By Shift A (Oat)
Pressure Safety Value (วาล์วนิรภัย) หรือ Pressure Relief Valve (วาล์วระบายแรงดัน) เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยของระบบ มีหน้าที่หลักคือระบายแรงดันภายในระบบออก ซึ่งจะทำงานเองโดยอัตโนมัติเมื่อมีแรงดันเกินกว่าค่าที่ตั้งไว้ วาล์วทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันด้านการใช้งาน
กล่าวคือ Pressure Safety Value จะใช้กับของเหลวที่บีบอัดได้ (Compressible Fluid) เช่น ไอน้ำ หรือก๊าซ ซึ่งต้องการระบายความดันอย่างรวดเร็ว สำหรับ Pressure Relief Valve จะใช้กับของเหลาวที่บีบอัดไม่ได้ (Non Compressible Fluid) เช่น น้ำ หรือน้ำมัน ซึ่งจะระบายความดันอย่างช้าๆ โดยวาล์วทั้งสองชนิดมีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกันได้แก่
1. Valve Body ส่วนใหญ่ผลิตจากเหล็กหล่อ หรือวัสดุอื่นตามการใช้งาน โดยเป็นโครงสร้างที่ใช้ติดตั้งกับท่อหรือถังความดันที่จะทำการปกป้อง
2. Disc ลักษณะเป็นแผ่นกลมที่ใช้กดปิดกั้นของเหลวไว้ โดยอาศัยแรงกดจากสปริง โดย Disc นี้จะทำหน้าที่รับแรงดันไว้ทั้งหมด
3. Stem เป็นส่วนที่รับแรงกดจากสปริงและส่งแรงกดไปยัง Disc โดยมีหน้าที่เป็นแกนบังคับให้ส่วนที่เคลื่อนไหวเคลื่อนที่ตามแนวแกน Stem
4. สปริง เป็นส่วนที่ก่อให้เกิดแรงดันต้านทานความดันที่ Disc การปรับ Adjust Screw ให้สปริงยืดหดตัวแตกต่างกันส่งผลให้แรงกดที่ Disc มีค่าแตกต่างกัน จึงเป็นหลักการสำคัญที่ใช้กำหนดค่าความดันที่จะให้วาล์วทำการระบาย (Set Pressure)
5. Adjust Screw ใช้ปรับระยะยืดหดของสปริง จุดนี้เองที่ใช้ทำการปรับตั้งค่าความดัน
นอกจากนี้ เรายังสามารถแบ่งประเภทของวาล์วได้ตามลักษณะการทำงานได้แก่
1. Conventional Safety Relief Valve ซึ่งเป็น Safety Valve แบบที่พบเห็นได้ทั่วไป ความดันที่จะทำให้เกิดการระบาย (Pop Action) ผ่านวาล์ว ประเภทนี้จะมีค่าสูงกว่าความดันที่ทำให้วาล์วกลับมาสู่ตำแหน่งเดิม
Conventional Safety Relief Valve
2. Balance Safety Relief Valve วาล์วลักษณะนี้ถูกออกแบบเพื่อขจัดปัญหาในกรณีที่ Back Pressure ในจุดที่ระบายออกมีค่าไม่คงที่แน่นอน
3. Pilot-Operated Relief Valve โครง สร้างภายในจะเป็นลักษณะลูกสูบ และจะมีชุด Pilot ที่ใช้ควบคุมการทำงาน วาล์วลักษณะนี้จะใช้ในกรณีที่ความดันในระบบมีค่าใกล้เคียงกับ Set Pressure มากๆ
Pilot-Operated Safety Relief Valve
4. Rupture Disc มีลักษณะแตกต่างจากวาล์วทั้ง 3ประเภทที่กล่าวมาข้างต้นอย่างสิ้นเชิง ลักษณะจะเป็นแผ่นคล้ายกระทะ เมื่อความดันภายในมีค่ามากกว่าความดันที่กำหนดบน Rupture Disc นี้ จะทำให้ Disc แตกออกและระบายความดันออกมาอย่างรวดเร็ว เมื่อแตกออกแล้วทำให้ Disc ไม่สามารถปกป้องความดันอีกต่อไปได้ พบเห็นได้บ่อยในกรณีถังเก็บของเหลวที่มีความดันไอ เช่น ถังน้ำมัน
การทำงานของ Pressure Safety Valve โดยทั่วไปเพียงแค่เมื่อความดันภายในท่อหรือถังมีค่ามากกว่า Set Pressure แรงจากความดันที่กระทำต่อ Disc จะมีค่ามากกว่าแรงที่กดจากสปริง ทำให้ Disc เกิดการยกตัวขึ้น และระบายความดันส่วนเกินออกมา เมื่อความดันภายในระบบลดลงแล้ว Disc ก็จะเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งแลรับความดันภายในเช่นเดิม
Pressure Safety Valve ยังมีรายละเอียดด้านการออกแบบ การติดตั้ง การตั้งค่า Set Pressure และการ Calibration ที่ต้องทำให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้ระบบและผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัย
1. Valve Body ส่วนใหญ่ผลิตจากเหล็กหล่อ หรือวัสดุอื่นตามการใช้งาน โดยเป็นโครงสร้างที่ใช้ติดตั้งกับท่อหรือถังความดันที่จะทำการปกป้อง
2. Disc ลักษณะเป็นแผ่นกลมที่ใช้กดปิดกั้นของเหลวไว้ โดยอาศัยแรงกดจากสปริง โดย Disc นี้จะทำหน้าที่รับแรงดันไว้ทั้งหมด
3. Stem เป็นส่วนที่รับแรงกดจากสปริงและส่งแรงกดไปยัง Disc โดยมีหน้าที่เป็นแกนบังคับให้ส่วนที่เคลื่อนไหวเคลื่อนที่ตามแนวแกน Stem
4. สปริง เป็นส่วนที่ก่อให้เกิดแรงดันต้านทานความดันที่ Disc การปรับ Adjust Screw ให้สปริงยืดหดตัวแตกต่างกันส่งผลให้แรงกดที่ Disc มีค่าแตกต่างกัน จึงเป็นหลักการสำคัญที่ใช้กำหนดค่าความดันที่จะให้วาล์วทำการระบาย (Set Pressure)
5. Adjust Screw ใช้ปรับระยะยืดหดของสปริง จุดนี้เองที่ใช้ทำการปรับตั้งค่าความดัน
นอกจากนี้ เรายังสามารถแบ่งประเภทของวาล์วได้ตามลักษณะการทำงานได้แก่
1. Conventional Safety Relief Valve ซึ่งเป็น Safety Valve แบบที่พบเห็นได้ทั่วไป ความดันที่จะทำให้เกิดการระบาย (Pop Action) ผ่านวาล์ว ประเภทนี้จะมีค่าสูงกว่าความดันที่ทำให้วาล์วกลับมาสู่ตำแหน่งเดิม
Conventional Safety Relief Valve
2. Balance Safety Relief Valve วาล์วลักษณะนี้ถูกออกแบบเพื่อขจัดปัญหาในกรณีที่ Back Pressure ในจุดที่ระบายออกมีค่าไม่คงที่แน่นอน
3. Pilot-Operated Relief Valve โครง สร้างภายในจะเป็นลักษณะลูกสูบ และจะมีชุด Pilot ที่ใช้ควบคุมการทำงาน วาล์วลักษณะนี้จะใช้ในกรณีที่ความดันในระบบมีค่าใกล้เคียงกับ Set Pressure มากๆ
Pilot-Operated Safety Relief Valve
4. Rupture Disc มีลักษณะแตกต่างจากวาล์วทั้ง 3ประเภทที่กล่าวมาข้างต้นอย่างสิ้นเชิง ลักษณะจะเป็นแผ่นคล้ายกระทะ เมื่อความดันภายในมีค่ามากกว่าความดันที่กำหนดบน Rupture Disc นี้ จะทำให้ Disc แตกออกและระบายความดันออกมาอย่างรวดเร็ว เมื่อแตกออกแล้วทำให้ Disc ไม่สามารถปกป้องความดันอีกต่อไปได้ พบเห็นได้บ่อยในกรณีถังเก็บของเหลวที่มีความดันไอ เช่น ถังน้ำมัน
การทำงานของ Pressure Safety Valve โดยทั่วไปเพียงแค่เมื่อความดันภายในท่อหรือถังมีค่ามากกว่า Set Pressure แรงจากความดันที่กระทำต่อ Disc จะมีค่ามากกว่าแรงที่กดจากสปริง ทำให้ Disc เกิดการยกตัวขึ้น และระบายความดันส่วนเกินออกมา เมื่อความดันภายในระบบลดลงแล้ว Disc ก็จะเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งแลรับความดันภายในเช่นเดิม
Pressure Safety Valve ยังมีรายละเอียดด้านการออกแบบ การติดตั้ง การตั้งค่า Set Pressure และการ Calibration ที่ต้องทำให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้ระบบและผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัย
เป็นข้อมูลที่ทำให้รู้ลึก ถึงหลักการทำงานของ Relief Pressure Safety Valve ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ทำให้ผมกระจ่างขึ้น
ตอบลบแบบเดียวกันที่เราเรียกกันว่า POP ใช่ไหมครับ แต่ก่อนเห็นพี่นันว่าไลน์มัน อารยา (น้องป๊อป)เล่นซะผม งง งง งง แต่ Shift D ก็มีนะครับ PSV ....ตั๊มPSV .....
ตอบลบเป็นข้อมูลที่ดีจริงๆได้ความรู้เพิ่มขึ้นมาก
ตอบลบมันเป็นการปล็ดปล่อยพลังงาน แรงดัน ในส่วนที่เกินจากค่าที่เราต้องการหรือมากจนเกินไป เพราะถ้าเราไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตัวนี้ อาจจะเกิดการเสียหายในหลายๆด้านของการผลิตในแพลนต่างๆ ขำๆก่อนจบนะ....ถ้าคนเรามีpsv ติดตัวก็ดีนะเพราะว่าจะได้popความดันที่สูงออกจากร่างกาย จะได้ไม่ต้องเป็นความดันโลหิตสูง
ตอบลบคนเรามี PSV เหมือนกันนะพี่ตั้ม แต่ POP ทีต้องอุดจมูกกันหน่อย
ลบแล้วเราควรทำการตรวจเช็คเมื่อมีอายุใช้งานไปแล้วกี่เดือนกี่ปีว่าตัวอุปกรณ์ยังใช้งานได้ปกติ
ตอบลบจะเห็นได้ว่าPressure Safety Valveจะติดตั้งกับLine H202 เยอะมากเนื่องจากป้องกันการเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ Liquid เป็น Gas โดยฉับพลันอาจจะเนื่องมาจากการDecomposก็ตามเพื่อป้องกันการเสียหายในLine
ตอบลบขยายให้ครับ Safety Valve กับ Relief valve จึงไม่เหมือนกัน ทั้งที่ 2 นี้เป็นอุปกรณ์ช่วยระบายแรงดันในระบบอย่างอัตโนมัติเหมือนกัน เพื่อไม่ให้เกินค่าแรงดันที่ต้องการ ซึ่งถ้าค่าแรงดันเกินจากที่กำหนด(ชนะแรงดันของสปริงในตัววาล์ว) อุปกรณ์ตัวนี้ก็จะทำงานทันใด เราลองมาดูนิยามขั้นพื้นฐานวิเคราะห์กันดูนะครับ
ตอบลบ1. Safety Valve : วาล์วใช้ในการลดความดันเกินในของเหลว โดยอาศัยความดันที่เพิ่มขึ้นมากระทำต่อวาล์ว เมื่อความดันสูงถึงจุด Safety Valve (ความแข็งของสปริง) วาล์วจะถูกเปิดออกอย่างรวดเร็วและเต็มที่ เหมาะที่จะนำไปใช้กับภาชนะบรรจุก๊าซหรือเป็นไอ โดยการระบายความดันส่วนเกินจะออกสู่บรรยากาศโดยอัตโนมัติ ซึ่งลักษณะการทำงานจะเปิด (popping action) รวดเร็วเต็มพื้นที่หน้าตัดแบบนี้จะใช้กับระบบของไหลที่เป็นอากาศหรือแก๊สอื่นๆ นั่นเอง
2 Relief valve : ; วาล์วใช้ในการควบคุมหรือจำกัดแรงดันในระบบ วัตถุประสงค์เพื่อลดความดันเกินในของเหลว โดยจะเปิดแบบค่อยๆ ยกตัวขึ้นตามความดัน ซึ่งอาศัยความดันที่เพิ่มขึ้นมากระทำต่อวาล์ว เมื่อความดันสูงถึงจุดที่ตั้งไว้วาล์วก็จะเปิดออกเป็นสัดส่วนกันคือการเปิดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความดันที่เพิ่มขึ้น เหมาะที่เลือกใช้กับภาชนะบรรจุของเหลว นั่นเอง
เราสังเกตได้ว่า Safety Valve ลักษณะที่ของไหลเป็นก๊าซหรืออากาศ โอกาสที่เกิดการอัดตัวของก๊าซ (compressible fluid gas) อาจจะส่งผลให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ เมื่อแรงดันเกินกว่ากำหนด เลยต้องรีบระบายออกอย่างรวดเร็ว
ส่วน Relief valve ลักษณะของไหลเป็นของเหลวการอัดตัวกัน (compressible fluid liquid) จะไม่ส่งผลให้ระเบิดเมื่อแรงดันเกินกว่ากำหนด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สภาวะแรงดันจะส่งถ่ายแรงทำให้โครงสร้างที่เกี่ยวข้องในระบบได้รับความเสียหาย (ทั่วไปแล้วเราจะคุ้นกับคำว่า ระเบิด เลยทำให้ งงไปกันใหญ่ ซึ่งจริงๆแล้วก็คือการฉีกขาดเนื่องจากแรงดันกระทำ นั่นเอง)
...ขอบคุณ มิตรที่ช่วยเสริมความรู้ ให้กระจ่างครับ
ลบขอบคุณพี่โอดส์นะครับที่นำความรู้ดีๆแบบนี้มานำเสนอ ขอบคุณจิงๆครับ ขอบคูณคร้าบ
ตอบลบถ้า Safety Valve กับ Relief valve ทำงานแล้วควรซ่อมหรือ Set ค่าใหม่มั้ยครับ
ตอบลบตาโอ๊ต...Safety Valve ที่ติดอยู่บนรถ ISO Tank ลักษณะการทำงานคล้ายกันมั้ยครับ
ตอบลบrupture disc ถือว่าเป็น safety valve ด้วยหรือเปล่า จัดอยู่ในประเภทไหน
ตอบลบรูปร่างคล้ายกันแต่ต่างกันที่การทำงานนี่เอง...ผมคิดว่าเป็นตัวเดียวกันแต่ทำงานได้ 2 หน้าที่
ตอบลบเราจะรู้ได้ไงว่า safety valve อันไหน test แล้ว อันไหนยัังไม่ test ไม่มีเขียนบอกที่หน้างานเลยครับ
ตอบลบsafety valve มีระยะเวลาในการใช้งานและต้องนำไปตรวจสอบว่ายังใช้งานได้ตามที่ตั้งค่าไว้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัย สังเกตได้ว่าบนหัวของ safety valve จะมีฝาครอบและล๊อกไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มือดีต่างจังหวัดไปถอดออกและปรับน็อตล๊อคสปริงภายในเพื่อเพิ่มหรือลดความดัน
ตอบลบได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นนะหัวข้อนี้
ตอบลบความรู้ดีๆอย่างนี้ขอบคุณพี่โอ๊ตมากนะครับ......สวดยอด!
ตอบลบขอบคุณมากสำหรับความรู้นี้ และจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์นะครับ
ตอบลบเราจะรู้ได้ยังไงบ้างครับว่า safety valve set ใว้ที่กี่บาร์ ถ้าดูจากหน้างาน
ตอบลบถ้าจะดูว่า safty valve set ไว้กี่บาร์ให้ดูที่ตัว plate ที่ติดกับตัว valve จะบอก set pressure กี่บาร์ ,CDTP,Body material,Nomal size,Pressure rating ฯลฯ
ตอบลบขอบคุณครับสำหรับข้อมูล ทำให้เข้าใจว่ามันใช้งานแตกต่างกันอย่างไร จะได้เรียกถูกว่ามันเป็นวาล์วชนิดไหน
ตอบลบทดสอบระบบปฎิบัติการ ipad
ตอบลบเป็นข้อมูลที่ดีจริงๆได้ความรู้เพิ่มขึ้นมาก
ตอบลบอ่านเเล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นว่าวาลน์2 ชนิดทำงานต่างกันอย่างไร การทำงานคล้ายกันแต่ระชนิดของเหลว
ตอบลบอยากให้มีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานว่า เป็นสเป็กการใช้งาน แบบไหน ข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับตัววาลน์
ตอบลบSafety relief valve/Rupture Disc เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่เเต่ละโรงงานมักจะต้องมี จนเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการออกเเบบ
ตอบลบได้ขัอมูลเรื่องนี้เพิ่มขึ้นเยอะเลย..
ตอบลบขอบคุณมากครับ กับบทความนี้ ทำให้ทราบถึงการทำงาน เเละการนำไปใช้งานที่ถูกต้อง
ตอบลบได้ความรู้เพิ่มอีกเเล้ว
ตอบลบได้รู้และเข้าใจกับการทำงานของวาล์วประเภทนี้ขึ้นอีกมากทีเดียว ผมจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับหน้างานคับ
ตอบลบข้อมูลดีมากเลยครับ หามาลงให้อ่านอีกนะครับ ช่วยให้มีความรู้เพิ่มขึ้น
ตอบลบผมมีความเข้าใจมายิ่งขึ้นเรื่องPressure Safety Value (วาล์วนิรภัย) หรือ Pressure Relief Valve (วาล์วระบายแรงดัน)
ตอบลบ