วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ชุดควบคุมคุณภาพลม

By Shift B


การควบคุมคุณภาพลม คือ การทําให้ลมสะอาด ลมอัดมีความดันที่ถูกต้อง และคงที่ ลมอัดมีน้ำมันเพื่อหล่อลื่นชิ้นส่วนที่ทํางาน ในสภาพอากาศทั่วๆไป 1 ลูกบาศก์เมตร (m3) พบว่ามีสิ่งสกปรกอยู่โดยเฉลี่ยสูงถึงกว่า 140 ล้านสิ่งสกปรก ซึ่งประกอบไปด้วย แบคทีเรีย ไวรัส หมอกควัน ไฮโดรคาบอน น้ำ น้ำมันและสิ่งเจือปนอื่นๆที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ดังนั้นหากเราลองจินตนาการเมื่อเครื่องอัดลมอัดความดันสูงถึง 8 บาร์ ก็มีความเป็นไปได้ที่สิ่งสกปรกในอากาศอัด 1 m3 จะมีสูงถึง 1120 ล้านสิ่งสกปรก อุปกรณ์ที่ใช้สําหรับปรับปรุงคุณภาพลมอัดได้แก่

• อุปกรณ์กรองลมอัด (Air Filter)

• อุปกรณ์ควบคุมความดันของลมอัด (Air Regulator)

• อุปกรณ์ผสมน้ำมันหล่อลื่นเข้าไปในลมอัด (Air Lubricator)


ซึ่งมีรายละเอียดการทํางานของอุปกรณ์แต่ละตัวมีดังต่อไปนี้


อุปกรณ์กรองลมอัด (Air Filter)

เมื่อ เครื่องอัดลม (Air compressor) ทําการอัดลมเพื่อให้มีความดัน (Pressure) เพิ่มขึ้นนั้น ลมที่ถูกเครื่องอัดลมดูดเข้าไปเพื่ออัดเก็บในถังเก็บลมนั้น จะมีส่วนผสมของมวลสารอื่น ๆ ด้วย เช่น ไอน้ำ ฝุ่นผง หรือมวลสารที่ล่องลอยในบริเวณที่เครื่องอัดลมทํางานอยู่ดังนั้นจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอามวลสารที่ไม่ต้องการเหล่านี้ออกจากลมอัดเพราะมวลสารและสิ่งสกปรกต่าง ๆนี้จะเป็นตัวที่ทําให้อุปกรณ์ทํางานของระบบนิวแมติกเสียหาย ทํางานติดขัดอายุการใช้งานสั้นลง



ลมอัดไหลเข้ามาทางด้านท่อลมเข้าและไหลผ่านลงไปที่ตัวกรองลมอัดที่ไหลเข้ามาจะมีความดันสูงและต้องผ่านแผ่นกะบัง บังคับการไหลทําให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ของลมอัด ไปปะทะกับผนังของลูกถ้วย อากาศที่สะอาดก็จะไหลผ่านไส้กรองออกทางด้านท่อลมออก และสิ่งสกปรกก็จะติดอยู่ที่ไส้กรอง ส่วนละอองน้ำที่ติดอยู่ผนังของลูกถ้วยเมื่อสะสมกันมาก ๆ ก็จะไหลมารวมกันไปอยู่ ด้านล่างของชุดกรองอากาศ ที่ด้านล่างของลูกถ้วยจะมีขีดจํากัดปริมาณละอองน้ำไม่ให้สูงเกินไปการระบายละอองน้ำออกสามารถทําได้ โดยการระบายน้ำออกด้วยการหมุนสกรูที่ใต้ลูกถ้วยหรือติดตั้งตัวระบายน้ำอัตโนมัติที่ลูกถ้วยก็ได้

เกจวัดความดันลมอัด (Pressure Gauge) เกจวัดความดันลมอัด ใช้สําหรับวัดความดันในวงจรนิวแมติก ปกติจะติดตั้งอยู่ทางออกของตัวควบคุมความดันลมอัดเกจวัดดันลมอัด จะเป็นแบบท่อสปริงรูปทรงกลมโค้งงอในแนวรัศมีและมีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นท่อกลวงส่วนปลายข้างหนึ่งยึดติดกับช่องที่ให้ความดันลมอัดผ่านเข้ามาภายในขดสปริงเมื่อมีแรงดันของลมท่อสปริงรูปทรงกลม จึงยืดออกให้ท่อตรงส่วนปลายอีกด้านของท่อสปริงจะยึดติดกับชุดกลไกต่อระหว่างท่อสปริงกับเฟืองเข็ม กลไกเหล่านี้จะเพิ่มตัวแสดงการเคลื่อนไหวของท่อสปริงขดหรือบอกความดันภายในระบบนั่นเอง



อุปกรณ์ควบคุมความดัน (Compressed air regulator)

มีหน้าที่ในการปรับความดันใช้งานให้คงที่และเหมาะสมกับความดันของระบบและปรับความดันต้นทางให้สูงกว่าความดันปลายทาง

แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ

• ชนิดไม่มีการระบายความดันออกสู่บรรยากาศ

• ชนิดมีการระบายความดันออกสู่บรรยากาศ

เมื่อความดันลมออกมาจากอุปกรณ์กรองลมอัด จะต่อเข้าวาล์วควบคุมความดัน เพื่อทีจะปรับความดันลมให้มีความดันคงที่อยู่ที่ ความดันลมจะผ่านบ่าวาล์วและไหลออกที่ทางออกเพื่อใช้งานต่อไป บริเวณช่องทางออกของลมอัดจะมีช่องออริฟีช (Orifice) ที่ต่อระหว่างช่องทางออกกับห้องใต้แผ่นไดอะแฟรม ถ้าความดันลมที่ออกนี้มีความดันสูงกว่าค่าของสปริง (ตัวบน) ก็จะดันแผ่นไดอะแฟรมให้ยกขึ้น เป็นผลให้ก้านของพอพเพตซึ่งเชื่อมต่ออยู่กับชุดของแผ่นไดอะแฟรมถูกยกขึ้นตาม ทำให้บ่าวาล์วปิดทางลมที่เข้าวาล์ว ดังนั้น ค่าของสปริงจะเป็นตัวกำหนดค่าความดันลมที่ออกจากวาล์วนั้นเอง



อุปกรณ์ควบคุมความดันลม Air Regulator

อุปกรณ์เติมน้ำมันหล่อลื่น (Air Lubricator)

ชุดน้ำมันหล่อลื่นจะมีหน้าที่เป็นตัวจ่ายสารหล่อลื่นให้กับอุปกรณ์นิวแมติกโดยจะปนไปกับลมอัดในการใช้งาน เพื่อลดการสึกหรอและความฝืดของอุปกรณ์ต่าง ๆเช่น วาล์วข้อต่อลูกสูบ เป็นต้น ชุดน้ำมันหล่อลื่นจะอาศัยหลักการของช่องแคบที่ความดันแตกต่างกันคือความเร็วของลมอัดที่ไหลผ่านช่องแคบมีความเร็วสูงจึงทําให้เกิดการดูดน้ำมันขึ้นมาผสมกับลมอัดที่ไหลผ่านเปนละอองน้ำมันหล่อลื่นเพื่อนําไปใช้ในระบบหล่อลื่นอุปกรณ์ต่าง ๆต่อไป ในป้จจุบันส่วนมากอุปกรณ์นิวแมติกจะใช้วัสดุเทอร์โมพลาสติก(Thermopastic) แทนวัสดุชิ้นเก่าทําให้ชุดน้ำมันหล่อลื่นไม่ค่อยมีบทบาทมากนักในปัจจุบัน และระบบการผลิตในอุตสาหกรรมบางประเภทไม่จําเป็นต้องใช้การหล่อลื่น เช่น อุตสาหกรรมผลิตอาหารและยา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์






31 ความคิดเห็น:

  1. ค่อนข้างจะเห็นบ่อยในกรณีอุปกรณ์ระบายน้ำทิ้ง เครื่องระบายน้ำอัตโนมัติ (auto drain)ทำงานไม่มีประสิทธิภาพทำให้มีน้ำขังอยู่ในอุปกรณ์ระบายน้ำทิ้ง ทำให้อุปกรณ์ instrument ทำงานผิดผลาดอยู่บ่อยๆ

    ตอบลบ
  2. Regulatorใน plantของเราการทำงานควรทำงานอย่างระมัดระวังอย่าให้โดนworkig Sulution เป็นอันขาดเพราะจะทำให้พลาสติคภายนอกกรอบแตกได้ง่ายแล้วก็จะพังไปในที่สุด

    ตอบลบ
  3. โดยปกติเเล้ว Instrument air compressor ที่ทางออก มักจะมีการติดตั้ง Air trap/Air filter/Air dryer เพื่อดักน้ำ/ดักสิ่งสกปรกต่าง อยู่เเล้ว เเต่ อุปกรณ์เติมน้ำมันหล่อลื่น (Air Lubricator)มักจะติดตั้งไกล้กับอุปกรณ์นั้นๆ

    ตอบลบ
  4. ไม่หน้าเชื่อว่าในอากาศ จะมีความสกปรกมากมายขนาดนี้ จะเห็นว่าในระบบนิวแมติกต้องการลมที่ไม่มีความสกปรกปนอยู่เลย และจะติดตั้งเครื่องป้องกันเริ่มตั้งแต่ air compressor มาจนถึงชุดควบคุมคุณภาพลม ก่อนที่ลมจะเข้าอุปกรณ์
    ใน plant ของเรา Regulator ชำรุดเสียหายเยอะทำให้เราสูญเสีย air supply ถ้าคิดแล้วสูญเงินไปมากเลยนะ

    ตอบลบ
  5. ไม่คิดว่าอากาศทั่วไปจะมีสิ่งสกปรกหรือสิ่งที่ทำให้อุปกรณ์กรองลมอัด (Air Filter) เสียหายได้เพราะใน Plant ก็มีอุปกรณ์นี้ใช้งานอยู่ตลอด อย่างงี้ก็ต้องคอยสังเกตุ ถ้าอุปกรณ์เสียต้องเปลี่ยนหรือซ่อมทันที ไม่อย่างงั้นจะเสีย Air ไปโดยใช้เหตุ

    ตอบลบ
  6. อย่าเอาลมเป่าหน้าเล่นนะครับและก็สงสัยในยางรถคงจะสกปรกน่าดูเพราะ อากาศอัด 1 m3 จะมีสูงถึง 1120 ล้านสิ่งสกปรก 1 ลูกบาศก์เมตร (m3) พบว่ามีสิ่งสกปรกอยู่โดยเฉลี่ยสูงถึงกว่า 140 ล้านสิ่งสกปรก ซึ่งประกอบไปด้วย แบคทีเรีย ไวรัส หมอกควัน ไฮโดรคาบอน น้ำ น้ำมันและสิ่งเจือปนอื่นๆที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์

    ตอบลบ
  7. ทุกๆ นาทีเราหายใจหลายครั้งและสูดทุกอย่างในอากาศเข้าไปในปอด ในปัจจุบัน เราใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในอาคารและบ้านเรือน ความสะอาดของอากาศภายในจึงสำคัญกว่าอากาศภายนอก การศึกษาขององค์การปกป้องสิ่งแวดล้อมของอเมริกาพบว่า อากาศภายในมีมลพิษมากกว่าอากาศภายนอกราว 2-10 เท่าและมลพิษภายในเป็น 1 ใน 5 ของบรรดาสิ่งแวดล้อมที่มีอันตรายสูงสุดสำหรับชาวอเมริกัน นอกจากนั้นองค์การอนามัยโลกประเมินว่าเกือบ 1 ใน 3 ของตึกทั่วโลกมีปัญหามลพิษ สมาคมแพทย์โรคภูมิแพ้ของอเมริกาชี้ว่า ราว 50% ของความเจ็บป่วยในอเมริกามีสาเหตุมาจากมลพิษภายในอาคาร ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ชาวอเมริกันเป็นโรคหอบหืดเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าและอัตราการตายจากโรคนี้เพิ่มขึ้นกว่าสามเท่า

    สำหรับแนวทางแก้ปัญหา ผู้เขียนแนะนำว่ามีอยู่ 5 วิธีคือ 1) กำจัดที่มาของสิ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ เนื่องจากควันบุหรี่มีสารพิษ การเลิกสูบบุหรี่ย่อมดีแน่ นอกจากนั้นเขาแนะนำให้ใช้ไม้และกระเบื้องปูพื้นแทนพรม และเลิกเลี้ยงสัตว์ภายในบ้าน เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายในบ้านมักมีสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายผสมอยู่ จากสบู่ เครื่องสำอาง ของเล่นไปจนถึงยาฆ่าแมลง ถ้าเป็นไปได้ต้องเลิกใช้ หรือไม่ก็จำกัดให้เหลือน้อยที่สุด

    2) ถ่ายเทอากาศ การศึกษาพบว่าปัญหาอากาศภายในอาคารเป็นพิษราว 60% เกิดจากอากาศถ่ายเทไม่พอ แต่การเปิดหน้าต่าง ประตูหรือบานเกล็ดอย่างเดียวก็อาจทำให้อากาศถ่ายเทได้ไม่เพียงพอ ฉะนั้น นอกจากการออกแบบอาคารจะต้องคิดถึงเรื่องการถ่ายเทของอากาศตามธรรมชาติแล้ว อาจต้องเพิ่มเครื่องช่วยถ่ายเทอากาศจำพวกพัดลมเข้าไปด้วย

    3) กรองอากาศ การทำให้อากาศถ่ายเทเป็นการสับเปลี่ยนระหว่างอากาศภายในกับอากาศภายนอกอาคาร ถ้าอากาศภายนอกเป็นพิษอยู่แล้ว การถ่ายเทย่อมไม่เกิดประโยชน์ ในบางกรณีจึงมีความจำเป็นที่จะต้องกรองอากาศ สำหรับอากาศที่มีฝุ่นละอองเจือปนอยู่มาก เครื่องกรองอาจเป็นจำพวกแผงเส้นใยสำหรับให้อากาศไหลผ่าน หรือ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทำให้ฝุ่นมีประจุไฟฟ้าแล้วลอยไปเกาะตามฝา พื้นและสิ่งอื่นซึ่งมีอยู่ในอาคาร ส่วนสิ่งเจือปนที่อยู่ในรูปของไอน้ำ ก๊าซและเชื้อจุลินทรีย์ เครื่องกรองอาจต้องเป็นจำพวกผงถ่านซึ่งผ่านกรรมวิธีให้มีความสามารถในการดูดซับเรียกว่า “ถ่านกัมมันต์” (Activated Charcoal)

    4) ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์โดยเลียนแบบธรรมชาติซึ่งมีอยู่ 3 อย่างคือ ใช้โอโซน หรือออกซิเจนที่มีสารอะตอมซึ่งมีความสามารถในการทำความสะอาดสูงฟอกปฏิกูลในอากาศ (Ozonation) ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าในฝุ่นละอองแล้วให้มันรวมกันเป็นสารอื่นที่ไม่มีอันตราย (Ionization) และใช้แสงอัลตราไวโอเลตทำลายสิ่งที่มีอันตราย (Irradiation)

    5) ฟอกอากาศโดยเทคโนโลยีที่มนุษย์อวกาศใช้เมื่อเขาออกไปอยู่นอกโลกซึ่งเขาต้องฟอกอากาศที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อนำกลับมาใช้อีก กระบวนการฟอกชนิดนี้ทำได้หลายวิธีด้วยกัน แต่ผู้เขียนเสนอว่า วิธีที่อาจใช้ได้ผลดีที่สุดในชีวิตประจำวันได้แก่ Radiant Catalytic Ionization

    ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องตรวจดูว่าในบ้าน โรงงาน โรงพยาบาลและสำนักงานของเรามีอากาศที่เป็นฆาตกรเงียบแฝงตัวอยู่หรือไม่ ถ้ามีก็ต้องหาวิธีกำจัดที่เหมาะสมอย่างเร่งด่วน

    ตอบลบ
  8. ได้ทราบถึงการทำงานและกลไกของ regulator ซึ่งยังมีประเภทที่สามารถ drain น้ำอัตโนมัติได้

    ตอบลบ
  9. ...Plant ของเราที่ใช้อยู่เป็นแบบลักษณะไหนครับ

    • ชนิดไม่มีการระบายความดันออกสู่บรรยากาศ

    • ชนิดมีการระบายความดันออกสู่บรรยากาศ

    ตอบลบ
  10. อ้อ อย่างงี้นี่เอง
    Filter เป็นตัวกรองสิ่งปนเปื้อนที่มากับลม (ฝุ่น, ผง, สนิม) ที่มีความละเอียด 40 ไมครอน และสลัดละอองน้ำที่มากับลม
    Regulator เป็นตัวปรับแรงดันลมที่เครื่องจักรต้องการให้คงที่ เพราะแรงดันลมจากต้นทาง อาจสูงเกินและไม่สม่ำเสมอ
    Lubricator เป็นตัวจ่ายน้ำมันอัตโนมัติซึ่งสามารถตั้งค่าการจ่ายน้ำมันได้ เครื่องจักรที่ต้องการ การหล่อลื่นจำเป็นต้องใช้เพื่อบำรุงรักษาเครื่องจักร

    ตอบลบ
  11. แล้วอุปกรณ์ที่เราใช้กรองลมแล้วใช้เป่าไฮโดรเจเปอร์ออกไซด์ตอนโหลดดิ้งถ้าใช้ไปนานๆประสิทธิภาพของเครื่องกรองลมจะลดลงไหมครับและคุณภาพของลมจะยังดีไหมครับ

    ตอบลบ
  12. เมื่อก่อนสนใจแต่ Air Filter และ Air Regulator
    ไม่ค่อยจะดูตัว Air Lubricator มากนัก
    ขอบคุณสำหรับข้อมูล ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นค่ะ

    ตอบลบ
  13. แล้วอย่างนี้ตอนที่เราหายใจเอาอากาศเข้าไปเท่ากับว่าเราได้นำเอาสิ่งสกปรกเข้าไปด้วยนะซิอันตรายรอบด้านเลยนะนี่ แต่เราก็มีfilterคือ ขนจมูก ส่วนสารหล่อหลื่นและสิ่งดักสิ่งสกปรกคือ น้ำมูก มันเกี่ยวเป่าว้า มองให้ลึกๆนะครับ

    ตอบลบ
  14. Regulator สำคัญนะครับถ้าไม่มีตัวนี้สงสัยอุปกรณ์ต่างๆคงเสียหายหรือชำรุดเร็วกว่าปกติ ขอบคุงครับ

    ตอบลบ
  15. เวลาเราไปเติมยางรถที่ปั้มน้ำมันเห็นบางที่ไม่มี Air Filter และ Air Regulatorแล้วอย่างนี้ในยางรถเราก็มีทั้งน้ำทั้งสิ่งสกปรกต้องไปให้ร้านถอดดูแล้วครับ

    ตอบลบ
  16. เป็นอุปกรณ์ท่ีสำคัญมากในโรงงานอุตสาหกรรมในการควบคุมแรงดัน และเป็นอุปกรณ์ท่ีมีประสิทธิภาพจริงๆ

    ตอบลบ
  17. ลมเปลี่ยนทิศ ได้สอนอะไรเรา ชีวิตคนๆหนึ่งไม่มีอะไรแน่แท้ ทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลง มีพบก็ต้องมีจาก หากคนๆหนึ่งที่เรารักมีหนทางใหม่ที่ดีกว่า ก็ต้องยอมรับความจริง ให้เขาก้าวเดินต่อไปข้างหน้า แม้เราต้องเจ็บ แต่สักวัน "ลมเปลี่ยนทิศ" ของเราก็คงมาถึง เมื่อนั้นเราเองก็คงจะมีทางข้างหน้าที่ดีกว่า

    ตอบลบ
  18. การเติมลมยาง
    เป็นสิ่งที่สำคัญที่คุณควรตรวจเช็คลมยางของ คุณเป็นประจำด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดลมยางที่มี ประสิทธิภาพ ควรเติมลมให้เหมาะสมตามคำ แนะนำของผู้ผลิดรถที่คุณขับ ซึ่งโดยปกติแล้ว ทางผู้ผลิตจะติดคำแนะนำนี้ตรงบริเวณประตูรถ หรือ ฝาน้ำมัน หรือแม้กระทั่งสมุดคู่มือรถ นอก จากนั้นคุณควรตรวจความลึกของดอกยางคุณ ด้วย ดอกยางที่ลึกอย่างเหมาะสม จะช่วยป้องกัน การไถล และระเบิด ลมยางอ่อนไป เป็นศัตรูตัว ร้ายที่สุดของยาง ยางด้านนอกจะสึกมากกว่า ยางด้านใน มากไปกว่านั้น ความร้อนส่วนเกินจะ มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ยางมีความทนทานน้อยลง ยางที่อ่อนจะทำให้รถของคุณทำงานหนักขึ้น ซึ่ง จะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น ลมยางที่ มากเกินไป ก็เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม การสูบลม ยางที่มากเกินไป จะทำให้ส่วนกลางของดอก ยางรับน้ำหนักของรถมากกว่าส่วนอื่น ส่วนนี้ก็จะ เกิดการสึกมากกว่าส่วนอื่น และเกิดการสึกไม่ เรียบ ซึ่งจะทำให้ยางนี้มีเสียงและสั่นได้ ควร ตรวจเช็คลมยางของคุณในขณะที่ยางเย็นตัว เพราะยางที่เมื่อใช้งานวิ่งถึงแม้ในระยะสั้นๆ ลม ในยางจะมีค่าความดันที่เปลี่ยนแปลงไป การวัด ค่าจึงผิดเพี้ยนได้ ถ้าความดันลมยางลดลงเร็ว กว่าปกติอาจเกิดได้จากยางรั่ว ควรปรึกษาช่าง ผู้็ชำนาญการโดยทันที

    ตอบลบ
  19. เรื่องนี้ดีมากเลยคับได้รู้จักส่วนประกอบของระบบ Instrument และเข้าใจการทำงานเพิ่มขึ้นขอบคุณมากคับ

    ตอบลบ
  20. อ่านแล้วมีความรู้เรื่องชุดควบคุมคุณภาพลมเพิ่มขึ้นมากเลยครับ คงจะเป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ครับ

    ตอบลบ
  21. ชุดควบคุมคุณภาพลม คือ Air Regulator แล้วชุดควบคุมคุณภาพน้ำเรียกว่าไรครับ
    ได้ความรู้เพียบ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  22. เราได้รู้หลักการทำงานของอุปกรณ์ต่างนี้ไปแล้ว
    -อุปกรณ์กรองลมอัด (Air Filter)
    -อุปกรณ์ควบคุมความดันของลมอัด (Air Regulator)
    -อุปกรณ์ผสมน้ำมันหล่อลื่นเข้าไปในลมอัด (Air Lubricator)
    *แต่ยังไม่รู้วิธีการปรับเปลี่ยนแรงดันเลยครับ* ช่วยเพิ่มเติมให้ผมหน่อยนะฮ๊าฟฟฟฟฟฟ
    (หมุนเข้าหมุนออกยังไงล็อคยังครับบบบ)?????????????????????????????

    ตอบลบ
  23. ได้อ่านแล้วได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมาเยอะเลยครับ ได้ทราบถึงตัวอุปกรณ์ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง ทำงานได้อย่างไร เพราะว่ามีอยู่ตัวนึงติดตั้งกับปั๊มลมที่บ้านก็ไม่รู้เกี่ยวกับรายละเอียดมากเท่าไหร่ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  24. ขอบคุณความรู้ดีๆ....อีกแล้วนะครับ....Shift/B

    ตอบลบ
  25. ได้ความรู้มั่กๆ เลยคัฟ ได้ทราบถึงชนิดเเละการนำไปใช้งานของ Regulator

    ตอบลบ
  26. การปรับอุปกรณ์ควบคุมแรงดันลมควรให้ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องปรับเพราะเขาจะรู้ว่าแรงดันลมที่จะนำไปใช้กับอุปกรณ์นั้นๆควรอยู่ที่เท่าไรเพราะถ้าเราไม่รู้แล้วไปปรับอาจทำให้อุปกรณ์เสียหายได้ เช่น diaphragm ของ valve แตกและ valve อาจทำงานผิดพลาด

    ตอบลบ
  27. อ่านแล้วได้รู้จักอุปกรณ์และหน้าที่การทำงานละเอียดมากขึ้น

    ตอบลบ
  28. แบงค์บ้านฉาง26 สิงหาคม 2556 เวลา 12:04

    บทความนี้ทำให้รู้และเข้าใจในหลักการทำงานและหน้าที่ของตัวอุปกรณ์ Regulator มากขึ้น

    ตอบลบ
  29. ขอบคุณครับได้ทบทวนความรู้เก่าๆ เเถมความรู้ใหม่ๆด้วย ok.

    ตอบลบ
  30. มิตรเฮดเดอร์ไฮเปอร์เรดซิ่ง6 ตุลาคม 2556 เวลา 02:55

    อุปกรณ์ทุกชิ้นส่วนย่อมมีคุณค่าและหน้าที่ของมันเสมอ

    ตอบลบ
  31. อุปกรณืนี้ที่มีน้ำมันหล่อลื่นก็ถูกออกจากคนไทยเช่นที่Moblie pump

    ตอบลบ