By P'Kiatchay
สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ"
สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ"
ความหมายของ วันสงกรานต์
คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ 13,14,15 เมษายนทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เป็นวันเนา วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศก
ความหมายของคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสงกรานต์ มีดังนี้
สงกรานต์ ที่แปลว่า "ก้าวขึ้น" "ย่างขึ้น"นั้นหมายถึง การที่ดวงอาทิตย์ ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือน
ที่เรียกว่าสงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ 12 เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีก จัดเป็นสงกรานต์ปี
ถือว่าเป็น วันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ ในทางโหราศาสตร์
มหาสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียว กล่าวคือสงกรานต์หมายถึง ได้ทั้งสงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี
แต่มหาสงกรานต์ หมายถึง สงกรานต์ปีอย่างเดียว
วันเนา แปลว่า "วันอยู่" คำว่า "เนา" แปลว่า
"อยู่" หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา
1 วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่
วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว
วันเถลิงศก แปลว่า "วันขึ้นศก" เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ 3 ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิม สำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศกถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็น วันที่ 3 ก็หมายความว่า อย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ ไม่น้อยกว่า 1 องศาแล้วอาจจะย่างเข้าองศาที่ 2 หรือที่ 3 ก็ได้
วันสงกรานต์เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ซึ่งกษัตริย์สิงหศแห่งพม่า ทรงตั้งขึ้นเมื่อปีกุนวันอาทิตย์
พ.ศ. 1181 โดยกำหนดเอาดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ 1 องศา ประกอบกับไทยเราเคยนิยมใช้จุลศักราช สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอีกด้วย
ในปีแรกที่กำหนดเผอิญเป็นวันที่ 13 เมษายน ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วันที่ 13 เมษายนทุกปี
แต่เมื่อเป็นประเพณี ก็จำเป็นต้องเอาวันนั้นทุกปี เพื่อมิให้การประกอบพิธี ซึ่งมิได้รู้โดยละเอียดต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
วันที่ 13 จึงเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี
ปกติวันสงกรานต์จะมี 3 วัน คือ เริ่มวันที่ 13
เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน วันแรกคือวันที่ 13
เป็นวันมหาสงกราต์ วันที่พระอาทิตย์ต้องขึ้นสู่ราศีเมษ วันที่ 14
เป็นวันเนา (พระอาทิตย์คงอยู่ที 0 องศา)
วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศกใหม่ และเริ่มจุลศักราชในวันนี้
เมื่อก่อนจริง ๆ มีถึง 4วัน คือวันที่ 13-16 เป็นวันเนาเสีย 2 วัน (วันเนาเป็นวันอยู่เฉยๆ )
เป็นวันว่าง พักการงานนอกบ้านชั่วคราว
จะเห็นได้ว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึง พ.ศ. 2483
ทางราชการจึงได้เปลี่ยนไหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่
เพื่อให้เข้ากับ หลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติอย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ประชาชนก็ยังยึดถือว่า
วันสงกรานต์มีความสำคัญ
ตามหลักแล้วเทศกาลสงกรานต์ถูกกำหนดตามการคำนวณโดยหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ โดยวันแรกของเทศกาลซึ่งเป็นวันที่พระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ (ย้ายจากราศีมีนไปราศีเมษ) เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้ายซึ่งเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก" จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) อย่างไรก็ตาม ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ
สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า
ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี
พิธีสงกรานต์
เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง
แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ
และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน
แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ
ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์
นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข
ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น
‘Water
Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน
"กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล
และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม
นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย
และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย
ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ
เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร
3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย
ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน
และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน
ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม
บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่
นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า
เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้
นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง
ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า
คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก
ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด
จึงจดจำไว้
ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม
ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน
แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ
ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ
แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ
60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ
จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้
จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้
สงกรานต์ภาคเหนือ
หรือ สงกรานต์ล้านนา หรือ "ประเพณีปี๋ใหม่เมือง" อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์
เริ่มตั้งแต่"วันสังขารล่อง"(13 เม.ย.) ที่มีการทำความสะอาดบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล
"วันเนา"หรือ"วันเน่า"(14 เม.ย.) วันที่ห้ามใครด่าทอว่าร้ายเพราะจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี
"วันพญาวัน"หรือ"วันเถลิงศก" (15 เม.ย.) วันนี้ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม ก่อนจะไปรดน้ำดำหัวขอขมาญาติผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย"วันปากปี"(16
เม.ย.)ชาวบ้านจะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่างๆเพื่อขอขมาคารวะ และ"วันปากเดือน"(17
เม.ย.)เป็นวันที่ชาวบ้านส่งเคราะห์ต่างๆออกไปจากตัวเพื่อปิดฉากประเพณีสงกรานต์ล้านนา
สงกรานต์ภาคอีสาน
นิยมจัดกันอย่างเรียบง่าย แต่ว่ามากไปด้วยความอบอุ่น โดยคนอีสานจะเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า
"บุญเดือนห้า" หรือ"ตรุษสงกรานต์" และจะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15
ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง
เป็นเวลาเริ่มงานโดยพระสงฆ์จะตีกลองโฮมเปิดศักราช จากนั้นญาติโยมจะจัดเตรียมน้ำอบหาบไปรวมกันที่ศาลาวัดเพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป
แล้วต่อด้วยการรดน้ำดำหัว ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอขมาลาโทษจากนั้นก็จะเป็นการเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน
สงกรานต์ภาคใต้
ตามความเชื่อของประเพณีสงกรานต์แบบดั้งเดิมที่ภาคใต้แล้ว สงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง
พวกเขาจึงถือเอาวันแรกของสงกรานต์(13 เม.ย.)เป็น"วันส่งเจ้าเมืองเก่า"
โดยจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์สิ่งไม่ดีออกไป ส่วน"วันว่าง"(14 เม.ย.) ชาวนครจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด และสรงน้ำพระพุทธรูป และวันสุดท้ายเป็น"วันรับเจ้าเมืองใหม่"(15
เม.ย.)จะทำพิธีต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงามส่งท้ายสงกรานต์ประเพณีสงกรานต์
สงกรานต์ภาคกลาง
เริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน
เป็นวัน"มหาสงกรานต์" วันที่ 14 เป็น"วันกลาง"หรือ"วันเนา"
วันที่ 15 เป็นวัน"วันเถลิงศก" ทั้ง 3 วันประชาชนจะประกอบพิธีทางศาสนา มีการทำบุญตักบาตร
ปล่อยนกปล่อยปลา การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
การสรงน้ำพระ การขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทราย
ภาคเหนือ
ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง: 13 - 15 เมษายน
บริเวณทั่วเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- ประเพณีสรงน้ำโอยทาน
สงกรานต์ ศรีสัชนาลัย: 13 -15 เมษายน บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
- ประเพณีสงกรานต์อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย : 13 -15 เมษายน บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
- มหาสงกรานต์อีสานหนองคาย(สงกรานต์ไทย-ลาว):
6 - 18 เมษายน บริเวณหาดจอมมณีแม่น้ำโขงและวัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย
- สงกรานต์นครพนม
รื่นรมย์บุญปีใหม่ไทยลาว: 12 - 15 เมษายน อำเภอเมืองนครพนม และอำเภอเรณูนคร
จังหวัดนครพนม
- สุดยอดสงกรานต์อีสาน
เทศกาลดอกคูน-เสียงแคนและถนนข้าวเหนียว:
8 - 15 เมษายน บริเวณบึงแก่นนคร และถนนศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น
- มหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร:
8 - 15 เมษายน บริเวณสนามหลวง ถนนข้าวสาร และรอบเกาะรัตนโกสินทร์ Summer Fave 2007 city
on the beach: 12 - 16 เมษายน ลานเซ็นทรัลเวิลด์สแควร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
สี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร
- ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า:
บริเวณรอบเกาะเมืองอยุธยา
- ประเพณีสงกรานต์พระประแดง: 20 - 22 เมษายน บริเวณเทศบาลเมืองพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
- งานประเพณีวันไหลพัทยา-นาเกลือ:
18 - 19 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะลานโพธิ์ จังหวัดชลบุรี
- ประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน:
16 - 17 เมษายน บริเวณชายหาดบางแสน อำเภอเมืองล จังหวัดชลบุรี
- งานประเพณีสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว:
19 - 21 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะเกาะลอย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
- ประเพณีสงกรานต์เกาะสีชัง:
13 - 19 เมษายน บริเวณเกาะสีชังและเกาะขามใหญ่ จังหวัดชลบุรี
- งานเทศกาลมหาสงกรานต์เมืองนครศรีธรรมราช
แห่นางดาน: 11-
15 เมษายน บริเวณวัดพระบรมธาตุ และบริเวณสวนศรีธรรมโศกราช
จังหวัดนครศรีธรรมราช
- Songkran the Water
Festival on the Beach: 12 - 16 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะโลมา
และเดอะพอร์ต ศูนย์การค้าจังซีลอน หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
- หาดใหญ่มิดไนท์สงกรานต์:
12 - 13 เมษายน บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศและถนนเสน่หานุสรณ์ อำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา
เมื่อถึงวันสงกรานต์
เป็นเวลาที่ทุกคนจะยิ้มแย้มแจ่มใส ทำใจให้เบิกบาน เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ
ซึ่งมีดังต่อไปนี้
- การทำบุญ ตักบาตรตอนเช้า หรือนำอาหารไปถวายพระที่วัด
- การทำบุญอัฐิ อาจจะทำตอนไหนก็ได้
เช่น หลังจากพระภิกษุ - สามเณรฉันเพลแล้ว หรือจะนิมนต์พระมาสวดมนต์
ฉันเพลที่บ้าน แล้วบังสุกุลก็ได้
- การทำบุญอัฐิ อาจจะนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ
หากไม่มีให้เขียนชื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วลงในกระดาษ เมื่อบังสุกุลเสร็จจึงเผากระดาษแผ่นนั้นเสีย
เช่นเดียวกับการเผาศพ
- การสรงน้ำพระ มี 2 แบบ คือ
การสรงน้ำพระภิกษุสามเณร และการสรงน้ำพระพุทธรูป
การสรงน้ำพระภิกษุสามเณร จะใช้แบบเดียวกับอาบน้ำ
คือ การใช้ขันตักรดที่ตัวท่าน หรือที่ฝ่ามือก็ได้ แล้วแต่ความนิยม หากเป็นการสรงน้ำแบบอาบน้ำพระ
จะมีการถวายผ้าสบงหรือถวายผ้าไตรตามแต่ศรัทธาด้วย
การสรงน้ำพระพุทธรูป อาจจะจัดเป็นขบวนแห่ หรือ เชิญมาประดิษฐานในที่อันเหมาะสม
การสรงน้ำจะใช้น้ำอบ น้ำหอม หรือน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบ น้ำหอมประพรมที่องค์พระ
การก่อพระเจดีย์ทราย จะทำในวันใดวันหนึ่งระหว่างวันที่
13 - 15 เมษายน โดยการขนทรายมาก่อเป็นเจดีย์ขนาดต่าง ๆ ในบริเวณวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้วัดได้ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง
หรือถมพื้นต่อไป ถือเป็นการทำบุญอีกลักษณะหนึ่งที่ได้ทั้งบุญและความสนุกสนาน
การปล่อยนก
ปล่อยปลา เป็นการทำบุญทำทานอีกรูปแบบหนึ่ง
โดยเฉพาะการปล่อยนก ปล่อยปลาที่ติดกับดัก
บ่วง ให้ไปสู่อิสระ หรือปลาที่อยู่ในน้ำตื้น ๆ ซึ่งอาจจะตายได้ หากปล่อยให้อยู่ในสภาพแบบเดิม
- การรดน้ำผู้ใหญ่
หรือการรดน้ำขอพร
เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ของครอบครัว หรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ การรดน้ำผู้ใหญ่อาจจะรดน้ำทั้งตัวหรือรดเฉพาะที่ฝ่ามือก็ได้
ดังนั้นจึงควรมีผ้านุ่งห่มไปมอบให้ด้วย เพื่อจะได้ผลัดเปลี่ยนหลังจากเสร็จสิ้นพิธีแล้ว
- การเล่นรดน้ำ หลังจากเสร็จพิธีการต่าง
ๆแล้ว เป็นการเล่นรดน้ำ เพื่อเชื่อมความ สัมพันธ์ระหว่างญาติมิตร
โดยการใช้น้ำสะอาดผสมน้ำอบหรือน้ำหอม หรือจะใช้น้ำอบก็ได้ รดกันเบา ๆ
ด้วยความสุภาพ
- การเล่นรื่นเริงต่างๆ เช่น
เข้าทรงแม่ศรี สะบ้า ลูกช่วง สุดแล้วแต่ความนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ
ประเพณีปฏิบัติเหล่านี้ อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปบ้างตามแต่ละท้องถิ่น การจะยึดถือปฏิบัติอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความต้องการของชุมชนเป็นสำคัญ
จากภาพรวมของกิจกรรมต่าง
ๆ ในวันสงกรานต์ จะเห็นได้ว่า สงกรานต์เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร
และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความเคารพซึ่งกันและกัน เป็นประเพณีที่ให้ความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ในสังคม
โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน มิใช่เทศกาลแห่งน้ำอย่างที่หน่วยงานของรัฐบางแห่งกำลังดำเนินการเพื่อสร้างจุดขาย
สร้างรายได้เข้าประเทศ จนสร้างความเข้าใจผิดให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่คนไทยด้วยกันเอง
ซึ่งกำลังจะห่างไกลและหลุดลอยไปจากรากเหง้าเดิมของประเพณีสงกรานต์กันไปทุกที
ประเพณีที่ถือปฏิบัติและสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เช่น ประเพณีสงกรานต์นี้
จึงย่อมมีความหมายและมีคุณค่าต่อผู้ปฏิบัติ ชุมชนและสังคมเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ
วันสงกรานต์เป็นวันแห่งความรัก ความผูกพันในครอบครัว อย่างแท้จริง สมัยก่อนพ่อแม่จะเตรียมเสื้อผ้าใหม่พร้อมเครื่องประดับให้ลูกหลานไปทำบุญ
ลูกหลานก็จะเตรียมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้ผู้ใหญ่ได้สวมใส่หลังการรดน้ำขอพร ปัจจุบันเมื่อถึงวันสงกรานต์ทุกคนจะหาโอกาสกลับบ้านไปหาพ่อแม่รดน้ำขอพร
เพื่อเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นปีใหม่และเป็นกำลังใจกันและกันในการดำรงชีวิตอยู่ต่อไป
วันสงกรานต์เป็นวันแห่งการแสดงความกตัญญู โดยการปรนนิบัติต่อพ่อแม่และผู้มีพระคุณที่มีชีวิตอยู่
และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
วันสงกรานต์ เป็นวันที่ก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน เช่น การได้พบปะสังสรรค์ร่วมกันทำบุญ และการละเล่นสนุกสนานรื่นเริงในยามบ่ายหลังจากการทำบุญ โดยการเล่นรดน้ำในหมู่เพื่อนฝูงและคนรู้จักและการละเล่นตาม
ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่แผ่ขยายครอบคลุมไปทั่วโลก
โดยเฉพาะที่ส่งผลกับประเทศไทย ก่อให้เกิดภาวะวิกฤตกับวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก ประเพณีสงกรานต์ก็ตกอยู่ในวัฏจักรนี้เช่นเดียวกัน
มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายประการที่ยังความเป็นห่วงให้เกิดขึ้นแก่ทุกคนที่รักและเห็นคุณค่าของประเพณีนี้
จึงมีความพยายามที่จะรณรงค์ทุกรูปแบบเพื่อให้ทุกคนที่เป็นคนไทย รวมทั้งชาวต่างชาติได้รับรู้ถึงความหมาย
ความสำคัญ และคุณค่าของประเพณีสงกรานต์ที่แท้จริง
หากคนไทยทุกคนเข้าใจถึงคุณค่า และแนวทางปฏิบัติของประเพณีสงกรานต์ และร่วมมือกันปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อสืบทอดความหมายและคุณค่า
ความเบี่ยงเบน ความรุนแรงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็จะหมดไป
โดยเฉพาะเกี่ยวกับการเล่นสาดน้ำที่เกินเหตุ ซึ่งนอกจากจะเต็มไปด้วยพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตรายทั้งการใช้น้ำสกปรก
การใช้น้ำแข็งขว้างปา การใช้อุปกรณ์ฉีดน้ำที่มีแรงดันสูงจนก่อให้เกิดอันตราย การใช้แป้งใช้สีทาตามหน้าตาและเนื้อตัว
ฯลฯ ตลอดจนกระทั่งการขยายความหมายของการเล่นสาดน้ำให้เป็นจุดขายของประเพณีสงกรานต์จนเกินจริง
ทั้ง ๆ ที่การเล่นรดน้ำเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่แสดงถึงความเอาใจใส่ ความเอื้ออาทร และความหวังดีซึ่งกันและกันเท่านั้น
เราคนไทยควรใช้ประเพณีสงกรานต์นี้ เป็นโอกาสในการสร้างความรัก ความกตัญญู
ความเอื้ออาทร ความเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อสานความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อมนุษย์ด้วยกัน
มากกว่าจะเป็นเพียงการเล่นสาดน้ำอย่างอึกทึกครึกโครมเท่านั้น โดยละเลยคุณค่า สาระ ที่เป็นแก่นแท้ของประเพณีสงกรานต์ที่งดงามมาและทรงคุณค่ามาแต่อดีต
การเล่นสาดน้ำเป็นสัญลักษณ์ของวันสงกรานต์
ตอบลบปัจจุบันประเพณีอันดีงามจางหายไปตามกาลเวลาและยุคสมัย
กลายเป็นสงกรานต์โคโยตี้ไปซะแล้ว.....หุหุหุ
ใช่แล้วครับพี่ปัจจุบันประเพณีอันดีงามจางหายไปสมัยนี้ต้องใส่น้ำแข็งให้น้ำให้มันเย็นๆแล้วสาดไปที่
ตอบลบโคโยตี้จนหนาวไปเลยครับแล้วต่อด้วยแป้งขาวๆที่หน้า...แล้วแต่
วันสงกรานต์คงต้องมีหลายคนที่เฝ้าคอยวันนี้เพราะว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไทย และ ก็จาได้เล่นสาดน้ำเพื่อคล้ายความร้อนและสงฆ์น้ำพระเพื่อเป็นสิริมงคล แต่ไวรุ่นส่วนใหญ่มักลืมพระเพณีที่สวยงามเล่นกันแบบผิดๆอยากให้วัยรุ่นยุกใหม่หันมารักษาประเพณีที่สวยงามเอาไว
ตอบลบจริงไหมค่ะปีที่แล้วยัง...เลย
ลบผมว่า สงกรานต์ นี้ เราไปเที่ยว บุรีรัม กันดีกว่า ท่าน เนวิน เขาจะจัดงาน ครั้งยิ่งใหญ่ ถ้าใครได้ไปอย่าลืมเก็บ ภาพ ความทรงจำดีดี มาฝากบ้างนะ ส่วนผมก็จะพาลูกเล่นน้ำ ทำบุญ แถวนี้แหละ
ตอบลบไปไกลไม่ได้ เดี๋ยวหลง ........ทาง......
เดี๋ยวฝากให้พี่เปิ้ลซื้อมาฝากนะ เอาแบบเดียวกับเนวินเลย :D
ลบจะเล่นที่ไหน เที่ยวที่ไหน ก็ขอให้เล่นกันอย่างสนุกสนาน อุบัติเหตุเป็นศูนย์และอย่าลืมรดน้ำดำหัว คนเฒ่าคนแก่ที่เราเคารพด้วยละครับ ขอให้โชคดีทุกคน สาธุ สาธุ สาธุ
ตอบลบยาวมากอ่านสองวันยังไม่หมด... ไม่ได้เล่นสงกรานต์มาสองปีแล้ว กะว่าปีนี้ต้องเล่นซะหน่อย สรงน้ำพระ ทำบุญกันด้วยเน้อออออ
ตอบลบสงกรานต์ไปลอยกระทงกันดีกว่า555 สงกรานต์ปีนี้ขอให้ทุกคนเดินทางไปไหนมาไหนขอให้ปลอดภัยและโชคดีด้วยนะคับ
ตอบลบสงกรานต์นี้ได้ข่าวว่ามีคนกลับบ้านหลายคน
ตอบลบก็ขอให้เดินทางปลอดภัย ระวังรถระวังคนด้วยนะจ๊ะ
เพราะ รถ+คนเยอะมากกกกก
(เนื่องจากเคยไปเที่ยววสงกรานต์บ้านเพื่อน ปรากฎว่ารถติดทั้งขาไปและขากลับ)
ปีนี้ต้องเข้ากะกะกะ เซ็ง
ตอบลบแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ ของเทศกาลวันสงกรานต์ หลายท่านน่าจะคิดถึงเชียงใหม่เพราะส่วนมากเขายังอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามไว้ อย่างไรก็ตามหลายท่านคงกลับไปพบปะสังสรรค์กับญาติมิตรที่บ้าน ขอให้สนุกกันเต็มที่นะครับ
ตอบลบสงกรานต์เป็นวันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกับคนไทย โดยเฉพาะคนภาคเหนือ เพราะเป็นวันขึ้นปี๋ใหม่เมือง ญาติมิตร จะมารวมกันโดยนัดหมาย รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ อยากจะชวนทุกคนทุนไปเที่ยว สงกรานต์ที่ลำปางมากเลยครับ ไปแล้วรับรองจะไม่อยากจะกลับ 555
ตอบลบขอแนะนำนะค้าบสงกรานต์นี้ใครผ่านทางเหนือเชิญได้ที่เมืองเก่าสุโขทัยและศรีสัชนาลัย..จะม่วนซื่นและม่วนใจ๋ขนาดหนัก
ตอบลบกระทรวงวัฒนธรรมประกาศวันสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๕๕ ด้วยใจความดังนี้
ตอบลบประกาศวันสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ปีมะโรง จัตวาศก จันทรคติเป็น อธิกมาส ปกติวาร สุริยคติเป็น อธิกสุรทิน วันมหาสงกรานต์ ตรงกับ วันศุกร์ที่ ๑๓ เมษายน เวลา ๑๙.๔๖ น. ตรงกับเวลา ๒๐.๐๔.๑๒ น. (เวลามาตรฐานประเทศไทยปัจจุบัน)
นางสงกรานต์นามว่า กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ หัตถ์ขวาทรงขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร (นอนลืมตา) มาเหนือหลังมหิงส์ (กระบือ) เป็นพาหนะ
เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ พฤหัสบดี เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๕๐๐ ห่า ตกในเขตจักรวาล ๒๐๐ ห่า ตกในป่าหิมพานต์ ๑๕๐ ห่า ตกในมหาสมุทร ๑๐๐ ห่า ตกในโลกมนุษย์ ๕๐ ห่า เกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่อวาโย (ธาตุลม) น้ำพอประมาณ พายุจัด
เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีมะโรง นาคราชให้น้ำ ๓ ตัว ทำนายว่า ฝนต้นปีมาก กลางปีงาม แต่ปลายปีน้อยแล
เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ วิบัติ ข้าวกล้าในไร่นา จะเกิดกิมิชาติ คือ มีด้วงแมลงรบกวน ข้าวกล้าจะได้ผล ๑ ส่วน เสีย ๕ ส่วน
บ้านเมืองจะเกิดยุทธสงคราม จะฆ่าฟันกัน จะนิราศจากกัน จะฉิบหายเป็นอันมากแล
วันเถลิงศก ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ ๑๕ เมษายน เวลา ๒๓.๔๓.๔๘ น. ตรงกับเวลา ๐.๐๑.๔๘ น. (เวลามาตรฐานประเทศไทยปัจจุบัน)
การนอนลืมตามาของนารีขี่หลังควาย มือขวาถือพระขรรค์-มือซ้ายถือพิณ แบบนี้ก็หมายความว่า การฆ่าฟันพลันฉิบหายตามคำทำนาย
พูดถึงวันสงกรานต์ทุกคนมักจะนึกถึงวันหยุดยาวๆ ที่ทุกคนต่างรอที่จะกลับไปหาครอบครัวเพื่อได้อยู่พร้อมหน้ากัน...ถือเป็นวันครอบครัวที่สำคัญวันหนึ่งที่ทุกคนต่างกลับไปหาญาติผู้ใหญ่เพื่อขอพรและรดน้ำดำหัวท่านเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัว...(สงกรานต์นี้ผมว่าจะกลับบ้านไปขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวบ้าง...หุหุ)
ตอบลบแบ๊งสงกรานต์อย่าลืมไปไหว้พ่อตาแม่ยายนะ รดน้ำดำหัวจะได้สินสอดถูกๆ
ลบสงกรานต์ก็คือการขอขมา ผู้เฒ่า ผู้เเก่ จำได้ตอนสมัยเด็กๆ กว่าจะเดินไปรดน้ำดำหัวผู้หลัก ผู้ใหญ่เสร็จต้องออกจากบ้านตั้งเเต่ตอนสายๆกว่าจะเสร็จก็ตอนเย็นๆ
ตอบลบเเต่ตอนนี้ ตอนเที่ยงก็เสร็จเเล้ว เพราะอะไรรู้ไหมเอย ก็เพราะว่าผู้เฒ่า ผู้เเก่ที่เรานับถือได้ไปเที่ยวที่สวรรค์ชั้นฟ้ากันเกือบหมดเเล้ว
อีกอย่างตอนนี้มันร้อนมากๆ คนเค้าไม่ค่อยเดินกัน มักจะใช้รถยนต์กันมากขึ้นประเพณีดีๆก็เริ่มเเปรเปลี่ยนไป
สงกรานต์เป็นวันรวมญาติของทางเหนือครับ ลูกหลานทุกคนจะกลับบ้านมารดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ปีนี้ผมเที่ยวแพร่ครับ
ตอบลบสงกรานต์คือวันปีใหม่ไทย ก็ขอให้ทุกคนมีความสุขนะครับ ส่วนใครจะต้องเดินทางกลับบ้านเกิดและเที่ยวในต่างจังหวัด ก็ให้เดินทางปลอดภัยนะครับ
ตอบลบขอให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงทุกคน และขอให้โชคดีนะครับ
ตอบลบสงการนต์ปีนี้ทำงาน ไม่ได้กับบ้านครับ เสียดายจัง
ตอบลบเหมือนกันเลยพี่..หลังสงกรานต์ว่างๆเราไปสาดกันหน่อยมัยพี่ย้อนหลัง
ลบวันสงการนต์นั้นคนไทยถือเป็นวันรวมญาติ เพราะจะมารดน้ำญาติผู้ใหญ่กัน ถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา ฉะนั้นสำหรับผู้ที่เดินทางกลับบ้านขอให้เดินทางปลอดภัยน๊ะครับ
ตอบลบช่วงวันสงกรานต์นี้ ไปวัดกันเถอะ
ตอบลบรับรอง..สงบและเย็นกว่าเยอะ
สงกราน์นี้ดีนะครับทำให้ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันได้ทำบุญทำ อะไรๆร่วมกันตั้งเยอะแยะ มีความสุขในวันสงกรานต์กันนะคร๊าบ
ตอบลบถึงสงกรานต์ของทุกปีทีไรก็จะมากับความสมหวังหรือผิดหวังหรือไม่ได้คาดหวังอะไร แตกต่างกันไป ?????
ตอบลบสงกานต์ปีนีเดือนหงายทั้งวันเพื่อน ๆ ที่ได้มีโอกาสกลับบ้านอย่าลืมมาเล่าความสนุกสนานให้ฟังบ้างนะครับ เนื่องในวันสงกานต์ปีนี้ผมขอตั้งฉายาใหม่ให้น้องคนหนึ่งว่า " T GARO" ครับอยากรู้ความหมายสอบถามเจ้าตัวเองนะครับ (สถานะการสร้างวีรบุรุษดีมากครับน้อง)
ตอบลบวันสงกรานต์วันแห่งการรวมญาติ ทำบุยตักบาตร ทำสิ่งดีกันนะครับ ทำทุกวันก็ได้นะสิ่งดีๆๆนะ
ตอบลบสงกรานต์แบบโบราณตอนนี้ลดลงไปทุกที่ อยากให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีไว้นะครับ อย่างน้อยๆก็กลับบ้านไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ก็ยังดี ลดเหล้าด้วยนะ
ตอบลบสงกรานต์แบบโบราณต้องไปภาคเหนือเขารักษาวัฒนธรรมขนบประเพณีไว้เป็นอย่างดี ไม่เหมือนภาคอื่นๆขนาดต่างชาติยังหอบเสื้อหอบผ้ามาเล่นสงกรานต์บ้านเราเลย
ตอบลบจากที่ผมได้ไปเที่ยวใน 4 ภาค ที่ประทับใจก็คงเป็นภาคเหนือ ส่วนที่ต้องการจะเล่นตั้งแต่วันที่ 1 เมษา จนถึง 13 เมษา ก็ต้องที่ภาคอีสาน หนองคายครับ เค้าเล่นกันหมู่บ้านละวัน ก็อาจจะคล้ายวันไหลของระยอง แต่ระยองจะน้อยกว่า ไปแล้วไม่ผิดหวังเพราะทุกบ้านเขาจะต้อนรับเราทั้งที่ไม่รู้จัก ถ้าไม่แวะบ้านเขาจะถือว่ารังเกียจบ้านเขา ขึ้นไปบนบ้านก็จะมีเหล้า 3 ชนิดตั้งไว้พร้อมกับแกล้ม มีเหล้าป่า เหล้าสี พร้อมเหล้าสาโท จัดเต็มครับ โดยเฉพาะบ้านที่มีสาวๆ หนุ่มๆ ก็จะเยอะเป็นพิเศษ ลองไปเที่ยวกันแล้วจะไม่ผิดหวังครับ
ตอบลบ