|
โรคเก๊าท์เกิดได้ยังไง, ยูริค คืออะไร
โรคเก๊าท์
เป็นโรคที่เป็นกันมากขึ้นในคนไทย โดยเฉพาะผู้ชาย และค่อนข้างมีอายุหน่อย
ทางการแพทย์รู้จักเก๊าท์มานานแล้ว แต่จนปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อโรคนี้อยู่มาก
ทั้งตัวแพทย์ผู้รักษาเอง และผู้ป่วย นำมาซึ่งควาเชื่อผิด ๆ
อยู่ให้เห็นในปัจจุบันเก๊าท์ ( |
Gout) เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมียูริคสูงอยู่ในเลือดเป็นเวลานาน และด้วยคุณสมบัติของยูริคเอง ที่มีการละลายได้จำกัด (ประมาณ 7 มก./ดล.) ทำให้ยูริคส่วนเกินนี้ เกิดการตกตะกอนในร่างกาย ที่พบมากและทำให้เกิดอาการคือ ในข้อต่าง ๆ, ในไต และเมื่อเป็นเรื้อรัง
จะเห็นการตกตะกอนตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เห็นเป็นปุ่มก้อนตามแขนขาได้กรดยูริค
(Uric acid) เป็นผลผลิตจากการสลายสารพิวรีน (purine) ซึ่งเป็นสารสำคัญในการสร้างสาย
DNA ในเซลล์ต่าง ๆ ดังนั้นการสลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มี
DNA จะได้กรดยูริค เสมอ
ทำไมเก๊าท์มีแต่ผู้ชาย อายุมาก, ผู้หญิงไม่เป็นโรคนี้หรือ ? เนื่องจากภาวะกรดยูริคในเลือดที่สูงนั้น
จะยังไม่เกิดการตกตะกอนและเกิดข้ออักเสบทันที
แต่ต้องใช้ระยะเวลา ที่กรดยูริคในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายสิบปี
พบว่าในผู้ชายที่มีกรดยูริคสูงนั้น ระดับของยูริคในเลือด
จะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น และสูงไปนาน จนกว่าจะเริ่มมีอาการ
คืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงระดับยูริค จะเริ่มสูงขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน
เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิง มีผลทำให้ยูริคในเลือดไม่สูงพบว่ายูริคในเลือดที่สูงนั้น
กว่าร้อยละ 90 เกิดจากการสร้างขึ้นในร่างกายเอง อาหารเป็นแหล่งกำเนิดของยูริคในเลือดน้อยกว่าร้อยละ
10 เสียอีก ดังนั้นผู้ที่ไม่มียูริคสูงมาก่อน
การกินอาหารที่มีพิวรีนสูง จึงไม่มีทางทำให้ระดับยูริคสูงได้ครับ
ปวดข้อแล้วไปเจาะเลือดพบว่ายูริคสูง
แสดงว่าเป็นเก๊าท์, ถ้ายูริคไม่สูง ไม่ใช่เก๊าท์ ? เป็นความเข้าใจที่ผิดครับ
การวินิจฉัยโรคเก๊าท์ อาศัยประวัติและการตรวจร่างกายง่าย
ๆ ครับ ข้ออักเสบจากเก๊าท์วินิจฉัยได้ง่าย เพราะผู้ป่วยจะมีอาการ
"ปวด บวม แดง ร้อน" ที่ข้อชัดเจน เป็นเร็ว และมักเป็นข้อเดียว ข้อที่เป็นบ่อยได้แก่
ข้อนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า, ข้อเข่า ถ้าผู้ป่วยปวดข้อ
แต่สงสัยว่ามีปวด บวม แดง ร้อนหรือไม่ หรือตรวจไม่พบ ไม่ชัดเจน
ให้สงสัยว่าไม่ใช่เก๊าท์
ครับ รายที่เป็นเรื้อรังอาจมีปวดหลายข้อและพบมีปุ่มก้อนที่รอบ ๆ ข้อ
เช่น ข้อเท้า, ส้นเท้า, ข้อมือ, นิ้วมือ ได้ ถ้าก้อนเหล่านี้แตกออกจะพบตะกอนยูริคคล้ายผงชอล์กไหลออกมา
การเจาะเลือดตรวจระดับกรดยูริคในเลือด ในช่วงที่มีข้ออักเสบอาจพบว่า สูง ต่ำ หรือเป็นปกติได้ครับ ดังนั้นผู้ที่มีข้ออักเสบเก๊าท์ ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดในขณะนั้นและไม่ช่วยในการวินิจฉัยครับ ดังนั้น..
การเจาะเลือดตรวจระดับกรดยูริคในเลือด ในช่วงที่มีข้ออักเสบอาจพบว่า สูง ต่ำ หรือเป็นปกติได้ครับ ดังนั้นผู้ที่มีข้ออักเสบเก๊าท์ ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดในขณะนั้นและไม่ช่วยในการวินิจฉัยครับ ดังนั้น..
- ถ้าอาการปวด บวม แดง ร้อน
ที่ข้อไม่ชัดเจน ถ้าเป็นที่ข้อบริเวณเท้า แล้วผู้ป่วยเดินได้สบาย แม้ว่าเจาะเลือดแล้วยูริคสูง
ก็ให้สงสัยว่าไม่ใช่ เก๊าท์
- ถ้ามีอาการปวด บวม แดง ร้อนที่ข้อชัดเจน เป็นในตำแหน่งข้อเท้า
ข้อนิ้วหัวแม่เท้า เป็นเร็ว แม้ว่าจะเจาะยูริคแล้วไม่สูง ก็น่าจะเป็นเก๊าท์ ครับ
เก๊าท์
รักษาได้หายขาด จริงหรือ ? ต้องทำยังไง ?จริงครับ ถ้าเรายอมรับว่า
ผู้ป่วยที่รักษาแล้ว
ไม่มีอาการปวดข้ออีกเลยตลอดชีวิต เรียกว่าหายผู้ป่วยโรคเก๊าท์
จำเป็นต้องได้รับการรักษาเป็น
2 ระยะ ในความดูแลของแพทย์ ได้แก่
- การรักษาในระยะเฉียบพลัน คือ ข้ออักเสบ โดยใช้ยาลดการอักเสบที่นิยมได้แก่
ยา โคลชิซิน (Colchicine) กินวันละไม่เกิน
3
เม็ด (เช่น 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ)
จะทำให้ผู้ป่วยหายจากข้ออักเสบในเวลา 1-2 วัน อาจทำให้ข้ออักเสบหายเร็วขึ้น
ถ้าใช้ร่วมกับยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ บางครั้งอาจมีผู้แนะนำให้กินยาโคลชิซิน
1
เม็ด ทุกชั่วโมง
จนกว่าจะหายปวด หรือจนกว่าจะท้องเสีย ซึ่งไม่แนะนำ เพราะผู้ที่กินยานี้
จะท้องเสียก่อนหายปวดเสมอ
- การรักษาระยะยาว
โดยใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด โดยถือหลักการว่า ถ้าเราลดระดับยูริคในเลือดได้ ต่ำกว่า 7 มก./ดล. จะทำให้ยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกมา
และขับถ่ายออกจนหมดได้ ยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยา อัลโลพูรินอล (Allopurinol) ขนาด 100-300 มก. กินวันละครั้ง ซึ่งยานี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
กินยาสม่ำเสมอ และกินไปนานอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อกำจัดกรดยูริคให้หมดไปจากร่างกาย การกิน ๆ หยุด ๆ
จะทำให้แพ้ยาได้ง่าย ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังชนิดรุนแรง
ข้อคำนึงในการรักษาได้แก่
- ยาลดกรดยูริคมีผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ จึงสงวนไว้ใช้ในผู้ป่วยเก๊าท์เท่านั้น
ผู้ที่ตรวจเลือดแล้วพบว่า ยูริคสูง โดยไม่มีอาการปวดข้อแบบเก๊าท์มาก่อน
ไม่มีความจำเป็นต้องกินยานี้ เพราะผู้ที่ยูริคสูงไม่ได้เป็นเก๊าท์ทุกคน การกินยาทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงโดยไม่จำเป็น
- เมื่อมีอาการปวดข้อเกิดขึ้น อย่านวด
เพราะการนวด หรือใช้ยาทาถู ทำให้อาการข้ออักเสบ เป็นนานขึ้น หายช้า
- ในผู้ที่มีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์
เป็นครั้งแรก ไม่จำเป็นต้องเริ่มยาลดยูริคตั้งแต่แรก เพราะผู้ป่วยส่วนหนึ่ง
มีอาการข้ออักเสบ เพียงครั้งเดียวในชีวิต และไม่เป็นอีก และพบว่าการเริ่มกินยาลดกรดยูริคในขณะที่ข้ออักเสบ
จะทำให้ข้ออักเสบหายช้าลง
- ในผู้ป่วยที่กินยาลดกรดยูริคอยู่ อาจพบว่ามีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์ได้
ซึ่งไม่จำเป็นต้องหยุดยา เพียงแต่รักษาข้ออักเสบตามข้างต้น และเมื่อกินยาต่อไปเรื่อย ๆ
จะพบว่า ข้ออักเสบจะเป็นห่างขึ้น
เป็นน้อยลง หายเร็วขึ้น จนกระทั่งไม่มีอาการข้ออักเสบอีกเลย
- หลังจากกินยาไปแล้ว 3-5 ปี อาจลองพิจารณาหยุดยาได้ ในผู้ป่วยที่อายุมาก เนื่องจากยูริคที่เริ่มสูงขึ้นหลังจากหยุดยา กว่าจะเริ่มสะสมจนเกิดข้ออักเสบนั้น
กินเวลา หลายสิบปี จนอาจไม่เกิดอาการอีกเลยตลอดชีวิต
อาหารกับโรคเก๊าท์ ? / เป็นเก๊าท์ ห้ามกินสัตว์ปีก ?ไม่ห้ามครับ
เพราะเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ข้างต้น
ยูริคที่สูงกว่าร้อยละ 90 เกิดจากร่างกายสร้างขึ้นเอง อาหารเป็นส่วนประกอบน้อยมาก
ต่อระดับยูริคในเลือด มีการทดลองให้อาสาสมัคร
กินอาหารที่มีพิวรีนสูง ทั้ง 3 มื้อ เช่น สัตว์ปีก, เครื่องในสัตว์, ยอดผัก, ไข่ปลา เป็นต้น
เป็นเวลาหลายสัปดาห์ พบว่าระดับยูริคในเลือดสูงขึ้นเพียง
1 มก./ดล. ดังนั้นคนธรรมดาที่ไม่ได้กินแต่อาหารที่มีพิวรีนสูงอย่างเดียว
จึงแทบไม่มีผลต่อระดับยูริคในเลือดเลย
นอกจากนี้ ผู้ป่วยเก๊าท์มักเป็นชายวัยกลางคนหรือสูงอายุ ซึ่งอาจมีโรคอื่น ๆ
ร่วมด้วย เช่น เบาหวาน, ความดันเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องจำกัดหรืองดอาหารบางประเภทอยู่แล้ว
การบอกให้ผู้ป่วยเก๊าท์งดอาหารพิวรีนสูงเหล่านี้
ทำให้ผู้ป่วยลำบากในการเลือกกินอาหารยิ่งขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วยเก๊าท์ที่กินยาลดยูริคอยู่แล้ว
ยิ่งไม่มีความจำเป็นต้องเลี่ยงอาหารใด ๆ อีกจะเห็นได้ว่า โรคเก๊าท์
เป็นโรคที่มีหลายคน ยังเข้าใจผิดถึงโรคและการปฏิบัติตัว ทำให้เกิดความลำบากในการรักษา
และสร้างความทุกข์กับผู้ป่วยด้วย บทความนี้คงทำให้ผู้อ่านได้ประโยชน์
และยิ่งถ้าผู้ป่วยได้อ่านจะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อตนเองยิ่งขึ้น
ตรวจสุขภาพปีนี้ ไม่รู้ยูริคจะมีป่าว.....รอผล
ตอบลบผมก็เป็นเก๊านะ เก๊ารักตัวเองนะ ไม่รู้ว่าเป็นรึป่าวแต่รู้ว่าแอลกอฮอในเลือดสูง
ตอบลบแล้วถ้าเรามีการบริจากเลือด บ่อยๆ จะช่วยได้ไหมครับ ใครรู้บ่วยตอบที
ตอบลบแล้วถ้าใช้ยาติดต่อกันยาวหลายปีจะมีผลต่อร่างกายรึเปล่าครับ
ตอบลบเข้าใจผิดมานาน เรื่องอาหารที่กินเข้าไป เช่นกินเป็ด กินไก่ เครื่องในเยอะจะเป็นเก๊าท์ได้ คนเป็น
ตอบลบเก๊าท์ก็สบายใจขึ้นเพราะมีผลบ้างแต่นิดหน่อย
ไม่เป็นโรคเก๊าท์แต่ข้อพลิกยังปวดไม่หาย
ตอบลบพี่คนหนึ่งละโรคเก๊าท์ถามหาอยู่ตอนนี้ปีที่แล้วกรดยูริคอยู่ประมาณ 8-9 มก./ดล.แต่ปีนี้รอลุ้นผลการตรวจอยู่
ตอบลบกินอาหารที่มีประโยชน์ และ ออกกำลังกายเป็นประจำน่าจะช่วยลดโรคต่างๆได้ครับ
ตอบลบคิดถึงเพือนคนหนึ่ง ใครว่ามันไม่ดีแต่มันก็จริงใจพูดกับเราตรงๆๆดีกว่าพวกเอาดีต่อหน้า คำที่มันชอบพูดก็จริงของมัน ทำดีได้ชาติหน้าทำเอาหน้าได้ชาตินี้ แล้วเจอกันนะเพือนถ้าได้อ่าน
ตอบลบอายุก็มากๆกันแล้วต้องเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินกันซะใหม่ งดเนื้อสัตว์
ตอบลบควรต้องหันมากินผักผลไม้กันให้มากๆนะพวกเรา ยกเว้นกินเด็กนะ...อิอิ555+
อ่ า น แ ล้ ว ก็ อุ่ น ใ จ จ ะ ไ ด้ กิ น ไ ก่ ไ ด้ ส บ า ย ใ จ ห น่ อ ย ...
ตอบลบพึ่งรู้ผลการตรวจสุขภาพกัน ใครเป็นยังไงก็น่าจะรู้ตัวดีน่ะครับ ก็ควรกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี้ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ สุขภาพจะได้ดีขึ้น
ตอบลบต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินแล้วหลังการอ่านบทความนี้
ตอบลบThank a lot krub
ปวดข้อ ปวดเข่า แต่ผลตรวจสุขภาพกรดยูริคก็ไม่สูง แต่ต้องเป็นเก๊าแน่ๆ ฟังอย่างงี้แล้ว
ตอบลบเก๊าท์ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆรักตัวเองงงงงง
เป็นข้อเข่าอักเสบหรือปล่าว...ตัวเอง...
ลบสงสัยครับ
ลบแสดงว่าการกินไก่เยอะๆ ไม่ได้ทำให้เป็นโรคเก๊าท์เลย เข้าใจผิดมาตั้งนานเลยครับ ขอบคุณบทความนี้มากๆเลยครับ
ตอบลบกินไก่หรือสัตว์ปีกไม่ค่อยมีผลกะเก๊าท์ก็จริงแต่...โรคอย่างอื่นไม่แน่แฮะๆๆๆๆ
ตอบลบเกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ. สถาบันเวชศาสตร์อายุร วัฒน์นานาชาติ บอกว่า ไม่มีงานวิจัยที่ชี้ว่ากินปีกไก่แล้วทำให้เกิดซีสต์ที่รังไข่เลย แต่ซีสต์ที่รังไข่อาจ เกิดจากไก่ได้ทางอ้อม คือ กินหนังไก่จนอ้วนมากไป เพราะความอ้วนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิด "ซีสต์รังไข่"
ถ้าเป็นเมื่อ 10 ปีก่อน คือ ราวปี 2542 อาจจะจริง เพราะการฉีดฮอร์โมนนี้นิยมฉีดที่ปีกกับคอไก่ แต่เดี๋ยวนี้มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่ไม่ให้ใช้ฮอร์โมนเร่งฉีดในไก่แล้ว จากการสอบถามสัตวแพทย์บอกว่า ฟาร์มไก่เกือบ 100 เปอร์ เซ็นต์ไม่ใช้ฮอร์โมนแล้ว ไม่ว่า จะแบบฉีดหรือฝังใต้หงอน พูดง่าย ๆ ว่าคนที่กินไก่หลัง พ.ศ. 2542 น่าจะสบายใจได้เรื่องฮอร์โมน อีกทั้งฮอร์โมนแพงมาก ไก่เดี๋ยวนี้เลี้ยงกันราว 40-45 วัน คือให้สั้นที่สุดจะได้ไม่เปลือง ฉะนั้นเขา ไม่ลงทุนกับฮอร์โมนแพง ๆ เป็นแน่
ในยุคนี้ถ้าจะเร่งด้วยฮอร์โมนเขาจะใช้ฮอร์โมนจากธรรมชาติเช่น "กวาวเครือขาว" ที่มีสารคล้ายเอสโตรเจนอยู่ อย่างไรก็ดีอาจมีสารตกค้างจากอาหารที่เลี้ยงไก่บางอย่างแทน โดยสารพิษหรือยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนในอาหารไก่พอไก่กินเข้าไปจะละลายอยู่ตามไขมันในตัว โดยเฉพาะหนังไก่ คอไก่ ปลายปีกที่มีหนังเยอะ
บริเวณไหนของไก่ที่อันตรายน้อยที่สุด? นพ.กฤษดา กล่าวว่า ส่วนที่เป็นอกดีที่สุดเพราะมีมันน้อย จะได้ไม่ต้องเสี่ยงกับยาพิษตกค้างที่มักละลายอยู่ในมันไก่ รองลงมา เป็นส่วนใดก็ได้ที่เป็นเนื้อล้วนมีมันแทรกน้อย เช่น น่องและตะโพก เพราะพวกสารเคมีเป็นพิษต่าง ๆ ถ้าจะปนในไก่มักจะปนในไขมัน ดังนั้นท่านที่ชอบทานหนังไก่ทอดร้อน ๆ หอมอร่อยต้องระวัง
การนำไก่มาปรุงอาหาร วิธีการปรุงที่ดีที่สุด คือ ปรุงแบบไม่ต้องใช้น้ำมัน เช่น ต้ม ย่าง นึ่ง มีเคล็ดอยู่บ้างตรงที่ถ้าต้มไก่ก็พยายามช้อนเปลวมันที่ลอยฟ่องอยู่ออกเป็นระยะจะได้ลดสารพิษลง ถ้าย่างก็ลอกหนังออกบ้างก่อนก็ดี เพราะมันจะมีสารก่อมะเร็งเยอะอยู่
กินเนื้อไก่บ่อย ๆ มีโทษหรือไม่? นพ.กฤษดา บอกว่า ไม่มีปัญหา ยกเว้นถ้าเป็น "เกาต์" คงต้องระวัง เพียงแต่สลับกันกับเนื้อสีขาวอย่างอื่นด้วยก็จะดี ตามหลักของการกินให้หลากหลายเช่นสลับกับเนื้อปลา ไข่ขาว เต้าหู้บ้างก็ได้
เนื้อไก่อยู่ในกลุ่มเนื้อสีขาว (White meat) ถือเป็นโปรตีนย่อยง่าย ไขมันน้อย โดยเฉพาะเนื้อไก่งวงที่กระด้างเหมือนกระดาษ ถ้าเทียบกับเนื้อวัวเนื้อหมูแล้วเนื้อไก่ก่อให้เกิด "ภูมิแพ้" น้อยกว่า ถ้าใครเป็นภูมิแพ้เรื้อรังไม่หาย หรือเด็ก ๆ มีภูมิแพ้เรื้อรัง เปลี่ยนมากินเนื้อไก่แทนเนื้อวัวก็ดี
เนื้อไก่ไม่ค่อยทำให้แพ้ง่าย เพราะกรดอะมิโนในเนื้อไม่ค่อยมากหน้าหลายตาเท่าเนื้อวัว ถึงขนาด รพ. ศิริราช เอาเนื้ออกไก่มาบดทำเป็นน้ำเรียก "นมไก่" ให้เด็กภูมิแพ้กินแทน นมวัว
มีคนชอบพูดว่า กินไก่ที่เร่งฮอร์โมนแล้วทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วจริงหรือไม่? นพ.กฤษดา กล่าวว่า การเป็นหนุ่มสาวเร็วนี้ถือเป็นโรคอย่างหนึ่งเรียก "โรคหนุ่มสาวก่อนวัย" ซึ่งเหตุหนึ่งมาจากการที่มีมวลไขมันพอกตัวเยอะ ในเด็กที่ชอบกินไก่ทอดหรือหนังไก่จะทำให้มีโอกาสสูง อีกประการหนึ่งคือจากฮอร์โมนไก่ละลายเข้าในไขมันคน คือ ไก่ในยุคก่อนปี 2542 ยังมีการใช้ฮอร์โมนกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ฮอร์โมนเหล่านี้มักละลายในไขมันดี เด็กกินเข้าไปก็เก็บสะสมไว้ในไขมันกินบ่อยมากเข้า จึงมีส่วนทำให้เกิด "โรคหนุ่มสาวก่อนวัย" ได้
ท้ายนี้คงต้องบอกว่า ไก่ในปัจจุบันมีความปลอดภัย ฟาร์มต่าง ๆ ไม่ได้ใช้ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงไม่ได้ทำให้เกิด "ซีสต์รังไข่" แต่ซีสต์ที่รังไข่อาจเกิดจากไก่ได้ทางอ้อม คือการ กินหนังไก่จนอ้วนมากนั่นเอง
การหลีกเลี่ยงการป่วยเป็นโรคเก๊าท์ทำอย่างไรครับ และอาหารที่มีพิวรีนสูงมีอะไรบ้างครับ
ตอบลบคนหลายคนคิดว่าการกินไก่จะทำให้เป็นเก๊าท์แต่จริงๆแล้ว มนุษย์ที่มียูริคสูงอยู่ในเลือดเป็นเวลานานเกิดทำให้เป็นโรคเก๊าท~!!!!!!!!!!!!!!!!!
ตอบลบชอบกินไก่ด้วย เลยต้องอดกินเลยครับเดียวไม่สบายๆๆๆ
ตอบลบแต่ที่แน่ๆญาติกินสัตว์ปีกไปแล้วจะมีอาการข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้าบวม ตอนนี้ตายไปแล้ว
ตอบลบปวดตามข้อบ่อยๆ ปวด บวม แดง ครบตามอาการ
ตอบลบไปหาหมอแล้วตรวจเลือดตลอดแต่ค่ากรดยูริกไม่สูง
จนหมอไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร..จึงแนะนำให้ดูแลตัวเองมากขึ้น
เพราะเข้าข่าย...จะเป็นอาการหนึงของโรคภูมิแพ้ตัวเอง
ตรวจสุขภาพปีนี้ปกติดีหลายอย่าง
ตอบลบคนเราอายุมากขึ้นร่างกายก็เสื่อมไปโดยธรรมชาติ แต่ว่าเราอย่าปล่อยให้ใจเราเสื่อมไปตามร่งกาย
ตอบลบในความคิดเห็นผมถ้าเรารับประทานอาหารแล้ว ควรมีการออกกำลังกาย อย่างสมำเสมอ ร่างกายก็จะแข็งเเรง
ตอบลบต้องมีีการตรวจสุขภาพประจำปี และควรหลีกเหลี่ยงอาหารที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ กินอาหารให้ครบ 5หมู่
ตอบลบผลตรวจสุขภาพปีนี้กรดยูริคเกินอีกแล้ว เศ้ราจิงๆๆ
ตอบลบตกลงไปหาหมอ แล้วตรวจเลือดซ้ำหรือยัง
ลบอาการปวดข้อนิ้วเท้าเป็นไรบ้าง
ปวดขา งดกินไก่น่าจะดีขึ้น แต่ปวดใจงดกินไรดีครับ...แป่ว....
ตอบลบไม่อยากเป็นเก๊าตอนแก่คงต้องเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย....
ตอบลบตามใจปากตอนนี้เเล้วลำบากตอนหน้า คุณย่าของผมเป็นเเล้วต้องควบคุมอาหาร เเทบจะกินอะไรไม่ได้เลย น่าทรมานมากครับ
ตอบลบการไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
ตอบลบรู้อย่างนี้ต้องควบคุมการกินแล้วคับถ้าเกิดขึ้นแล้วจะรักษาลำบาก
ตอบลบการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายก็สามารถเลี่ยงปัญหาโรคเกาท์ได้นะครับ
ตอบลบกินอาหารให้ครบ 5 หมู่
ตอบลบเป็นโรคที่่น่ากลัว.........ไม่อยากเปนเลยยยยย
ตอบลบการป้องกันและปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคเก๊าท์(Gout)
ตอบลบ1.สำหรับผู้ป่วยหากมีอาการปวดข้อให้พักผ่อนมากๆ และดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อขับกรดยูริกออกจากร่างกาย ประคบข้อที่ปวดด้วยน้ำอุ่น และงดอาหารที่มีกรดยูริกสูง
2.รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง และพบแพทย์ตามนัด
3.ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการที่กรดยูริกสะสมในไต ซึ่งอาจจะทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วในไตได้
4.สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักมากควรลดน้ำหนัก
5.หากมีอาการปวดข้อ ให้งดอาหารที่กรดยูริกสูง เช่น เครื่องในสัตว์ เหล้าเบียร์ เนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก กุนเชียง เป็นต้น
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
การควบคุมอาหาร
เนื่องจากกรดยูริคจะได้จากการเผาผลาญสารพิวรีนดังนั้นในการรักษาโรคเก๊าท์ จึงต้องควบคุม
สารพิวรีนในอาหารด้วย อาหารที่มีพิวรีน อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย (0-50 มิลลิกรัม ต่อ อาหาร 100 กรัม)
นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่เป็ด,ไข่ไก่,ไข่นกกระทา ธัญญาพืชต่าง ๆ ผักต่าง ๆ ผลไม้ต่าง ๆ น้ำตาล ไขมัน ผลไม้เปลือกแข็ง (ทุกชนิด)
อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง (50-150 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 100 กรัม)
เนื้อหมู
เนื้อวัว
ปลากะพงแดง
ปลาหมึก
ปู
ถั่วลิสง
ใบขี้เหล็ก
สะตอ
ข้าวโอ๊ต
ผักโขม
เมล็ดถั่วลันเตา
หน่อไม้
อาหารที่สารพิวรีนสูง (150 มิลลิกรัมขึ้นไป)
หัวใจ (ไก่)
ไข่ปลา
ตับไก่
มันสมองวัว
กึ๋นไก่
หอย
เซ่งจี๋ (หมู)
ห่าน
ตับหมู
น้ำต้มกระดูก
ปลาดุก
ยีสต์
เนื้อไก่,เป็ด
ซุปก้อน
กุ้งชีแฮ้
น้ำซุปต่าง ๆ
น้ำสกัดเนื้อ
ปลาไส้ตัน
ถั่วดำ
ปลาขนาดเล็ก
ถั่วแดง
เห็ด
ถั่วเขียว
กระถิน
ถั่วเหลือง
ตับอ่อน
ชะอม
ปลาอินทรีย์
กะปิ
ปลาซาดีนกระป๋อง