วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

มารู้จัก AEC กันเถอะ

BY Art


อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ ในทวีปเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม


แต่ ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมือง ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูต ระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย ควรทำความ เข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน


ความเป็นมาของอาเซียน 

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) หรือ ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุส-ซาลาม เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา ตามลำดับ จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน มีสมาชิก 10 ประเทศ

“อาเซียน” สู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 

 ปัจจุบัน บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้อาเซียนต้องเผชิญ สิ่งท้าทายใหม่ๆ อาทิ โรคระบาด การก่อการร้าย ยาเสพติด การค้ามนุษย์ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ อีกทั้ง ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง และในเวทีระหว่างประเทศ ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น เข้มแข็ง และมั่นคงยิ่งขึ้น จึงได้ประกาศ “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2” (Declaration of ASEAN Concord II) ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่

 - ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community - APSC) มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้าน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน

 - ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย

- ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาร โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นมาเป็นภายในปี 2558 ประชาคมอาเซียน คือ

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

คือ การรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง สามารถสร้างโอกาสและรับมือส่งท้าท้าย ทั้งด้านการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น และสมาชิก ในชุมชนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

จุดประสงค์หลักของอาเซียน

ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
 7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

คำขวัญของอาเซียน 

 "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม” (One Vision, One Identity, One Community)

 

32 ความคิดเห็น:

  1. คนทางทางฝุ่น8 สิงหาคม 2558 เวลา 06:46

    ไหนๆก็จะถึงแล้วถ้าเราอยากไปเที่ยวโดยใช้รถสวนตัว ตอนนี้มีใบขับขี่ ที่สามารถเข้าออกได้เเล้วครับ ใครอยากได้ให้ลองไปสอบถามขนส่งได้ครับ ผมว่าจะไปทำพอดี เพื่อจะไปกู้เอกราชไทย ไปตีเมืองข้างๆครับ

    ตอบลบ
  2. เรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวของพวกเรานะครับ เราต้องรีบพัฒนาตัวเองเพื่อนที่จะแข่งขันกับชาติอื่นนะครับไม่งั้นเราคงจะตามพวกเค้าไม่ทันแน่ครับ

    ตอบลบ
  3. ทางประชาชนคนไทยจะไปทำงานที่อื่นได้มากน้อยเท่าไรเพราะภาษาของคนไทยยังอ่อนอยู่มากประเทศคงเข้ามาทำงานในเมืองไทยเยอะคนไทยจะตกงานหรือเปล่า.

    ตอบลบ
  4. อีกหน่อยเราก็อาจไปเที่ยวต่างประเทศได้โดยง่ายยแล้ว ยังไงมีเวลาก็พาครอบครัวไปเที่ยวกันนะครับ แล้วอย่าทำกิจกรรม จนลืมครอบครัวกันนะครับ

    ตอบลบ
  5. การทำงาน จะเกิดอุปสรรคกับลูกหลานเพราะจะต้องมีความสามารถเท่าเทียมกับต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ จะมีคนที่เก่งๆมาเเย่งงานของลูกหลานเรา ปัจจุบันสังเกตุว่าโรงเรียนต่างๆจะเน้นภาษาอังกฤษ
    -ข้อดี ทำให้เรามีข้อต่องรองกับทางยุโรปได้

    ตอบลบ
  6. เราต้องพยายามด้านภาษาให้มากขึ้นเพื่อจะได้ไปทำงานต่างประเทศ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ต้องหาเมียเขมรเเล้วล่ะจาร์tee@solvay

      ลบ
  7. คำขวัญของอาเซียน
    คือ "วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว”
    เป็นความท้าทายของประเทศไทยที่จะก้าวสู่ความสำเร็จครับ

    ตอบลบ
  8. เราต้องพัฒนาทางด้านภาษาให้มากกว่านี้ แต่ก็มีข้อดีครับที่อีกหน่อยจะไปไหนมาไหนในประเทศประชาคมอาเซียนได้ง่ายขึ้น

    ตอบลบ
  9. มิตรเอดเดอร์ไฮเปอร์เรดซิ่ง18 สิงหาคม 2558 เวลา 13:35

    ต้องฝึกปรือทางด้านการใช้ภาษาเยอะๆๆๆจะได้ มีโอกาสไปทำงานทางที่บ้างพัมนาตัวเองเยอะๆๆ

    ตอบลบ
  10. บ้านเรา ตอนนี้มีแรงงานต่างชาติมาเยอะ
    และสามารถใช้ภาษาของเราไก้เป็นอย่างดีทีั้งพูด อ่าน เขียน

    ตอบลบ
  11. จุดประสงค์คือสร้างความเข็มแข็งในกลุ่มประเทศอาเชี่ยนในด้านเศรษกิจ

    ตอบลบ
  12. ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะครับ ทำให้ได้เข้าใจความหมายของกลุ่มอาเซี่ยนในด้านการร่วมตัวกัน ครับ

    ตอบลบ
  13. ทุกวันนี้ ทั้งชาวพม่า เขมร หรือ จีน เข้ามาทำงานในประเทศไทยเยอะมาก ถึงเวลาที่เราจะสามารถไปทำงานในต่างแดนโดยอิสระและเปิดกว้าง ทั้งด้านแรงงานและธุรกิจค้าขาย ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

    ตอบลบ
  14. ความคิดส่วนตัวผมอยากให้ใบขับขี่ของเรานั้น สามารถใช้ได้ในประเทศกลุ่มอาเซี่ยนได้เลย เพื่อที่จะสามารถติดต่อหรือท่องเที่ยวในประเทศในกลุ่ม AEC ได้ครับ

    ตอบลบ
  15. AEC มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว)

    ตอบลบ
  16. Prakij แห่งมหานคร บ้านฉาง23 สิงหาคม 2558 เวลา 21:00

    ขอบคุณบทความดีดีด้วยครับ ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่เราควรจะเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ ที่สำคัญตอนนี้คือ ภาษาอังกฤษ อย่างน้อยๆเราก็จะได้สื่อสารกันกับ Asean ได้ เพราะหากสื่อสารไม่ได้ เรื่องอื่นก็คงยากที่จะทำ และกาคิดจะหาลูกค้าแค่ในประเทศไทยก็อาจไม่เพียงพอแล้ว เพราะธุรกิจต่างชาติก็จะมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดของเราแน่นอน เรื่อง AEC จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่ธุรกิจ และคนไทยต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมให้ดี แล้วเราอาจจะได้เห็นรถแพงๆพวก Super Car วิ่งกันมากขึ้น เพราะภาษีรถนำเข้าของประเทศเพื่อนบ้านเราไม่แพงเท่าบ้านเรานะครับ

    ตอบลบ
  17. 1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
    2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
    3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
    4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

    อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/41#ixzz3jeV59sQi

    ตอบลบ
  18. 1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
    2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
    3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
    4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

    ตอบลบ
  19. อีกมุมมองหนึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนเจริญรุ่งเรื่องก็ได้

    ตอบลบ
  20. ผมเชื่อมันว่าเศรษฐกิจและการตลาดจะต้องดีขึ้นครับทั้งนี้ทั้งนั้นอีกมุมหนึ่งเราจะต้องระวังเรื่องอาชญากรรมเพิ่มขึ้นด้วยนะครับ

    ตอบลบ
  21. AECมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

    ตอบลบ
  22. การที่มี AEC นั้นทำให้เราสามารถมีแรงผลักดันด้านภาษามากขึ้น จะได้ไม่อายชาติอื่นๆ เค้าได้

    ตอบลบ
  23. ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีครับ ต่อการติดต่อระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีต่อกัน

    ตอบลบ
  24. เป็นการแลกเปลื่ยนวัฒนธรรมของแต่ละประเทศเป็นการเรียนรู้กันและกันดีมากครับ

    ตอบลบ
  25. ประเทศไทยจะได้ประโยชน์หลายด้านจากประเทศที่เจริญกว่าเช่น ประเทศสิงคโปค์จะขาดบุคลากรหลายด้านซึ่งคนไทยมีสามารถอยู่แล้วเช่น พยาบาลเป็นที่ต้องการในประเทศสิงคโปค์เป็นอย่างมากครับแต่ภาษาต้องดีสามารถสื่อสารกับคนไข้ได้เป็นอย่างดีด้วย

    ตอบลบ
  26. การเดินทางไปมาต่างประเทศคงง่ายเเต่ไทยเราต้องพัฒนานะหลายๆด้าน

    ตอบลบ
  27. พวกเราต้องเร่งพัฒนาตนเองในอีกหลายๆอย่าง

    ตอบลบ
  28. ถ้าใครจะไปเที่ยวพม่า ตอนนี้ไ่มต้องขอวีซ่ากันแล้วนะครับ
    สามารถเข้าไปเที่ยวได้แบบไปลาวและเขมรเลย

    ตอบลบ
  29. ดีครับเราจะได้เพิ่มโอกาศในการลงทุนธุรกิจในต่างประเทศ เผื่อจะเที่ยวต่างประเทศกับเขาบ้างครับ โดยเฉพาะธุรกิจพระเครื่องและเครื่องราง

    ตอบลบ
  30. ต้องพัฒนาเพิ่มขึ้นเพราะการแข่งขันจะสูงขึ้นแล้ว

    ตอบลบ
  31. ผมว่าเราต้องเตรียมพร้อมกันให้มากๆ นักท่องเทียวจะเข้ามาบ้านเราอีกเยอะมาก
    โดยเฉพาะ ทะเลบ้านเรา สวย

    ตอบลบ