วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

การทำงานเป็นทีม: มุมที่มองข้ามไป (Synergy : Difference Aspect)



By พี่แมว

การบริหารไสตล์ญี่ปุ่นที่เน้นการทำงานเป็นทีม เป็นที่ยอมรับว่าเป็นแนวทางการบริหารคน ที่ได้ผลมากกว่าสไตล์ การทำงานแบบต่างคนต่างทำ (Individualism) ของประเทศทางตะวันตกหลายประเทศ พูดง่าย ๆ ก็คือฝรั่งเองก็ต้องยอมรับว่า “การทำงานเป็นทีม” นั้นเพิ่มผลิตภาพ (productivity) และเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน การทำงานเป็นทีมทำให้เกิด “การประสานพลัง” (Synergy) ซึ่งทำให้ 1 + 1 ได้มากกว่า 2 !!!!

หลายท่านตระหนักดีถึงภาระหน้าที่ในการเป็นผู้นำทีม ภาระหน้าที่ในการสร้างทีมงาน เป็นการมองจากข้างบนลงข้างล่าง ซึ่งบางท่านทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี บริหารลูกน้องให้ทำงานได้ตามเป้าหมาย ลูกน้องรัก ให้ความเคารพนับถือ มีศรัทธา แต่ผู้บริหารท่านเดิมนั้นเอง กลับมีปัญหากับ “ผู้นำทีม” ของตนเอง
“มุมที่มองข้ามไป” ในเรื่องการทำงานเป็นทีมก็คือ การทำงานเป็นทีมกับผู้นำทีมของตัวเราเอง ซึ่งไม่เป็นประเด็นที่นำมาถกเถียงคุยกันมากเท่าที่ควรจะเป็น
ผู้บริหารที่มีความรู้ ประสบการณ์ดี บริหารทั้งงานผลิต งานขาย-การตลาด การเงิน ฯลฯ ลูกน้องรัก ลูกค้าพอใจ แต่ “ผู้นำทีม” หรือผู้บังคับบัญชา กลับไม่นิยมยกย่องก็มี!!! หลายครั้งหลายคราที่องค์กรต้องเสียมือดี ๆ ไป เสียโอกาสทางธุรกิจไป เพราะประเด็นเรื่องการทำงานเป็นทีมระหว่างลูกทีมกับผู้นำทีม ที่คล้ายกับเกิดศรศิลป์ไม่กินกัน นอกจากมองตาไม่รู้ใจแล้ว ยังรู้สึกขัดหูขัดตาอีกด้วย….
ปัญหาอยู่ที่ไหน?-หลายท่านอาจจะถาม
บางท่านอาจจะบอกว่าก็คนมันดวงไม่สมพงศ์กัน ลูกน้องบางคนว่า “นาย” เล่นพวก เราเลยไม่รุ่ง ลูกพี่บางคนว่า “ลูกน้อง” ซื่อบื้อ หรือ บางคนสรุปว่าเป็นเพราะขาดคาถามหาจำเริญ คาถาที่ว่านี้มีเพียง 4 วลี “ใช่ครับพี่” “ดีครับท่าน” “ทันครับผม” และ “เหมาะสมครับเจ้านาย"
ถ้าผู้อ่านเห็นด้วยกับคาถาที่ว่านี้ ก็ไม่ต้องอ่านบทความนี้อีกต่อไป - เพราะจะไม่ได้ประโยชน์อะไร”

หัวใจในการทำงานเป็นทีมนั้นมีอยู่ 4 ข้อ
ข้อแรกคือต้องมี “เป้าหมาย” เดียวกัน
ข้อ 2 คือ “บทบาท” อำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ของทั้ง “ผู้นำทีม” และ “ผู้ตาม” เข้าใจตรงกันมีความชัดเจน ไม่คลุมเครือ
ข้อ 3 คือ มีระบบการให้รางวัลค่าตอบแทนที่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
ข้อสุดท้าย คือต้องมี “ทักษะ” ที่จำเป็นในการทำงานเป็นทีม เช่นการบริหารความขัดแย้ง ความสามารถในการติดต่อสื่อสารให้ถูกช่องทาง ฯลฯ

ดังนั้นหากผู้นำและลูกทีมมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกัน(โดยไม่ต้องตั้งใจ) มีวิธีการทำงานที่ต่างกัน ไม่สนใจหรือมองข้าม “สไตล์” การทำงานของซึ่งกันและกัน การเล่นบทบาทอย่างที่ตัวเองคิดว่าน่าจะเป็น โดยไม่ทันเหลียวมองสัญญาณจาก “ผู้กำกับการแสดง” ว่าต้องการให้ “เล่น” อย่างไร ปัญหาย่อมเกิดขึ้นแน่นอน หน้าที่ของลูกทีม ที่อาจเป็นผู้บริหารด้วยหรือไม่ก็ได้นั้น มีหน้าที่ นั่นคือ การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมกับ “ผู้บังคับบัญชา” ของตนเองด้วย หน้าที่ของท่านไม่เพียงแต่สร้างทีมงานกับลูกน้องเท่านั้น แต่กับ “นาย” ของเราด้วย การบริหารนั้นมีทั้งแบบบน-ลง-ล่าง (Downward management) ที่เราต้องเป็นผู้นำทีม บริหารลูกทีมสู่เป้าหมาย และแบบล่าง-ขึ้น-บน (Upward management) ที่จะต้องทำให้ลูกพี่และตัวเราเองเกื้อกูลกัน ทำงาน ”เข้าขา” กันอย่างดี เพื่อสร้างผลงานให้ตัวเราเอง ซึ่งก็จะเป็นผลงานของ “นาย” ของเรา ผลงานของทีมงานและเป็นผลงานต่อองค์กรในที่สุด

19 ความคิดเห็น:

  1. ทำงานหลายคนมันต้องได้งานที่ดีและมีประสิทธิภาพ เพราะทุกคนมีความร่มมือกันและช่วยเหลือกัน ใช่ไหมครับพี่ เหอๆ

    ตอบลบ
  2. ผลงานดี ทีมดี ต้องหนุ่มไฟแรง 5555 ฮิ๊วๆๆ

    ตอบลบ
  3. ไม่ว่าใครจะอยู่ทีมใหนแต่เรามาอยู่ที่ตรงนี้องค์กรนี้
    เราเป็นทีมเดียวกันใช่มั้ยพี่น้อง(Mega plant Mega team)

    ตอบลบ
  4. ทำงานแบบทีม เข้าขากันดี งานก็ออกมาดี แต่บางครั้งอาจโดนขัดขากันเอง
    เฉพาะบางเรื่อง.... 555 (:

    ตอบลบ
  5. ผลงานของทุกๆคนก็เหมือนกับผลงานต่อองค์กร ยิ่งทำผลงานออกมาดีแค่ไหนองค์กรก็ดูดีตามๆกันปายยย...ใช่มั้ยครับเจ้านายยย

    ตอบลบ
  6. สามัคคีสมัครสมานในการกิจ อย่าให้ผิดใจกันงานสั่นไหว
    ต้องรู้จักตัวเองมีเกรงใจ ทำงานไปให้ดีเด่นเป็นมงคล

    ตอบลบ
  7. นี่คือวัฒนธรรมที่ดีสำหรับการทำงานเป็นการรวมสิ่งที่ดีที่สุดของแต่ละคนมาเสริมสร้างกันเพื่อผลิตผลงานชิ้นเดียวกันให้ดีที่สุด...ตัวใครตัวมัน...วันแมนโชว์...ข้ามาคนเดียว...ฉายเดี่ยวพันลี้แบบนี้อย่าทำ

    ตอบลบ
  8. ทุกคนเปรียบเสมือนฟันเฟืองสำคัญของการทำงาน ที่ย่อมไม่สามารถขาดคนใดคนหนึ่งไปได้ วัฒนธรรมองค์กรก็เช่นเดียวกัน เปรียบเสมอน้ำมันหล่อลื่น ที่ช้วยให้พวกเราทุกคนทำงานร่วมกันได้อย่างคล่องตัว และไม่เกิดการเสียดทาน อย่าลืม Home ของพวกเรา

    อีกอย่างที่สำคัญเราคนไทยรู้กัน Seniority ความเป็นรุ่นพี่รุ่นน้องที่มีอยู่ประจำใจ รู้จักเกรงใจ ไม่ใช่เกรงกลัว ถามได้ถ้าสงสัย แย้งได้ถ้าความเห็นไม่ตรงกัน ไม่มีใครรู้ทุกอย่าง ใช้เหตุผลคุยกัน พอใจในสิ่งที่มี... สาธุ

    ตอบลบ
  9. ....ความสามัคคี คำนี้ ฟังแล้วรู้สึกอบอุ่น ได้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน อยู่กันแบบพี่น้อง เป็นเหมือนครอบครัวใหญ่ บุคลากรมีความรู้ความสามารถ มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน เมื่อจิตใจพร้อม และ มีความรู้สึกเป็นสุขที่ได้ ทำงานร่วมกัน นี่แหละครับ คือ ทีม ทีมที่แข็งแกร่ง พร้อมที่จะขับเคลื่อนองค์กรณ์ของเราให้ไปข้างหน้าไปสู่ความสำเร็จ

    ตอบลบ
  10. ความสามัคคีคือพลังสร้างสรรค์ผลงาน.รู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลซึ้งกันและกันและนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จด้วยมือของเราทุกคน

    ตอบลบ
  11. ตอนนี่การทำงานของเราคล้อยคลึงกับการต้องจิกซอ เมื่อทุกคนมีความสำคัญกับคนกรณืเราทุกคนถ้ามีการขาดใครไปก็เหมือนรูปๆนั้นก็ไม่เป็นที่สมบูรณ์ แต่การต่อจิกซอผมเห็นขอดีของมันก็คือการได้เห็นแบบอย่างที่ดี แบบอย่างที่ถูกต้อง เป็นแบบอย่างที่จะประติดประต่ะให้การทำงานของเราเสร็จสมบูรณ์ ปลอดภัย ก้าวไกลไปกับ โซเวย์

    ตอบลบ
  12. เห็นด้วยกับพึแมวที่สุดความสมัครคี คือ พลัง ส่วนน้ำแป็บซี่กับอาหารที่ลูกพี่เปิลมอบให้นั้นคือกำลังใจให้พวกเรา

    ตอบลบ
  13. ไหมไทย ใจตะวัน14 พฤษภาคม 2554 เวลา 09:24

    ความสำคัญของการทำงานเป็นทีม...ผมคิดว่าอยู่ที่ใจที่ให้ต่อเพื่อนร่วมทีมโดยไม่รีรอที่จะช่วยกันเพื่อให้ถึงเป้าหมายของงานนั้นๆ....แต่ถ้าต่างคนต่างทำงานความสำเร็จคงเกิดขึ้นได้ยากครับ.......สำคัญอยากมากครับใจดวงน้อยๆๆของเราเท่านั้นที่จะตอบโจทย์ของการทำงานเป็นทีมครับ....

    ตอบลบ
  14. ความสุขฃองการทำงานเริ่มด้วยรอยยิ้ม เติบโตด้วยการเข้าใจ และจบลงด้วยความสำเร็จ ความสุขและความรู้สึกที่ดีนั้นหายาก....แต่ที่ solvay มีมากมาย555

    ตอบลบ
  15. ไม่มีใครหรอกที่สามารถยืนได้ด้วยตัวคนเดียว บนโลกใบใหญ่ใบนี้ ทุกคนต้องการเพื่อน เพื่อที่จะคอยเกื้อหนุนกันในทุก ๆ เรื่อง และบางที่สิ่งที่เราต้องทำ มันอาจจะยิ่งใหญ่เกินไปสำหรับที่จะทำคนเดียว การทำอะไรเป็นทีมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะอย่างที่บอก ไม่ีใครหรอกที่สามารถทำอะไรแล้วประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียว

    ตอบลบ
  16. การทำงานทุกคนต้องลด ทิตถิต่อกัน ให้เกียรติกัน ช่วยเหลือกัน การทำงานก็จะทำให้เราไม่เหนื่อย และงานก็จะลุล่วงไปได้ด้วยดีนะคร๊าบบบบ...

    ตอบลบ
  17. แบงค์บ้านฉาง31 กรกฎาคม 2554 เวลา 15:57

    การทำงานกับคนหมู่มากย่อมมีการขัดแย่งกันเป็นเรื่องธรรมดา
    ไม่ว่าจาเป็นลูกน้องกับหัวหน้าหรือหรือหัวหน้ากับผู้บริหารประมาณนั้น
    แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องหันหน้ามาคุยกับเพื่อปรับความเข้าใจให้ตรงกัน
    เพื่อก้าวข้ามความขัดแย้ง ขอบคุนคับ

    ตอบลบ
  18. มิตรเฮดเดอไฮเปอร์เรดซิ่ง7 สิงหาคม 2554 เวลา 00:18

    การทำงานเป็นทีมสร้างให้เกิดผลงานที่ดีเพราะเกิดจากหลายมุมมองทำให้ความผิดผลาดลดน้อยลงแต่มันก็ต้องขึ้นอยู่กับความเข้าใจและยอมรับความเห็นคนอื่น ด้วยครับ ทีมงานหนุ่มไฟแดงๆๆอีตทีมงานคุณภาพครับพี่น้องครับ

    ตอบลบ
  19. รวย รุม เร้า รื้อ รัง

    ตอบลบ