วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สัจจะ


"สัจจะ" แปลว่า ความสัตย์ ความซื่อ ถ้าขยายความตามศัพท์แยกได้ 3 ลักษณะคือ มีความจริง ความตรง และความแท้ จริง คือ ไม่เล่น ตรง คือ ความประพฤติทางกาย วาจา ตรงไม่บิดพลิ้ว ไม่บ่ายเบี่ยง แท้ คือ ไม่เหลวไหล ตรงข้ามกับคำว่า อสัจ ซึ่งแปลว่า ไม่จริง บิดพลิ้ว แต่ถ้าในทางปฏิบัติสัจจะ คือ ความรับผิดชอบ หมายความว่า ถ้าจะทำอะไรแล้ว ต้องตั้งใจทำจริง ทำอย่างสุดความสามารถให้เป็นผลสำเร็จ การที่ใครจะสามารถสร้างตัวขึ้นมาได้นั้น ต้องมีสัจจะเป็นพื้นฐาน เพราะคนที่มีสัจจะ เป็นพื้นฐานจะมีความรับผิดชอบต่องานที่ทำทุกอย่าง ไม่ปล่อยผ่านกับสิ่งที่ได้รับมา จะทำทุกสิ่ง ที่มาถึงมืออย่างสุดกำลัง และเต็มความสามารถ
ลักษณะของสัจจะ มีด้วยกัน 5 ประการ คือ

ประการที่ 1 สัจจะต่อความดี

ก็คือ การประพฤติตนเป็นคนเที่ยงแท้ มั่นคงต่อความดีไม่หันเหไปในทางชั่ว ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์เช่นไร ในทางปฏิบัติ การจะมีสัจจะต่อความดีได้นั้น ต้องคิดให้เห็นถึงคุณความดีได้อย่างแจ่มแจ้ง และเห็นโทษของความชั่วได้ชัดเจน พยายามรักษาความดีในตนไว้ ถ้าเป็นฆราวาสก็ต้องละ กรรมกิเลส 4, อคติ 4, อบายมุข 6 และต้องปรับความเห็นของตนให้ถูก ให้เป็นสัมมาทิฏฐิให้ได้ หากเป็นพระก็ต้องรักษาสิกขาวินัย สืบทอดพระพุทธศาสนา หากเป็นฆราวาส ก็ต้องทำมาหากินตั้งตนให้ได้ สร้างหลักฐานให้กับวงศ์ตระกูล ใครจะอยู่ในหน้าที่อะไรก็ต้องพยายามหาดีของตนให้ได้ หากหาดีนอกทางเสียแล้วก็จะเสียความจริงต่อความดี

ประการที่ 2 สัจจะต่อหน้าที่

คือ การที่ใครก็ตามที่เกิดมาย่อมมีหน้าที่ติดตัวมาด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้น จึงควรมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน ใครเป็นหัวหน้าก็ตั้งใจพัฒนาองค์กรและลูกน้อง ใครเป็นลูกน้องก็ตั้งใจทำงานในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบให้ดี ไม่ให้มีความบกพร่อง ไม่ว่าใครจะเป็นอะไร ก็ทุ่มไปกับหน้าที่ของตัวให้เต็มที่ หากทำเช่นนี้ได้จึงเรียกว่า มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่

ประการที่ 3 สัจจะต่อการงาน

สัจจะต่อการงาน ก็คือการตั้งสัจจะลงไปในงาน หมายถึงการทำงานนั้นต้องทำจริง ไม่ทำเหยาะๆ แหยะๆ หรือทำเล่นๆ ดังนั้น เมื่อมีหน้าที่แล้วก็ย่อมมีงานตามมา จะเป็นอะไรก็มีหน้าที่และมีงานตามมา ยิ่งอายุมาก หน้าที่ก็ยิ่งมากเป็นเงาตามตัว เมื่อหน้าที่มาก งานก็มากด้วยเช่นกัน
คนที่ไม่จริงต่อการงาน มีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คือ
พวก "ทุจฺจริตํ" คือ พวกที่ทำงานเสีย
พวก "สิถิลํ" คือ พวกที่ทำงานเหลาะแหละ
พวก "อากุลํ" คือ พวกที่ทำงานคั่งค้าง
หากทำอย่างนี้จะเสียสัจจะต่อการงาน วิธีแก้ก็คือ ทำให้ดี ทำให้เคร่งครัด ทำให้เสร็จสิ้น หากทำได้ก็จะกลายเป็นสัจจะต่อการงานอีกประการหนึ่ง เรามักได้ยินคำพังเพยว่า "เรือล่มเมื่อจอด" คำนี้ใช้กับผู้ที่เคยทำดีมาแล้ว แต่ประมาทเมื่อปลายมือ เพราะไม่ตั้งใจทำให้ดีที่สุดหรือทำสักแต่ว่าทำ เพราะฉะนั้น เมื่อทำความดีแล้ว ต้องทำให้ดีพร้อม จนใครๆ ก็ทำให้ดีกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว คือ ต้องทำงานชิ้นนั้นให้สำเร็จให้ได้และให้ดีที่สุด นี่คือความรับผิดชอบของคนที่มีสัจจะต่อการงาน

ประการที่ 4 สัจจะต่อวาจา

สัจจะต่อวาจา คือ จริงต่อวาจา นั่นก็คือคำพูดของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นการพูดด้วยปาก หรือการเขียน ตลอดจนการแสดงอาการที่เป็นการปฏิญาณต่อผู้อื่นก็ตาม จัดอยู่ในเรื่องของวาจาได้ สัจจะต่อวาจามีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
พูดอย่างไรทำอย่างนั้น คือ เมื่อพูดออกไปแล้วก็ต้องพยายามทำให้ได้จริงตามที่พูด
ทำอย่างไรพูดอย่างนั้น คือ การพูดคำจริง เมื่อเราทำอะไรลงไปก็พูดไปตามนั้น การกระทำต้องตรงกับคำพูดของตัวเองเสมอ

ประการที่ 5 สัจจะต่อบุคคล

สัจจะต่อบุคคล คือ ต้องจริงต่อบุคคล ในที่นี้คือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตัวเราจริงต่อบุคคลนั้น หมายถึง การเป็นผู้ที่ประพฤติต่อคนอื่นอย่างสม่ำเสมอ ไม่กลับกลอกเพื่อให้มาซึ่งประโยชน์ของตนโดยไม่สนใจผลกระทบที่มีต่อผู้อื่น

สรุปความได้ว่า คนที่มีสัจจะคือคนที่ทำอะไรทุ่มสุดตัว จะทำงานชิ้นใดก็ทุ่มทำให้ดีที่สุด คบใครก็คบกันจริงๆ ไม่ใช่ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา ถ้าจะคบก็คือคบ ถ้าไม่คบก็ตัดบัญชี

ทุกวันนี้สังคมเราขาดความเชื่อในสัจจะ ทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ดำเนินชีวิตไปตามกระแสของคนรอบข้างและค่านิยมทางวัตถุ สัจจะที่เราให้ไว้ซึ่งอาจเป็นไปด้วยความไม่ตั้งใจหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์เฉพาะหน้าเฉพาะตนมักจะไม่มีความหมายต่อเรา แต่มีความหมายต่อผู้ที่เราได้ให้สัจจะไว้เสมอ เมื่อเราไม่สามารถรักษาสัจจะที่มีให้กับตนเองและผู้อื่นได้ เราก็จะใช้ชีวิตอยู่อย่างผู้ตามตลอดไป

ข้อมูลสนับสนุนจาก วิกิพีเดีย

20 ความคิดเห็น:

  1. การรักษาคำพูดนั้นเป็นเรื่องสำคัญครับ
    ยิ่งถ้าเป็นการให้ "สัจจะ" จะยิ่งใหญ่สำคัญมากกว่า
    แต่อยากจะบอกคุณว่า....การรักษาสัญญา หรือการรักษาคำพูดนั้น เป็นเรื่องสำคัญ
    ยิ่งถ้าคนๆ นั้นเป็นคนรักษาศีล..หรือเพียงแค่เป็น "นักปฏิบัติ" ก็จะเห็นความสำคัญเรื่องนี้มาก
    แต่...บอกคร่าวๆ ได้ว่า.....
    การรักษาคำพูดนั้น...ยังไม่หนักหนาหรือรุนแรงเท่า "สัจจะ"
    พอที่จะขออภัยคนที่เราไปให้ "สัญญา" ได้
    แต่คนที่ไม่รักษา "สัญญา" หรือไม่รักษาคำพูดนั้น ต้องเป็นคน "เอ่ยปาก" ขอโทษเอง
    และต้อง "เอ่ยปาก" ทำความดีอย่างใดอย่าหนึ่งเป็นการ "ขอโทษ"
    แต่คุณต้องเอ่ยปากเองนะครับ.....
    เหตุการณ์น่าจะดีขึ้น...
    นี่หมายถึงแค่ผิดคำพูด หรือผิดสัญญานะครับ
    ถ้าผิด "สัจจะ" ล่ะก้อไม่ต้องพูดถึง.....ไม่มีทางแก้ไขครับ (เว้นบางกรณี...แต่ยากครับ)

    ตอบลบ
  2. คนเราทุกคนส่วนใหญ่จะมี"สัจจะ"ไม่ครบ5ข้อ แต่เชื่อได้เลยว่า คนเราทุกคนถ้ามี"สัจจะและสัจจริง"ครบ5ข้อที่กล่าวมานั้น จะไปที่ไหนๆก็จะมีแต่ความสุข มีแต่คนรัก ยกย่อง นับถือ แน่นอนครับ

    ตอบลบ
  3. สัจจะ คือ วาจา
    วาจาที่เป็นเลิศคือ การพูดด้วยข้อความ ที่เป็นจริง ทำจริง เเละ ใด้จริง

    ตอบลบ
  4. คนเราเกิดมาเป็นคนต้องรักษาคำพูดหรือสัจจะเพราะว่าเราไม่ใช่โจร(สัจจะไม่มีในหมู่โจร)

    ตอบลบ
  5. สัจจะ มักจะเกิดขึ้นกับเราเป็นประจำทุกๆวัน เช่น สัจจะต่อตัวเองว่าจะตื่นเช้า สัจจะต่อหัวหน้าว่าจะมาทำงาน สัจจะต่อแฟนว่าจะไปตามนัด สิ่งพวกนี้เกิดขึ้นกับเราทุกๆ วันอยู่แล้ว และการรักษาสัจจะก็เป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิต เราทุกคนไว้ซึ่ง ความซื่อสัตย์ และความดีเอาไว้

    ตอบลบ
  6. สําหรับคําว่า สัจจะ สําหรับผมนั้นคือการให้ความจริงใจและซื่อสัตย์ต่อบุคคลที่มีพระคุณ ถ้าในเรื่องของหน้าที่การงานถ้ารับปากแล้วต้องทําให้ได้

    ตอบลบ
  7. การรักษาสัจจะ ถ้าเรารักษาได้มันก็ดี และก็จะเกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จที่เราสามารถทำได้
    แต่บางครั้งการรักษาสัจจะ อาจจะทำไม่ได้ เพราะการตัดสินใจอาจไม่ใช่เราเป็นผู้ตัดสิน หรืออาจเป็นการมองไปข้างหน้า มันเป็นตัวบังคับให้เราจะต้องเลือกว่า จะรักษาสัจจะ หรือ เสียสัจจะ
    ฉะนั้นเราจะต้องดูตัวแปรประกอบ ผมว่าทุกคนเคยเสียสัจจะกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะกับตัวเอง หรือกับผู้อื่น จะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์นั้นๆ
    แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ที่ไม่เคยเสียสัจจะเลย คนผู้นั้นนับว่าสุดยอดจริงๆ

    ตอบลบ
  8. สัจจะ คือ วาจา วาจา ก็คือคำพูดที่เราพูดออกไปแล้วเป็นผลต่อตัวเองและผู้อื่น
    ฉนั้น เมื่อพูดออกไปแล้วก็ต้องทำให้ได้ ดังพูด ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่สมควรพูดเช่นกัน
    เช่น บอกภรรยาว่าจะกับบ้าน 4 ทุ่ม ก็ต้องกลับ 4 ทุ่ม ถ้าไม่กลับก็ถือว่าเรา ไม่มีสัจจะเช่นกัน แล้วปัญหาต่างๆก็จะตามมาอีกมากมาย ดังนั้นถ้าเราจะอยู่ด้วยกันได้
    ก็ต้องรักษาคำพูดและถนอมน้ำใจกัน จึงจะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข และครอบครัวก็จะมีความสุขตลอดไป สาธุ.....

    ตอบลบ
  9. สัจจะ+สัจจธรรม สองคำนี้ต้องอยู่คู่กันตลอด ถ้าพูดถึงสัจจะ เราก็จะนึกถึง การรักษาวาจาคำพูด ที่ได้เอื้อนเอ่ยออกไป และต้องทำให้ได้อย่างที่ได้ลั่นวาจาเอาไว้
    ส่วน สัจจธรรม คือ ความจริงที่ปรากฏอยู่ คำนี้ผมคิดว่ามันอยู่ที่ตัวของแต่ละบุคคล
    เป็นความนึกคิด จากจิตใจข้างใน และถ่ายทอดออกมา กลายเป็น การกระทำ ผมคิดว่าถ้าเรามีสองสิ่งนี้ อยู่ในตัวเราพร้อมกัน มันก็คงจะเกิดสิ่งที่ดีงามกับตัวเราและคนรอบๆข้างเรามากขึ้น...

    ตอบลบ
  10. สัจจะกับสัจธรรม ถ้าเราทำได้อย่างที่เราเคยเอ่ยไว้มันจะดูดีและมีค่า แต่ถ้าเราขาดสิ่งนี้เราจะดูไม่มีค่า ดังนั้น 2 คำนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เรามีค่าของความเป็นคน

    ตอบลบ
  11. ทุกวันนี้สัจจะเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีพในสังคมแต่บางสิ่งบางอย่างต้องมีกฏกติกามาบังคับให้รักษาสัจจะเช่นการกู้หนี้ยืมสินต้องมีหนังสือสัญญาแต่ก็ยังมีการไม่รักษาสัจจะจนต้องฟ้องร้องกัน แต่ถ้าทุกคนรักษาสัจจะแล้วหนังสือสัญญาอาจจะไม่ใช่สาระสำคัญก็ได้

    ตอบลบ
  12. คนเราถ้าขาดสัจจะก็ดำเนินชีวิตในสังคมยากพูดอะไรกับใครก็ไม่มีใครเชื่อไม่มีใครคบขาดความเชื่อมั่น

    ตอบลบ
  13. สัจจะเกิดขึ้ที่เราก่อน เราต้องมีสัจจะกับตัวเองให้ได้เมื่อเกิดกับเราแล้วก็ย่อมเกิดกับทุกคนรอบเรา เราควรเริ่มที่ตัวเรา

    ตอบลบ
  14. ปากอย่าไว ใจอย่าเบา เรื่องเก่าอย่าไปรื้อฟื้น
    เรื่องอื่นอย่าไปคิด กิจที่ชอบในปัจจุบันให้รีบทำ
    ***เกลียดความชั่ว กลัวความอาย หมายความเพียร จงทำแต่ดีอย่าดีแต่ทำ***

    ตอบลบ
  15. นี่คือ สัจจะธรรม เมื่อ พริกไทย ,Potato ,เทอร์โบ ,บลูเบอร์รี่ มา feat กัน จะได้เพลงนี้....
    => ที่รัก - เธอยัง - คันหู - ชิมิ ชิมิ !!!

    ตอบลบ
  16. จิตใจที่มีสัจจะ อันอบรมดีแล้ว คือ มีความจริงใจจนติดเป็นนิสัยมั่นคง ความจริงใจนั้นจะเป็นเหตุ ทำให้จิตใจมีพลัง ฟันฝ่าอุปสรรคเหมือนกระสุนที่ถูกยิงไปด้วยพลังอย่างสูง ย่อมแหวกว่ายเจาะไชเอาชนะสิ่งที่ขวางหน้าไปจนได้ และเพราะค่าที่สัจจะเป็นกำลังส่งจิตใจให้บรรลุเป้าหมายได้ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บรรลุพระอรหันต์สัมมาสัมโพธิญาณ ก็ด้วยสัจจะนี้

    ตอบลบ
  17. คำปลิ้นปล้อนฉ้อฉล หยาบคายจนรำคาญหนอ
    ความเคยชินไม่ดีพอ ละเว้นหนอทั้งพูดทำ
    อะไรไม่เห็นจริง ไม่ควรยิ่งเอ่ยปากนำ
    อะไรไม่รู้ย้ำ ขอจดจำอย่าพูดไป
    เรื่องที่ไม่ดีงาม ไม่รับคำใครง่ายง่าย
    หากเราสัญญาไป ผิดพลาดใหญ่ขอจงจำ

    ตอบลบ
  18. หลักปฏิบัติสัจจธรรม ****

    พระโลกุตตระเขตะมารัจจะ ท่านกล่าวสอนไว้ว่า......

    สาธุชนทั้งหลาย ควรตั้งอยู่ในศีลในธรรม และมีสัจจธรรม โดยมีหลัก 3 ประการ คือ ต้องมี"ใจ"อันสัจจธรรม มี"ปาก"อันสัจจธรรม และ"ปฏิบัติ"อันสัจจธรรม.....

    1.ใจอันสัจจธรรม-เมื่อใจนึกในสิ่งที่ถูกต้องที่สุดแล้ว ก็ต้องปฏิบัติตามใจที่เป็นสัจจธรรม อย่าให้ออกนอกลู่นอกทาง คือ ไม่ให้เกิดกิเลส โลภ-หลง และไม่ให้ถืออาฆาตพยาบาทกับผู้ใด เมื่อผู้อื่นทำให้เราไม่พอใจ เราก็ถือใจสัจจธรรมว่า ไม่โต้ตอบ
    2.ปากอันสัจจธรรม-เมื่อเราลั่นวาจาออกมาแล้วในวาจาระหว่างนี้ เป็นวาจาสัจจธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อพูดว่า"ไป"ก็ต้องไป ถ้าเราพูดว่า"ไม่" ก็ต้องไม่ อย่าพูดออกมาโดยไม่ตรงกับใจ ซึ่งเป็นการผิดไปจากสัจจธรรม
    3.ปฏิบัติอันสัจจธรรม-ต้องให้คล้องจองกับปากและใจ เช่น เมื่อใจคิดว่าสวดมนต์หนึ่งเล่มธูป ปากก็ได้สวดมนต์ ในการกระทำ ก็ต้องกระทำให้ครบเล่มธูป เป็นการคล้องจองไป
    ใจสัจจธรรม ปากสัจจธรรม และปฏิบัติสัจจธรรม ถ้าสามสิ่งนี้ ขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไป ก็ถือว่า"ขาดศีล"

    ตอบลบ
  19. ทีมงานพลิกแผ่นดิน2 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 05:27

    สัจจะคือคำพูดที่เราเปล่งออกมาเพื่อปฎิบัติตาม แต่ถ้าไม่ปฎิบัติตามแล้วไซ้
    ความน่าเชื่อถือจากคนรอบข้างคงหมดลง(เหมือนนักการเมือง อิอิ)

    ตอบลบ
  20. การรักษา สัจจะเป็นอันดี ไม่ว่าจะประการใหนก็ตาม
    คล้ายกับ จริยธรรม ต้องทำในสิ่งที่คิดหรือคิดในสิ่งที่ทำ

    ตอบลบ