By Nick
ห่างหายไปสักพักหนึ่งจากการเขียนบล๊อก เพราะมีเพื่อนๆพี่ๆส่ง Blogกันเข้ามาเยอะแยะลงไม่ทัน ต้องใจเย็นๆกันหน่อยนะครับคนลงมีคนเดียว เรื่องไหนไม่ได้ลงอย่าท้อใจ ส่งมาใหม่ได้เรื่อยๆ เรื่องได้อ่านแล้วโดนนี่ได้ลงแน่นอน บางเรื่องอ่านแล้วยังไม่ใช่อาจไม่ได้ลงไม่ต้องแปลกใจ แต่มาถามได้ว่าทำไมไม่ได้ลงเน้อ
ปี 2013 นี้ก็เพิ่งจะเริ่มไปได้เดือนนึง จะพยายามให้ในทุกๆเดือนมีเนื้อหาเกี่ยวกับทางด้านเทคนิคมาลงให้ได้อย่างน้อยเดือนละหนึ่งเรื่อง ต้องขอความอนุเคราะห์จากทางพี่ๆ SUP และ Senior หาเรื่องราวเกี่ยวกับทางด้านเทคนิคมาให้น้องๆทุกคนได้ศึกษากัน
วันนี้ผมก็มีเรื่องหนึ่งที่อยากนำมาแบ่งปันมากๆเพราะรู้เรื่องนี้เรื่องเดียวนี่อธิบายได้ร้อยแปดอย่าง นั่นคือเรื่องของ งานและพลังงานนั่นเอง
เชื่อว่าหลายคนคงได้ดูหนังเรื่อง Transformer แล้ว ที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ พลังงานก็เช่นเดียวกันสามารถเปลี่ยนรูปไปมาได้ ตอนแรกนี้ผมจะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักว่า งานพลังงานในความหมายของ ฟิสิก นั้นเป็นเช่นไร และมันมีประโยชน์อย่างไรกับงานและชีวิตประจำวันของเรา
งาน (work)
งาน (work) คือ ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวราบ งานเป็นปริมาณที่สามารถคำนวณได้จากความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้
งาน = แรง (นิวตัน) x ระยะทาง (เมตร)
เมื่อ W คือ งาน มีหน่วยเป็นจูล ( J ) หรือนิวตันเมตร (N-m)
F คือ แรงที่กระทำ มีนหน่วยเป็นนิวตัน ( N )
s คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวราบ มีหน่วยเป็นเมตร ( m )
จะได้สูตรคำนวณหางาน คือ F = W x s
ตัวอย่าง วินัยออกแรงยกกล่องด้วยแรง 30 นิวตัน แล้วเดินขึ้นบันได 5 ขั้น แต่ละขั้นสูง 20 เซนติเมตรงานที่วินัยทำจากการยกกล่องขึ้นบันไดมีค่าเท่าใด
วิธีทำ จากโจทย์ความสูงของขั้นบันใด = 5 x 20
= 100 cm
= 1 m
จากสูตร W = F x s
= 30 x 1
= 30 J
ตอบ วินัยทำงานจากการลากกล่องได้ 30 จูล
พลังงาน ( energy )
พลังงาน (energy) คือ ความสามารถในการทำงานได้ของวัตถุหรือสสารต่าง ๆ พลังงานสามารถทำให้สสารเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ทำให้สสารร้อนขึ้น เกิดการเคลื่อนที่ เปลี่ยนสถานะเป็นต้น
พลังงานที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันมีหลายรูปแบบ เช่น พลังงานกล พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า พลังงานแสง พลังงานเคมี พลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น
หน่วยของพลังงาน พลังงานมีหน่วยเป็นจูล (J)
ประเภทของพลังงาน
พลังงานแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งได้แก่
1. พลังงานเคมี (Chemical Encrgy)
2. พลังงานความร้อน (Thermal Energy)
3. พลังงานกล (Mechanical Energy)
4. พลังงานจากการแผ่รังสี (Radiant Energy)
5. พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy)
6. พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy)
1.พลังงานเคมี
พลังงานเคมีเป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในสารต่างๆ โดยอยู่ในพันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุล เมื่อพันธะแตกสลาย พลังงานสะสมจะถูกปล่อยออกมาในรูปของความร้อนและแสงสว่าง ตัวอย่างเช่น พลังงานที่ถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่, พลังงานในกองฟืน, พลังงานในขนมชอกโกแลต, พลังงานในถังน้ำมัน เมื่อไม้ลุกไหม้แล้วจะให้คาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ รวมถึงผลิตของเสียอื่นๆ เช่น ขี้เถ้า เนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้แต่ละชนิด มีโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกัน เมื่อใช้ในปริมาณเชื้อเพลิงที่เท่ากัน จึงให้ความร้อนไม่เท่ากัน ซึ่งก๊าซธรรมชาตินั้นให้ความร้อนมากกว่าน้ำมัน และน้ำมันนั้นก็ให้ความร้อนมากกว่าถ่านหิน
2.พลังงานความร้อน
แหล่งกำเนิดพลังงานความร้อน มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์, พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ , การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง, พลังงานไฟฟ้า, พลังงานนิวเคลียร์, พลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำ, พลังงานเปลวไฟ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป และนอกจากนี้แล้ว พลังงานความร้อน ยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน คือ แคลอรี่ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แคลอรี่มิเตอร์
3. พลังงานกล
พลังงานกลเป็นพลังงานที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่โดยตรง เช่น ก้อนหินที่อยู่บนยอดเนินจะมีพลังงานศักย์กล (Potential mechanical energy) อยู่จำนวนหนึ่ง ขณะที่ก้อนหินกลิ้งลงมาตามทางลาดของเนิน พลังงานศักย์จะลดลง และเกิดพลังงานจลน์กลของการเคลื่อนที่ (Kinetic mechanical energy) ขึ้นแทน สิ่งมีชีวิตอาศัยพลังงานรูปนี้ในการทำงานที่ต้องมีการ เคลื่อนไหวเป็นประจำ เช่น การเดิน การขยับแขนขา การหยิบวัตถุ เป็นต้น
4. พลังงานจากการแผ่รังสี
พลังงานที่มาในรูปของคลื่น เช่น แสง ความร้อน คลื่นวิทยุ อินฟาเรด อัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ รังสีคอสมิก สิ่งมีชีวิตต้องอาศัยพลังงานรูปนี้ ในกระบวนการที่สำคัญต่างๆ เช่น การมองเห็นภาพ การสังเคราะห์ด้วยแสง การขยายพันธุ์ชนิดที่ขึ้นอยู่กับช่วงแสง อาจสรุปได้ว่าเป็นพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นเอง ซึ่งพลังงานรูปนี้มีบทบาทต่อความเป็นอยู่ปกติของสิ่งมีชีวิต และอาจจะได้พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์, พลังงานจากเสาส่งสัญญาณทีวี, พลังงานจากหลอดไฟ, พลังงานจากเตาไมโครเวฟ, พลังงานจากเลเซอร์ที่ใช้อ่านแผ่นซีดี ฯลฯ
5. พลังงานไฟฟ้า
พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาเคมีแบบหนึ่งอันมีผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นได้ และกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะไหลผ่านความต้านทานไฟฟ้าได้ถ้าต่อให้เป็นวงจร ผลจากกระแสไฟฟ้าดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลต่าง ๆ เช่นก่อให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก เกิดความร้อนหรือแสงสว่าง พลังงานที่เกิดจากการผ่านขดลวดไปในสนามแม่เหล็ก, พลังงานที่ใช้ขับเครื่องคอมพิวเตอร์, พลังงานที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นต้น
6. พลังงานนิวเคลียร์
พลังงานที่ถูกปล่อยออกจากสารกัมมันตภาพรังสี ที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือที่เกิดในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูหรือระเบิดปรมาณู การเกิด fusion ของนิวเคลียร์เล็ก มีหลักอยู่ว่า ถ้านำเอาธาตุเบาๆ ตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป มารวมกันโดยมีพลังงานความร้อนอย่างสูงเข้าช่วย จะทำให้ธาตุเบาๆ นี้รวมกัน กลายเป็นธาตุใหม่ ซึ่งหนักกว่าเดิม ส่วน fission เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างการยิงอนุภาคบางชนิดกับนิวเคลียสของธาตุหนักๆ ทำให้นิวเคลียสของธาตุหนักแตกแยกออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนเป็นธาตุที่เบากว่าเดิม และขนาดเกือบเท่าๆ กัน พลังงานรูปนี้มีบทบาทต่อความเป็นอยู่ปกติของสิ่งมีชีวิตน้อย
พลังงานกล
พลังงานกลเป็นพลังงานที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่หรือพร้อมที่จะเคลื่อนที่ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ พลังงานศักย์และพลังงานจลน์
1. พลังงานศักย์ (potential energy : Ep ) คือ พลังงานที่สะสมอยู่ในตัววัตถุหรือสสารที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ยังไม่เกิดการเคลื่อนที่ ถ้าวัตถุอยู่บนพื้นที่สูงจากระดับพื้นดินขึ้นไป พลังงานที่สะสมอยู่ในตัวของวัตถุนี้จะเกิดจากแรงดึงดูดของโลกจึงเรียกว่า "พลังงานศักย์โน้มถ่วง"
การคำนวณพลังงานศักย์โน้มถ่วงใช้สูตรดังนี้
Ep = mgh
2. พลังงานจลน์ ( kinetic energy : Ek ) คือ พลังงานที่มีอยู่ในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
การคำนวณพลังงานจลน์ใช้สูตรดัง
Ek = 1/2mv2
กฎการอนุรักษ์พลังงาน
กฎการอนุรักษ์พลังงาน (Law of conservation of energy) กล่าวไว้ว่า "พลังงานรวมของวัตถุจะไม่สูญหายไปไหน แต่สามารถเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้"
พลังงานความร้อน
พลังงานความร้อนเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถทำงานได้และเปลี่ยนรูปมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง จากดวงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ หรือเกิดจากปฏิกิริยาเคมี พลังงานเหล่านี้ล้วนแต่มีความสำคัญในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
อุณหภูมิ
การบอกค่าพลังงานความร้อนของสารต่าง ๆ ว่าร้อนมาหรือน้อยเพียงใดนั้น นักวิทยาศาสตร์เรียกนะดับความร้อนของสารเหล่านั้นว่า อุณหภูมิ (temperature) เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิเรียกว่า เทอร์มอมิเตอร์ (thermometer) เทอร์โมมิเตอร์ มักผลิตมาจากปรอทหรือแอลกอฮอล์ เมื่อของเหลวได้รับความร้อนจะมีการขยายตัวไปตามช่องเล็กๆ ซึ่งมีสเกลบอกอุณหภูมิเป็นตัวเลข มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส หรือองศาฟาเรนไฮต์
หน่วยที่ใช้วัดอุณหภูมิ
1. องศาเซลเซียส ( oC )
2. องศาฟาเรนไฮต์ ( oF)
3. เคลวิน ( K )
ในการเปลี่ยนแปลงหน่วยวัดอุณหภูมิจากหน่วยหนึ่งไปยังอีกหน่วยหนึ่งใช้สูตรความสัมพันธ์ดังนี้
oC/5 = oF -32/9 = K - 273/5
ตัวอย่าง อุณหภูมิร่างกายของคนเราปกติคือ 37 องศาเซลเซียส จะมีค่าเท่าใดในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์
วิธีทำ จากสูตร oC/5 = oF-32/9
37/5 = oF-32/9
7.4 x 9 = oF - 32
66.6 = oF - 32
oF = 66.6 + 32
= 98.6 oF
ดังนั้นอุณหภูมิร่างกายของคนปกติจะเท่ากับ 98.6 ฟาเรนไฮต์
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
การถ่ายเทหรือถ่ายโอนพลังงานความร้อนมีหลายแบบดังนี้
1. การนำความร้อน
การนำความร้อนเป็นการส่งผ่านความร้อนที่ต้องมีตัวกลาง ตัวกลางจะไม่เคลื่อนที่ แต่ความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของตัวกลาง เช่นการเผาด้านหนึ่งของแท่งเหล็ก ความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของแท่งเหล็กจนทำให้ปลายอีกข้างร้อนตามไปด้วย การนำความร้อนของวัตถุแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เช่น เหล็กจะนำความร้อนได้ดีกว่า แท่งแก้ว วัตถุที่นำความร้อนได้เร็วเรียกว่า ตัวนำความร้อน วัตถุที่นำความร้อนได้ไม่ดีหรือช้า เรียกว่า ฉนวนความร้อน
2. การพาความร้อน
การพาความร้อนเป็นการส่งผ่านความร้อนที่มีการเคลื่อนที่ของตัวกลาง เช่น การที่เรานั่งรอบกองไฟแล้วรู้สึกร้อน ก็เพราะอากาศได้พาเอาความร้อนเคลื่อนที่มีถูกตัวเรา
3. การแผ่รังสีความร้อน
การแผ่รังสีความร้อน เป็นการถ่ายโอนพลังงานความร้อนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ซึ่งความร้อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดจะอยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถเคลื่อนที่ไปยังอีกจุดหนึ่งโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางและมีอัตราเร็วในการเคลื่อนที่สูงมาก
จะเห็นได้ว่าพลังงานของเรามีหลากหลายรูปแบบ และเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ตลอด
ไหนทุกคนลองยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เกิดขึ้นในแพลนท์เราไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ได้ ลองตอบกันมาดูหน่อยนะครับ
ใครที่คอมเมนต์แล้วไม่มีคำตอบแสดงว่ายังไม่ได้อ่านเรื่องนี้นะ อิอิ
งาน (work) คือ ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวราบ งานเป็นปริมาณที่สามารถคำนวณได้จากความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้
งาน = แรง (นิวตัน) x ระยะทาง (เมตร)
เมื่อ W คือ งาน มีหน่วยเป็นจูล ( J ) หรือนิวตันเมตร (N-m)
F คือ แรงที่กระทำ มีนหน่วยเป็นนิวตัน ( N )
s คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวราบ มีหน่วยเป็นเมตร ( m )
จะได้สูตรคำนวณหางาน คือ F = W x s
ตัวอย่าง วินัยออกแรงยกกล่องด้วยแรง 30 นิวตัน แล้วเดินขึ้นบันได 5 ขั้น แต่ละขั้นสูง 20 เซนติเมตรงานที่วินัยทำจากการยกกล่องขึ้นบันไดมีค่าเท่าใด
วิธีทำ จากโจทย์ความสูงของขั้นบันใด = 5 x 20
= 100 cm
= 1 m
จากสูตร W = F x s
= 30 x 1
= 30 J
ตอบ วินัยทำงานจากการลากกล่องได้ 30 จูล
พลังงาน ( energy )
พลังงาน (energy) คือ ความสามารถในการทำงานได้ของวัตถุหรือสสารต่าง ๆ พลังงานสามารถทำให้สสารเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ทำให้สสารร้อนขึ้น เกิดการเคลื่อนที่ เปลี่ยนสถานะเป็นต้น
พลังงานที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันมีหลายรูปแบบ เช่น พลังงานกล พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า พลังงานแสง พลังงานเคมี พลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น
หน่วยของพลังงาน พลังงานมีหน่วยเป็นจูล (J)
ประเภทของพลังงาน
พลังงานแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งได้แก่
1. พลังงานเคมี (Chemical Encrgy)
2. พลังงานความร้อน (Thermal Energy)
3. พลังงานกล (Mechanical Energy)
4. พลังงานจากการแผ่รังสี (Radiant Energy)
5. พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy)
6. พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy)
1.พลังงานเคมี
พลังงานเคมีเป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในสารต่างๆ โดยอยู่ในพันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุล เมื่อพันธะแตกสลาย พลังงานสะสมจะถูกปล่อยออกมาในรูปของความร้อนและแสงสว่าง ตัวอย่างเช่น พลังงานที่ถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่, พลังงานในกองฟืน, พลังงานในขนมชอกโกแลต, พลังงานในถังน้ำมัน เมื่อไม้ลุกไหม้แล้วจะให้คาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ รวมถึงผลิตของเสียอื่นๆ เช่น ขี้เถ้า เนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้แต่ละชนิด มีโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกัน เมื่อใช้ในปริมาณเชื้อเพลิงที่เท่ากัน จึงให้ความร้อนไม่เท่ากัน ซึ่งก๊าซธรรมชาตินั้นให้ความร้อนมากกว่าน้ำมัน และน้ำมันนั้นก็ให้ความร้อนมากกว่าถ่านหิน
2.พลังงานความร้อน
แหล่งกำเนิดพลังงานความร้อน มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์, พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ , การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง, พลังงานไฟฟ้า, พลังงานนิวเคลียร์, พลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำ, พลังงานเปลวไฟ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป และนอกจากนี้แล้ว พลังงานความร้อน ยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน คือ แคลอรี่ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แคลอรี่มิเตอร์
3. พลังงานกล
พลังงานกลเป็นพลังงานที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่โดยตรง เช่น ก้อนหินที่อยู่บนยอดเนินจะมีพลังงานศักย์กล (Potential mechanical energy) อยู่จำนวนหนึ่ง ขณะที่ก้อนหินกลิ้งลงมาตามทางลาดของเนิน พลังงานศักย์จะลดลง และเกิดพลังงานจลน์กลของการเคลื่อนที่ (Kinetic mechanical energy) ขึ้นแทน สิ่งมีชีวิตอาศัยพลังงานรูปนี้ในการทำงานที่ต้องมีการ เคลื่อนไหวเป็นประจำ เช่น การเดิน การขยับแขนขา การหยิบวัตถุ เป็นต้น
4. พลังงานจากการแผ่รังสี
พลังงานที่มาในรูปของคลื่น เช่น แสง ความร้อน คลื่นวิทยุ อินฟาเรด อัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ รังสีคอสมิก สิ่งมีชีวิตต้องอาศัยพลังงานรูปนี้ ในกระบวนการที่สำคัญต่างๆ เช่น การมองเห็นภาพ การสังเคราะห์ด้วยแสง การขยายพันธุ์ชนิดที่ขึ้นอยู่กับช่วงแสง อาจสรุปได้ว่าเป็นพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นเอง ซึ่งพลังงานรูปนี้มีบทบาทต่อความเป็นอยู่ปกติของสิ่งมีชีวิต และอาจจะได้พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์, พลังงานจากเสาส่งสัญญาณทีวี, พลังงานจากหลอดไฟ, พลังงานจากเตาไมโครเวฟ, พลังงานจากเลเซอร์ที่ใช้อ่านแผ่นซีดี ฯลฯ
5. พลังงานไฟฟ้า
พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาเคมีแบบหนึ่งอันมีผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นได้ และกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะไหลผ่านความต้านทานไฟฟ้าได้ถ้าต่อให้เป็นวงจร ผลจากกระแสไฟฟ้าดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลต่าง ๆ เช่นก่อให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก เกิดความร้อนหรือแสงสว่าง พลังงานที่เกิดจากการผ่านขดลวดไปในสนามแม่เหล็ก, พลังงานที่ใช้ขับเครื่องคอมพิวเตอร์, พลังงานที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นต้น
6. พลังงานนิวเคลียร์
พลังงานที่ถูกปล่อยออกจากสารกัมมันตภาพรังสี ที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือที่เกิดในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูหรือระเบิดปรมาณู การเกิด fusion ของนิวเคลียร์เล็ก มีหลักอยู่ว่า ถ้านำเอาธาตุเบาๆ ตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป มารวมกันโดยมีพลังงานความร้อนอย่างสูงเข้าช่วย จะทำให้ธาตุเบาๆ นี้รวมกัน กลายเป็นธาตุใหม่ ซึ่งหนักกว่าเดิม ส่วน fission เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างการยิงอนุภาคบางชนิดกับนิวเคลียสของธาตุหนักๆ ทำให้นิวเคลียสของธาตุหนักแตกแยกออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนเป็นธาตุที่เบากว่าเดิม และขนาดเกือบเท่าๆ กัน พลังงานรูปนี้มีบทบาทต่อความเป็นอยู่ปกติของสิ่งมีชีวิตน้อย
พลังงานกล
พลังงานกลเป็นพลังงานที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่หรือพร้อมที่จะเคลื่อนที่ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ พลังงานศักย์และพลังงานจลน์
1. พลังงานศักย์ (potential energy : Ep ) คือ พลังงานที่สะสมอยู่ในตัววัตถุหรือสสารที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ยังไม่เกิดการเคลื่อนที่ ถ้าวัตถุอยู่บนพื้นที่สูงจากระดับพื้นดินขึ้นไป พลังงานที่สะสมอยู่ในตัวของวัตถุนี้จะเกิดจากแรงดึงดูดของโลกจึงเรียกว่า "พลังงานศักย์โน้มถ่วง"
การคำนวณพลังงานศักย์โน้มถ่วงใช้สูตรดังนี้
Ep = mgh
2. พลังงานจลน์ ( kinetic energy : Ek ) คือ พลังงานที่มีอยู่ในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
การคำนวณพลังงานจลน์ใช้สูตรดัง
Ek = 1/2mv2
กฎการอนุรักษ์พลังงาน
กฎการอนุรักษ์พลังงาน (Law of conservation of energy) กล่าวไว้ว่า "พลังงานรวมของวัตถุจะไม่สูญหายไปไหน แต่สามารถเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้"
พลังงานความร้อน
พลังงานความร้อนเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถทำงานได้และเปลี่ยนรูปมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง จากดวงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ หรือเกิดจากปฏิกิริยาเคมี พลังงานเหล่านี้ล้วนแต่มีความสำคัญในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
อุณหภูมิ
การบอกค่าพลังงานความร้อนของสารต่าง ๆ ว่าร้อนมาหรือน้อยเพียงใดนั้น นักวิทยาศาสตร์เรียกนะดับความร้อนของสารเหล่านั้นว่า อุณหภูมิ (temperature) เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิเรียกว่า เทอร์มอมิเตอร์ (thermometer) เทอร์โมมิเตอร์ มักผลิตมาจากปรอทหรือแอลกอฮอล์ เมื่อของเหลวได้รับความร้อนจะมีการขยายตัวไปตามช่องเล็กๆ ซึ่งมีสเกลบอกอุณหภูมิเป็นตัวเลข มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส หรือองศาฟาเรนไฮต์
หน่วยที่ใช้วัดอุณหภูมิ
1. องศาเซลเซียส ( oC )
2. องศาฟาเรนไฮต์ ( oF)
3. เคลวิน ( K )
ในการเปลี่ยนแปลงหน่วยวัดอุณหภูมิจากหน่วยหนึ่งไปยังอีกหน่วยหนึ่งใช้สูตรความสัมพันธ์ดังนี้
oC/5 = oF -32/9 = K - 273/5
ตัวอย่าง อุณหภูมิร่างกายของคนเราปกติคือ 37 องศาเซลเซียส จะมีค่าเท่าใดในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์
วิธีทำ จากสูตร oC/5 = oF-32/9
37/5 = oF-32/9
7.4 x 9 = oF - 32
66.6 = oF - 32
oF = 66.6 + 32
= 98.6 oF
ดังนั้นอุณหภูมิร่างกายของคนปกติจะเท่ากับ 98.6 ฟาเรนไฮต์
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
การถ่ายเทหรือถ่ายโอนพลังงานความร้อนมีหลายแบบดังนี้
1. การนำความร้อน
การนำความร้อนเป็นการส่งผ่านความร้อนที่ต้องมีตัวกลาง ตัวกลางจะไม่เคลื่อนที่ แต่ความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของตัวกลาง เช่นการเผาด้านหนึ่งของแท่งเหล็ก ความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของแท่งเหล็กจนทำให้ปลายอีกข้างร้อนตามไปด้วย การนำความร้อนของวัตถุแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เช่น เหล็กจะนำความร้อนได้ดีกว่า แท่งแก้ว วัตถุที่นำความร้อนได้เร็วเรียกว่า ตัวนำความร้อน วัตถุที่นำความร้อนได้ไม่ดีหรือช้า เรียกว่า ฉนวนความร้อน
2. การพาความร้อน
การพาความร้อนเป็นการส่งผ่านความร้อนที่มีการเคลื่อนที่ของตัวกลาง เช่น การที่เรานั่งรอบกองไฟแล้วรู้สึกร้อน ก็เพราะอากาศได้พาเอาความร้อนเคลื่อนที่มีถูกตัวเรา
3. การแผ่รังสีความร้อน
การแผ่รังสีความร้อน เป็นการถ่ายโอนพลังงานความร้อนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ซึ่งความร้อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดจะอยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถเคลื่อนที่ไปยังอีกจุดหนึ่งโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางและมีอัตราเร็วในการเคลื่อนที่สูงมาก
จะเห็นได้ว่าพลังงานของเรามีหลากหลายรูปแบบ และเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ตลอด
ไหนทุกคนลองยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เกิดขึ้นในแพลนท์เราไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ได้ ลองตอบกันมาดูหน่อยนะครับ
ใครที่คอมเมนต์แล้วไม่มีคำตอบแสดงว่ายังไม่ได้อ่านเรื่องนี้นะ อิอิ
ในโรงงานเราที่มองเห็นง่ายๆ ก็คือการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล เช่น มอเตอร์ไงครับ ยังมีอีกหลายอย่างลองหยิบยกมาว่ากันครับ
ตอบลบC 1405 /c2405 (Centrifugal compressors)
ตอบลบเป็นเครื่องอัดอากาศที่ใช้หลักการ พลศาสตร์ ทำงานด้วยการเปลี่ยน พลังงานจลน์ เป็นความกดดันทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศอัด จะถูกเหวี่ยงตัวไปในแนวของรัศมี ลมดูดจะเข้าสู่แกนตรงกลางเพลาใบพัด และถูกเหวี่ยงตัวออกไป ใในแนวรัศมีของใบพัด สู่พนังเครื่องอัดและถูกส่งไปตามท่อ อากาศอัดจะมีความกดดันสูงขึ้น แต่ความเร็วยังคงที่ เมื่อเราต้องการอัดที่มีค่าความกดดันสูงมากขึ้น เราสามารถกระทำได้โดย การใช้เครื่องอัดอากาศหลายสเตจ โดยที่อากาศอัดซึ่งได้อากาศจากสเตจแรก จะถูกส่งไปยังสเตจต่อไป และอัดอากาศให้ได้ความดันที่ต้องการ อากาศที่อัดได้แต่ละสเตจ จะมีตวามร้อนสูงขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการระบายความร้อนออกจากการอัด ก่อนที่จะส่งอากาศไปยังสเตจต่อไป
เล็กๆน้อยๆ นะครับ
ยกตัวอย่างได้โดนเลยนะพี่ใหญ่ ลองบอกเพิ่มหน่อยว่ามันเปลี่ยนจากพลังงานอะไรไปถึงอะไรบ้าง
ลบยกตัวอย่าง
มอเตอร์ทำให้คอมหมุน = ไฟฟ้า > กล
ในรูปของพลังงานความร้อนในโรงงานเราก็ steam ที่ SMR ไงครับ เรานำไปใช้ที่หอกลั่น เป็นการนำความร้อนผ่านตัวกลางเพื่อถ่ายความร้อนไปยังวัตถุที่เราต้องการ ในที่นี้ก็คือการ heat H2O2 เพื่อระเหยน้ำใน H2O2 ออกทำให้มีความเข้มข้นสูงขึ้นตามที่เราต้องการ
ตอบลบสรุปตัวอย่างนี้คือ การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
เยี่ยมไปเลยครับ อีกหนึ่งตัวอย่างของการถ่ายโอนพลังงาน จะเห็นได้ว่าพลังงานสามารถถ่ายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้ โดยอาศัยตัวกลาง หรือ ไม่อาศัยตัวกลาง ก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของพลังงานนนั้นๆ
ลบงไหนใครก็ได้ลองมาตอบหน่อยว่า ตัวอย่างที่พี่ปัญญายกมามีการเปลี่ยนพลังงานจากรูปใดไปเป็นรูปใดบ้าง (ใบ้ให้ว่าต้องเริ่มตั้งแต่ Raw Mat กันเลยทีเดียวเชียว)
เราไม่ต้องมองไกล้ไกลเพื่อนบ้านตรงข้ามเรานี้เอง บ.GLOW นั้นไงที่มีการนำแผงโซลาร์เซลล์วางเป็นแถวเป็นแนวยาวเหยียดจะเห็นได้ว่าเป็นการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า เป็นการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติและอนุรักษ์พลังงานอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อลดโลกร้อน
ตอบลบนี่คือตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงพลังงานอย่างชัดเจนข้อหนึ่งเลย ต้องให้ฉายาว่า พี่นครารักษ์โลกแล้วแบบนี้
ลบแล้วพลังงานแสงอาทิตย์นี่มันเป็นพลังงานกลุ่มไหนในบล๊อกด้านบนกันน้อใครช่วยตอบหน่อยค๊าบ
ผมยกตัวอย่างแบบลูกทู่งๆ motor ไฟฟ้า(เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล)ซึ่งมีมากมายในplant บางตัวก็เป็นแบบ FIX SPEED บางตัวก็เป็นแบบvaries speed ซึ่งจะประหยัดการใช้ไฟฟ้ามากว่าแบบ fix speedเพราะสามารถลดการใช้ไฟฟ้าเมื่อเราต้องการลดกำลังการผลิตmotor ก็จะหมุนช้าลงการใช้กระแสไฟฟ้าก็จะลดลงตามมาด้วยแล้วแต่flow rate ที่เราต้องการ(ลดลงมาเท่าไรต้องปรึษา นิคฯ แล้วล่ะ) แต่ถ้าเดินmax speed คิดว่าคงใช้ไฟฟ้าเท่ากัน
ตอบลบเยี่ยมครับ มอเตอร์นี่เห็นกันโต้งๆเลย ใครยังไม่เข้าใจถามพี่เกียรติชายได้
ลบปล. อยากรู้ว่าลดเท่าไหร่ลองให้คอนโทรลรูมดึงกราฟกระแสมาดูนะ อิอิ
P=0.89*IV
*** 0.89 = power factor ในแพลนท์เรา(ถ้าจำไม่ผิด) ต่ำมากโดนปรับตังนะจ๊ะ อิอิ
อ่ะ ทำมัยโดนปรับล่ะครับ
ลบผมว่าใกล้ตัวที่สุดน่าจะวิทยุนะครับ วิทยุ จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียง โดยรับสัญญาณวิทยุจากสถานีวิทยุ แล้วใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขยายสัญญาณเสียงที่อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าให้สูงขึ้น แล้วส่งต่อให้ลำโพง ซึ่งจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเสียง
ตอบลบจากบทความนิคข้างบน ไม่มีพลังงานเสียงนะครับ :)
ลบลองศึกษาดูครับว่าเสียงเกิดจากอะไร มันเดินทางยังไง จะรู้ได้ครับว่าเสียงเป็นพลังงานแบบไหนนะ รู้แล้วอย่าลืมมาตอบด้วยนะครับ
****เตาอบไมโครเวฟเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงาน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ตอบลบซึ่งไปมีผลทำให้โมเลกุลของน้ำและไขมันในอาหารสั่นสะเทือนจน เกิดความร้อน
พลังคนครับเปลี่ยนแรงเป็นเงินครับ
ตอบลบถูกต้องนะครับ!
ลบอันนี้ไม่เกี่ยวกันเท่าไหร่ 555 แต่หลายคนชอบ
ลบการพาความร้อนที่โรงงานเราก็มีให้เห็นทั่วไปยกตัวอย่างเช่นปล่องของSRUมีการพาความร้อนจากขบวนการออกสู่บรรยากาศมีการปรับปรุงกลิ่นออกบ่อยๆด้วย โดยการปรับค่าของSTEAM FEEDตอนนี้อยู่ที่ 8t/h ทำให้ค่า VOC เราอยู่ในมาตราฐานไม่ส่งกลิ่นรบกวนโรงงานข้างเคียง ส่วนการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่SMRก็มีเปลี่ยนพลังงานจากมวลของแก๊สจากปฏิกิริยาการเผาไหม้เป็นพลังงานความร้อนทำให้ได้ไฮโดรเจนแกสดีๆมาใช้ในขบวนการผลิต
ตอบลบจะเปลี่ยนพลังงานกันอย่างเดียวเหรอครับใช้ให้คุ้มดีกว่าไหม อย่างเช่น ความร้อนที่ Reformer มาต้มน้ำในการผลิต steam
ตอบลบหรือ condensate steam V1893 ที่ส่งกลับ อย่างน้อยก็ช่วยลดพลังงานในการต้มน้ำให้ร้อน ลดค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพน้ำ และประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะเราส่งกลับไปเงินก็กลับมาเขาได้เราได้
เยี่ยมครับ
ลบการเปลี่ยนแปลงพลังงาน มนุษย์กับกำคิดค้นเพื่อหาพลังงานทดแทน เพื่อความสะดวกสบาย ที่เห็นกันชัด ที่โรงไฟฟ้าราชบุรี ได้นำก๊าซจากประเทศพม่า มาผลิตไฟฟ้า หรือเรียกอีกอย่างว่า โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนรวม ให้พวกเราได้ใช้กัน
ตอบลบพูดถึงพลังงาน ก็จะมีทั้งคุณเเละโทษขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะใช้พลังงานชนิดไหน เช่นที่บ้านเราทุกคน ทุกบ้านจะต้องใช้พลังงานไฟฟ้า โทษของไฟฟ้าก็มีมากมาย
ตอบลบ-ส่วนพลังงานนิงเคลียร์เห็นมีการผลักดันให้มีการสร้างขึ้นในบ้านเรา โทษก็มีตัวอย่างให้เห็นที่ประเทศญี่ปุ่น
พลังงานทุกพลังงานเป็นพลังงานที่มีคุณค่า ในโรงงานเราก็มี การพาความร้อน ที่ใช้ในโรงงานอย่างเห็นได้ชัดเลยครับ พลังงานมันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก ช่วยกันประหยัดเพื่อที่จะลดทั้งค่าใช้จ่าย และลดโรคร้อน(พูดซะดูดีครับแฮะๆ)
ตอบลบตัวอย่างของการเปลี่ยนรูปพลังงานที่เราใช้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ก็เห็นจะเป็น รถยนต์ ซึ่งรถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ในรูปของพลังงานเคมี จากนั้นเครื่องยนต์จะเปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานความร้อนและพลังงานจลน์ เพื่อให้พลังงานแก่รถยนต์
ตอบลบยกตัวอย่างใน plant ก็มี Terbo Expander ที่เปลี่ยนพลังงานจลเป็นพลังงานกลมาขับมอเตอร์ประหยัดไฟได้อีก
ตอบลบพลังงานเสียงเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่เกิดจากการสั่นสะเทือนเราสามารถได้ยินได้คือเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สำคัญโดยมนุษย์ เพราะเราใช้เสียงในการสื่อสาร หรือแม้แต่สัตว์หรือพืชบางชนิดจะใช้เสียงในการส่งสัญญาณ เช่น พลังงานเสียงที่ได้จากพูดคุยกัน
ตอบลบการ Heat Solvent V1382 โดยการFeed Steam ไหลผ่านแท่งเหล็กใน V1382 คือการถ่ายโอนความร้อน แบบที่1.การนำความฮ้อน(ร้อน)ครับ
ตอบลบhttp://www.babydope.com/wp-content/uploads/2012/06/ksmac.jpg
ตอบลบการถ่ายโอนพลังงานความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานความร้อนระหว่างที่สองแห่งที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน วิธีการถ่ายโอนพลังงานความร้อนแบ่งได้เป็น 3 วิธีครับ
1.การนำ
2.การพา
3.การแผ่รังสี
ผมขอยกตัวอย่างซักแบบนะครับ
การนำความร้อน เช่นการถ่ายเทความร้อนโดยใช้วัตถุตัวกลางเป็นตัวนำความร้อนจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง เช่นการให้ความร้อนกับ working solution โดยใช้ Exchanger E1510 เป็นตัวนำความร้อน
ร่างกายมนุษย์ก็มีพลังงาน มีทั้งพลังงานขับเคลื่อนที่ พลังงานเสียง ซึ้งที่เป็นพลังงานที่มนุษย์ใช้อยู่ทุกวัน ฉะนั้นดูแลตัวเองด้วยครับ พลังงานในร่างกายจะได้ไม่สึกหลอ
ตอบลบมอเตอร์ เป็นเครื่องกลเพื่อเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล โดยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า ด้วยส่วนหมุนได้ที่พันด้วยขดลวด
ตอบลบเป็นกระบวนการย้อนกลับของ ไดนาโม หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
มักเป็นส่วนประกอบสำคัญใน เครื่องกล เครื่องจักรกลอุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องอัดลม พัดลม เครื่องลำเลียง เครื่องเล่นแผ่นดิสก์ ฯลฯ
มอเตอร์ลากจูง (Traction motor) ซึ่งใช้ในยานยนต์และรถไฟ สามารถหมุนได้ทั้งสองทิศทาง
มอเตอร์ ต้องต่อวงจรไฟฟ้าเข้ากับ แหล่งกำเนิดไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ (สำหรับ มอเตอร์กระแสตรง ในเครื่องกลหรือยานยนต์) หรือการจ่ายกระแสไฟฟ้าจาก โรงงานไฟฟ้า (สำหรับ มอเตอร์กระแสสลับ ในเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน)
มอเตอร์ขนาดเล็กที่สุด ที่ใช้งานได้จริงในปัจจุบัน ได้แก่ มอเตอร์ใน นาฬิกาข้อมือไฟฟ้า มอเตอร์ขนาดเล็กที่สุด ที่อยู่ระหว่างพัฒนา ได้แก่ มอเตอร์นาโน (เล็กกว่าเส้นผม 300 เท่า) มอเตอร์ขนาดกลางมาตรฐานสูง มักเป็นส่วนประกอบในเครื่องจักรกลอุตสาหกรรม มอเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุด ได้แก่ มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ในท่อขับระวางของเรือเดินสมุทร (ใช้กำลังไฟนับพัน กิโลวัตต์)
หลักการทางฟิสิกส์ ในการผลิตพลังงานกลด้วยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นที่รู้จักกันเมื่อตอนต้น ค.ศ. 1821
มอเตอร์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์มาตลอด คริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่เมื่อเครื่องกลใช้มอเตอร์มากขึ้น ปริมาณความต้องการพลังงานไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
พลังงานนี้สามาถเปลี่ยนรูปไปได้มากมายและมีประโยชน์จริงครับ...
ตอบลบอันนี้ยืมพี่นิคหน่อยนะครับ "พลังงานกลเป็นพลังงานที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่โดยตรง เช่น ก้อนหินที่อยู่บนยอดเนินจะมีพลังงานศักย์กล (Potential mechanical energy) อยู่จำนวนหนึ่ง ขณะที่ก้อนหินกลิ้งลงมาตามทางลาดของเนิน พลังงานศักย์จะลดลง และเกิดพลังงานจลน์กลของการเคลื่อนที่ (Kinetic mechanical energy) ขึ้นแทน สิ่งมีชีวิตอาศัยพลังงานรูปนี้ในการทำงานที่ต้องมีการ เคลื่อนไหวเป็นประจำ" อย่างเช่นในPlantเราก้อมี การนำพลังงานนี้มาใช้ที่ DG/DC โดยการใช้แรงโน้มถ่วงของโลก "แรง G =9.81" ก้อจะทำให้สสารที่มีน้ำหนักใหลลงที่ต่ำโดยน้ำหนักของตัวมันเอง "ทำให้ลดการใช้พลังงานที่จะต้องการใช้ส่งสสาร จากอุปกรณ์หนึ่งไปอีกอุปกรณ์หนึ่ง และลดการใช้อุปกรณ์ เช่น มอร์เตอร์ ปั๊ม กระทู้นี้ได้ความรู้มากๆเลยครับ ขอบคุณครับ น้องใหม่..ณ.บ้านฉาง
ตอบลบสสารในโลกไม่มีการสูญหาย มีเเต่เปลี่ยนเเปลงพลังงานจากรูปเเบบหนึ่ง ไปสู่อีกรูปเเบบหนึ่ง ใช่รึป่าวครับ
ตอบลบเค้าว่าไว้อย่างนั้นนะ E = mC^2 พลังงานเปลี่ยนเป็นมวล มวลเป็นพลังงานได้ พลังงานก็ปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปอีกรูปหนึ่งตามที่หนัง Transformer ว่าไว้ ;)
ลบพลังงานเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ในโลกปัจจุบันและทวีความสำคัญขึ้นเมื่อโลกยิ่งพัฒนามากยิ่งขึ้น แหล่งพลังงานค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นแหล่งพลังงานที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการผลิตมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเราควรช่วยกันประหยัดพลังงานให้สิ่งที่ไม่จำเป็นกันด้วยนะครับ
ตอบลบถ้าเราทั้งโลกรู้จักการใช้พลังงานที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติก็คงจะดีเพราะพลังสามารถเปลี่ยนรูปหรือแปรผันได้มากมายโดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อมนุษย์และโลก
ตอบลบพลังงานทั้งหมด6ข้อมีประโยชย์มากกับคนทั่วโลก แต่ที่เมืองไทยน่าจะเอาพลังงานนิวเคลียร์มาใช้
ตอบลบIntercooler ที่ Oxidation ก็เป็นการถ่ายโอนความร้อน ใช่หรือป่าวครับแล้วมันเป็นลักษณะใหน
ตอบลบ