เรื่องนี้ดูค่อนข้างจะบีบคั้นจิตใจของผู้ที่มีส่วนได้เสียต่อผลการคัดเลือกดังกล่าว และก็มักจะมีคำถามจากพนักงาน (ที่เปิดใจ) เสมอว่า พี่มีหลักเกณฑ์การพิจารณาความเหมาะสมของพนักงานที่จะไปทำงานที่โรงงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างไร
คำถามนี้เป็นคำถามที่น่าสนใจ โดยส่วนตัวแล้ว ต้องบอกว่าลำบากใจที่ในท้ายที่สุดต้องตัดสินใจว่าใครอยู่ที่เดิม ใครไปที่ใหม่ จึงคิดว่าทำอย่างไรจึงจะสื่อสารเกณฑ์การตัดสินใจในเรื่องนี้ให้ชัดเจน โปร่งใส และเป็นธรรมที่สุด เพื่อให้พนักงานแต่ละคนพัฒนาตนเองตามหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนตั้งแต่แรก ซึ่งในท้ายที่สุดระบบจะเป็นแค่เครื่องมือที่สนับสนุนเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว แต่ความมุ่งมั่นและความพยายามของพนักงานแต่ละคนต่างหากที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนสู่เป้าหมายที่พนักงานแต่ละคนตั้งไว้ หรือ กล่าวให้ง่ายต่อความเข้าใจคือ ใครจะอยู่ที่เดิมหรือไปที่ใหม่นั้น พนักงานเป็นคนเลือกอย่างแท้จริง
กลุ่มที่ 1 : พนักงานที่มีการพัฒนาองค์ความรู้สูง และ จิตสำนึกในวัฒนธรรมองค์กรสูง
กลุ่มที่ 2 : พนักงานที่มีการพัฒนาองค์ความรู้สูง แต่ จิตสำนึกในวัฒนธรรมองค์กรต่ำ
กลุ่มที่ 3 : พนักงานที่มีการพัฒนาองค์ความรู้ต่ำ แต่ จิตสำนึกในวัฒนธรรมองค์กรสูง
กลุ่มที่ 4 : พนักงานที่มีการพัฒนาองค์ความรู้ต่ำ และ จิตสำนึกในวัฒนธรรมองค์กรต่ำ
จากการแบ่งกลุ่มจะเห็นได้ว่า ระบบการฝึกอบรมที่จัดทำมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาองค์ความรู้ของพนักงาน พร้อมๆไปกับการเสริมสร้างจิตสำนึกในวัฒนธรรมองค์กร เปรียบองค์ความรู้ได้กับ Hardware และวัฒนธรรมองค์กร คือ Software ที่ต้องพัฒนาควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง
ความคาดหวังจากการฝึกอบรมคือการพัฒนาองค์ความรู้ของพนักงานให้อยู่ในระดับมาตรฐานเพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยจิตสำนึกในวัฒนธรรมองค์กรที่สูง ซึ่งได้แก่พนักงานในกลุ่มที่ 1 นั่นเอง
นอกจากพนักงานต้องมีองค์ความรู้พื้นฐานอยู่ในระดับมาตรฐานเป็นองค์ประกอบแล้ว จิตสำนึกในวัฒนธรรมองค์กรก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่องค์กรพิจารณาเลือกบุคลากรที่เหมาะสมไปทำงานที่โรงงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกดังกล่าว จากการแบ่งกลุ่มพนักงานข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าถึงแม้พนักงานจะมีองค์ความรู้ที่สูงจากการฝึกอบรม แต่มีจิตสำนึกในวัฒนธรรมองค์กรต่ำ (กลุ่ม 2) พนักงานในกลุ่มนี้ก็ยังไม่เหมาะกับความต้องการองค์กรใหม่
การตรวจวัดระดับจิตสำนึกในวัฒนธรรมองค์กรนั้น ดูเหมือนกับเป็นเรื่องนามธรรมที่ตรวจวัดได้ยาก ดังนั้นจึงต้องอาศัยการทำงานใกล้ชิดระหว่างหัวหน้างานกับพนักงาน เพื่อพัฒนาบรรยากาศในการทำงานที่สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติได้อย่างเปิดเผย ตัวอย่างเช่น การทำ Blog นี้ก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะสื่อสารแนวความคิดนี้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการกล้าพูดคุยและนำเสนอระหว่างการฝึกอบรม ถ้าพนักงานต้องการบรรยากาศการทำงานแบบพี่น้อง แต่ไม่กล้าแม้แต่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั้งทางตรงและทางอ้อม ก็แสดงว่าพนักงานนั้นยังไม่มีจิตสำนึกในวัฒนธรรมองค์กร iHears อย่างดีพอ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่เก็บอยู่ในใจหรือแค่พูดก็พอ หลักการของวัฒนธรรมองค์กร iHears คือ ถ้าไม่แสดงออกหรือปฏิบัติจริง ก็ไม่สามารถปลูกฝังให้อยู่ในจิตสำนึกของตนเองได้
คนที่มีบุคลิคเงียบ ไม่กล้าแสดงออกก็อาจจะโต้แย้งในใจว่า ผมก็มีจิตสำนึกในวัฒนธรรมองค์กรครับ แต่ผมเป็นคนเงียบๆ อย่างนี้ผมก็แย่สิครับ
พวกเราต้องมีความชัดเจนว่าเรามาทำงานเพื่อพัฒนาตนเองในทุกๆด้าน ดังนั้นบุคลิคภาพที่ต้องการในการทำงานนั้นต้องแยกออกจากบุคลิคภาพส่วนตัว ถ้าเรายังทำได้ไม่ดีนั้นเป็นเพียงเพราะเราไม่ให้โอกาสตนเองเพื่อเติบโต และ วัฒนธรรมองค์กร iHears นั้นยังไม่ถูกปลูกฝังให้อยู่ในจิตสำนึกของเรา อย่าลืมว่าโรงงานใหม่นั้นเน้นนวัตกรรมเชิงความคิด (คือตัวอักษร i ใน iHears) ถ้าเราไม่สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดของตนเองได้ เราก็จะลำบากในการทำงานที่มีบรรยากาศที่พวกเราคาดหวังร่วมกันครับ
ดังนั้นการตอบสนองของพนักงานในการแสดงความคิดเห็นและติดตามแนวคิดขององค์กรอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการนั้น จะทำให้หัวหน้างานรวมถึงเพื่อนร่วมงานประเมินศักยภาพเชิงความคิดและจิตสำนึกต่อวัฒนธรรมองค์กรของพนักงานนั้นๆได้
ถึงตรงนี้ พวกเราคงมีความเข้าใจในหลักเกณฑ์การพิจารณา และ คงต้องย้อนกลับไปประเมินตนเองว่าที่ผ่านมาเราได้พยายามอย่างเต็มที่ในการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเองมากน้อยแค่ไหน และ ได้แสดงให้เพื่อนร่วมงานเห็นว่าเรานั้นปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กร iHears จนกลายเป็นจิตสำนึกของเรา ดังคำกล่าวของเราที่ว่า work with iHears หรือไม่
ต่อไปพี่คงต้องถามพวกเราว่า ใครจะไป work with iHears บ้างครับ
ไปด้วยคนนะครับ รถที่เต็มไปด้วยฝัน แวะมารับด้วยคน อิอิ
ตอบลบงานนี้ไม่พลาดแน่ครับ ขอจองตั๋ว 1 ใบครับ
ตอบลบไ ป ด้ ว ย ค น ค รั บ >>>>อ ย า ก ไ ป ๆ <<<< 0/ จ อ ง ตั๋ ว ใ บ นึ ง
ตอบลบอยากทำตรงนี้ให้ดีที่สุด แต่ต่อไปจะเป็นยังไงมันก้อเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้
ตอบลบคืนนี้หลับฝันดีนะ "เพื่อนร่วมทาง" ทุกคน รักนะ จุ๊บ จุ๊บ... ไม่ฮา
พออ่านดูแล้วช่างถูกใจจิงๆ นึกถึงตอนมาสมัครงานยังไงก็ไม่รู้
ตอบลบไปด้วยคน! (รอด้วยโซ่ตกอ่ะ) ^_^"
การพัฒนาองค์ความรู้ควบคู่ไปกับจิตสำนึกในวัฒนธรรมองค์กร เป็นสิ่งสำคัญครับ....ส่วนตัวผมมองเรื่องนี้คล้าย ๆ กับจักรยานเหมือนกัน (ขอบคุณที่โซ่ตก...ช่วยเตือน.... ^_^')
ตอบลบองค์ความรู้เหมือน ล้อหลังจักรยาน...เป็นตัวส่งกำลังในการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติ
จิตสำนึกในวัฒนธรรมองค์กร...เหมือนล้อหน้า เปรียบเสมือนตัวบังคับให้เราทำงานไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง มีประสิทธิผล และมีความยั่งยืน.....
'May the force be with you'.....ขอพลังสถิตย์อยู่กับท่าน...
เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว
ตอบลบเดินหมากรุกยังต้องคิด
เดินหมากชีวิต ...........จะไม่คิดได้อย่างไร
....คงต้องตั้งใจไปในทุกๆวัน...ศัตรูที่แท้จริงคือตัวเราเอง
Big test ผ่านไปก็คงรู้ว่าใครเป็นไงบ้างก็อยากให้ทุกคนมองในแง่บวกเข้าไว้นะครับ
ตอบลบมันก็ได้ชี้ว่าเราต้องปรับตรงไหนกันบ้าง......เรายังมีเวลาที่จะเรียนรู้อีกเยอะครับ
ขอให้ทุกคนตั้งใจกับสิ่งที่ตัวเองหวังไว้นะครับ
การทำสิ่งดีๆไม่ต้องมีใครมาบังครับหรอกครับ เราควรช่วยกันสร้างสิ่งที่เราตั้งความหวังให้สำเร็จไปด้วยกันดีกว่าครับผม
ตอบลบบางสิ่งบางอย่างเราไม่ต้องแสดงออกแต่ขอให้เราตั้งใจทำมันผลนั้นจะถึงเราเองสักวันแล้วในที่สุดก็จะประสบณ์ผลสำเร็จเองโดยที่เราคาดหวัง
ตอบลบผมคิดว่าเราจะได้ไปหรีอไม่ได้ไป ขึ้นอยู่กับตัวของเราเองตัวเราเองเป็นตัวกำหนดว่าเราจะได้ไปหรือไม่ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของเราถ้าเราตั้งใจก็ได้ไปเพราะสุดท้ายผลของความตั้งใจเราคงได้ไป สู้ต่อไปซาโตชิ .....
ตอบลบความรู้ความสามารถของคนแต่ละคนไม่เท่ากันแต่ถ้าเราขยันความสำเร็จที่เราคาดหวังไว้ก็จะมาตอบแทนกับตัวเราเองถ้าเราไม่ระทิ้งต่อความพยายามของตัวเรา
ตอบลบชิมิชิมิ 5555 ไม่ฮาอะดิ เซงเลย
การพัฒนาองค์ความรู้กับจิตสำนึกในวํฒนธรรมในองค์กร
ตอบลบได้วางไว้เป็นแนวทางเพื่อให้เราได้ร่วมสร้างทางเดินไปในทางเดียวกัน
ถ้าเราเชื่อมั่นและได้เดินตามเส้นทางของเรา(ด้วยความมุ่งมั่นและศรัทธา)
ในท้ายสุดเราก็จะไปถึงจุดหมายร่วมกัน
ปล. รอด้วยนะ..กำลังตามไปอยู่
จะพยายาม..ตามให้ทันแต่อาจจะไปถึงช้าหน่อยนะ