พูดถึงเรื่องของความปลอดภัย เชื่อว่าเมื่อพูดถึงเรื่องนี้ ทุกคนย่อมตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ให้ความสำคัญกับ Safety แต่รู้หรือไม่ว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นจากผลการเก็บสถิติพบว่า เกินกว่าครึ่งเกิดจากปัจจัยทางด้านบุคคลแทบทั้งสิ้น ดังนั้นวันนี้จะพาทุกคนมาเริ่มต้นทำความรู้จักกับปัจจัยของการเกิดอุบัติเหตุในสถานที่ทำงานกันครับ
ความปลอดภัย (Safety)
หมายถึง :
การป้องกันอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ โดย อาศัยหลักการ วิชาการ เทคโนโลยีด้านต่างๆ เพื่อ สืบค้นหาปัญหา อันตรายต่างๆ และ หาทางขจัดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น
** การป้องกันความสูญเสีย (Loss Prevention) ขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อหาทางลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ และหาทางควบคุมความสูญเสีย
1. การสืบค้นหาอันตราย (Hazard Identification)
2. การใช้เทคนิคในการประเมินหาขนาดของอันตราย (Technical Evaluation)
3. การออกแบบด้านวิศวกรรม (Engineering Design)
อุบัติเหตุ (Accidents) หมายถึง : เหตุการณ์ อุบัติการณ์ ทุกชนิด : ไม่ได้คาดคิดมาก่อน : ไม่ได้วางแผน / ตั้งใจ ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อ ชีวิต ทรัพสิน ทรัพยากรต่างๆ
อุบัติเหตุจากการทำงาน (Occupational Accident) หมายถึง : อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในภาวะการจ้างงาน ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อ ชีวิตคน เครื่องจักร สิ่งของ ในเวลา ทันทีทันใด / ช่วงเวลาถัดไปในสถานที่ทำงาน / นอกสถานที่ทำงาน
สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ H.W. Heinrich สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ มี 3 ประการ คือ
1. สาเหตุจากคน (Human causes) มีจำนวนถึง 88%
2. สาเหตุจากความผิดพลาดของเครื่องจักร (Mechanical failure) มีจำนวนถึง 10%
3. สาเหตุที่เกิดจากดวงชะตา (Act of god) มีเพียง 2% สรุปสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
ที่สำคัญมี 2 ประการ คือ
1. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe act) เป็นสาเหตุใหญ่ คิดจำนวนเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด
2. สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe condition) เป็นสาเหตุรอง คิดจำนวนเป็น 15% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด
การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) หมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติงานของคนที่มีผลทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับตนเองและผู้อื่น เช่น
* การทำงานไม่ถูกวิธี หรือไม่ถูกขั้นตอน เช่น ยกของด้วยท่าทางที่ผิด
* ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
* ถอดเครื่องกำบังเครื่องจักร
* ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมกับงาน
* การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
* การมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง เช่น อุบัติภัยเป็นเรื่องของเคราะห์กรรมแก้ไขป้องกันไม่ได้
* การทำงานโดยที่ร่างกายและจิตใจไม่พร้อมหรือผิดปกติ เช่น ไม่สบาย เมาค้าง มีปัญหาครอบครัว ทะเลาะกับแฟน เป็นต้น
* การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆไม่เหมาะสมกับงานเช่นการใช้ขวดแก้วตอกตะปูแทนการใช้ค้อน ฯลฯ สภาพงานที่ไม่ปลอดภัย
(Unsafe Condition) หมายถึง สภาพของโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องจักร กระบวนการผลิต เครื่องยนต์ อุปกรณ์ในการผลิต ไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ เช่น
* การออกแบบโรงงาน แผนผังโรงงาน
* ระบบความปลอดภัยไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ส่วนที่เป็นอันตราย (ส่วนที่เคลื่อนไหว) ของเครื่องจักรไม่มีเครื่องกำบังหรืออุปกรณ์ป้องกันอันตราย
* เครื่องจักรกล เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ชำรุดบกพร่อง ขาดการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม
* สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น - แสงสว่างไม่เพียงพอ - เสียงดังเกินควร - ความร้อนสูง - ฝุ่นละออง - ไอระเหยของสารเคมีที่เป็นพิษ เป็นต้น
การสูญเสียเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุ
1. การสูญเสียโดยทางตรง การสุญเสียที่คิดเป็นเงินที่ต้องจ่ายโดยตรง
2. การสูญเสียโดยทางอ้อม การสูญเสียที่แฝงอยู่ ไม่ปรากฏเด่นชัด
ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วขอให้ตอบในคอมเมนท์ว่าโรงงานของเรามี Unsafe Act และ Unsafe Condition อะไรบ้างสักคนละ 1 เรื่อง เพื่อที่จะได้ช่วยกับระแวดระวังและแก้ไขให้ทันท่วงทีก่อนที่เหตุการณ์ทั้งหลายจะเกิดขึ้น
Credit: http://www.sut.ac.th/im/618241-BASIC_OCC/leson%206-1.htm
การป้องกันอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ โดย อาศัยหลักการ วิชาการ เทคโนโลยีด้านต่างๆ เพื่อ สืบค้นหาปัญหา อันตรายต่างๆ และ หาทางขจัดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น
** การป้องกันความสูญเสีย (Loss Prevention) ขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อหาทางลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ และหาทางควบคุมความสูญเสีย
1. การสืบค้นหาอันตราย (Hazard Identification)
2. การใช้เทคนิคในการประเมินหาขนาดของอันตราย (Technical Evaluation)
3. การออกแบบด้านวิศวกรรม (Engineering Design)
อุบัติเหตุ (Accidents) หมายถึง : เหตุการณ์ อุบัติการณ์ ทุกชนิด : ไม่ได้คาดคิดมาก่อน : ไม่ได้วางแผน / ตั้งใจ ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อ ชีวิต ทรัพสิน ทรัพยากรต่างๆ
อุบัติเหตุจากการทำงาน (Occupational Accident) หมายถึง : อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในภาวะการจ้างงาน ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อ ชีวิตคน เครื่องจักร สิ่งของ ในเวลา ทันทีทันใด / ช่วงเวลาถัดไปในสถานที่ทำงาน / นอกสถานที่ทำงาน
สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ H.W. Heinrich สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ มี 3 ประการ คือ
1. สาเหตุจากคน (Human causes) มีจำนวนถึง 88%
2. สาเหตุจากความผิดพลาดของเครื่องจักร (Mechanical failure) มีจำนวนถึง 10%
3. สาเหตุที่เกิดจากดวงชะตา (Act of god) มีเพียง 2% สรุปสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
ที่สำคัญมี 2 ประการ คือ
1. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe act) เป็นสาเหตุใหญ่ คิดจำนวนเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด
2. สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe condition) เป็นสาเหตุรอง คิดจำนวนเป็น 15% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด
การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) หมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติงานของคนที่มีผลทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับตนเองและผู้อื่น เช่น
* การทำงานไม่ถูกวิธี หรือไม่ถูกขั้นตอน เช่น ยกของด้วยท่าทางที่ผิด
* ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
* ถอดเครื่องกำบังเครื่องจักร
* ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมกับงาน
* การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
* การมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง เช่น อุบัติภัยเป็นเรื่องของเคราะห์กรรมแก้ไขป้องกันไม่ได้
* การทำงานโดยที่ร่างกายและจิตใจไม่พร้อมหรือผิดปกติ เช่น ไม่สบาย เมาค้าง มีปัญหาครอบครัว ทะเลาะกับแฟน เป็นต้น
* การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆไม่เหมาะสมกับงานเช่นการใช้ขวดแก้วตอกตะปูแทนการใช้ค้อน ฯลฯ สภาพงานที่ไม่ปลอดภัย
(Unsafe Condition) หมายถึง สภาพของโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องจักร กระบวนการผลิต เครื่องยนต์ อุปกรณ์ในการผลิต ไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ เช่น
* การออกแบบโรงงาน แผนผังโรงงาน
* ระบบความปลอดภัยไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ส่วนที่เป็นอันตราย (ส่วนที่เคลื่อนไหว) ของเครื่องจักรไม่มีเครื่องกำบังหรืออุปกรณ์ป้องกันอันตราย
* เครื่องจักรกล เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ชำรุดบกพร่อง ขาดการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม
* สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น - แสงสว่างไม่เพียงพอ - เสียงดังเกินควร - ความร้อนสูง - ฝุ่นละออง - ไอระเหยของสารเคมีที่เป็นพิษ เป็นต้น
การสูญเสียเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุ
1. การสูญเสียโดยทางตรง การสุญเสียที่คิดเป็นเงินที่ต้องจ่ายโดยตรง
2. การสูญเสียโดยทางอ้อม การสูญเสียที่แฝงอยู่ ไม่ปรากฏเด่นชัด
ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วขอให้ตอบในคอมเมนท์ว่าโรงงานของเรามี Unsafe Act และ Unsafe Condition อะไรบ้างสักคนละ 1 เรื่อง เพื่อที่จะได้ช่วยกับระแวดระวังและแก้ไขให้ทันท่วงทีก่อนที่เหตุการณ์ทั้งหลายจะเกิดขึ้น
Credit: http://www.sut.ac.th/im/618241-BASIC_OCC/leson%206-1.htm
การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) - ยกตัวอย่างการไม่ปฎิบัติตามกฎระเบียบ
ตอบลบคือการเก็บตัวอย่างโดยไม่สวมไส่ถุงมือ อาจจะได้รับอันตรายจากตัวอย่างที่เก็บได้
(Unsafe Condition) - ยกตัวอย่างไอระเหยของสารเคมีที่เป็นพิษ สถานที่คือ V1220 ที่เราไปนั่งเผ้า Drain เข้า V1875 กัน กลิ่นที่อยู่ตรง Fire barier หากสูดดมเป็นเวลานานๆก็จะทำให้ผู้ทำงานเกิดอาการเวียนหัว หรืออาจจะอาเจียนขึ้นได้
จากบทความที่อ่านมาการกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) - ยกตัวอย่างการไม่ปฎิบัติตามกฎระเบียบ คือการ.ไม่สวมใส่แว่นตาในการเก็บตัวอย่าง อาจจะกระเด็นเข้าตาได้
ตอบลบ(Unsafe Condition) - สภาพของโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่มีความปลอดภัยเพียงพอสถานที่คือการต้องปีนบันไดลิงเข้าไปเก็บตัวอย่างใน บัน ของแทงค์ฟาร์ม ที่ต้องถือตัวอย่างออกมาด้วยอาจทำให้จับบันไดไม่ถนัดหรือตัวอย่างอาจจะตกพื้นแตกหรือหยดโดนตัวได้
ไม่สวมแว่นตาเข้าแพลนท์ได้ด้วยเหรอ???
ลบอาร์ทกับใหม่ว่องไวและเป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมไปเรย
ตอบลบจะดีมากหากเพิ่มอีกนิดว่า เมื่อรู้ถึงความไม่ปลอดภัยแล้ว ปัจจุบัน เรามีวิธีการระมัดระวังเพื่อป้องกันสิ่งที่จะเกิดกับตัวเราเองอย่างไรบ้างครับ
การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe act):เช่นการปินป่ายเพื่อไปทำการเปิดปิด Valveการทำงานโดยไม่ได้สวมไส่ PPE,การขับรถเร็วมการทำงานโดยที่ไม่ได้ตัดเเยกระบบ เป็นต้น
ตอบลบสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe condition):การทำงานที่มีเสียงดังต้องทำการสวมไส่อุปกรณืป้องกันหู การทำงานในที่เเสงสว่างไม่เพียงพอก็ต้องทำการเเก้ไขหลอดไฟ ถ้าหากไม่พอก็ต้องติดตั้งเพิ่มเติมเป็นต้น
- การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe act): ยกตัวอย่างเช่นเวลาเติมเช่น Catalyst ที่ถัง 1320 หรือเอาออกจากในถังบิน X1323 มักจะไม่ใส่อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ เช่นผ้าปิดจมูก และควรดูทิศทางของลม เพื่อไม่ให้ผงหรือกลิ่นสารเคมีเหล่านั้นเข้ามาสู่ตัวเรา
ตอบลบสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย(Unsafe condition): ยกตัวอย่างเช่น ในการเติมสารเคมีที่ SMR ต้องยกเอาแกลลอน ขึ้นไปเทที่หัวถังข้างบนซึ่งอันตรายมากอาจเกิดการลื่นล้มและตกบันไดได้
เยี่ยมมากครับผม การใช้ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงและระบุให้ชัดว่าคืออะไรจุดไหนในโรงงานเราจะช่วยให้สามารถช่วยแก้ไจได้ถูกจุดชัดเจนครับ
ตอบลบอย่าลืมคำแนะนำด้วยนะครับว่า เมื่อมี Unsafe Act - Unsafe Con แล้วเรามีวิธีแก้ไขมาเสนอกันอย่างไรบ้าง
ในห้อง Control Room ก็มี Unsafe condition เช่นพื้นห้องชำรุดเสียหายเสี่ยงต่อการสะดุดล้ม แนวทางแก้ไขคือต้องได้รับการซ่อมแซมเปลี่ยนพื้นห้องให้เรียบร้อย
ตอบลบส่วนในเรื่องของ Unsafe Act การทำงานในห้อง Control Room เกี่ยวกับเรื่อง Alarm ต่างๆที่เกิดขึ้นต้องใส่ใจดูแลว่าเกิดอะไรขึ้น แนวทาวแก้ไขคือเมื่อได้ยินเสียง Alarm ให้ตรวจดูว่าเกิดอะไรขึ้น อย่าพลั้งเผลอ เหม่อลอย เมื่อรู้จะได้แก้ไขทันท่วงที
(Unsafe Act) เช่นการขับรถเข้าไปในโรงงานใช้ความเร็วเกินที่เขากำหนดอาจก่อให้เกิดอันตรายกับคนอื่นที่เขาใช้ถนน(Unsafe Condition) สภาพของที่ทำงานบริเวณHP4 CP out door ลื่นเนื่องจากมีน้ำที่condent ลงมาจาก line off gas low pressure ทำให้พื้นเป็นตะไคร้น้ำเป็นอันตรายต่อการทำงาน
ตอบลบ(Unsafe Condition) ที่Bottom V1380/A เลยครับ เวลาไป Deisolation หรือ isolation ต้องปืนบันไดขึ้นไปอัตรายมากครับ
ตอบลบUnsafe Action: นอกจากเกิดการกระทำแล้วยังรวมถึงสภาพ ร่างกาย และสภาพจิตใจของพนักงานแต่ละคนด้วยว่าเป็นอย่างไรเช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การมีอารมณ์ไม่ดีจากครอบครัวหรือ เจ็บป่วย เป็นต้น ดังนั้นต้องเตรียมสภาพร่างกายและจิตใจให้พร้อมก่อนลมือทำงานครับ
ตอบลบปลอดแหก...............ไว้ก่อน เป็นคำ ที่หน้านำไปใช้ได้ กับทุกๆงานที่เราทำนะครับ ปลอดแหกในที่นี้คือ กลัวว่ามันอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ทุกครั้งที่เราทำงาน จะเกิดอะไรบ้าง ต้องทำอย่างไรไม่ให้เกิด ยกตัวอย่างเก็บ sample ใน HP7 ความเข้มข้นสูง ต้องใส่ PPE ให้ครบถ้วนนะคระบ
ตอบลบขอบคุณครับ สำหรับการกระตุ้นเรื่อง ความปลอดภัย เป็นการเพิ่มความตระหนักในเรื่องของความปลอดภัย ได้เป็นอย่างดี ณ ตอนนี้ ณ จุดนี้ ครับ
ตอบลบดีมากเลยครับ เรื่องนี้ เพราะช่วงนี้ เกิดเคส ถี่ไปหน่อย อาจจะหละหลวมเรื่อง ความปลอดภัยกันไปครับ สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
ตอบลบเหมือนเป็นการช่วยนึกเหตุการณ์ที่เราได้กระทำหรือไปเจอมาจะได้ช่วยเตือนกันนะครับ ทั้งสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย และวิธีการทำงานที่ไม่ปลอดภัย จะได้ปฏิบัติอย่างถูกวิธีและปลอดภัยต่อการทำงาน
ตอบลบคนที่อ่านบทความนี้แล้วก็อย่าลืมหา Unsafe Action / Unsafe Condition ที่เกิดขึ้นจริงใน Plant เรา มาแชร์กันด้วยเน้อ
ตอบลบนิคกับสมโจ้ก็กำลังติดตามเรื่องนี้ให้อยู่
ขอให้พวกเราช่วยกันแจ้ง ช่วยกันตาม อย่างเป็นระบบ เพื่อแพลนท์ที่ปลอดภัยและคนทำงานปลอดภัยเน้อ
และเหมือนที่บอกไว้ในที่ประชุมว่า นอกจากแจ้งปัญหาแล้วช่วยกันเสนอแนวทางแก้ไขด้วย เพราะความยากไม่ได้อยู่ที่จะแก้ยังไง แต่มันยากที่แก้แล้วถูกใจนี่แหละเน้อ
การโหลดเปอรอกไซด์
ตอบลบ1.unsafe act.
-พนักงานขึ้นไปเปิดฝาถัง บางคนใช้อุปกรณ์ PPE เช่น safety harness เป็นต้น ไม่ครบถ้วน ต้องเน้นย้ำกันต่อไป
2.unsafe condition
-มีที่เกาะเกี่ยวไม่เพียงพอเช่นจะเดินไปที่ท้ายถัง ขอเสนอะแนะควรติดตั้งลวดสลิงเป็นแนวยาวเพื่อเป็นที่เกาะเกี่ยว safety harness และพนักงานสามารถทำงานและเคลื่อนไหวตัวได้สะดวกยิ่งขึ้น
การโหลด Raw matiral เช่น Nitric,Cautic,Solvent เป็นต้น
ตอบลบในการโหลดกรณีนี้เคยเห็นเคยพบเจอแต่ไม่เคย..สัมผัสน๊ะจ๊ะ
การส่วมใส่อุปกรณ์ PPE ไม่ครบถ้วน เช่น เมื่อก่อนหน้ากากจะไม่ค่อยได้เห็นใส่กันสารเคมีกระเด็น แต่หลังจากได้มีการคุมเข้มมากกว่าแต่ก่อนก็สังเกตุได้ว่ามีอุปกรณ์พร้อม ทั้งหน้างานและส่วนตัวจึงทำให้ไม่เกิดอุบัติเหตุ ก็ขอชื่นชมเพื่อนๆและพี่ๆที่เห็นถึงความสำคัญในส่วนนี้ ถ้าทำอย่างงี้ต่อไปเรื่อยๆ รับรองได้เลยว่า Accident เป็น ศูนย์ต่อปี แน่นอนครับ
จากการวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุหรือการสูญเสีย โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากตัวบุคคลเป็นหลัก อยากให้ทุกคนทำงานด้วยความมีสติและให้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายให้มากที่สุด การทำงานบางอย่างถ้าเราพลาดแค่เสี้ยววินาทีก็สามารถที่จะพรากชีวิตเราไปได้ อันตรายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นเพราะเราทำงานกับมันมากๆจนเกิดความเคยชินและลืมนึกถึงความปลอดภัยไปเลย
ตอบลบขอบคุณสำหรับเรื่อง Safety First ทำให้ตระหนักถึงความปลอดภัยทุกครั้ง ในการทำงานครับ
ตอบลบ1.แสงสว่างครับผม อยากให้ซ่อมบำรุงไฟให้แสดงสว่างหน่อยครับหลายจุดมากครับที่ไฟให้แสดงสว่างไม่เพียงพอ
ตอบลบ2.เรื่องกลิ่นครับ กลิ่นจากพีโอ บ้างทีก็แจ้งมาว่าจะมีกลิ่น บางทีก็ไม่แจ้งต้องให้ติดต่อไปถึงบอกว่าจะมีกลิ่น แล้วเราจะปฏิบัติอย่างงีิ้ตลอดไปเหรอครับต้องคอยรบกลิ่น มีวิธีอื่นไหม
ในส่วนของผมเห็นว่า ความเสี่ยงบวกกับพื้นที่ตอนนี้คือ ในบันเก็บตัวอย่างของแท็งค์ต่างๆในแพลนเรา เพราะว่าเวลาเก็บต้องปืนบันไดขึ้นไปพร้อมตะกร้าทำให้อาจเกิดการตกหล่นลงมาได้ แต่เห็นบอกๆกันว่าจะกำลังทำบันไดให้ก็ดีนะครับของให้มาเร็วนะครับจะได้ลดความเสี่ยงและลดอุบัติเหตุครับ
ตอบลบเรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราควรนึกถึงเสมอว่า อุปกรณ์ PPE เป็นสิ่งสุดท้าย ที่จะป้องกันให้เราปลอดภัย คับ
ตอบลบทำงานอะไรก็ควรมีสติกับงานที่ทำครับจะได้ปลอดภัยกลับบ้านด้วยความสบายกายและใจ
ตอบลบเวลาเติม Catalyst อย่าลืมสวมใส่อุปกรณ์ ปิดจมูกและอยู่เหนือลมนะครับ
ตอบลบการกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe act):การโหลด Caustic residue สถานที่โหลดไม่มีบรรไดและลาวสำหรับยึดเกาะ ต้องปีนขึ้น Iso tank
ตอบลบสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย(Unsafe condition):บริเวณ P1775,P1774 การเก็บตัวอย่างทำได้ยากเพราะสถานที่คับแคบวาล์วและ box sample อยู่ทิศทางที่ทำงานยาก
การทำงานให้ปลอดภัยให้ดูสภาพแวดล้อมข้างๆก่อนการทำงานทุกครั้งว่าปลอดภัยเปล่า
ตอบลบสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่มาจากการกระทำไม่ปลอดภัย
ตอบลบดังนั้นเราสามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ ถ้าเรารู้จักวิธีการป้องกันและระมัดระวังอยู่ตลอดเวลาขณะปฏิบัติงานเพราะขณะที่ปฏิบัติงานจริงๆอาจจะมีความผิดพลาดเกิดได้เสมอ
ส่วนมากจากการเกิดอันตรายเนื่องจากการขาดสติและการคิดว่าเราชำนาญจึงทำอย่างขาดสติ
ตอบลบอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา กับการทำงานเราต้องมีการป้องกันและระมัดระวังใช้สติกับการทำงาน
ตอบลบส่วนมากที่เคยพบเห็นอุบัติเหตุเกิดจากความประมาท และขาดความรู้ที่ถูกต้อง
ตอบลบสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงได้ แต่ การกระทำที่ไม่ปลอดภัยเราควรที่จะเริ่มทำที่ตัวเรา ควรมีการทำงานที่มีสติทุกครั้ง ระมัดระวังทุกด้าน น่าจะช่วยลดอุบัติเหตุได้เยอะเลยครับ
ตอบลบการ Purge F1304 (Unsafe Condition) เราจะต้องทำงานด้วยความเสี่ยงและเพิ่่มความตระหนักกันด้วยนะครับ
ตอบลบการทำงานที่ดีควรวิเคราะห์ก่อน ไม่ต้องรีบ ก่อนทำควรยืนยันก่อนการทำงานเท่านี้ปัญหาต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น
ตอบลบเมื่อเราทำงานแล้วรู้ว่าไม่ปลอดภัยควรหยุดแล้วทำให้อันตรายต่างๆหยุดแล้วจึงทำงานต่อ
ตอบลบการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผู้ปฏิบัติงานเราควรเปลี่ยนพฤติกรรมของการทำงานที่ไม่ปลอดภัยซะก่อน...
ตอบลบ