วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ วาล์ว

By พี่อี๊ด

มากันอีกเช่นเคยกับความรู้ด้านเทคนิคที่พี่ๆซุปได้นำมานำเสนอเพื่อเป็นความรู้ให้กับเพื่อนๆ พี่ๆ หลายคนที่ยังไม่ทราบถึงรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ
วันนี้พี่อี๊ดเลยจัดของที่ใช้กันอยู่ทุกวันมานำบอกกล่าวนั่นคือ วาล์วนั่นเอง... วันๆนึงเปิดปิดกันนับสิบรอบรู้หรือเปล่าว่าภายในนั้นมันประกอบไปด้วยอะไรบ้าง แบบนี้ต้องกดไปดูแต่โดยพลัน

ในงานอุตสาหกรรมปัจจุบัน วาล์วมีบทบาทสำคัญมาก จึงเป็นเหตุผลที่จะต้องศึกษาเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานด้านซ่อมบำรุง
ชนิดของ วาล์ว
มี 4 ชนิดใหญ่ๆ คือ
1.     วาล์ว ตัดตอน (Isolating valves)
2.     วาล์ว ควบคุม (Control valves)
3.     วาล์ว กันกลับ (Check valves)
4.     วาล์ว ควบคุมความดันสูงสุด (Maximum pressure control valves)
1.     วาล์ว ตัดตอน (Isolating valves)
-         ปกติ ปิดสุด หรือ เปิดสุด
-         การใช้งานเพื่อตัดอุปกรณ์ต่างๆ ออกจากระบบ
2.     วาล์ว ควบคุม (Control valves)
-         ปกติ ปิดสุด, เปิดบางส่วน, เปิดสุด
-         การใช้งานเพื่อปรับหรือควบคุมการไหลของของเหลวหรือก๊าซ
-         การควบคุมนั้น สามารถออกแบบให้ควบคุมได้ทั้ง ความเร็ว, ความดัน, ปริมาณ หรืออุณหภูมิ สุดแล้วแต่จะต้องการ
3.     วาล์ว กันกลับ (Check valves)
-         ปกติ ปิด หรือ เปิด
-         การใช้งาน เพื่อควบคุมทิศทางการไหล ยกตัวอย่าง เช่นเดียวกับรถเดินทางเดียว หรือ one way ไม่อนุญาตให้ไหลย้อนกลับได้
4.     วาล์ว ควบคุมความดันสูงสุด (Maximum pressure control valves)
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
4.1             Relief valves (รีลิฟ วาล์ว)
      เป็นวาล์วนิรภัยประเภทที่ใช้งานทั้งกับก๊าซและของเหลว โดยจะรักษาควบคุมความดันให้ได้ตามที่ตั้งเอาไว้ เช่น รีลีฟวาล์วของอุปกรณ์ ไฮดรอลิกปั้ม (hydraulic pumping system)

4.2             Safety valves (เซฟตี้ วาล์ว)
เป็นวาล์วนิรภัยที่ใช้กับ ก๊าซหรือไอน้ำเท่านั้น จะเริ่มเปิดเมื่อถึงความดันที่ตั้งไว้ และจะเปิดเต็มที่เมื่อความดันสูงกว่าที่ตั้งไว้ 3% จากนั้น เมื่อความดันลดลงมาต่ำกว่า 3 % จึงจะปิด
ยกตัวอย่างเช่น
ตั้งค่าไว้                                                                   2,000  psig
Safety valve จะเติมที่ที่                                               2,060 psig (+3%)
จะไม่ยอมปิดจนกว่าจะลดความดันเหลือ               1,940 psig (-3%)
หมายเหตุ  
-         ตามกฎหมาย โรงงานที่มีหม้อน้ำ (boiler) หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับความดัน จะต้องติดตั้งชุด safety valve
-         ซึ่งจะมีการอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ภายหลัง
การออกแบบ วาล์ว (valve design)
      โดยทั่วไปชื่อที่ใช้เรียกชิ้นส่วนของ วาล์ว นั้นเหมือนกัน เพราะเวลาใช้งานทำหน้าที่เหมือนกัน จะแตกต่างกันไปก็เฉพาะรูปร่างหน้าตา, ขนาด, วัสดุที่ใช้, ลักษณะงาน, ความดันที่ทนได้, อุณหภูมิที่ทนได้, เท่านั้น โดยทั่วไปแล้วส่วนสำคัญของ วาล์ว คือ หน้า วาล์ว อันได้แก่ ดิสค์ (disc valve) และ ซีท (seat valve) นอกจากนั้นชิ้นส่วนอื่นๆ จะออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานนั้นๆ
การกำหนดขนาดของวาล์ว
       โดยปกติเรียกตามขนาดของ pipe หรือ tube เช่น 2 pipe = 2” valve
ชนิดของปลายวาล์วที่ใช้เชื่อมต่อกับท่อ
1.     เป็นแบบเกลียวท่อ (screw pipe thread)
2.     เป็นแบบชนเชื่อม (butt-weld)
3.     เป็นแบบสวมเชื่อม (socket weld)
4.     เป็นแบบหน้าแปลน (flange)
เป็นแบบสวมอัด (swaged)

 ในการออกแบบหรือติดตั้ง จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ เพื่อความปลอดภัยและยืดอายุการใช้งานให้นานที่สุด
1.     ความดัน (pressure) : ได้แก่ ความหนา, การออกแบบ seat, การออกแบบ actuator
2.     อุณหภูมิ (temperature) : ได้แก่ โลหะ, การออกแบบ seat, เลือกชนิด packing การยืด หด ขยายตัว
3.     ปริมาณ (volume) : ได้แก่ จะให้สามารถต้านการไหลเท่าไร, ลักษณะการไหลเป็นแบบใด (flow pattern), การออกแบบ actuator
4.     การควบคุม (control) : ได้แก่ ออกแบบ seat, ออกแบบ stem, ออกแบบ actuator
5.     ชนิดของของไหล (type of fluid) : ได้แก่ น้ำ, น้ำมัน, แก๊ส ไอน้ำ (water, oil, gas, steam)
6.     สารเจือปน (purity of fluid) : ได้แก่ เรื่องสารที่เป็นของแข็งในของไหลที่จะผ่าน วาล์ว ทำให้เกิดการสึกกร่อนได้
7.     ความเป็นรกรดด่าง (pH) : ได้แก่ การออกแบบให้ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี
8.     การต้านทานการไหล (flow restrictions) : ได้แก่ การออกแบบ วาล์ว ให้มีประสิทธิภาพ
ชื่อชิ้นส่วนหลักของ วาล์ว (Part of valve)
-         seat valve (ซีต วาล์ว)
-         disc valve (ดิสค์ วาล์ว หรือ seal (ซีล))
-         steam valve (สเต็ม วาล์ว หรือ กาน วาล์ว)
-         nut stem & power nut (นัต สเต็ม และ เพาเวอร์ นัต)
-         body (บอดี้)
-         bonnet (บอนเนต)
-         yoke (โยค)
-         spring (สปริง)
               -         actuator (แอคจูเอเตอร์)

30 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณความรู้ใหม่ๆดีของพี่อี๊ดนะครับ..ผมไม่ต้องไปเรียน INSTRUMENT เลย

    ตอบลบ
  2. การเปิดว่าล์ว ปิดวาล์ว ก็มีส่วนสำคัญโดยเฉพาะในท่อที่มีแรงดันเราจะสังเกตได้ว่าถ้าแรงดันระหว่างทางเข้าและทางออกของวาล์วต่างกันมาก วาล์วจะเปิด ปิด ได้ยากเพราะฉนั้นถ้าเป็นไปได้พยายามทำให้แรงดันทั้งสองฝั่งใกล้เคียงกัน วาล์วก็จะเปิดได้อย่างง่ายดาย

    ตอบลบ
  3. วาล์วมีหลายขนาดหลายแบบ ไม่ว่าจะใช้ตามบ้านเรือนหรือใช้ตามโรงงานก็ต้องใช้ให้ถูกสุขลักษณะเพราะฉะนั้นควรศึกษาให้ดีก่อนนำไปติดตั้งหรือใช้งานครับ ไม่งั้นอาจจะต้องเสียทั้งเวลาและทรัพย์สินเพิ่มครับ ขอบคุณครับสำหรับรายละเอียดของวาล์วแต่ละชนิด Good Ja

    ตอบลบ
  4. การทำงานของวาล์วแต่ละชนิดต้องอ่านต้องทำความเข้าใจให้ละเอียดเพราะวาล์วบางชนิดต้องค่อยๆเปิดแต่บางชนิดก็สามารถเปิดได้เลย ถ้าเรารู้เกี่ยวกับวาล์วแต่ละชนิดแล้วก็จะสามารถทำให้วาล์วตัวนั้นมีอายุการใช้งานได้นานขึ้นครับ

    ตอบลบ
  5. ความรู้มาอีกแล้วขอบคุณครับสำหรับ ความรู้ดีๆๆเรื่องวาล์วครับ

    ตอบลบ
  6. มีความรู้เกี่ยวกับวาล์วมาให้อ่านอีกแล้วครับ...ส่วนมากตามที่ผมเห็นมาเค้าจะนิยมใช้บอลวาล์วกันมากเลยนะครับพี่...แต่ถ้าท่อขนาดใหญ่ๆใช้บอลวาล์วก็คงแบกภาระกับค่าใช้จ่ายไม่ไหวใช่มั้ยครับ

    ตอบลบ
  7. ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ครับ ทำให้ผมมีความรู้เรื่องvalveอีกตั้ง 1 เรื่อง

    ตอบลบ
  8. ทีมงานพลิกแผ่นดิน8 พฤษภาคม 2555 เวลา 06:51

    หนังสือทั่วไปที่เกี่ยวกับวาล์วมีหลายหน้าแต่พี่อี๊ดจัดให้สั้นๆแต่ได้ใจความเข้าใจง่ายครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  9. ที่นำมาลงในครั้งนี้เป็นความรู้เรื่องวาล์วโดยกว้างๆ ยังไม่ได้แยกวาล์วออกเป็นแต่ละประเภท ตามแต่ละชนิดของการใช้งาน เช่นของเหลวใช้ชนิดไหน แก็สใช้ชนิดไหน ไว้คราวหน้าครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. จัดหนักมาเลยครับพี่ปัญญา

      ลบ
    2. เดี๋ยว shift.c จัดให้

      ลบ
    3. ยาวไปยาวไป

      ลบ
  10. ปิด-เปิด กันอยู่ทุกวันถูกบ้างผิดบ้างปะปนกันไป ดังนั้นควรดูให้ดีก่อนที่จะปิดหรือเปิดวาล์วต่างๆ
    ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องวาล์วต่างๆ ของพี่อี๊ดนะครับ.....

    ตอบลบ
  11. มีวาล์วตั้งมากมายที่เราใช้กันอยู่ทุกวี่วัน แต่ที่คุ้นเคยมากสุดก็คงเป็นวาล์วที่ใช้ตามบ้าน (ก๊อกน้ำ)
    ต้องขอบคุณสำหรับความรู้ที่พี่เค้านำมาสอนให้( โดยเฉพาะ Part of valve )

    ตอบลบ
  12. เป็นความรู้ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวมากเลยครับ มี valve อยู่หลายตัวที่ใช้ในโรงงานเรา ได้ประโยชน์ มากเลยครับ ขอบคุณมากๆ สำหรับเรื่อง valve ที่พี่ๆนำมาแชร์ให้พวกเราได้อ่านกัน

    ตอบลบ
  13. เนินกระปอกซิตี้18 พฤษภาคม 2555 เวลา 12:32

    วาล์ว วาว ว้าว
    ผมอยากทราบว่า วาล์วที่แทงค์1671-1674เราปรับสโตรกให้เปิดปิดช้าลงได้ใหมครับ
    เพื่อไม่ให้กระแทกเวลาเปิด แล้วแมนน่วนวาล์วก็เปิดไว้เลย ตอนทำก็แค่เช็คให้ชัวๆๆครั้งแรกทีเดียว

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ว้าว ว้าว ว้าว20 พฤษภาคม 2555 เวลา 22:12

      ที่ต้องปิดเพราะฟายวาล์วมันพาสแน่นอน...ซิบอกหั้ย จะใช้เปิดใช้เสร็จปิดตามสูตร

      ลบ
    2. งง...ไม่เข้าใจ

      ลบ
  14. เปิด-ปิด กัน ทุกวัน แต่ไม่ค่อยรู้รายละเอียดเท่าไร พอได้อ่านก็ น่าจะรู้ขึ้นมาอีกหน่อย
    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  15. valveมีตั้งมากมายหลายชนิดและมีองค์ประกอบหลายชิ้นเป็นไงครับ shift.c สุดยอดไหมครับ

    ตอบลบ
  16. "วาล์ว"นั้นสำคัญนะเนี่ย...
    ถ้าไม่มี"วาล์ว"พวกเราคงเก็บ SAMPLES กันลำบากหน้าดู อิอิ ^_^

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. วาวาวาวาวาวาวาว30 พฤษภาคม 2555 เวลา 18:19

      งัวเงียพร่ำๆๆๆๆๆๆไรเนี่ย

      ลบ
  17. เสียดายที่ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการดูCONTROL VALVE
    แบบไหนFAIL OPEN,FAIL CLOSE,FAIL SAFE,FAIL AS

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. แบบนี้พี่SUNANT C.ต้องจัดมาให้น้องๆซะแล้ว

      ลบ
  18. ขอบ คุณ ครับ ความ รู้ ๆ Save Save Save !!!!!

    ตอบลบ
  19. ความรู้เรื่องวาล์วผมว่าสำคญนะคับแต่ผมว่าข้อมูลน้อนไปหน่อยคับอยากให้เพิ่มเนื้อหาและรายละเอียดให้มากกว่านี้คับ

    ตอบลบ
  20. แบงค์บ้านฉาง5 สิงหาคม 2555 เวลา 22:50

    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ครับ ทำให้ผมมีความรู้เรื่องvalve เพิ่มมากขึ้นทำให้ได้ประโยชต์ในการทำงาน

    ตอบลบ
  21. Valves เป็นเครื่องมือที่สำคัญของขบวนการผลิต ด้งนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำการเรียนรู้ เพื่อจะได้นึกภาพออก

    ตอบลบ
  22. วาล์ว กับ ก๊อกน้ำ
    ก๊อกน้ำ มีที่มาที่ไปยังงัยครับ

    ตอบลบ
  23. ตามปกติ Control valve แต่ละขนาด ใช้ความดันของ Air supply เท่าไหร่ครับ ในการควบคุม

    ตอบลบ