เปลี่ยนมาเป็นเฟืองเล็กครับ
    ถ้าเป็นทางเรียบ ใช้เฟืองกลางหรือใหญ่ก็ได้ครับ ตามกำลังของเรา แต่จริงๆแล้ว เฟืองกลางเหมาะสุดแล้วครับ
    ตัวเลขของเกียร์ของเสือภูเขา (สำหรับด้านขวามือ หรือจานหลัง)
    เฟืองเล็ก คือเกียร์สูง จะเป็นเกียร์ที่เราใช้ความเร็วครับ เช่น ทางเรียบ เปรียบกับรถยนต์เอาก็แล้วกันนะครับถ้าต้องการความเร็วก็ใช้เกียร์สูง สำหรับจักรยาน เกียร์สูง = เกียร์หนัก ต้องออกแรงปั่นมากขึ้นด้วยครับ
    เฟืองใหญ่ คือ เกียร์ต่ำ จะใช้ตอนเราออกตัว หรือ ตอนปั่นขึ้นทางที่ลาดชัน หรือขึ้นเขา แล้วก็ตอนที่จอดรถไว้เฉยๆ จะต้องเข้าเกียร์ไว้ครับ ดังนั้นสรุปว่า เกียร์ต่ำ = เกียร์เบา จะใช้แรงน้อย
    มือใหม่ควรใช้เกียร์อะไร? ในตอนฝึกครั้งแรก
    ผมขอแนะนำว่า ให้คุณปรับเกียร์ข้างซ้ายไปที่เกียร์ 2 หรือ ที่เราๆเรียกกันว่า จานหน้า (เพราะ เกียร์ 1 เราไม่ค่อยจะรู้สึกมาก มันเบาไปครับ เริ่มที่2 จะรู้สึกดีกว่า) หรือให้ปรับใช้จานกลาง เป็นหลักเมื่อปั่นจักรยาน แล้วไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับมันอีกแล้วครับ (ในระยะที่ฝึกปั่นใหม่ๆนะครับ)
    ส่วนการเปลี่ยนปรับเกียร์ ให้เราใช้เกียร์ขวามือในการปรับครับ ฝึกใหม่ๆผมแนะนำให้ปรับไปที่ เกียร์ 3 ครับ พอหลังจากนั้นลองปรับไปที่เกียร์ 4 ฝึกไปอย่างนี้ก่อนสักระยะ
    หลังจากนี้ ถ้ากำลังของคุณอยู่ตัวแล้ว จะลองปรับไปที่เลข 5, 6,7 ตามแต่ใจของคุณต้องการ ให้ดูรูปข้างบนประกอบเลยครับ การปรับเกียร์ที่ถูกต้อง ส่วนรูปข้างล่างคือตัวอย่างการเบนแนวโซ่มากเกินไป
    ข้อควรระวังในการเปลี่ยนเกียร์เสือภูเขาสำหรับมือใหม่
    มือซ้ายนะครับ เราจะไม่ปรับจานหน้าไปเป็นจานเล็ก (เกียร์1) แล้วปรับจานหลัง ขวามือเราไปเป็น จานเล็ก (เกียร์9)
    และเราจะไม่ปรับจานหน้า ไปเป็นจานใหญ่ (เกียร์ 3) พร้อมกับเปลี่ยนจานหลัง ไปเป็นเฟืองใหญ่ (เกียร์ 1)
    เพราะการกระทำแบบนี้จะทำให้แนวโซ่เบนมากที่สุด จะส่งผลเสียต่อระบบเกียร์ ส่งผลให้โซ่ขาดได้ นอกจากนี้ตัวตีนผีเองจะถูกโซ่ดึงจนกาง ออกเกือบจะเป็นเส้นตรง ซึ่งถ้าความยาวของโซ่สั้นเกินไปกว่าที่ควรขาตีนผีอาจจะถูกบิดจนโก่งงอ
    หวังว่าคุณผู้อ่านจะไม่งงนะครับ ถ้าไม่เข้าใจก็ลองปรับ หรือลองปั่นดูครับจะได้รู้และเข้าใจมากขึ้น ไม่ยากจนเกินไป และต้องใช้การฝึกฝนครับ แล้วจะสนุกมาก การปั่นจักรยานเสือภูเขาเป็นการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ และได้กำไรในการพักผ่อนไปในตัวได้ครับ

    ตอบลบ
  18. เวลาปั่นขาไปนี้ก็ไหวอยู่นะครับ แต่เวลาปั่นขากลับนี้สิครับ ชักจะไม่ค่อยไหว สงสัยต้องหาคนช่วยปั่นรึเปล่าครับพี่

    ตอบลบ
  19. มือใหม่จะลองใช้เกียร์อย่างไรในการปั่นเสือภูเขาครั้งแรก
    ก่อนอื่นมือใหม่บางคนอาจจะสับสน กับคำว่า “เกียร์หนัก” กับ “เกียร์เบา” ผมขออธิบายแบบนี้ครับ
    •เกียร์หนักคือ เมื่อเราเข้าเกียร์แล้ว เราจะต้องออกแรงปั่นมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งจะเป็นเกียร์สูงๆครับ
    •เกียร์เบาคือ เมื่อเปลี่ยนเกียร์แล้ว ปั่นสบายขึ้น (ต้องเทียบกับความรู้สึกเอานะครับว่า หนัก กลาง เบา ของเราเป็นอย่างไร ลองฝึกไปเรื่อยๆจะรู้เอง)
    การใช้เกียร์ด้านซ้ายมือ หรือ จานหน้า จะมี 3 เฟืองเท่านั้นครับ ไม่สับสน มีเล็ก กลาง ใหญ่
    •ใช้เฟืองใหญ่ ตอนลงเขา หรือทางลาดลง อันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการต้องการความเร็วนะครับ แต่ถ้าเราใช้จานหน้าเป็นเฟืองใหญ่ตอนลงเขา มันจะเซฟขาของคุณจากความคมของยอดฟันใบจาน ซึ่งคมพอที่บาดขาคุณลงไปถึงกล้ามเนื้อได้
    •ตอนขึ้นเขา ใช้เฟืองกลางครับ แต่ดูแรงของเราก่อนนะครับว่า ไหวไหม ถ้าไม่ไหวจริง เปลี่ยนมาเป็นเฟืองเล็กครับ
    •ถ้าเป็นทางเรียบ ใช้เฟืองกลางหรือใหญ่ก็ได้ครับ ตามกำลังของเรา แต่จริงๆแล้ว เฟืองกลางเหมาะสุดแล้วครับ
    •เฟืองเล็ก คือเกียร์สูง จะเป็นเกียร์ที่เราใช้ความเร็วครับ เช่น ทางเรียบ เปรียบกับรถยนต์เอาก็แล้วกันนะครับถ้าต้องการความเร็วก็ใช้เกียร์สูง สำหรับจักรยาน เกียร์สูง = เกียร์หนัก ต้องออกแรงปั่นมากขึ้นด้วยครับ
    •เฟืองใหญ่ คือ เกียร์ต่ำ จะใช้ตอนเราออกตัว หรือ ตอนปั่นขึ้นทางที่ลาดชัน หรือขึ้นเขา แล้วก็ตอนที่จอดรถไว้เฉยๆ จะต้องเข้าเกียร์ไว้ครับ ดังนั้นสรุปว่า เกียร์ต่ำ = เกียร์เบา จะใช้แรงน้อย

    มือใหม่ควรใช้เกียร์อะไร? ในตอนฝึกครั้งแรก

    •ผมขอแนะนำว่า ให้คุณปรับเกียร์ข้างซ้ายไปที่เกียร์ 2 หรือ ที่เราๆเรียกกันว่า จานหน้า (เพราะ เกียร์ 1 เราไม่ค่อยจะรู้สึกมาก มันเบาไปครับ เริ่มที่2 จะรู้สึกดีกว่า) หรือให้ปรับใช้จานกลาง เป็นหลักเมื่อปั่นจักรยาน แล้วไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับมันอีกแล้วครับ (ในระยะที่ฝึกปั่นใหม่ๆนะครับ)
    •ส่วนการเปลี่ยนปรับเกียร์ ให้เราใช้เกียร์ขวามือในการปรับครับ ฝึกใหม่ๆผมแนะนำให้ปรับไปที่ เกียร์ 3 ครับ พอหลังจากนั้นลองปรับไปที่เกียร์ 4 ฝึกไปอย่างนี้ก่อนสักระยะ
    หลังจากนี้ ถ้ากำลังของคุณอยู่ตัวแล้ว จะลองปรับไปที่เลข 5, 6,7 ตามแต่ใจของคุณต้องการ
    การเปลี่ยนเกียร์ที่ไม่ควร นอกจากการจอดรถไว้เฉยๆ
    ข้อควรระวังในการเปลี่ยนเกียร์เสือภูเขาสำหรับมือใหม่
    *มือซ้ายนะครับ เราจะไม่ปรับจานหน้าไปเป็นจานเล็ก (เกียร์1) แล้วปรับจานหลัง ขวามือเราไปเป็น จานเล็ก (เกียร์9)
    •และเราจะไม่ปรับจานหน้า ไปเป็นจานใหญ่ (เกียร์ 3) พร้อมกับเปลี่ยนจานหลัง ไปเป็นเฟืองใหญ่ (เกียร์ 1)
    เพราะการกระทำแบบนี้จะทำให้แนวโซ่เบนมากที่สุด จะส่งผลเสียต่อระบบเกียร์ ส่งผลให้โซ่ขาดได้ นอกจากนี้ตัวตีนผีเองจะถูกโซ่ดึงจนกาง ออกเกือบจะเป็นเส้นตรง ซึ่งถ้าความยาวของโซ่สั้นเกินไปกว่าที่ควรขาตีนผีอาจจะถูกบิดจนโก่งงอ

    หวังว่าคุณผู้อ่านจะไม่งงนะครับ ถ้าไม่เข้าใจก็ลองปรับ หรือลองปั่นดูครับจะได้รู้และเข้าใจมากขึ้น ไม่ยากจนเกินไป และต้องใช้การฝึกฝนครับ แล้วจะสนุกมาก การปั่นจักรยานเสือภูเขาเป็นการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ และได้กำไรในการพักผ่อนไปในตัวได้ครับ

    ตอบลบ
  20. การใช้เกียร์ด้านซ้ายมือ หรือ จานหน้า จะมี 3เฟืองเท่านั้นครับ ไม่สับสน มีเล็ก กลาง ใหญ่

    •ใช้เฟืองใหญ่ ตอนลงเขา หรือทางลาดลง อันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการต้องการความเร็วนะครับ แต่ถ้าเราใช้จานหน้าเป็นเฟืองใหญ่ตอนลงเขา มันจะเซฟขาของคุณจากความคมของยอดฟันใบจาน ซึ่งคมพอที่บาดขาคุณลงไปถึงกล้ามเนื้อได้
    •ตอนขึ้นเขา ใช้เฟืองกลางครับ แต่ดูแรงของเราก่อนนะครับว่า ไหวไหม ถ้าไม่ไหวจริง เปลี่ยนมาเป็นเฟืองเล็กครับ
    •ถ้าเป็นทางเรียบ ใช้เฟืองกลางหรือใหญ่ก็ได้ครับ ตามกำลังของเรา แต่จริงๆแล้ว เฟืองกลางเหมาะสุดแล้วครับ มือใหม่ควรใช้เกียร์อะไร? ในตอนฝึกครั้งแรก
    •ผมขอแนะนำว่า ให้คุณปรับเกียร์ข้างซ้ายไปที่เกียร์ 2 หรือ ที่เราๆเรียกกันว่า จานหน้า (เพราะ เกียร์ 1 เราไม่ค่อยจะรู้สึกมาก มันเบาไปครับ เริ่มที่2 จะรู้สึกดีกว่า) หรือให้ปรับใช้จานกลาง เป็นหลักเมื่อปั่นจักรยาน แล้วไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับมันอีกแล้วครับ (ในระยะที่ฝึกปั่นใหม่ๆนะครับ)
    •ส่วนการเปลี่ยนปรับเกียร์ ให้เราใช้เกียร์ขวามือในการปรับครับ ฝึกใหม่ๆผมแนะนำให้ปรับไปที่ เกียร์ 3 ครับ พอหลังจากนั้นลองปรับไปที่เกียร์ 4 ฝึกไปอย่างนี้ก่อนสักระยะ หลังจากนี้ ถ้ากำลังของคุณอยู่ตัวแล้ว จะลองปรับไปที่เลข 5, 6,7 ตามแต่ใจของคุณต้องการ

    ตอบลบ
  21. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. โอ้ว.มันก็ไม่ยากอย่างที่คิด(มันเป็นอย่างงี้นี้เอง)ได้รู้เทคนิคการใช้เกียร์แล้วเหลือแต่จักยานที่ยังไม่มีรอเก็บตังค์ซื้อก่อน(โบนัท มีนา.สัก2-3เดือน)5๕ฮ่า เดี๋ยวจะไปปั่นด้วยนะครับ

      ลบ
  22. สำหรับผมไม่ชอบปั่นจักยาน แต่ผมชอบจักยานอากาศครับ พร้อมเจอที่สนามครับ

    ตอบลบ
  23. มิตรเฮดเดอร์ไฮเปอร์เรดซิ่ง2 มกราคม 2556 เวลา 23:32

    ผมไม่มีจักรยานอ่ะเลยไม่เคยปั่นๆๆๆๆแต่ใครว่างไปกับผมได้นะหน้าหนาวลมมันแรงเล่นว่าวดีกว่า

    ตอบลบ
  24. พี่นัน.. รู้จริง รู้ลึก จริง ๆ เดี๋ยวต้องขอคำชี้แนะ แบบ สดๆ สักวัน แถวๆ บ้านค่าย อากาศ น่าจะดีนะครับ รอ ซื้อ จักยานก่อนนะ ฮิฮิ.

    ตอบลบ
  25. จำได้สมัยเด็กๆหัดขี่จักรยานยี่ห้อ standard มีที่สูบลมอยู่ตรกกลาง หัวเขา ศอก แขน ถลอกไปหมด (รถล้ม)

    ตอบลบ
  26. กาปั่นจักรยานเหมาะสำหรับคนที่ข้อเข่าไม่ค่อยดีเพราะการปั่นจักรยานเข่าไม่ต้องรับน้ำหนักมาก้กินไปครับ และปั่นจักรยานมีผลพลอยได้หลายอย่างคือได้เที่ยวเห็นวิวสวยๆ อาจได้เพื่อนใหม่ในการออกทิป
    ช่วงปัใหม่ก็ไปปั่นบนเกาะเสม็ด เส้นทางค่อนข้างโหดเหมือนกันเพราะต้องขึ้นเขาหลายเนิน แต่ก็หายเหนื่อยเพราะได้เห็นวิวสวยๆและสาวๆที่มาเล่นน้ำทะเล 5555.

    ตอบลบ