ความขัดแย้งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นตอน ๆ ในแต่ละตอนจะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามลำดับ ความขัดแย้งมักเกิดจาก “ ความคับข้องใจ ” ของฝ่ายหนึ่งที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งกระทำ การกระทำที่ก่อให้เกิดความคับข้องใจดังกล่าว เช่น ไม่เห็นด้วย ไม่ช่วยเหลือ ดูถูก เอาเปรียบ ให้ร้าย เสียศักดิ์ศรี ฯลฯ ดังนั้น ต่างฝ่ายจึงต่างพยายามหาหลักฐานหรือเหตุผลเพื่อมาสนับสนุนความถูกต้องของตนเอง และหาทางออกด้วยวิธีการเอาแพ้เอาชนะมากกว่าอย่างอื่น จึงเกิดเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหารูปแบบต่าง ๆ เช่น การเอาชนะ ต่อรอง ร่วมมือ หลีกเลี่ยง ผ่อนปรนเข้าหากัน เป็นต้น
แนวคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับ “ ความขัดแย้ง ” เรามักมองว่าความขัดแย้งเป็นอุปสรรคของการทำงานเสียเวลา คนที่มีความขัดแย้งจะถูกคนอื่นมองว่าเป็นพวกมองโลกในแง่ร้าย พวกแกะดำ ไม่มีสัมมาคารวะไม่ห่วงอนาคต แถมยังทำให้องค์กรไม่ก้าวหน้า เสียเวลาในการทำงาน ฯลฯ ด้วยเหตุนี้คนเราจึงไม่ค่อยกล้าแสดงความเห็นที่ขัดแย้ง เพราะกลัวภาพลักษณ์ของตนเองจะถูกคนอื่นมองในด้านลบ โดยมีความเชื่อว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องที่สามารถหลีกเลี่ยงได้
“ แนวคิดใหม่ ” สำหรับความขัดแย้ง มองว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความขัดแย้งสามารถส่งผลทั้งด้านบวกและด้านลบแก่องค์กร ทำให้องค์กรไม่หยุดนิ่ง ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ เกิดการยอมรับและไว้วางใจซึ่งกันและกัน ช่วยในการสร้างทีมงานได้เป็นอย่างดี
ความขัดแย้งที่ให้ผลทางบวกเรียกว่า ความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์ (Constructive Conflict) เป็นความขัดแย้งที่ใช้ประโยชน์กับบุคคลและองค์การที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งนั้น ผลประโยชน์ที่ได้รับที่ชัดเจนคือการเพิ่มการสร้างสรรค์และนวัตกรรม การเพิ่มพลัง การเพิ่มความยึดเหนี่ยวและลดความตึงเครียด ตรงข้างกับความขัดแย้งที่ให้ผลทางลบซึ่งเรียกว่า ความขัดแย้งเชิงทำลาย (Destructive Conflict) เป็นความขัดแย้งที่ไม่มีประโยชน์ต่องาน ต่อบุคคลและองค์การ ความขัดแย้งเชิงทำลายจะลดประสิทธิภาพของบุคคล กลุ่มและองค์การ ความขัดแย้งที่ให้ผลเช่นนี้จะเกิดจากความเป็นศัตรูของบุคคลแต่ละฝ่ายอันเป็นผลมาจากความขัดแย้งทางอารมณ์ หรือเกิดจากการที่บุคคลหรือกลุ่มไม่สามารถตกลงได้กับเป้าหมายของกลุ่ม ความขัดแย้งเชิงทำลายยังมีผลต่อการสูญเสียผลผลิต ความพึงพอใจในงาน ความเครียดจากการใช้อำนาจหรือการบังคับและมีผลต่อการลดเป้าหมายร่วมกันของบุคคลหรือกลุ่มหรือองค์การ
โทมัส และ คิลเมน ได้ศึกษาว่า ในกรณีที่คนเราต้องเผชิญกับความขัดแย้ง เราจะมีวิธีการจัดการ (หรือขจัด) ความขัดแย้งนั้นอย่างไร ? ซึ่งผลจากการศึกษาได้จำแนกวิธีการจัดการกับความขัดแย้งออกเป็น 5 แนวทาง ดังนี้
1. การเอาชนะ (Competition) เมื่อคนเราพบกับความขัดแย้ง จะมีบางคนที่แก้ไขความขัดแย้งนั้น ด้วยวิธีการเอาชนะ โดยมุ่งเน้นชัยชนะของตนเองเป็นสำคัญ จึงพยายามใช้อิทธิพล วิธีการหรือช่องทางต่าง ๆ เพื่อจะทำให้คู่กรณียอมแพ้หรือพ่ายแพ้ตนเองให้ได้ การแก้ไขความขัดแย้งในแนวทางนี้ จะทำให้เกิดผลลัพธ์ในลักษณะ “ ชนะ-แพ้ ”
2. การยอมรับ (Accommodation) จะเป็นพฤติกรรมที่เน้นการเอาใจผู้อื่น อยากเป็นที่ยอมรับและได้รับความรัก มุ่งสร้างความพอใจให้แก่คู่กรณี โดยที่ตนเองจะยอมเสียสละ แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งแบบนี้ เกิดผลลัพธ์ในลักษณะ“ชนะ-แพ้”
3. การหลีกเลี่ยง (Avoiding) เป็นวิธีจัดการกับความขัดแย้งในลักษณะไม่สู้ปัญหา ไม่ร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ไม่สนใจความต้องการของตนเองและผู้อื่น พยายามวางตัวอยู่เหนือความขัดแย้ง พูดง่าย ๆ ก็คือทำตัวเป็นพระอิฐพระปูนนั่นเอง แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งแบบนี้ มักเกิดผลลัพธ์ในลักษณะ “ แพ้-แพ้ ” เป็นส่วนใหญ่
4. การร่วมมือ (Collaboration) เป็นพฤติกรรมของคนที่มุ่งจัดการความขัดแย้ง โดยต้องการให้เกิดความพอใจทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น เป็นความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาที่มุ่งให้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่ายซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในแบบนี้ เรียกได้ว่าเป็นวิธีการแก้ไขความขัดแย้งที่ Win-Win ทั้งสองฝ่ายแนวทางการแก้ไขแบบนี้จึงเกิดผลลัพธ์ในลักษณะ “ ชนะ-ชนะ ”
5. การประนีประนอม (Compromising) เป็นความพยายามที่จะให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้รับความพอใจบ้าง และต้องยอมเสียสละบ้าง แต่ก็มีแนวโน้มที่จะใช้วิธีที่ 1 คือวิธีเอาชนะมากกว่าวิธีอื่น แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งแบบนี้ จึงเกิดผลลัพธ์ในลักษณะ “ แพ้-แพ้ ” หรือ “ ชนะ-แพ้ ”
ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถใช้ความขัดแย้งเป็นเครื่องมือ “ สร้างโอกาส ” ในการพัฒนาและปรับปรุงองค์กรได้เป็นอย่างดี หากท่านมีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ท่านจะเลือกทางออกอย่างไร ระหว่าง การเอาชนะ การยอมรับ การหลีกเลี่ยง การร่วมมือ หรือ การประนีประนอม อย่างไรก็ดี สิ่งอย่างไรก็ดีสิ่งสำคัญที่เราต้องตระหนักก็คือ เรากำลังหาทางออกของปัญหา ไม่ใช่การหาผู้กระทำผิดหรือผู้ที่มีความเห็นไม่ตรงกับเราและพยายามอย่างยิ่งในการหาทางออกแบบ “ ชนะ-ชนะ ”
ทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งก็คือ ทักษะในการฟัง โดยต้องเป็นการฟังอย่าง “ เข้าอกและเข้าใจ ” ดังคำว่า “First to understand and then to be understood” และทดลองใช้เครื่องมือเพื่อขอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ขอความร่วมมือ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง “ แบบเชิงรุก ” โดยใช้ “ สุนทรียสนทนา ”
กิจกรรม “ สุนทรีสนทนา ” เป็นเรื่องของการเปิดใจยอมรับฟัง และการร่วมแสดงความคิดเห็นโดยมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาและการเสนอแนะ ไม่ได้เน้นที่ตัวบุคคลหรือค้นหาผู้กระทำผิด พร้อมทั้งสร้างทัศนคติที่ดีต่อกัน ผลลัพธ์สุดท้ายของกิจกรรมนี้ก็คือ องค์กรจะเกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เกิดบรรยากาศในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ และรู้สึกปลอดภัยในการให้ข้อมูล ซึ่งเมื่อเกิดความรู้สึกแบบนี้แล้ว ความขัดแย้งก็จะสลายไปในที่สุด ซึ่งเป็นที่น่าดีใจที่พวกเราก็ได้สร้างสรรค์กิจกรรมนี้ด้วยตัวพวกเราเองหลังจากที่พวกเราได้สร้างวัฒนธรรมองค์กร (iHears) ร่วมกัน บางคนได้นำไปใช้ที่บ้านด้วยซ้ำ พวกเราจะเห็นว่าวัฒนธรรมองค์กรของเรานั้นเป็นสิ่งที่นำทางเราไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีเสมอ
สุดท้ายนี้ขอให้พวกเราตั้งใจปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรและโชคดีในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ แนวคิดใหม่ ” สำหรับความขัดแย้ง มองว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความขัดแย้งสามารถส่งผลทั้งด้านบวกและด้านลบแก่องค์กร ทำให้องค์กรไม่หยุดนิ่ง ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ เกิดการยอมรับและไว้วางใจซึ่งกันและกัน ช่วยในการสร้างทีมงานได้เป็นอย่างดี
ความขัดแย้งที่ให้ผลทางบวกเรียกว่า ความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์ (Constructive Conflict) เป็นความขัดแย้งที่ใช้ประโยชน์กับบุคคลและองค์การที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งนั้น ผลประโยชน์ที่ได้รับที่ชัดเจนคือการเพิ่มการสร้างสรรค์และนวัตกรรม การเพิ่มพลัง การเพิ่มความยึดเหนี่ยวและลดความตึงเครียด ตรงข้างกับความขัดแย้งที่ให้ผลทางลบซึ่งเรียกว่า ความขัดแย้งเชิงทำลาย (Destructive Conflict) เป็นความขัดแย้งที่ไม่มีประโยชน์ต่องาน ต่อบุคคลและองค์การ ความขัดแย้งเชิงทำลายจะลดประสิทธิภาพของบุคคล กลุ่มและองค์การ ความขัดแย้งที่ให้ผลเช่นนี้จะเกิดจากความเป็นศัตรูของบุคคลแต่ละฝ่ายอันเป็นผลมาจากความขัดแย้งทางอารมณ์ หรือเกิดจากการที่บุคคลหรือกลุ่มไม่สามารถตกลงได้กับเป้าหมายของกลุ่ม ความขัดแย้งเชิงทำลายยังมีผลต่อการสูญเสียผลผลิต ความพึงพอใจในงาน ความเครียดจากการใช้อำนาจหรือการบังคับและมีผลต่อการลดเป้าหมายร่วมกันของบุคคลหรือกลุ่มหรือองค์การ
โทมัส และ คิลเมน ได้ศึกษาว่า ในกรณีที่คนเราต้องเผชิญกับความขัดแย้ง เราจะมีวิธีการจัดการ (หรือขจัด) ความขัดแย้งนั้นอย่างไร ? ซึ่งผลจากการศึกษาได้จำแนกวิธีการจัดการกับความขัดแย้งออกเป็น 5 แนวทาง ดังนี้
1. การเอาชนะ (Competition) เมื่อคนเราพบกับความขัดแย้ง จะมีบางคนที่แก้ไขความขัดแย้งนั้น ด้วยวิธีการเอาชนะ โดยมุ่งเน้นชัยชนะของตนเองเป็นสำคัญ จึงพยายามใช้อิทธิพล วิธีการหรือช่องทางต่าง ๆ เพื่อจะทำให้คู่กรณียอมแพ้หรือพ่ายแพ้ตนเองให้ได้ การแก้ไขความขัดแย้งในแนวทางนี้ จะทำให้เกิดผลลัพธ์ในลักษณะ “ ชนะ-แพ้ ”
2. การยอมรับ (Accommodation) จะเป็นพฤติกรรมที่เน้นการเอาใจผู้อื่น อยากเป็นที่ยอมรับและได้รับความรัก มุ่งสร้างความพอใจให้แก่คู่กรณี โดยที่ตนเองจะยอมเสียสละ แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งแบบนี้ เกิดผลลัพธ์ในลักษณะ“ชนะ-แพ้”
3. การหลีกเลี่ยง (Avoiding) เป็นวิธีจัดการกับความขัดแย้งในลักษณะไม่สู้ปัญหา ไม่ร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ไม่สนใจความต้องการของตนเองและผู้อื่น พยายามวางตัวอยู่เหนือความขัดแย้ง พูดง่าย ๆ ก็คือทำตัวเป็นพระอิฐพระปูนนั่นเอง แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งแบบนี้ มักเกิดผลลัพธ์ในลักษณะ “ แพ้-แพ้ ” เป็นส่วนใหญ่
4. การร่วมมือ (Collaboration) เป็นพฤติกรรมของคนที่มุ่งจัดการความขัดแย้ง โดยต้องการให้เกิดความพอใจทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น เป็นความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาที่มุ่งให้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่ายซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในแบบนี้ เรียกได้ว่าเป็นวิธีการแก้ไขความขัดแย้งที่ Win-Win ทั้งสองฝ่ายแนวทางการแก้ไขแบบนี้จึงเกิดผลลัพธ์ในลักษณะ “ ชนะ-ชนะ ”
5. การประนีประนอม (Compromising) เป็นความพยายามที่จะให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้รับความพอใจบ้าง และต้องยอมเสียสละบ้าง แต่ก็มีแนวโน้มที่จะใช้วิธีที่ 1 คือวิธีเอาชนะมากกว่าวิธีอื่น แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งแบบนี้ จึงเกิดผลลัพธ์ในลักษณะ “ แพ้-แพ้ ” หรือ “ ชนะ-แพ้ ”
ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถใช้ความขัดแย้งเป็นเครื่องมือ “ สร้างโอกาส ” ในการพัฒนาและปรับปรุงองค์กรได้เป็นอย่างดี หากท่านมีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ท่านจะเลือกทางออกอย่างไร ระหว่าง การเอาชนะ การยอมรับ การหลีกเลี่ยง การร่วมมือ หรือ การประนีประนอม อย่างไรก็ดี สิ่งอย่างไรก็ดีสิ่งสำคัญที่เราต้องตระหนักก็คือ เรากำลังหาทางออกของปัญหา ไม่ใช่การหาผู้กระทำผิดหรือผู้ที่มีความเห็นไม่ตรงกับเราและพยายามอย่างยิ่งในการหาทางออกแบบ “ ชนะ-ชนะ ”
ทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งก็คือ ทักษะในการฟัง โดยต้องเป็นการฟังอย่าง “ เข้าอกและเข้าใจ ” ดังคำว่า “First to understand and then to be understood” และทดลองใช้เครื่องมือเพื่อขอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ขอความร่วมมือ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง “ แบบเชิงรุก ” โดยใช้ “ สุนทรียสนทนา ”
กิจกรรม “ สุนทรีสนทนา ” เป็นเรื่องของการเปิดใจยอมรับฟัง และการร่วมแสดงความคิดเห็นโดยมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาและการเสนอแนะ ไม่ได้เน้นที่ตัวบุคคลหรือค้นหาผู้กระทำผิด พร้อมทั้งสร้างทัศนคติที่ดีต่อกัน ผลลัพธ์สุดท้ายของกิจกรรมนี้ก็คือ องค์กรจะเกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เกิดบรรยากาศในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ และรู้สึกปลอดภัยในการให้ข้อมูล ซึ่งเมื่อเกิดความรู้สึกแบบนี้แล้ว ความขัดแย้งก็จะสลายไปในที่สุด ซึ่งเป็นที่น่าดีใจที่พวกเราก็ได้สร้างสรรค์กิจกรรมนี้ด้วยตัวพวกเราเองหลังจากที่พวกเราได้สร้างวัฒนธรรมองค์กร (iHears) ร่วมกัน บางคนได้นำไปใช้ที่บ้านด้วยซ้ำ พวกเราจะเห็นว่าวัฒนธรรมองค์กรของเรานั้นเป็นสิ่งที่นำทางเราไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีเสมอ
สุดท้ายนี้ขอให้พวกเราตั้งใจปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรและโชคดีในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เราทุกคนควรรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นด้วย..ไม่ใช่จะเอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่.อาจทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในองค์กรได้..เราควรร่วมแรงร่วมใจกันแล้วจะพบกับความสำเร็จ...สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆต่อไปนะไอ้มดแดง
ตอบลบแล้วตัวคุณtee@solvay เคยรับฟังความคิดของคนอื่นบ้างไหม บอกแต่คนอื่นตัวเองทำหรือยัง
ตอบลบคนทำเพลงต้องการคำวิจารย์ที่ไม่มีอคติ คนทำงานก้อไม่ต้องการคำติเตียนที่มีอคติ ผมชอบคำว่า สุนทรีสนทนา มากครับ และถ้าพวกเราจะใช้มันในการแก้ปํญหา เราก้อต้องไม่มีอคติต่อกัน
ตอบลบเป็นอีกคนที่ชอบคำว่า สุนทรีสนทนา ถ้าเราใช้อย่างสร้างสรรค์ เชื่อว่าความความคิดเห็นที่แตกต่าง(ซึ่งเป็นเรื่องปกติ)ก้ออาจจะกลายเป็นinnovation ที่เลิศหรู แทนความขัดแย้งไป...
ตอบลบ"คน"แปลว่าปัญหา อยู่กับคนมีแต่ปัญหา
ตอบลบคนนี้อย่างนั้น คนนั้นอย่างนี้
เอาอกเอาใจกันแย่เลย....
นานาจิตตังไม่เหมือนกัน ไม้ไผ่ต่างปล้อง พี่น้องต่างใจ
สุนทรีสนทนา คำคำนี้ดีจริงๆถ้าสนทนากันด้วยเหตุผลไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวมาสนทนากัน ปีใหม่นี้ขอให้ทุกคนใจเย็นๆกันกว่าปีที่ผ่านมานะครับ
ตอบลบสุนทรีสนทนา น่าจะเป็นทางออกทีดี สำหรับการขัดแย้งกันหรือความคิดเห็นต่างกัน.....
ตอบลบการทำงานก็ต้องมีปัญหา การมีปัญหาก็ต้องมีการแก้ไข การแก้ไขก็มีผลลับมีแพ้ ชนะ เสมอ อยู่ที่เราต้องการ แต่ปัญหาจะคลี่คลายก็ต่อเมื่อเรารับฟัง i hears คับ
ตอบลบการทำงานย่อมมีปัญหาและความขัดแย้งแต่ทุกปัญหาและความขัดแย้งย่อมมีทางแก้(มั้ง)มีอะไรพูดกันตรงๆไปเลย จัดไป เต็มที่เลยพี่น้อง เอาให้รู้เอาให้กระจ่าง
ตอบลบความขัดแย้งนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาแม้กระทั้งการเดินทางเข้าทำงานใน plant บางครั้งแค่การเดินยังขัดแย้งกันเลยคนหนึ่งว่าไปทางนี้ใกล้อีกคนหนึ่งว่าทางนี้ใกล้กว่า แค่เรื่องเล็กๆยังขัดแย้งกันเลยแล้วเราจะทำงานใหญ่ได้อย่างไร เออน่าน้อยใจจริงเอาเป็นว่าค่อยๆๆพูดค่อยจาด้วยเหตุด้วยผลกันดีกว่าคับเพ่น้องครับT^T เรารักคุณ
ตอบลบการที่จะเอาแต่ชนะผู้อื่นมันเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อองค์กรและสังคมเลย
ตอบลบคนเราต้องรู้จักแพ้และชนะสลับกันไปบ้างถึงชีวิตจะกลมกล่อม55555
ความขัดแย้งต้องเกิดขึ้นกับการทำงาน ทุกที่ ทุกเวลา การใช้ สุนทรีสนทนา น่าจะเป็นทางออกที่ดีเหมือนกันนะผมว่า ลองช่วยกันลงมือทำดูคงจะดีมากครับ หุหุ
ตอบลบพวกเราว่ารูปที่แนบมาในบทความเป็นรูปอะไร ไม่ต้องคิดมากนะเห็นอย่างไรก็ตอบแบบนั้น
ตอบลบการทำงานต้องมีปัญหาทุกที่ละคับอยู่ที่เราจะยอมรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นหรือไม ปัญหาที่จริงแล้วมันคือตัวเรา ปัญหามันจะเกิดก็เพราะตัวเราว่าเราสร้างปัญหาอะไรมั้ง ถ้าคนเราไม่อยากมีปัญเราอย่าควรเก็บปัญหาเล็กๆน้อยๆมาทำให้เป็นปัญใหย่นะคับ
ตอบลบผมว่ารูปที่พี่แนบมาอะผมดูแล้วว่าเป็นรูปคนที่กำลังคิดมากหรือกับลังมีปัญหาหนักแต่เก็บไว้คนเดียวไม่ไปปรึกษาคนที่อยู่รอบข้างอะคับ
ตอบลบผมว่าปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งนะคับมันอยู่ที่ตัวของเราว่าเราจะสร้างปัญหาอะไรให้กับตัวเราถ้าเราหันเอาปัญหาที่เราคิดมาปรึกษากันใช้เห็นผลคุยกันไม่ใช้อารมณ์ทุกอย่างก็จะมีผลดีตามมาคับ
ตอบลบน้อง ๆ เคยโกรธใครซักคน ถึงการกระทำของเค้าที่เราไม่ชอบใจมั้ยครับ...
ตอบลบหลาย ๆ ครั้ง พอเราเข้าใจเหตุผลของการกระทำของเค้า แล้วกลายเป็นว่า เราเข้าใจ และเห็นใจที่เค้าได้กระทำไปอย่างนั้นเพราะอะไร...
ลองคิดดูครับ พี่เชื่อว่าอย่างน้อยเราต้องเคยผ่านเหตุการณ์แบบนี้ในชีวิต...
'เข้าใจผู้อื่นก่อน จึงให้ผู้อื่นมาเข้าใจเรา'.....
นอกจากคนอมทุกข์แล้ว มีใครเห็นเป็นอย่างอื่นบ้างครับ...
ชายหน้าเศร้าครับพี่ รักกันไว้นะพี่น้องเราต้องอยู่กันอีกนานแสนนานผมจะทำให้ได้ครับพี่เมือโกรธใครก็นึกถึงสิ่งดีๆๆที่ทำร่วมกัน
ตอบลบหนักแน่นบางเวลา เบาบางอารมณ์ อย่าเอาแต่ลมตน คนทุกคนคงเข้าใจ......ผมคิดนะว่าเรามีกันเยอะความคิดก็มาก อาจมีบางอย่างที่ไม่ตรงกัน เราต้องทำใจให้เป็นกลาง มันถึงจะดี....ทางสายกลาง
ตอบลบ....ผมเห็นว่าเป็นรูปคนเศร้าๆโผล่มาจากโพลงหญ้า...
ตอบลบ***ปล่อยวางๆๆๆๆๆๆๆๆกันซะบ้าง....
***ล้านคน..ล้านความคิด..เปิดใจรับฟัง..แล้วคิดเลือกเอาที่ดีที่สุด..
***น่าจะดี..
spx กล่าวว่าควรทำให้ความขัดแย้งมันหายไป เรื่องของเรื่องขัดแย้งกันเรื่องอะไร ที่สำคัญบุคคลที่จะสามารถทำให้ความขัดแย้งมันคลี่คลายได้ก็ต้องเป็นบุคคลที่่ต้องน่าเกรงใจมากที่สุด บุคคลคนนี้แหละมีความสำคัญมากที่สุด
ตอบลบสบายดีกันมั้ยครับทุกคน ได้ข่าวว่างานเยอะช่วงนี้ เดี๋ยววันพุธจะกลับไปรับใช้พี่น้องแล้วครับ
ตอบลบอยากให้ทุกๆคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันมองเป็นโอกาสในการพัฒนานะครับ รับฟังความคิดเห็นให้มากนำข้อดีของแต่ละคนมาปรับใช้ ข้อที่ไม่ดีไม่ถูกใจเราก็แย้งไปได้ โดยเราไม่จำเป็นต้องให้อีกฝ่ายเชื่อแบบเดียวกับเราก็ได้เพราะเราเสนอไปบางครั้งคนอื่นต้องอาศัยเวลาขบคิดเหมือนกันว่าดีสำหรับเค้าหรือไม่ อันไหนที่เราคิดว่าดีเราควรเสนอออกไป ถูกผิดไม่มี มีแต่จะเหมาะกับใครเท่านั้น เมื่อทุกคนมีการเปิดใจรับฟังแล้ว ผมเชื่อว่า "ทุกความขัดแย้งย่อมนำไปสู่การพัฒนาเสมอ"
ผมว่าเป็นรู้ ชายหนุ่มที่ยังกลุ้มใจและลังเล คิดหวนทางการแก้ไขปัญหา ถ้ามองตามหัวข้อด้วยนะกับรู้ภาพไปพร้อมๆกันนะพี่
ตอบลบแต่ชายผู้นี่ไม่ใช่คนไทย เพราะคนไทยรักกันล่อเล่นพี่ ผมมองจากผ้าพันคนครับ
และชายผู้นี่ไม่เคยแปลงฟันฟันดำปี่เลย อิอิ
ใช้ ข้อ 2-4-5 ร่วมกันเเก้ไขปัญหาข้อขัดเเย้ง
ตอบลบไหนว่าพวก You รักกันดีไง ทำไมตอนนี้มากัดกันเองซะแล้วละ
ตอบลบมองหาทางออกร่วมกัน...
ตอบลบอาจลดระดับความต้องการของแต่ละฝ่ายไปบ้าง..
แต่ทำให้มุ่งสู่เป้าหมายสูงสุดร่วมกันในระยะยาวครับ...
เราเกิดมาเป็นคนไทย ซึ่งเป็นชาติที่เป็นที่รู้จักความเอื้ออารี ถ้อยทีถ้อยอาศัย และห่วงใยคนรอบข้าง ว่ากันจริง ๆ เราเป็นชนชาติที่มีจุดแข็งทางด้านนี้อยู่แล้วครับ...จงอย่าลืม และใช้ให้เป็นประโยชน์ กับงานและชีวิตส่วนตัว
คนเราอยู่ร่วมกันหมู่มากปัญหาความขัดแย้งก็ย่อมมีบ้างแต่คนเราถ้าคุยกันด้วยเหตุด้วยผลและไม่มุ่งเอาชนะกันอย่างเดียวทุกคนก็น่าจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขแล้วคับ
ตอบลบการทำกิจกรรมร่วมกัน หรือปรึกษาปัญหากัน จะเป็นแนวทางที่ดีในการอาศัยอยู่ร่วมกันในองค์กร
ตอบลบรักนะพี่น้องแล้วสักวันฝันจะเปนจริง
ตอบลบผมว่ารูปที่แนบมานั้นเป็นเหมือนคนๆหนึ่งที่มีความกลุ้มใจมีเรื่องรุมเร้าเข้ามามากมายแต่ก็เก็บเอาไปคิดเพื่อที่จะแก้ไขให้ไปในทางเดียวกันในทางที่ถูกที่ควรครับ
ตอบลบปัญหามันต้องมาก่อนความสำเร็จ
ตอบลบก่อนจะสำเร็จมันต้องมีปัญหา
ตื่นรู้อยู่กับปัจจุบัน..ในทุกวันของชีวิต
ตอบลบขอสติ สมาธิ ปัญญา อยู่กับพวกเราทุกๆคนนะ
คนล้มเหลวไม่มี จะมีแต่ ก็...คนล้มเลิก นี่แหละ
ตอบลบผมว่ารูปที่แนบมาเป็นคนที่กำลังมีความในใจที่คิดไม่ตก หรือมีปัญหาคาใจบางอย่าง พูดง่ายๆคับว่าเครียด 555
ตอบลบในสังคมการทำงานกับคนหมู่มากทุกอย่างจะเดินไปข้างหน้าด้วยความสำเร้จได้และอยู่กันอย่างมีความสุขจะต้องมีความเข้าอกเข้าใจและมีการให้อภัยและให้เกียรติซึ่งกันและกันคับ ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการทำงานคับ วันนี้อากาศดีนะแดดไม่ร้อนเหมือนหลายวันที่ผ่านมาเลย
ตอบลบสุดยอดเลยคับพี่นูน พวกเราต้องกล่าวไปด้วยลดทิตฐิออกไปและมาดูความกล่าวหน้าระยะยาวกันคับ
ตอบลบภาพด้านบน ที่เห็น 1.เป็นรูปผู้ชายค่อนข้างมีอายุ จมูกโต ใบหน้าเศร้า(น่าสงสาร)
ตอบลบ2. เป็นรูปผู้หญิงใส่หมวกคลุมผม หันข้าง
มีสมองสองมือเหมือนกันหมดแต่แตกต่างกันตรงความคิดความคิดใช้ว่าจะห้ามให้หยุดคิดแต่คิดแล้วคุณได้อะไรอะกับความคิดนั้น
ตอบลบคนคิดดีเข้าได้อะไร....
คนคิดไม่ดีเข้าได้อะไร....
แล้วคุณหล่ะมั่วแต่คิดกันอยู่ในใจแล้วคุณได้อะไร....
มีปัญด้านความคิด กด 1 ปรึกษา IHears.blogsport.com
กด 2คนที่คุณไว้ใจ
ทุกปัญหามีทางออกเสมอ โปรดเชื้อเรา ทีมงานI Hears
เมื่ได้อ่าน iHears ผมเริ่มคิดใหม่อย่างผู้นำ
ตอบลบรูปนี้ผมว่าเป็นรูปผู้นำคนหนึ่งที่เฝ้ามองทางข้างหน้าที่จะก้าวไปอย่างมุ่งมั่นซึ่งดูคล้ายพวกเราทุกคนโดยมีนกอินทรีย์คู่กายซึ่งเปรียบเสมือน iHears ที่อยู่เคียงข้างมาจนถึงทุกวันนี้
ความหมายของรูปที่ จะสื่อสารออกมามันแสดงให้เห็นถึงความเห็นที่แตกต่างกันนี้เอง แต่สุดท้าย สิ่งที่แตกต่างกันก็นำมาซึ่งความเข้าใจ และ ความเห็นที่ตรงกันนั้นเอง สุดยอดครับ อิอิ
ตอบลบ