โดย ดิว (ธนกิจ)
ในตอนสองนี้เรามาเรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลาการ์ตูนรวมถึงปลาทะเลชนิดอื่นๆ กันนะครับว่าจะทำอย่างไรให้น้องปลาของเราอยู่กับเราไปนานแสนนาน ตอนสองนี้อาจจะเยอะหน่อยนะครับ แต่เพื่อวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้อง ผมได้นำมาย่อและนำส่วนที่สำคัญมาแบ่งปันกันนะครับ ผมมั่นใจว่าถ้าเพื่อนๆได้อ่านยังไงน้องปลาของเราก็ไม่มีวันตายอยู่แล้ว หุหุ เพราะกว่าผมจะได้มาต้องศึกษาหลายอาจารย์เหมือนกัน
เกลือวิทยาศาสตร์
เกลือวิทยาศาสตร์เกี่ยวอะไรกับการเลี้ยงปลา นี้เป็นคำถามที่หลายๆคนไถ่ถามมา ปัจจุบันการเลี้ยงปลาทะเล หลายๆคนเข้าใจว่าต้องไปตักเอาน้ำทะเลมาเลี้ยง แล้วน้ำทะเลที่สะอาด เราจะไปหาที่ไหนได้ล่ะ ต้องออกเรือไปตักถึงกลางทะเลเลยรึเปล่า? ขอตอบเลยแล้วกันนะครับ ปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องเอาน้ำที่มาจากทะเลมาเลี้ยงก็ได้ เพราะเดี้ยวนี้ มีเกลือวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้เราสะดวกมากยิ่งขึ้น คือ การนำน้ำประปลามาผสมกับเกลือวิทยาศาสตร์ ในอัตราส่วนที่บอกไว้ข้างถุงเช่น ผมขอยกตัวอย่างเกลือวิทยาศาสตร์ยี่ห้อนี้นะครับ เสร็จแล้วทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน ถึง 1 อาทิตย์ ถึงจะเอาปลาลงได้
ถุงเล็กราคาประมาณ 90 บาทใช้กับตู้ประมาณไม่เกิน 24 นิ้ว ตู้ 24 นิ้ว ใช้ 3 ถุง
ถุงใหญ่ราคาประมาณ 450 บาท ใช้กับตู้ประมาณ 30 นิ้วขึ้นไป ตู้ 30 นิ้วใช้ 1 ถุง
การตั้งตู้ปลาทะเล
ตู้เลี้ยงปลาทะเลไม่ควรตั้งไว้ในบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงของอากาศในรอบวันมาก เช่น ตั้งไว้ในบริเวณที่โดนแดดโดยตรงในช่วงใดช่วงหนึ่งของวัน เมื่อตั้งตู้และติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ วัสดุแต่งตู้ รวมทั้งระบบกรองเรียบร้อยแล้ว จึงนำน้ำทะเลมาใส่ในตู้ น้ำทะเลที่ใช้ควรจะเป็นน้ำทะเลที่ผ่านการกรองและพักโดยให้ อากาศมาแล้วอย่างน้อย 7 วัน น้ำที่ใช้ควรมีความเค็มอยู่ระหว่าง 32-35 พีพีที หรือมีค่าความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1.0180-1.0200 จากนั้นจึงเริ่มเดินระบบกรอง ระบบให้อากาศและ/หรือหมุนเวียนน้ำ(แอร์ปั๊มหรือเพาเวอร์เฮด) ในช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟตู้ทิ้งไว้
การเพิ่มจำนวนแบคทีเรียในระบบกรอง
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการตั้งตู้เลี้ยงปลาทะเล ซึ่งถ้าข้ามขั้นตอนนี้ไปปลาที่นำมาเลี้ยงจะตายในระยะเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ เนื่องจากของเสียที่ปลาขับถ่ายออกมาสะสมมากขึ้นจนเป็นพิษกับปลา เนื่องจากเมื่อมีการตั้งตู้ใหม่ๆจะยังไม่มีแบคทีเรียเกิดขึ้นในระบบกรอง ซึ่งทำหน้าที่กำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในตู้ ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่มีหน้าที่กำจัดของเสียให้มีจำนวนมากขึ้นก่อนการปล่อยปลาลงเลี้ยง
แบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า “ไนตริฟายอิ้ง แบคทีเรีย, Nitrifying bacteria” ทำหน้าที่เปลี่ยนแอมโมเนียและไนไตร์ต ซึ่งเป็นพิษกับปลาให้กลายเป็นไนเตรต การเกิดและเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1. ตัวแบคทีเรียเริ่มต้นสำหรับทำหน้าที่ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับของเสียที่เกิดจากการขับถ่ายของปลา ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปหาที่ไหนเนื่องจากในอากาศและสิ่งแวดล้อมในตู้จะมีแบคทีเรียเหล่านี้อยู่แล้ว
2. คืออาหารของแบคทีเรีย ซึ่งก็คือของเสียที่ขับถ่ายออกมาจากปลานั่นเอง แต่การนำปลามาใส่ในขั้นตอนนี้จะทำให้ปลาตายได้เนื่องจากระบบยังไม่มีแบคทีเรียเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ จึงมักจะใช้พวกอาหารปลาหรือเศษเนื้อกุ้งขนาดเล็กๆ ใส่ลงไปในตู้เป็นประจำอาทิตย์ละครั้งต่อเนื่อง 4-6 อาทิตย์ เพื่อให้เกิดการเน่าเสียและเกิดแอมโมเนียที่เป็นอาหารให้กับแบคทีเรีย
3. คือ ที่อยู่ของแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้จะเกาะติดกับผิววัสดุ เช่น บนวัสดุกรองที่เตรียมไว้ หรือบนหินและทรายที่อยู่ในตู้
4. คือ อากาศหายใจซึ่งในตู้ก็จะมีอากาศที่เป่าลงไปในน้ำอยู่แล้ว
เมื่อในตู้ที่ตั้งไว้มีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ประการ และเดินระบบกรองทิ้งไว้ ให้ตรวจคุณภาพน้ำ เป็นประจำทุก 2-3 วัน จะพบว่าในช่วงแรกปริมาณแอมโมเนียที่ตรวจพบจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆจนสูงสุดแล้วจะลดปริมาณลง หลังจากที่แอมโมเนียเริ่มลดลงก็จะตรวจพบว่ามีไนไตรต์เกิดขึ้นและจะมีปริมาณพิ่มขึ้นเรื่อยๆและในที่สุดก็จะลดลง หลังจากที่เริ่มมีไนไตรต์เกิดขึ้น ก็จะสามารถตรวจพบไนเตรต และไนเตรตที่เกิดขึ้นก็จะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับและสะสมอยู่ในระบบตามระยะเวลาที่ผ่านไป เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 4-6 อาทิตย์ แบคทีเรียก็จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ในระบบกรอง และจะทำหน้าที่กำจัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตรวจไม่พบ แอมโมเนียหรือไนไตรต์หรือหากพบก็จะพบในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งเมื่อถึงขั้นนี้ตู้ที่ตั้งไว้ก็พร้อมที่จะลงปลาได้ แต่ก่อนลงควรจะทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำเก่าออกให้เกือบหมดและเติมน้ำใหม่เข้าไปแทนที่
การปล่อยปลาลงเลี้ยง
เมื่อตู้ปลาที่ตั้งไว้ผ่านขั้นตอนที่กล่าวมาแล้ว ก็สามารถที่จะลงปลาได้ แต่การปล่อยปลาไม่สามารถที่จะปล่อยได้ที่เดียวพร้อมกัน เพราะการปล่อยปลาลงเลี้ยงพร้อมกันมากๆในครั้งเดียวจะทำให้ของเสียที่ขับถ่ายออกมามีจำนวนมาก ซึ่งแบคทีเรียไม่สามารถกำจัดของเสียได้หมด และไม่สามารถเพิ่มจำนวนขึ้นมารองรับปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นได้ทัน ดังนั้นการปล่อยปลาจะต้องแบ่งออกเป็น 3-4 ชุด และห่างกัน 5-7 วัน โดยหลังจากปล่อยชุดแรกแล้ว ให้ทำการตรวจปริมาณของแอมโมเนียและไนไตรต์อย่างต่อเนื่องทุกวัน ติดต่อกัน ถ้าปริมาณที่ตรวจพบไม่เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มแต่ลดลงจนตรวจไม่พบในที่สุดใน 2-3 วัน จึงจะปล่อยปลาในชุดต่อไปได้ แต่หากไม่ลดลงต้องรอให้ลดลงจนใกล้ศูนย์จึงจะปล่อยปลาในชุดต่อไปได้ โดยหลังการปล่อยปลาแต่ละชุดต้องตรวจปริมาณแอมโมเนียและไนไตร์ตทุกครั้ง ทำเช่นนี้จนปล่อยปลาครบตามที่กำหนดไว้
การให้อาหาร
การเลี้ยงปลาทะเลเพื่อเลี้ยงดูสวยงามนั้น ไม่ควรให้อาหารเกินวันละครั้ง และควรให้กินแต่พออิ่มไม่ควรให้ตามที่ปลาต้องการ เพราะจะทำให้เกิดของเสียมาก บางช่วงถ้าปลาไม่กินอาหารเช่นในช่วงที่อากาศเย็น จะต้องงดให้อาหารหรือลดปริมาณของอาหารลง อาหารทีให้อาจเป็นเนื้อกุ้งสับ หอยลายสับ กุ้งเคย อาหารสำหรับปลาทะเล ฯลฯ สลับกันไป และเมื่อมีอาหารเหลือตกอยู่ก้นตู้ต้องกำจัดออก ห้ามปล่อยทิ้งไว้ก้นตู้โดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียไว้
การดูแลระหว่างการเลี้ยง
สิ่งที่ต้องดูแลระหว่างการเลี้ยงปลาทะเล คือ การนำเอาใยกรองที่กรองตะกอนออกมาล้างทุก 2-3 วัน และทำการเติมน้ำจืดเพื่อทดแทนน้ำจืดที่ระเหยหายไปในแต่ละวัน วิธีที่ง่าย คือ ให้ขีดระดับน้ำเริ่มต้นไว้หลังจากนั้นเมื่อระดับน้ำลดต่ำลงก็ให้เติมน้ำจืดลงไปให้ได้ตามระดับเดิมโดยควรทำทุก1-2 วัน นอกจากนี้ควรทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำเป็นระยะ ทั้งความเป็นกรด-ด่าง (พี-เอช, pH) ความเป็นด่าง(Alkalinity) แอมโมเนีย และไนไตรต์ โดยปกติค่า พีเอชและความเป็นด่างจะลดต่ำลงเรื่อย จำเป็นต้องควบคุมโดยการใช้สารพวกหินปูนที่มีขายทั่วไปสำหรับปรับเพิ่ม พี-เอช ขึ้นมา ผงฟูที่ใช้สำหรับทำอาหารก็สามารถที่จะนำมาใช้ได้เช่นกัน โดยค่อยๆเติมและตรวจพีเอช กับความเป็นด่างหลังจากเติมแล้วใน 24 ชั่วโมงหากไม่เพิ่มให้เติมเพิ่มจนค่าขึ้นมาอยู่ในระดับปกติ ระหว่างการเลี้ยงควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นระยะโดยควรเปลี่ยนถ่าย เดือนละประมาณ 10-20% หรือแบ่งเป็น 2 ครั้ง ทุก 2 อาทิตย์ คุณภาพน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลาทะเล คือ ความเค็มอยู่ระหว่าง 32-34 พีพีที พี-เอช ระหว่าง 8.0-8.4 ความเป็นด่าง 80-120 พีพีเอ็ม ปริมาณแอมโมเนียและไนไตร์ตศูนย์หรือเกือบศูนย์ ไนเตรตไม่เกิน 50 พีพีเอ็ม
คราวหน้าผมจะนำเรื่อง สิบขั้นตอนในการทำตู้ทะเล รวมถึงแหล่งที่ซื้อและราคามานำเสนอครับ
เกลือวิทยาศาสตร์เกี่ยวอะไรกับการเลี้ยงปลา นี้เป็นคำถามที่หลายๆคนไถ่ถามมา ปัจจุบันการเลี้ยงปลาทะเล หลายๆคนเข้าใจว่าต้องไปตักเอาน้ำทะเลมาเลี้ยง แล้วน้ำทะเลที่สะอาด เราจะไปหาที่ไหนได้ล่ะ ต้องออกเรือไปตักถึงกลางทะเลเลยรึเปล่า? ขอตอบเลยแล้วกันนะครับ ปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องเอาน้ำที่มาจากทะเลมาเลี้ยงก็ได้ เพราะเดี้ยวนี้ มีเกลือวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้เราสะดวกมากยิ่งขึ้น คือ การนำน้ำประปลามาผสมกับเกลือวิทยาศาสตร์ ในอัตราส่วนที่บอกไว้ข้างถุงเช่น ผมขอยกตัวอย่างเกลือวิทยาศาสตร์ยี่ห้อนี้นะครับ เสร็จแล้วทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน ถึง 1 อาทิตย์ ถึงจะเอาปลาลงได้
ถุงเล็กราคาประมาณ 90 บาทใช้กับตู้ประมาณไม่เกิน 24 นิ้ว ตู้ 24 นิ้ว ใช้ 3 ถุง
ถุงใหญ่ราคาประมาณ 450 บาท ใช้กับตู้ประมาณ 30 นิ้วขึ้นไป ตู้ 30 นิ้วใช้ 1 ถุง
การตั้งตู้ปลาทะเล
ตู้เลี้ยงปลาทะเลไม่ควรตั้งไว้ในบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงของอากาศในรอบวันมาก เช่น ตั้งไว้ในบริเวณที่โดนแดดโดยตรงในช่วงใดช่วงหนึ่งของวัน เมื่อตั้งตู้และติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ วัสดุแต่งตู้ รวมทั้งระบบกรองเรียบร้อยแล้ว จึงนำน้ำทะเลมาใส่ในตู้ น้ำทะเลที่ใช้ควรจะเป็นน้ำทะเลที่ผ่านการกรองและพักโดยให้ อากาศมาแล้วอย่างน้อย 7 วัน น้ำที่ใช้ควรมีความเค็มอยู่ระหว่าง 32-35 พีพีที หรือมีค่าความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1.0180-1.0200 จากนั้นจึงเริ่มเดินระบบกรอง ระบบให้อากาศและ/หรือหมุนเวียนน้ำ(แอร์ปั๊มหรือเพาเวอร์เฮด) ในช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟตู้ทิ้งไว้
การเพิ่มจำนวนแบคทีเรียในระบบกรอง
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการตั้งตู้เลี้ยงปลาทะเล ซึ่งถ้าข้ามขั้นตอนนี้ไปปลาที่นำมาเลี้ยงจะตายในระยะเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ เนื่องจากของเสียที่ปลาขับถ่ายออกมาสะสมมากขึ้นจนเป็นพิษกับปลา เนื่องจากเมื่อมีการตั้งตู้ใหม่ๆจะยังไม่มีแบคทีเรียเกิดขึ้นในระบบกรอง ซึ่งทำหน้าที่กำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในตู้ ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่มีหน้าที่กำจัดของเสียให้มีจำนวนมากขึ้นก่อนการปล่อยปลาลงเลี้ยง
แบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า “ไนตริฟายอิ้ง แบคทีเรีย, Nitrifying bacteria” ทำหน้าที่เปลี่ยนแอมโมเนียและไนไตร์ต ซึ่งเป็นพิษกับปลาให้กลายเป็นไนเตรต การเกิดและเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1. ตัวแบคทีเรียเริ่มต้นสำหรับทำหน้าที่ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับของเสียที่เกิดจากการขับถ่ายของปลา ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปหาที่ไหนเนื่องจากในอากาศและสิ่งแวดล้อมในตู้จะมีแบคทีเรียเหล่านี้อยู่แล้ว
2. คืออาหารของแบคทีเรีย ซึ่งก็คือของเสียที่ขับถ่ายออกมาจากปลานั่นเอง แต่การนำปลามาใส่ในขั้นตอนนี้จะทำให้ปลาตายได้เนื่องจากระบบยังไม่มีแบคทีเรียเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ จึงมักจะใช้พวกอาหารปลาหรือเศษเนื้อกุ้งขนาดเล็กๆ ใส่ลงไปในตู้เป็นประจำอาทิตย์ละครั้งต่อเนื่อง 4-6 อาทิตย์ เพื่อให้เกิดการเน่าเสียและเกิดแอมโมเนียที่เป็นอาหารให้กับแบคทีเรีย
3. คือ ที่อยู่ของแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้จะเกาะติดกับผิววัสดุ เช่น บนวัสดุกรองที่เตรียมไว้ หรือบนหินและทรายที่อยู่ในตู้
4. คือ อากาศหายใจซึ่งในตู้ก็จะมีอากาศที่เป่าลงไปในน้ำอยู่แล้ว
เมื่อในตู้ที่ตั้งไว้มีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ประการ และเดินระบบกรองทิ้งไว้ ให้ตรวจคุณภาพน้ำ เป็นประจำทุก 2-3 วัน จะพบว่าในช่วงแรกปริมาณแอมโมเนียที่ตรวจพบจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆจนสูงสุดแล้วจะลดปริมาณลง หลังจากที่แอมโมเนียเริ่มลดลงก็จะตรวจพบว่ามีไนไตรต์เกิดขึ้นและจะมีปริมาณพิ่มขึ้นเรื่อยๆและในที่สุดก็จะลดลง หลังจากที่เริ่มมีไนไตรต์เกิดขึ้น ก็จะสามารถตรวจพบไนเตรต และไนเตรตที่เกิดขึ้นก็จะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับและสะสมอยู่ในระบบตามระยะเวลาที่ผ่านไป เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 4-6 อาทิตย์ แบคทีเรียก็จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ในระบบกรอง และจะทำหน้าที่กำจัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตรวจไม่พบ แอมโมเนียหรือไนไตรต์หรือหากพบก็จะพบในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งเมื่อถึงขั้นนี้ตู้ที่ตั้งไว้ก็พร้อมที่จะลงปลาได้ แต่ก่อนลงควรจะทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำเก่าออกให้เกือบหมดและเติมน้ำใหม่เข้าไปแทนที่
การปล่อยปลาลงเลี้ยง
เมื่อตู้ปลาที่ตั้งไว้ผ่านขั้นตอนที่กล่าวมาแล้ว ก็สามารถที่จะลงปลาได้ แต่การปล่อยปลาไม่สามารถที่จะปล่อยได้ที่เดียวพร้อมกัน เพราะการปล่อยปลาลงเลี้ยงพร้อมกันมากๆในครั้งเดียวจะทำให้ของเสียที่ขับถ่ายออกมามีจำนวนมาก ซึ่งแบคทีเรียไม่สามารถกำจัดของเสียได้หมด และไม่สามารถเพิ่มจำนวนขึ้นมารองรับปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นได้ทัน ดังนั้นการปล่อยปลาจะต้องแบ่งออกเป็น 3-4 ชุด และห่างกัน 5-7 วัน โดยหลังจากปล่อยชุดแรกแล้ว ให้ทำการตรวจปริมาณของแอมโมเนียและไนไตรต์อย่างต่อเนื่องทุกวัน ติดต่อกัน ถ้าปริมาณที่ตรวจพบไม่เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มแต่ลดลงจนตรวจไม่พบในที่สุดใน 2-3 วัน จึงจะปล่อยปลาในชุดต่อไปได้ แต่หากไม่ลดลงต้องรอให้ลดลงจนใกล้ศูนย์จึงจะปล่อยปลาในชุดต่อไปได้ โดยหลังการปล่อยปลาแต่ละชุดต้องตรวจปริมาณแอมโมเนียและไนไตร์ตทุกครั้ง ทำเช่นนี้จนปล่อยปลาครบตามที่กำหนดไว้
การให้อาหาร
การเลี้ยงปลาทะเลเพื่อเลี้ยงดูสวยงามนั้น ไม่ควรให้อาหารเกินวันละครั้ง และควรให้กินแต่พออิ่มไม่ควรให้ตามที่ปลาต้องการ เพราะจะทำให้เกิดของเสียมาก บางช่วงถ้าปลาไม่กินอาหารเช่นในช่วงที่อากาศเย็น จะต้องงดให้อาหารหรือลดปริมาณของอาหารลง อาหารทีให้อาจเป็นเนื้อกุ้งสับ หอยลายสับ กุ้งเคย อาหารสำหรับปลาทะเล ฯลฯ สลับกันไป และเมื่อมีอาหารเหลือตกอยู่ก้นตู้ต้องกำจัดออก ห้ามปล่อยทิ้งไว้ก้นตู้โดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียไว้
การดูแลระหว่างการเลี้ยง
สิ่งที่ต้องดูแลระหว่างการเลี้ยงปลาทะเล คือ การนำเอาใยกรองที่กรองตะกอนออกมาล้างทุก 2-3 วัน และทำการเติมน้ำจืดเพื่อทดแทนน้ำจืดที่ระเหยหายไปในแต่ละวัน วิธีที่ง่าย คือ ให้ขีดระดับน้ำเริ่มต้นไว้หลังจากนั้นเมื่อระดับน้ำลดต่ำลงก็ให้เติมน้ำจืดลงไปให้ได้ตามระดับเดิมโดยควรทำทุก1-2 วัน นอกจากนี้ควรทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำเป็นระยะ ทั้งความเป็นกรด-ด่าง (พี-เอช, pH) ความเป็นด่าง(Alkalinity) แอมโมเนีย และไนไตรต์ โดยปกติค่า พีเอชและความเป็นด่างจะลดต่ำลงเรื่อย จำเป็นต้องควบคุมโดยการใช้สารพวกหินปูนที่มีขายทั่วไปสำหรับปรับเพิ่ม พี-เอช ขึ้นมา ผงฟูที่ใช้สำหรับทำอาหารก็สามารถที่จะนำมาใช้ได้เช่นกัน โดยค่อยๆเติมและตรวจพีเอช กับความเป็นด่างหลังจากเติมแล้วใน 24 ชั่วโมงหากไม่เพิ่มให้เติมเพิ่มจนค่าขึ้นมาอยู่ในระดับปกติ ระหว่างการเลี้ยงควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นระยะโดยควรเปลี่ยนถ่าย เดือนละประมาณ 10-20% หรือแบ่งเป็น 2 ครั้ง ทุก 2 อาทิตย์ คุณภาพน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลาทะเล คือ ความเค็มอยู่ระหว่าง 32-34 พีพีที พี-เอช ระหว่าง 8.0-8.4 ความเป็นด่าง 80-120 พีพีเอ็ม ปริมาณแอมโมเนียและไนไตร์ตศูนย์หรือเกือบศูนย์ ไนเตรตไม่เกิน 50 พีพีเอ็ม
คราวหน้าผมจะนำเรื่อง สิบขั้นตอนในการทำตู้ทะเล รวมถึงแหล่งที่ซื้อและราคามานำเสนอครับ
อ่านดูแล้วเหมือนยากจัง ตรวจเยอะแยะเลย แล้วหนูจะเลี้ยงได้เหรอค่ะ พี่ลี ยอง ดิว
ตอบลบมันจะยากในแค่ช่วงแรกนะครับ พอทุกอย่างเข้าที่แล้วเนี่ย ทีนี้เราจะไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับปลาและน้ำเลย ประมาณ 6 เดือนถึงจะเปลี่ยนน้ำอีกที อ๋อ แต่ต้องให้อาหารมันด้วยนะครับ หุหุ ผมว่าไม่ยากเกินความสามารถพวกเรานะครับ 555
ตอบลบป ล า ส ว ย ๆ เ ลี้ ย ง ย า ก เ ห มื อ น กั น น ะ ต้ อ ง จั ย รั ก จิ ง ๆ ขอบคุณสำหรับวิธีการเลี้ยงปลาการ์ตูน
ตอบลบดูแล้วเลี้ยงยากจริงๆครับพี่น้อง แต่ขอเอาใจช่วยคนที่เลี้ยงแล้วกันนะครับ
ตอบลบอืมรายละเอียดเต็มจริงๆ
ตอบลบบอกทุกรูขุดขน
ดีเยี่ยม
แล้วอย่างงี้จะเลี้ยง
ไม่ได้อย่างไร
แต่ผมขอเลี้ยงปลากัดดีกว่า
ได้ตังด้วย อิอิอิอิออิ
ปลาทะเลเลี้ยงยากมาก
ตอบลบผมว่าเลี้ยงปลาน้ำจืดดีกว่า
ฮิฮิฮิฮิปลาทะเลมันแพง
ปลาสวยงาม ก็เลี้ยงยากเหมือนกานนะพี่ และถ้าเลี้ยงได้ ก็จะเพลินเวลาเรา มองการเคลือนที่ ของปลาอย่างสุขใจ
ตอบลบตอนนี้ผมเลี้ยงกุ้งอยู่อ่ะครับ เด๋วผมจะเอาข้อมูลไปประยุกต์ใช้ ขอบคุณมากครับ
ตอบลบแต่เวลาเลี้ยงจริงๆ ถ้าผ่านขั้นตอนนี้ไปแล้ว เราไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับระบบของตู้ปลา ไปอีก 6 เดือนเลยนะครับนี้คือข้อดีของการเลี้ยงปลาน้ำเค็ม แต่ถ้าเป็นปลาน้ำจืดเราอาจจะต้องเปลี่ยนน้ำ ตู้ปลาตลอด ลองศึกษาดูครับ ผมว่าเลี้ยงแล้วมันมีดูมราศีดีนะครับ อิอิ
ตอบลบตอนนี้ฝึกเลี้ยงลูกอยู่แฮะ..ลูกโตแล้วจะลองหันมาเลี้ยงน้องปลาดูมั่งน่ารักดี
ตอบลบto clox ลูกใครหว่า ล้อเล่นน่า
ตอบลบอยากเลี้ยงปลาการ์ตูนแต่ยังไม่มีบ่อเลย เป็นบ่อดินได้ป่าว
นำเค็มไม่มีผสมเกลือได้ป่าว โบนัสออกจะซื้อมาเล้ยงซักตัวแล้ว
ผมว่า ถ้ามีใจรัก ทุกคนทำได้แน่นอนครับ
ตอบลบความพยายามเอาจริงเอาจังกับมัน ศึกษาถึงข้อมูล ไม่ท้อ และ รับผิดชอบมีวินัย สำเร็จแน่ๆครับ
(อยากเพิ่งบอก"ยาก"ครับ ถ้ายังไม่ได้ลอง...ฮิ!ฮิ!)
ผมเชื่อว่าต้องทำได้อย่างแน่นอนครับ มันจะยากแค่ตอนเซ็ดน้ำช่วงแรกแค่นั้นเอง หลังจากนั้นก็เหลือแค่ให้อาหาร เท่านั้นเองครับ สู้ๆครับ
ตอบลบเอาผมไปเลี้ยงแทนปลาได้เปล่าผมเลี้ยงง่ายไม่ย่งอยากนะอิอิอิอิ
ตอบลบขอทำความเข้าใจและเห็นตัวอย่างให้แน่ใจอีกหน่อยเนอะจะได้ตัดสินใจถูก
ตอบลบกลัวจะเลี้ยงไม่ตลอดรอดฝั่งฮ่าๆๆๆๆๆ
ขั้นตอน การทำตู้ทะเล เลี้ยงปลา มีรัยน่าสนใจบ้างครับบบบ...
ตอบลบขั้นตอนการทำตู้ปลาและการเลี้ยงปลา เดี้ยวผมจะนำมาลงให้ในภาคต่อไปนะครับ ใกล้คลอดแล้วครับ อดใจรอแปบนะครับผม
ตอบลบ