วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับ pH ตอนที่ 2 (Fundamental of pH part 2)

โดย น้องนุ่น และน้องเกมส์




ในครั้งที่แล้วได้แนะนำเกี่ยวกับการตรวจวัดพีเอช ซึ่งบทความของเราได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามจากทีมงานฝ่ายผลิต คราวนี้เราจะขอกล่าวย้อนไปถึงรายละเอียดของพีเอช หรือ potential of hydrogen ion ในเรื่องของความสัมพันธ์ของค่าพีเอชในเชิงปริมาณ

ในปี ค.ศ. 1887 Svante Arrhenius (อาเรเนียส) ได้ค้นพบและตั้งทฤษฎีว่า เกลือละลายน้ำ จะแตกตัวเป็น ไอออนบวก และไอออนลบ เค้าจึงเอาสิ่งที่ค้นพบมาสร้างความสัมพันธ์ และสร้างสถานะของทุกๆ สารละลายกรด ให้กรดแตกตัวออกเป็น H+ จากการค้นพบของ อาเรเนียส เขาจึงค้นพบว่าสภาพความเป็นกรดและด่าง จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ H+

จึงเป็น บทเรียนที่เราเรียนกันจนทุกวันนี้ คุ้นๆหูในนามของ นิยามกรด-เบส ของ อาเรเนียส ที่กล่าวไว้ว่า

กรด คือ สาร เมื่อละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ H+

เบส คือ สาร เมื่อละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ OH-



ค่า pH เป็นค่าที่ใช้บอกความแรงของกรดหรือเบสอย่างง่ายๆ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับผลิตภัณฑ์ทั่วไปไม่เฉพาะพวกสารเคมี คนทั่วไปเข้าใจได้ ค่าpHนี้กำหนดโดยความเข้มข้นของโปรตอน (H+) ในสารละลาย ยิ่งโปรตอนเข้มข้นมากซึ่งก็คือเป็นกรดมาก pHจะต่ำ ในทางกลับกันถ้าสารละลายเป็นเบส คือความเข้มข้นของโปรตอนต่ำ pH จะสูงค่าpH คำนวณได้จากสูตรนี้



pH = -log[H+]





โดย [H+] คือความเข้มข้นของโปรตอนในหน่วย โมล/ลิตร

โมล คือ หน่วยวัดปริมาตรทางเคมี โดยปกติอ้างอิงจากน้ำหนักจริงของสารหารด้วยน้ำหนักโมเลกุลของสารชนิดนั้น ซึ่งเป็นค่าคงที่



ในการวัดความเป็น กรด – เบส ในสารละลายนั้น เราใช้คำว่า “pH” เป็นตัวบ่งชี้ ตัว p ย่อมาจาคำว่า power ซึ่งมีความหมายในเชิงยกกำลัง ส่วน H นั้นหมายถึง ความเข้มของประจุไฮโดรเจน pH มีค่าเป็นตัวเลขตั้งแต่ 0 – 14 สารประกอบที่มีค่า pH 5 มีประจุไฮโดรเจนมากกว่า สารประกอบที่มีค่า pH 6 ถึง 10 เท่า



น้ำบริสุทธิ์มีค่า pH เป็นกลางอยู่ที่ pH 7 นั้นหมายถึง น้ำ 1 ลิตร ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีประจุไฮโดรเจน และประจุไฮดรอกไซด์ อยู่จำนวนเท่ากันคือ 1 x 10 –7 โมล



* เบสแก่ คือ เบสที่แตกตัวได้มากหรือ เบสที่แตกตัวได้ 100 % หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า

อิเล็กโทรไลต์แก่ ได้แก่ เบสหมู่ 1 ทุกตัว และเบสหมู่ 2 ยกเว้น Be(OH)2

* กรดแก่ คือ กรดที่แตกตัวได้มากหรือ เบสที่แตกตัวได้ 100 % หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า

อิเล็กโทรไลต์แก่ แบ่งออกเป็น

กรด Hydro ได้แก่ HCl , HBr , HI

กรด Oxy ได้แก่ H2SO4 , HNO3 , HClO3 , HClO4

ข้อสังเกต กรด Oxy ที่แก่ ให้นำจำนวนออกซิเจนลบกับจำนวน H+ ที่แตกตัวได้

ถ้าผลลัพธ์ตั้งแต่ 2 ขึ้นไปจะเป็นกรดแก่





ค่า pH ปกติมีค่าที่นิยมใช้กันคือ อยู่ระหว่า 0 - 14

โดยการวัดค่า pH นั้นที่ 0 วัดจากค่าความเข้มข้นของกรด HCl ที่ความเข้มข้น ที่ 1 M

pH ที่ 7 วัดจากค่าของน้ำ (Pure Water)

pH ที่ 14 วัดจากค่าความเข้มข้นของเบส NaOH ที่ความเข้มข้นที่ 1 M

ในกรณีที่เราต้องการค่า pH เป็น -1 ก็ทำการเตรียมกรดที่ 10 M แต่ถ้าต้องการวัดค่า pH ที่ 15 ก็ทำการเตรียมเบสที่ 10 M





* กรด คือ สาร เมื่อละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ H+

* เบส คือ สาร เมื่อละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ OH-



ในปกติ เราจะบอกความเป็นกรดเบสโดยอาศัยค่าความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน [H+] แต่มันไม่สะดวกในการอ้างถึงเพราะมันจะอยู่ในรูปของเลข 10 ยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังติดลบนะคะ อย่าง เช่น 10^-7 ประมาณนี้ เขาจึงอาศัยคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยให้ตัวเลขเหลือน้อยลง โดยใช้ลอการิทึม โดยมีสูตรว่า

pH = - log[H+]



จะทำให้ในการกล่าวถึงความเป็นกรดเบสทำได้ง่ายขึ้นนะคะ

อย่างเช่น ถ้า [H+] = 10^-7

pH = - log(10^-7) = - (-7) = 7 คะ



ตัวอย่าง pH ของน้ำ



เมื่อใส่ค่า p หรือ –log ลงทั้งสองข้าง ของสมการ



pH หรือ –log H+ ของน้ำ = -log (1 * 10^-7)



pH = -(log 1 + log 10^-7)



= -{log 1 + (-7 log 10)}



= -(log 1 – 7 log 10)



= -log 1 + 7 log 10



ตามหลักคณิตศาสตร์ log 1 มีค่าเท่ากับ 0 และ log 10 มีค่าเท่ากับ 1 (เครื่องหมายเพราะฉะนั้น) pH ของน้ำ = 0 + 7 = 7







จากการพิสูจน์ข้างต้นเมื่อน้ำมีค่า pH = 7 หรือมีค่า H+ 1 อะตอมจากน้ำทุกๆ 10^7 โมเลกุล ถ้าเราเอาน้ำอัดลมมาวัดค่า pH สมมุติวัดได้ค่า pH = 5 ซึ่งก็หมายความว่ามี H+ 1 อะตอมจากทั้งหมด 10^5 โมเลกุล ความเป็นกรดของน้ำอัดลม จึงมีค่าสูงกว่าน้ำธรรมดาถึง 100 เท่า



ค่า pH ส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในช่วง 1-14 ครับ แต่สามารถน้อยกว่า 1 หรือมากกว่า 14 ก็ได้คะ





ตัวอย่าง 1



ถ้าเราต้องการเปลี่ยน pH 1 ที่มีความเข้มข้น 10-1 mol/L ให้เป็น pH 2 เราควรทำอย่างไร

ตามสูตร C1V1 = C2V2



เมื่อ C เป็นความเข้มข้น มีหน่วยเป็น โมลต่อลิตร

V เป็นปริมาตรหน่วยเป็น ลูกบาศก์เมตร (อาจใช้เป็นลิตร หรือลูกบาศก์เมตรก็ได้)



เช่น เอา pH1 มา 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะได้

10-1*100 = 10-2*V2

0.1*100 = 0.01 * V2

V2 = 1000

คือต้องทำให้สารละลายมีปริมาตร 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตรโดยการเติมน้ำลงไปอีก 900 ลูกบาศก์เซนติเมตรค่ะ นั่นหมายถึงการปรับพีเอชจาก 1 เป็น 2 นั้น ต้องเติมน้ำเข้าไปเพิ่มจากปริมาณเดิมถึง 9 เท่า



ทีนี้อยากถามสมาชิก Blog ว่าแล้วถ้าปรับพีเอชจาก 1 ซึ่งเป็นกรดให้มีค่าเป็นกลางพีเอชประมาณ 6 ต้องเติมน้ำเข้าไปเพิ่มอีกเท่าไรคะ ???



อ่านบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เกร็ดความรู้ เรื่อง ถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon)

โดย น้องนุ่น และน้องเกมส์




คะ ฉบับนี้นะคะ เรามามีความรู้ เรื่อง “ถ่าน” กันดีกว่า แล้วถ่านในที่นี้ก็คือ ถ่านกัมมันต์หรือแอกทิเวตเตทคาร์บอน แต่ทุกคนคงสงสัยกันใช่ไหมว่า ถ่านกัมมันต์แตกต่างกับถ่านธรรมดาอย่างไรกันนะ
ถ่านกัมมันต์หรือ แอกทิเวตเทต คาร์บอน (activated carbon) เป็นถ่านที่มีสมบัติพิเศษที่ได้รับการเพิ่มคุณภาพหรือประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีสมบัติหรืออํานาจในการดูดซับสูง เนื่องจากมีรูพรุน (Pores) ขนาดเล็กเกิดขึ้นจํานวนมาก และขนาดรูพรุนก็แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตและวัตถุประสงค์ในการใช้งาน การที่วัสดุประเภทถ่านกัมมันต์ หรือถ่านหุงข้าวมีรูพรุนนี้เอง เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ทำให้วัสดุมี “พื้นที่” ในการดูดซับสารต่าง ๆ ได้

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตถ่านกัมมันต์มีหลายชนิด ส่วนใหญ่มักเป็นพวกเซลลูโลสที่มาจากพืชและต้นไม้เช่น ไม้ยางพารา ไม้ไผ่ เศษไม้เหลือทิ้ง และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น แกลบ กะลา มะพร้าว ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพวกถ่านหินเช่น ลิกไนต์ แอนทราไซต์ เป็นต้น ส่วนวัตถุดิบที่มาจากสัตว์นั้นมีไม่มาก เช่น กระดูก หรือ เขาสัตว์ เป็นต้น

การผลิตถ่านกัมมันต์โดยทั่วๆไป แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการเผาวัตถุดิบให้เป็นถ่าน โดยทั่วไปมักใช้วิธีเผาที่ไม่มีอากาศเพื่อไม่ให้วัตถุดิบกลายเป็นเถ้า และขั้นตอนการนําถ่านไปเพิ่มคุณภาพด้วยเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่าการกระตุ้น (activation) แบ่งได้เป็น 2 วิธีคือ การกระตุ้นทางเคมี และการกระตุ้นทางกายภาพ

ในปัจจุบันกรรมวิธีผลิตถ่านกัมมันต์มีมากมายหลายวิธี ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ ลักษณะและคุณสมบัติของถ่านกัมมันต์ที่ต้องการ แต่โดยทั่วไปกระบวนการดังกล่าวประกอบด้วยขั้นตอนใหญ่ๆ 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ขั้นเตรียมวัตถุดิบ ขั้นการทำให้เป็นถ่าน หรือ การคาร์บอไนซ์เซชัน และ ขั้นการกระตุ้น
1. วัตถุดิบ
2. บดและคัดขนาด หรือทำเป็นเม็ด
3. ทำให้เป็นถ่าน
4. กระตุ้นทางเคมี หรือฟิสิกส์
5. ล้างและทำให้แห้ง
6. บดและคัดขนาด
7. ผลผลิตถ่านกัมมันต์



ในความหมายง่ายๆของมันก็ คือ การคาร์บอไนซ์เซชัน อาจกล่าวได้ว่า การคาร์บอไนเซชันเป็นการเพิ่มปริมาณคาร์บอนให้สูงขึ้น ทำได้ง่ายโดยการเผาในที่อับอากาศที่อุณหภูมิ 200-500 องศาเซลเซียส คาร์บอไนซ์เซชันเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในกระบวนการผลิตถ่านกัมมันต์เพราะเป็นขั้นตอนเริ่มต้นของการทำโครงสร้างมีรูพรุน ( ถ่านธรรมดาไม่ผ่านกระบวนการนี้ )





การกระตุ้น คือ การทำให้คาร์บอนหรือถ่านมีความสามารถในการดูดซับสูงขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเพิ่มพื้นที่ผิวและการทำให้ผิวมีความว่องไวมากขึ้น การกระตุ้นเกิดขึ้นได้ 2 ประเภท คือ

1. วิธีการกระตุ้นทางเคมี (Chemical activation)

เป็นการผลิตถ่านกัมมันต์โดยใช้สารกระตุ้นทำปฏิกิริยากับผิวคาร์บอน โดยมีความร้อนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และข้อดีของวิธีนี้ คือ ใช้อุณหภูมิไม่สูงมาก แต่มีข้อเสียคือ สารเคมีตกค้างในถ่านกัมมันต์ทำให้ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการล้างสารเคมีดังกล่าวออกเพิ่มขึ้น

2. วิธีการกระตุ้นทางกายภาพ (physical activation)

เป็นการผลิตถ่านกัมมันต์โดยที่ผิวคาร์บอนเกิดดารเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น การจัดเรียงตัวใหม่ ฯลฯ ซึ่งจะเพิ่มความสามารถในการดูดซับของถ่านให้สูงขึ้น นิยมใช้แก๊สออกซิไดซ์ต่างๆ ร่วมการใช้ความร้อน ปฏิกิริยาการกระตุ้นอาจเกิดจากความร้อนเพียงอย่างเดียว

ก็ได้

ปัจจัยที่ผลต่อการกระตุ้นด้วยวิธีนี้ คือ

- ชนิดและปริมาณขององค์ประกอบที่มีอยู่ในวัตถุดิบ

- คุณสมบัติทางเคมีและอัตราส่วนของแก๊สที่ใช้

- อุณหภูมิขณะเกิดปฏิกิริยา

- ระยะเวลาการเกิดปฏิกิริยา

สำหรับข้อดีของการกระตุ้นทายกายภาพคือ ไม่มีสารเคมีตกค้าง แต่มีข้อเสีย ต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่าการกระตุ้นด้วยสารเคมี

คะ ฉบับนี้ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้นะคะ ขอบคุณค้า

อ่านบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำเกี่ยวกับการตรวจวัดพีเอช (Fundamental of pH part 1)

โดย น้องนุ่น และน้องเกมส์



สวัสดีค่ะ ฉบับนี้ก็เป็นฉบับแรกของพวกเรานะค่ะ ในความรู้ฉบับนี้ เราก็จะของนำเสนอ ความรู้เรื่อง pH (พีเอช) ทุกคนคงเคยได้ยินหรือรู้จักกันบ้างแล้ว


pH ( pH ย่อมาจาก Potential of Hydrogen ion) เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรดเป็นเบสของสารเคมีจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจนไอออน (H+) สามารถทดสอบได้หลายวิธี โดยวิธีที่นิยมและง่ายสุดที่พวกเรารู้จักกันดีก็คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสจากการเปลี่ยนสี

สำหรับตัวเลขที่แสดงค่า pH ความเป็นกรด-ด่าง (พีเอช) pH มีค่าตั้งแต่ 0 - 14

สภาพเป็นกรด (Acid) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH ต่ำกว่า 7

สภาพเป็นด่าง/เบส (Base) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH มากกว่า 7

สภาพเป็นกลาง (Neutral) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH เท่ากับ 7






ตัวอย่างค่าพีเอชของสารต่าง ๆ

สาร pH




วิธีวัดค่ากรด-ด่าง พีเอช pH

1.กระดาษวัดความเป็นกรดด่าง (pH paper)

• กระดาษเทียบสี pH Paper



• กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบความเป็นกรด-ด่าง (พีเอช) pH กระดาษลิตมัส มี 2 สี คือ สีแดงและสีน้ำเงิน

สารละลายสามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน สารนั้นมีสมบัติเป็นเบส (ค่า pH มากกว่า 7 )


สารละลายสามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง สารนั้นมีสมบัติ เป็นกรด (ค่า pH น้อยกว่า 7 )

ส่วนสารละลายที่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้งสีน้ำเงินและสีแดง สารนั้นมีสมบัติเป็นกลาง (ค่า pH เท่ากับ 7 )

การเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส


2. ชุดทดสอบกรดด่าง พีเอช pH test Kit

โดยการหยดน้ำยาลงในน้ำตัวอย่าง (5 ml.) แล้วเทียบสีกับแผ่นเทียบสี



3. เครื่องวัดกรดด่าง พีเอชมิเตอร์ pH Meter





pH Meter, PH-110 pH Meter, PH-222 pH Meter, PH-211 pH Meter, PH-230SD

หลักการทำงานพีเอช pH Meter

พีเอชมิเตอร์ (pH meter) เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิก มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ อิเล็กโทรด และ เครื่องวัดศักย์ไฟฟ้า (volt meter) เครื่องวัดศักย์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนค่าศักย์ไฟฟ้าที่วัดได้ให้เป็นค่า pH

การปรับเทียบมาตรฐาน (calibration)

ก่อนการใช้งาน จะต้องปรับเทียบมาตรฐาน(Calibration) โดยการปรับเทียบกับสารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐาน โดยการปรับที่นิยมใช้ คือระบบ two-point calibration ซึ่งจะปรับช่วง pH ที่ต้องการวัดด้วยสารบัฟเฟอร์ 2 ค่า เช่น pH 4 และ 7 หรือ pH 7 และ 10 ที่มีค่าครอบคลุมในช่วงที่ต้องการวัด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้อง

วิธีการวัด

ทำได้โดยล้างอิเล็กโทรดด้วยน้ำปราศจากไอออน (deionized water) หรือน้ำกลั่น (distilled water) และซับด้วยกระดาษทิชชู แล้วรีบจุ่มอิเล็กโทรดลงในสารละลายที่ต้องการวัดอย่างรวดเร็ว

การบำรุงรักษาเครื่องวัดพีเอช

เครื่องวัดพีเอชเป็นเครื่องมือ electronic จึงอาจจะชำรุดเสียหายได้โดยง่าย หัววัดของเครื่องวัดพีเอชอาจขาดความแม่นยำในการวัดได้ง่าย ถ้าบำรุงรักษาไม่ถูกต้องและไม่ดีพอ ดังนั้นจึงมีข้อควรระวังในการบำรุงรักษาดังนี้

1. เมื่อใช้เครื่องวัดพีเอชเสร็จแล้วควรล้างหัววัดด้วยน้ำกลั่น หรือสารละลายอื่นๆ ที่ล้างคราบสกปรกที่จับที่ผิวนอกเมมเบรน (acetone, alcohol, HCl 1 M) ทุกครั้งก่อนเก็บเพื่อป้องกันคราบสกปรกที่จับตัวแน่นจนทำความสะอาดยาก จากนั้นเช็ดให้แห้งแล้วปิด (สวม) ปลายหัววัดด้วย rubber cap ที่บรรจุด้วยสารละลาย KCl 3 mol/L

2. อาจจะมีตะกอนเกาะตามช่องหัววัด ทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนในการวัดได้ วิธีการแก้ไขง่ายๆ เบื้องต้นคือ แช่หัววัดในน้ำอุ่นหรือกรดเกลือเพื่อให้ตะกอนละลายและหลุดออก

3. หัววัดทุกรุ่นมีอายุจะเสื่อมสภาพตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่ถูกนำมาใช้ จึงไม่ควรเก็บ Stock ไว้นานเกินไป

4. ห้ามเก็บหัววัดในน้ำกลั่น หรือในสารละลายบัฟเฟอร์ หรือกรดใดๆ ทั้งสิ้นเนื่องจากจะทำให้หัววัดเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

5. ก่อนใช้งานควรล้างหัววัดให้สะอาด เนื่องจากการแช่ในน้ำยาเก็บหัววัด (สารละลาย KCl 3 mol/L) จะสร้างฟิล์มบาง ๆ ที่เมมเบรน ซึ่งจะทำให้การวัดค่าพีเอชไม่ถูกต้อง และไม่ควรทำการ Calibrate ทันทีหลังจากการเริ่มนำมาใช้ แต่ควรแช่ในสารละลายบัฟเฟอร์จุดแรกก่อนเพื่อให้เกิดการสมดุลย์

6. หัววัดที่มีรู diaphram (รูเล็ก ๆ ที่เป็นทางไหลออกของ electrolyte, gel ในหัววัด) ถ้าเกิดการอุดตันจำเป็นต้องล้างด้วยน้ำยา diaphram cleaning solution โดยแช่ทิ้งไว้ได้นาน 1-24 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับความสกปรก

7. หัววัดชนิด Refill ที่มีรูไหลเป็นรูเปิดแล้วปิดด้วย Teflon Cap ก่อนใช้หรือทุกครั้งที่เลื่อน Cap ลงมาทำความสะอาด เมื่อจะนำไปใช้ต้องเลื่อน Teflon Cap มาปิดให้แน่นแล้ว Fix โดยแช่น้ำอุ่น 60-70 องศาเซลเซียส 5 นาที แล้วแช่ในน้ำ 20-30 องศาเซลเซียสทันที เพื่อทำให้ Teflon Cap ติดแน่นขึ้น (หากไม่ทำเช่นนี้จะทำให้เปลือง electrolyte มากขึ้น)

8. หัววัดชนิดที่ต้องเติม electrolyte จะต้องเปิดจุกยาง หรือเจาะรูปให้อากาศไหลเข้าในขณะที่ทำการวัดเพื่อป้องกันไม่ให้ภายในหลอดเป็นสุญญากาศ

9. การ calibrate ด้วยสารละลายบัฟเฟอร์ที่มีคุณภาพดีทุก 2-4 สัปดาห์ ดีกว่าการใช้สารละลายบัฟเฟอร์เก่า calibrate ทุกวัน

10. หัวใจของพีเอชสุดท้ายอยู่ที่สารละลายบัฟเฟอร์ หากเปิดขวดบ่อยๆ จะทำให้ค่า buffer capacity ลดลง ดังนั้นควรใช้งานให้หมดภายใน 1 เดือน

ค่ะ สำหรับฉบับนี้ก็เป็นฉบับแรกของพวกเรา อาจมีอะไรตกหล่นไปบ้างก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วนนะค่ะ ขอบคุณค้า แล้วเจอกันฉบับหน้านะค้า 



อ่านบทความทั้งหมด